เขตเศรษฐกิจช่องทาง

โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( พฤศจิกายน 2554)



กลับสู่หน้าหลัก

เขตเศรษฐกิจช่องทางในเวียดนาม เป็นบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่กำหนดให้ผูกพันกับช่องทางนานาชาติหรือช่องทางหลักของชาติ มีพลเมืองดำรงชีพและได้มีการใช้ระบบกลไก นโยบายพัฒนาเป็นพิเศษ สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น มุ่งนำมาซึ่งประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ-สังคมสูงที่สุดโดยอาศัยการวางผัง การใช้ประโยชน์ และการพัฒนาทรัพยากรต่างๆ อย่างยั่งยืนโดยรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีตัดสินใจให้ก่อตั้ง

นโยบายพัฒนา

ตั้งแต่ปี 2539 รัฐบาลเวียดนามเริ่มดำเนินการทดลองก่อสร้างเขตเศรษฐกิจม้องก๊าย ผ่านการอนุมัติระบบให้สิทธิพิเศษแก่เขตเศรษฐกิจนี้บนพื้นที่ม้องก๊าย ปี 2541 รัฐบาลดำเนินการทดลองกว้างขวางขึ้น ด้วยการอนุมัตินโยบายให้สิทธิพิเศษแก่เขตเศรษฐกิจช่องทางหมกบ่าย และเขตการค้าลาวบ๋าว นี่เป็นครั้งแรกที่ได้มีการใช้การเรียกชื่อเขตเศรษฐกิจช่องทางอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจช่องทาง

ปี 2544 นายกรัฐมนตรีออกมติว่าด้วยนโยบายสำหรับเขตเศรษฐกิจช่องทางชายแดน และกระทรวงการคลังออกหนังสือเวียน แนะนำการปฏิบัติตามนโยบายการคลังที่ใช้สำหรับเขตเศรษฐกิจช่องทางชายแดน

ปลายเดือนธันวาคม 2545 รัฐบาลจัดประชุมสรุปสถานการณ์การปฏิบัติตามนโยบายเขตเศรษฐกิจช่องทางชายแดน ภายหลังการประชุม รัฐบาลยืนยันว่า “เกี่ยวกับเศรษฐกิจมีการพัฒนาทำให้ความเป็นอยู่ตามเขตช่องทางต่างๆ คึกคัก มีส่วนร่วมในโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด เป็นช่องทางของภูมิภาคและทั้งประเทศ ส่งเสริมให้แขนงการผลิตพัฒนา ขณะเดียวกันก็มีส่วนเพิ่มรายรับงบประมาณ สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้แก่เขตเศรษฐกิจช่องทางและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ด้านสังคมได้สร้างงานทำให้คนงาน ยกระดับชีวิตพลเมืองในพื้นที่ และสร้างโฉมหน้าใหม่ให้แก่พื้นที่เขตแดนที่เมื่อก่อนนี้เป็นพื้นที่ลึก พื้นที่ห่างไกล ยากลำบากเป็นพิเศษ กลายเป็นเขตคึกคัก ส่งเสริมกระบวนการทำให้เป็นศูนย์ธุรกิจ”

เดือนตุลาคม 2548 รัฐบาลอนุญาตให้ก่อตั้งเขตปลอดภาษีอย่างเป็นทางการในเขตเศรษฐกิจช่องทาง

ต้นปี 2551 นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้อนุมัติ “แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจช่องทางของเวียดนามถึงปี 2563” ตามแผนนี้เมื่อถึงปี 2563 เวียดนามจะมี 30 เขตเศรษฐกิจช่องทาง จะได้รับความสนใจในการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจช่องทางม้องก๊าย, หล่าวกาย, โด่งดัง-หล่างเซิน, ลาวบ๋าว, เกิ่วแตรว, เบ่ออี, หมกบ่าย, อานยาง และโด่งทาป ครบวงจรทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน รูปแบบการจัดการ ระบบกลไกและนโยบาย

ลักษณะเฉพาะ

เกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไป เขตเศรษฐกิจช่องทางมีลักษณะเฉพาะโดยทั่วไปดังนี้

- เขตเศรษฐกิจช่องห่างไกลศูนย์เศรษฐกิจ-การเมือง-วัฒนธรรมของประเทศ

- พลเมืองที่เขตเศรษฐกิจช่องทางกับพลเมืองท้องถิ่นใกล้เคียงของประเทศเพื่อนบ้าน มีความคล้ายคลึงกันด้านวัฒนธรรม ประเพณีและความศรัทธาศาสนา

- มีความแตกต่างทางด้านมาตรฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

- ความร่วมมือและการแข่งขันคือลักษณะสำคัญเป็นพิเศษ

- เคารพสิทธิของกันและกัน มีผลประโยชน์เท่าเทียมกัน


บทบาท

- เขตเศรษฐกิจช่องทางสามารถมีส่วนร่วมอย่างมากกับเศรษฐกิจเวียดนาม มีผลต่อทุกด้านของชีวิตสังคมประเทศโดยรวม โดยเฉพาะจังหวัดชายแดน แต่ในภาพรวมมีบทบาทสำคัญดังนี้

- สร้างความสะดวกในการพัฒนาศักยภาพของบรรดาท้องถิ่นชายแดน

- มีส่วนขยายการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการค้า

- มีส่วนปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชาชนท้องถิ่นและบริเวณใกล้เคียง

- ทำให้โครงสร้างพื้นฐานดีขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมท้องถิ่น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา

- ปัจจัยธรรมชาติ

- ปัจจัยประวัติศาสตร์

- มาตรฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของฝ่ายต่างๆ

- นโยบายต่างประเทศและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ-การเมือง

ปัจจุบันใน 15 จังหวัดชายแดนของเวียดนามมีเกือบ 30 เขตเศรษฐกิจช่องทาง เขตที่ได้รับก่อตั้งเร็วที่สุดด้วยจุดมุ่งหมายนำร่องคือเขตเศรษฐกิจช่องทางม้องก๊าย (จังหวัดกว๋างนิญ) ก่อนปี 2558 รัฐบาลเวียดนามมีแผนเพิ่มอีก 4 เขตเศรษฐกิจช่องทางคือ อาเดิ๊ตที่จังหวัดเถื่อเทียน-เว้, เหนิ่มกั้น-ทาญถุยที่จังหวัดเหงะอาน, นาแหม่วที่จังหวัดทาญฮว้า, เขตเศรษฐกิจช่องทางลองอานที่จังหวัดลองอาน

ตั้งแต่ปี 2558-2563 จะเพิ่มอีก 3 เขตเศรษฐกิจช่องทางคือ ลาไลที่จังหวัดกว๋างตริ, ดั๊กแปร์ที่จังหวัดดั๊กนง, ดั๊กรูเอที่จังหวัดดั๊กลัก

ที่มา: Wikipedia ภาษาเวียดนาม ปรับปรุงล่าสุด 31 พฤษภาคม 2554


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.