เหตุผลที่ยีสต์ต้องมีค่า "แสนล้าน"…!


นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2529)



กลับสู่หน้าหลัก

1. ยีสต์ชนิดนี้เกิดจากการคัดเลือกและผสมพันธุ์เพื่อหมักแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาล เชื้อที่ได้คัดเลือกสามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส และตกตะกอนได้ดีเมื่อสิ้นสุดการหมัก จึงเป็นเชื้อที่มีความเหมาะสมกับเมืองไทยอย่างยิ่ง

2. เชื้อนี้เหมาะสำหรับการหมักแบบต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการหมักแบบสมัยใหม่ เช่น ใช้ถังหมักแบบหอคอย หรือถังหมักในระบบหมุนเวียนเชื้อเพื่อเอากลับไปหมักใหม่ ถึงหมักดังกล่าวทำให้มีปริมาณเชื้อยีสต์ที่มากกว่าถังหมักแบบธรรมดา (แบบเดิม) หลายสิบเท่าตัว เหมาะสำหรับการผลิตแอลกอฮอล์เพื่ออุตสาหกรรมหรือเชื้อเพลิง

3. ถ้าใช้เชื้อนี้หมักแบบธรรมดา 1 ชั่วโมง ก็สามารถที่จะใช้เชื้อนี้เติบกลับไปหมักใหม่ได้ โดยไม่ต้องเติมเชื้อกล้าใหม่ลงไปอีก เพราะปริมาณเชื้อที่ตกตะกอนอยู่ มีจำนวนมากพอที่จะเริ่มการหมักใหม่ได้ทันที ทำให้ย่นระยะเวลาการหมักได้อีกประมาณ 6 ชั่วโมง

4. การที่เชื้อตกตะกอนเมื่อสิ้นสุดการหมัก ทำให้แยกเชื้อยีสต์ออกมาได้ง่าย เพียงแต่ทิ้งให้มันตกตะกอนเท่านั้น เมื่อแยกตะกอนยีสต์ออกมาก็จะใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ เป็นผลพลอยได้จากการหมักแอลกอฮอล์ และจะลดมลพิษของน้ำกากส่าลงได้ส่วนหนึ่ง

5. ในภาวะที่กากน้ำตาลราคาถูกเช่นนี้ อาจจะนำไปใช้หมักยีสต์สายพันธุ์ที่ได้คัดเลือกนี้ เพื่อเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงแทนกากถั่วเหลือง หรือปลาป่น โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองนั้นจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นปริมาณที่มากในขณะนี้ ประมาณกันว่ากากน้ำตาล 3 ก.ก. จะเลี้ยงยีสต์ได้ 1 ก.ก. จึงคาดว่าต้นทุนการเลี้ยงยีสต์จะตก ก.ก.ละ5 บาท โดยจะมีโปรตีนประมาณ 40% ถ้าหากการผลิตมีประสิทธิภาพสูง ราคาก็จะถูกลงกว่านี้ (คิดราคากากน้ำตาล ก.ก.ละ 1 บาท/ในต่างประเทศที่ใช้อุปกรณ์ทันสมัยจะใช้กากน้ำตาลประมาณ 1.5 ก.ก.-2.5 ก.ก. ต่อยีสต์จำนวน 1 ก.ก.)

6. โรงงานทางประเทศญี่ปุ่นได้นำเชื้อยีสต์นี้ไปใช้แล้ว และยังมีหลายประเทศกำลังติดต่อเข้ามาแม้ในญี่ปุ่นเองก็ยังเอาไปใช้ในการสร้างธุรกิจเหล้า

7. เชื้อที่คัดเลือกได้ ยังไม่ได้ทดสอบคุณภาพของแอลกอฮอล์ เพื่อเอาไปเป็นเครื่องดื่ม เพราะเชื้อที่ใช้ในโรงงานเมืองไทย ขณะนี้ก็เป็นเชื้อที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทางโรงงานยังไม่ประสงค์จะเปลี่ยนเพราะเกรงผลเสียต่อกลิ่นรสได้ วัตถุประสงค์ของการทำงานคัดเลือกพันธุ์ก็เพื่อลดต้นทุนการผลิตสำหรับแอลกอฮอล์ที่จะใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.