|
มุมมองเปรียบเทียบสินค้าไทย-เวียดนาม
โดย
เจษฎี ศิริพิพัฒน์
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( พฤศจิกายน 2554)
กลับสู่หน้าหลัก
กรณีพิพาทพรมแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เพิ่มช่องทางตลาดให้สินค้าจากเวียดนามเป็นอย่างมาก แต่ในทัศนะของผู้บริโภคแล้ว สินค้าจากไทยยังได้รับความนิยมอยู่ในภูมิภาคนี้มากกว่า
เว็บไซต์ RFA ภาษาเวียดนามมีรายงานถึงความสัมพันธ์การค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม ว่าได้พัฒนาขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่กัมพูชากับไทยเริ่มมีข้อพิพาททางพรมแดนระหว่างกัน
การพัฒนาดังกล่าวเป็นไปอย่างเข้มข้นทั้งสองด้านคือ ด้านการส่งออกสินค้า และด้านความร่วมมือการค้า
รายงานชิ้นนี้ได้กล่าวว่า กัมพูชายัง คงเป็นตลาดของสินค้าเวียดนาม ในขณะที่ ประเทศนี้กำลังมีข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย โดยเฉพาะในห้วง 8 เดือนแรกของปี 2554 กัมพูชาขาดดุลการ ค้าจากเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน
ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ดัชนีการส่งออกของกัมพูชา ไปยังเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2554 มีมูลค่า 105.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 116% จากระดับ 48.6 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ในช่วงเดียวกันของปี 2553 ส่วนดัชนีนำสินค้าเวียดนามเข้ากัมพูชามีมูลค่า 976 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 43% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
Kong Putheara อธิบดีกรมสถิติ สังกัดกระทรวงพาณิชย์กัมพูชากล่าวว่าสินค้าส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งอาศัยการเจรจาให้สิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสำหรับสินค้ามีแหล่งกำเนิดภายในประเทศกว่า 60 รายการ ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 สินค้าส่งออกของกัมพูชาที่สำคัญคือสินค้าเกษตรกรรม เช่น ยางพารา ข้าวเปลือก และข้าวโพด ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญจากเวียดนามประกอบด้วยเครื่องบริโภค เครื่อง จักรกล เสื้อผ้าสำเร็จรูป และวัตถุดิบการผลิต ในจำนวนนี้มีสินค้า 13 รายการจากเวียดนามได้รับประโยชน์จากพิกัดอัตราภาษีศุลกากร 0% เมื่อนำเข้าตลาดกัมพูชา
อธิบดีกรมสถิติยังแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุการนำเข้าสินค้าเวียดนามที่เพิ่มขึ้นกะทันหัน เป็นเพราะบรรดาสถานประกอบ การประเทศนี้ได้ฉวยโอกาสจากเหตุการณ์พิพาทระหว่างกัมพูชา-ไทย สินค้าตามระบบ ช่องทางนานาชาติ หรือช่องทางหลักระหว่างสองประเทศ ได้ช่วยให้การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างสองประเทศ และการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ของพลเมืองสองฝ่ายรวดเร็วและสะดวก
Kong Putheara กล่าวว่า “โดยรวมแล้วมีหลายเหตุผล เวียดนามได้ฉวยโอกาสส่งออกไปยังกัมพูชา ขณะที่กัมพูชากำลังมีปัญหาชายแดนกับไทย นั่นเป็นโอกาสของเวียดนาม สินค้าเวียดนามก็ส่งไปยังกัมพูชามากมาย เวลานี้นักลงทุนเวียดนามสนใจตลาดกัมพูชาและเข้าลงทุน ในกัมพูชา นั่นก็เป็นจุดประสงค์ของภูมิภาค เป็นเศรษฐกิจภูมิภาค หมายความว่าประเทศใดรวยเป็นต้องช่วยประเทศจน รัฐบาลต้องส่งเสริมนักลงทุนของประเทศนั้น เพื่อให้ลงทุนในประเทศยากจนในภูมิภาค”
เกี่ยวกับความร่วมมือการค้า กัมพูชา-เวียดนามได้ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจช่องทางบนแนวชายแดนด้วยกัน โดยมีการ ก่อตั้งตลาดชายแดนหลายแห่ง สร้างความสะดวกให้พลเมือง สถานประกอบการในบริเวณชายแดนและภายในประเทศในการค้าขายสินค้า จนถึงเวลานี้ยังไม่มีข่าวว่ามีปัญหาขัดแย้งใดๆ ระหว่างประชาชนกัมพูชาและคนเวียดนามที่เขตตลาดชาย แดน นอกจากเรื่องบริษัทเวียดนาม บางบริษัทถูกประท้วงเกี่ยวกับการเช่าที่ดินประชาชนที่บริเวณชายแดนเพื่อทำนาและการเพาะปลูก
(รายละเอียดของ “เขตเศรษฐกิจช่องทาง” อ่านได้ในล้อมกรอบ)
Kang Chandararot หัวหน้าสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชา ประเมินว่าได้มีการปรับปรุงระบบคมนาคม โดยรัฐบาลของสองประเทศให้ความสนใจ ลงทุนระบบช่องทางชายแดน มีการก่อตั้งธนาคารพัฒนาของเวียดนาม ซึ่งได้สร้างความสะดวกให้กับบรรดาสถานประกอบการในการขยายการลงทุน
เรื่องนี้ทำให้ประชาชนไม่อาจปฏิเสธ การใช้สินค้าเวียดนาม เพราะพวกเขาสามารถจัดหาสินค้าได้รวดเร็วตามความต้องการของตลาดและมีราคาที่เหมาะสม
เพิ่มระดับการลงทุน
ตามการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าสถาบันวิจัยเศรษฐกิจกัมพูชา การที่แหล่งลงทุนจากเวียดนามมีเพิ่มขึ้น ก็มีส่วนในการเติบโตทางด้านดัชนีส่งออกของสองประเทศ เรื่องนี้ก็สร้างความสะดวกให้กับเศรษฐกิจของกัมพูชา เพราะสถานประกอบ การในโลกจะเชื่อมั่นในเศรษฐกิจกัมพูชา
อย่างไรก็ดี เขาประเมินว่าประชาชน กัมพูชายังคงสามารถเปลี่ยนแปลงจุดยืนภายหลัง หมายความว่าพวกเขาจะเริ่มกลับ มาใช้สินค้าไทย หลังจากได้มีการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา-ไทย
เนื่องจากสถานการณ์ชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยยังไม่สงบ รัฐมนตรีพาณิชย์กัมพูชาได้ตัดสินใจเลื่อนการจัดงานนิทรรศการการค้าไทยเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
กัมพูชาไม่สามารถรับประกันการตอบสนองนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์ของไทยได้ หลังจากไทยประกาศหยุดส่งออก เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เข้ากัมพูชา กัมพูชาให้เหตุผลว่าในช่วงเวลามีการพิพาท กัน ก็ไม่ควรจะโฆษณาผลิตภัณฑ์ของไทย แต่ในการเจรจากับนายกรัฐมนตรีหญิงของไทยที่เพิ่งผ่านมา ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเริ่มกระตุ้นให้เปิดช่องทางชำระภาษี ศุลกากรและแลกเปลี่ยนสินค้าเพิ่มขึ้นและฮุน เซนไม่อนุญาตให้หนังสือพิมพ์ลงข่าว อ่อนไหวกระทบถึงความสัมพันธ์สองประเทศ
Son Chhay สมาชิกรัฐสภาจากพรรค Sam Rainsy ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในกัมพูชา ได้ประเมินคล้ายกับหัวหน้าสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจ เขากล่าวว่าเนื่องจากนโยบายเปิดเผยของรัฐบาล ไม่สนใจช่วยเหลือนักธุรกิจขนาดเล็กภายในประเทศและเชิดชูคุณค่าผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ทำให้บรรดาผู้ผลิตไม่มีความสามารถแข่งขันในตลาด จนถึงเวลานี้ทั้งพืชผักผลไม้ ยากำจัดแมลงศัตรูพืช ต่างก็นำเข้าจากเวียดนาม
Son Chhay กล่าวว่ามูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศเพื่อนบ้านยังคงต่ำ อาจจะไม่ถึง 10% ของมูลค่าการ นำเข้าสินค้าจากเวียดนามและไทย และรัฐมนตรีพาณิชย์ยังกล่าวว่าจะขาดดุลการ ค้ากับเวียดนามในปี 2554 ต่อไปอีก
กังวลสินค้าไทย
ส่วนประธานสมาคมธุรกิจชาวเวียด นามในกัมพูชา เหงียน วัน ดิ่ญ กล่าวว่า กิจกรรมส่งเสริมการลงทุนนำสินค้าเวียดนาม เข้าตลาดกัมพูชา กำลังมีผลทางบวก
นอกจากตลาดกัมพูชา เวียดนามยังขยายการลงทุนเข้าตลาดลาวด้านการเพาะปลูกยางพารา เหมืองแร่ และพลังงาน
ดิ่ญประเมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าเวียดนามที่ตลาดกัมพูชาว่า “โดยภาพรวม สินค้าของเราราคาต่ำ ผู้บริโภคก็ยอมรับราคาและคุณภาพได้ พวกเขาได้ใช้และพวก เขาก็คุ้นเคยแล้ว แต่สินค้าของเราเปรียบเทียบกับสินค้าไทยในราคาใกล้เคียงกัน เราก็แข่งขันกับสินค้าไทยยาก”
ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์เศรษฐกิจกัมพูชา Ou Virak มีการประเมิน ว่าสินค้าเวียดนามแทรกอยู่ในตลาดกัมพูชา ได้ เพราะกัมพูชาและเวียดนามได้เคลียร์ภาษีศุลกากรหลายช่องทางนานาชาติ และสินค้าเวียดนามกำลังถูกนำเข้าไปยังประเทศ นี้ได้อย่างเสรี
เขากล่าวว่าถ้ากัมพูชาเปิดเพิ่มหลาย ช่องทางกับไทย ประเทศต่างๆ ในกลุ่ม ASEAN ตกลงเห็นด้วยกับการให้สิทธิพิเศษ ภาษีศุลกากรในปี 2558 สินค้าเวียดนามก็ต้องทนรับการแข่งขันอย่างหนัก
Ou Virak อธิบายเพิ่มเติมว่า สินค้าไทยมีราคาสูงกว่าสินค้าเวียดนาม แต่ประชาชนยังคงเชื่อถือ เหตุผลคือมีคุณภาพ สินค้ารับประกันชัดเจน ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นพิเศษคือมาตรฐานทางเทคนิคเหมาะสมกับการใช้ตามวัตถุประสงค์
Ou Virak ยังกล่าวอีกว่าผู้บริโภคสินค้าเวียดนามจะค่อยๆ ลดลง หลังจากผลิตภัณฑ์ไทยเริ่มกลับมาตลาดกัมพูชา
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์เศรษฐกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า เวียดนามอาจจะส่งออกสินค้าของตนเข้าตลาดประเทศต่างๆ ที่ยอมรับแรงกดดันจากรัฐบาลเวียดนาม เช่น กัมพูชาและลาว เกี่ยวกับการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยากำจัดแมลงศัตรูพืช ประชาชนก็จะเลือกผลิตภัณฑ์เวียดนาม ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ด้านโรงแรม การท่องเที่ยว สาธารณสุข พวกเขาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงกว่า
เศรษฐกิจกัมพูชาได้เติบโตขึ้น 9% จากหนึ่งทศวรรษผ่านมา
ขอบเขตที่พัฒนาอย่างเข้มแข็งและกำลังนำหน้าในประเทศนี้ ประกอบด้วย แขนงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องประดับ การท่องเที่ยว และเกษตรกรรม
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|