36 ปีสัมพันธภาพเวียดนาม-พม่า

โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มกราคม 2555)



กลับสู่หน้าหลัก

หลังรับคำเชิญของประธานาธิบดีสาธารณรัฐสหภาพพม่า Thein Sein นายกรัฐมนตรี เหงียน เติ๊น หยุง และภริยา ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการ และเข้าประชุมสุดยอดประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงครั้งที่ 4 (GMS-4) ระหว่าง 19-21 ธันวาคม 2554

นี่เป็นการเยือนสหภาพพม่าครั้งแรกของนายกรัฐมนตรี เหงียน เติ๊น หยุง นับตั้งแต่ได้รับเลือกกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการเยือนสหภาพพม่าครั้งที่ 3 นับตั้งแต่ปี 2550

พม่าเป็นประเทศมีความสัมพันธ์เร็วที่สุดกับเวียดนาม รัฐบาลและประชาชนพม่าสนับสนุนเวียดนามในการต่อต้านอาณานิคมฝรั่งเศส และต่อต้านการรุกรานของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งในการสร้างและป้องกันปิตุภูมิปัจจุบัน

หลังจากเวียดนามได้รับชัยชนะปลดปล่อยภาคใต้เวียดนามรวมประเทศเป็นเอกภาพในวันที่ 30 เมษายน 2518 สองประเทศได้ยกความสัมพันธ์ระดับกงสุลใหญ่ขึ้น เป็นความสัมพันธ์การทูตระดับเอกอัครราชทูต ในวันที่ 28 พฤษภาคมปีเดียวกัน

ปี 2553 สองฝ่ายก็ได้จัดงานรำลึกวันสถาปนาความสัมพันธ์การทูตครบรอบ 35 ปี (28 พฤษภาคม 2518-28 พฤษภาคม 2553)

หลายปีผ่านมา สองประเทศได้ส่งเสริมและเดินหน้าความสัมพันธ์มิตรภาพเก่าแก่และความร่วมมือหลายด้าน มีการเยือนระดับสูงซึ่งกันและกันหลายเที่ยว ที่เป็นพิเศษคือการเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรี เหงียน เติ๊น หยุง (เมษายน 2553) ทำให้ความสัมพันธ์สองประเทศเพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ-การค้ามีการพัฒนาทางบวกหลายก้าว

ในห้วงปี 2553 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ-การค้า-การลงทุนสองประเทศมีการพัฒนาอย่างแข็งแรง ยอดรวมดัชนีส่งออก-นำเข้าระหว่างสองประเทศมูลค่ากว่า 152 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 54% จากปี 2552 ยอดรวมการลงทุนของสถานธุรกิจเวียดนามที่ได้จดทะเบียนนับถึงสิ้นปี 2553 มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีการค้าสองฝ่ายปี 2554 คาดว่าประมาณ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 18.4% จากปี 2553 ในนั้นเวียดนามนำเข้าสินค้าจากพม่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สองฝ่ายได้สถาปนาคณะกรรมการผสมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์-เทคนิค (ปี 2537) และการปรึกษาหารือทางการเมืองประจำปีระหว่างสองกระทรวงการต่างประเทศ (ปี 2548) ในการประชุมล่าสุด (เดือนพฤศจิกายน 2553) สองฝ่ายได้หารือหลายมาตรการเป็นรูปธรรมมุ่งเร่งความร่วมมือทางด้านเกษตร-ป่าไม้, ประมง, คมนาคม-ขนส่ง, พลังงาน, สื่อสาร, สาธารณสุข, วัฒนธรรม, การศึกษา, กีฬา, ท่องเที่ยว และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

มีการดำเนินการปรึกษาหารือทางการเมืองประจำปีระหว่างสองกระทรวงการต่างประเทศ 6 ครั้ง ในการประชุมครั้งต่างๆ ปกติทั้งสองฝ่ายต่างแจ้งให้กันทราบเกี่ยวกับสถานการณ์แต่ละประเทศ, แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ มุ่งเดินหน้าความร่วมมือระหว่างสองประเทศที่เป็นพิเศษคือการปฏิบัติตามความตกลงระดับสูง สองฝ่ายก็ได้จัดนิทรรศการการค้าทุกปี เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์และดึงดูดสถานประกอบการลงทุน

นอกจากความสัมพันธ์ร่วมมือทวิภาคี สองประเทศยังร่วมมือกันด้วยดีในกรอบ ASEAN ในบางองค์กรภูมิภาคและสากล เช่น ความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS), ยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจแม่น้ำ 3 สาย อิรวดี-เจ้าพระยา-โขง (ACMECS), ความร่วมมือเวียดนาม-กัมพูชา-ลาว-พม่า (CLMV) ...สองประเทศมีทัศนคติใกล้เคียงกัน ประสานงานและสนับสนุนกันเสมอบนเวทีสากลและภูมิภาค

มีการลงนามบรรดาข้อตกลงและความตกลงทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ข้อตกลงขนส่งทางด้านการบินพลเรือน (สิงหาคม 2520), ข้อตกลงก่อตั้งคณะกรรมการผสมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างสองประเทศ (พฤษภาคม 2537), ข้อตกลงการค้า (พฤษภาคม 2537), ข้อตกลงร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (พฤษภาคม 2537), ข้อตกลงขนส่งทางอากาศ (ตุลาคม 2538), ความตกลงร่วมมือระหว่างคณะกรรมการศาสนารัฐบาลเวียดนามและกระทรวงศาสนาสหภาพพม่า (ธันวาคม 2552), ประกาศร่วมว่าด้วยความร่วมมือใน 12 ขอบเขตเร่งด่วน (เกษตรกรรม, พืชอุตสาหกรรม, ประมง, การเงิน-การธนาคาร, การบิน, โทรคมนาคม, ก๊าซ-น้ำมัน, สินแร่, การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า, การผลิต-ประกอบรถยนต์, การก่อสร้าง, ความร่วมมือการค้าและการลงทุน) (เมษายน 2553)

วันที่ 19 ธันวาคม 2554 ที่กรุงเนปิดอ มีการประชุมคณะทำงานครั้งสุดท้ายเตรียมการประชุมสุดยอดประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS-4) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2554 มีหัวข้อ “หันสู่ทศวรรษใหม่ว่าด้วยความสัมพันธ์หุ้นส่วนพัฒนายุทธศาสตร์เปิดกว้าง อนุภูมิภาคแม่น้ำโขง” ด้วยการเข้าร่วมของผู้นำ 6 ประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย จีน และเวียดนาม

บรรดาผู้นำ GMS ได้ฟังรายงานผลการประชุมการลงทุนและธุรกิจ GMS, เป็นสักขีพยานพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานเวทีธุรกิจ GMS, เข้าประชุมลับ, เป็นสักขีพยานพิธีลงนามเอกสารบันทึกช่วยจำและการประกาศร่วมของที่ประชุม เมื่อเสร็จสิ้นการประชุม พม่าในฐานะประเทศเจ้าบ้านได้จัดประชุมสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมสุดยอด GMS-4

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ GMS มีเป้าหมายส่งเสริมการบูรณาการ, เสริมสร้างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, ยกระดับความรู้ทรัพยากรบุคคล, สร้างความสะดวกให้แก่การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารผ่านชายแดน, พัฒนาการค้าพลังงาน...เวียดนามเป็นสมาชิกรายหนึ่งของความร่วมมือเศรษฐกิจ GMS และได้รับประโยชน์มากจากความร่วมมือนี้ ปกติเวียดนามให้ความสำคัญและเข้าร่วมกลไกความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) อย่างขันแข็ง ผ่านความริเริ่มต่างๆ มีส่วนร่วมเป็นรูปธรรมในทุกโครงการร่วมมือ GMS ตั้งแต่การคมนาคมขนส่ง, พลังงาน, สิ่งแวดล้อม, เกษตรกรรม, การท่องเที่ยว จนถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ในโอกาสการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี เหงียน เติ๊น หยุง ครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนมาตรการส่งเสริมความสัมพันธ์มิตรภาพเก่าแก่ และความร่วมมือหลายด้านระหว่างสองประเทศ, เร่งดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ระหว่างแกนนำระดับสูงสองประเทศ, แก้ไขปัญหา รื้อถอนอุปสรรคให้แก่ธุรกิจสองประเทศเมื่อเข้าถึงตลาดของกันและกัน

นอกจากนั้นสองฝ่ายก็จะแลกเปลี่ยนมาตรการเสริมสร้างการประสานงานต่างๆ ในเวทีภูมิภาคและสากล


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.