นิทรรศการโมเดิร์นอาร์ต

โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( สิงหาคม 2554)



กลับสู่หน้าหลัก

ประธานาธิบดีจอร์จส์ ปงปิดู (Georges Pompidou) ชื่นชอบโมเดิร์นอาร์ตเป็นพิเศษ เห็นได้จากโต๊ะทำงานและภาพเขียนที่ใช้ประดับห้องทำงานในพระราชวังเอลีเซส์ (Palais de l’Elysee) อันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี จึงผลักดันให้มีพิพิธภัณฑ์โมเดิร์นอาร์ตในกรุงปารีส ไม่ให้น้อยหน้าสหรัฐอเมริกา จึงเป็นที่มาของการสร้างศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ จอร์จส์ ปงปิดู (Centre national d’art et de culture Georges Pompidou) เป็นศูนย์รวมกิจกรรมวัฒนธรรมแขนงต่างๆ มีห้องสมุดขนาดใหญ่และพิพิธภัณฑ์โมเดิร์นอาร์ต (Musee d’art moderne) ตามความประสงค์ของผู้ริเริ่มโครงการ

ผ่านไปย่านศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้อยู่เนืองๆ เรียกกันสั้นๆ ว่า Centre Pompidou หรือ Beaubourg เพียงเพราะ ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า โบบูรก์ หากไม่เคยเข้าไปด้านในเลย จนวันหนึ่งไปชมนิทรรศการภาพเขียนของวาสซิลี คันดินสกี (Vassily Kandinsky) จึงเป็นโอกาสไปสัมผัสอย่างใกล้ชิด

ชมนิทรรศการจรแล้ว ขอชมส่วนที่ เป็นพิพิธภัณฑ์โมเดิร์นอาร์ต ภาพเขียนมาก มาย มีทั้งจิตรกรที่รู้จักและไม่เคยเห็นผลงาน อองรี มาติส (Henri Matisse) ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) โมริซ เดอ วลา แมงค์ (Maurice de Vlaminck) มาร์ก ชากาล (Marc Chagall) ได้เห็นภาพเขียน ของมาร์ค รอธโก (Mark Rothko) แซม ฟรานซิส (Sam Francis) และซิดนีย์ พอลล็อค (Sydney Pollock) เป็นครั้งแรกหลังจากได้ยินแต่ชื่อจากอดีตผู้บังคับบัญชา ได้เห็นจอร์จส์ บราค (Georges Braque)+โรแบรต์ เดอโลเนย์ (Robert Delaunay) รูปปั้นของอัลแบร์โต จาโกเมตตี (Alberto Giacometti) เป็นต้น

โมเดิร์นอาร์ตที่นี่มีตั้งแต่ปี 1905 อันเป็นช่วงที่มีผลงานที่รู้จักบ้าง ทว่านับตั้งแต่ปี 1960 ค่อนข้างงงงวยกับคำนิยาม “ศิลปะ” ผ้าใบทาสี แขวนรุ่งริ่ง ไฟนีออนวางสลับเหลี่ยม เป็นต้น ที่ชอบมีผลงานของแอนดี้ วาร์ฮอล (Andy Warhol) เป็นภาพเอลิซาเบธ เทย์ เลอร์ (Elizabeth Taylor) นอกจากนั้นมีผลงานของโจอัน มิตเชล (Joan Mitchell) ปิแอร์ ซูลาจส์ (Pierre Soulages) คริสติออง โบลตันสกี (Chris-tian Boltanski) หลุยส์ บูร์จัวส์ (Louise Bour-geois) ฯลฯ

ล่าสุดในฤดูใบไม้ผลิ 2011 แวะเวียนไปศูนย์ ปงปิดูอีกครั้งเพราะพาสาว ใกล้ตัวไป เสียเงินเข้าชม 12 ยูโร ชมทั้งนิทรรศการจรและพิพิธภัณฑ์

ช่วงนั้นมีนิทรรศการ My Way ของฌอง-มิเชล โอโตนีล (Jean-Michel Othoniel) ซึ่งเป็น อาร์ติสต์ชาวฝรั่งเศสที่เกิด ในปี 1964 และจบการศึกษาด้านศิลปะจาก Ecole nationale superieure d’art Paris-Cergy เคยไปทำงานที่ Villa Medicis เป็นศูนย์วัฒนธรรม ฝรั่งเศสในกรุงโรม เริ่มใช้แก้วมาผลิตผลงานในปี 1993 โดยทำเป็น สร้อยคอลูกปัดแก้วสีแดง Le collier cicatrice เขาทำสร้อย แบบนี้ขึ้นมา 1,000 เส้น เพื่อรำลึก ถึงอาร์ติสต์ ชื่อเฟลิกซ์ กอนซาเลซ-ตอเรส (Felix Gonzalez-Torres) เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ในปี 1992 ต่อมาในปี 1996 ผลิตสร้อยคอขนาดยักษ์ไปติดตั้งในกอไผ่ที่ Villa Medicis และที่ Collection Peggy Guggenheim รวมทั้งหลายเมืองในสเปน

Le bateau de larmes เป็นเรือที่พวก boat people ชาวคิวบาใช้หนีมาที่ไมอามี ประดับด้วยลูกแก้วร้อยระโยงระยางประดุจน้ำตาผู้อพยพ

สร้อยขนาดยักษ์หลายเส้น ทั้งที่ทำด้วยแก้วและอะลูมิเนียม ผลงานชื่อ Le Kiosque des noctambules ทำให้นึกขึ้นได้ว่าเคยเห็นงานศิลป์อย่างนี้มาก่อน ก็ที่สถานีรถไฟใต้ดิน Palais Royal-Musee du Louvre ตรงหน้า La Comedie Fran‚aise ซึ่งมีลานกว้างที่นักดนตรีพเนจรมาจับจองแสดงคอนเสิร์ต ล่าสุดเป็นวงเครื่องสายของหนุ่มสาวกลุ่ม หนึ่งเล่นเพลงคลาสสิกได้ถูกใจคน ที่สัญจรไปมาหรือนั่งดื่มกาแฟในร้านใกล้เคียง ทางลงสถานีรถใต้ดินแห่งนี้ประดับลูกแก้วโยงใยแบบเดียวกัน เป็นหนึ่ง ใน Le Kiosque des noctambules

ฌอง-มิเชล โอโตนีล เคยมีผลงานแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมปงปิดูในปี 1994 ด้วยผลงานชื่อ My beautiful closet และที่ลูฟวร์ (Louvre) ในนิทรรศการชื่อ Contrepoint

My way เป็นนิทรรศการแรกที่รวบรวมผลงานของฌอง-มิเชล โอโตนีลตั้งแต่ปี 1986

อีกนิทรรศการหนึ่งเป็นผลงานของอาร์ติสต์ร่วมสมัยเช่นกัน Fran‚ois Morellet, reinstallation มีรูปแบบล้ำยุคพอกัน ค่อนข้างงงที่เห็นหลอดนีออนหลาย สิบอันวางเอียงมุมต่างกัน ใช้นีออนสีขาว บ้าง สีแดงบ้าง สีน้ำเงินบ้าง เป็น งานศิลป์ขนาดใหญ่ ตั้งพื้นบ้าง ห้อยจากเพดานหรือติดข้างฝาบ้าง บางชิ้นสวยทีเดียว นิทรรศการมีคนชมบางตา อาจเข้าไม่ถึงศิลปะ แบบโมเดิร์นเหมือนคนเขียน ต่อเมื่อไปชมพิพิธภัณฑ์โมเดิร์นอาร์ตของศูนย์วัฒนธรรมปงปิดู จึงพบว่า มีห้องแสดงภาพเขียนของฟรองซัวส์ โมเรลเลต์โดยเฉพาะ

ฟรองซัวส์ โมเรลเลต์ (Fran‚ois Morellet) เป็นทั้งจิตรกรและประติมากร เขียนภาพแอบสแทร็ค (abstract) ใช้รูปแบบเรขาคณิตทำนองเดียวกับปิเอต มงเดรียง (Piet Mondrian) เป็นรูปแบบง่ายๆ เช่น เส้นตรง สี่เหลี่ยมจตุรัส สามเหลี่ยม ในแต่ละภาพใช้สีจำกัด มักเป็นภาพ สองมิติ เขาสนใจศิลปะรูปทรงเรขาคณิตระหว่างเดินทางไปเที่ยว บราซิลและอะลัมบรา (Alhambra) ในเมืองกรานาดา (Granada) ของสเปนในปี 1952

ฟรองซัวส์ โมเรลเลต์ เริ่มใช้หลอดนีออนในการสรรค์สร้างงานศิลป์ในปี 1963 ด้วยว่าหลอด นีออนนี้เป็นเส้นตรง จึงเป็นวัสดุที่ตรงใจ เขากับเพื่อนตั้งกลุ่ม Groupe de recherche d’art visuel ซึ่งสลายกลุ่มไปในปี 1968 ผลงานชื่อ Neons pleureurs นั้นศูนย์วัฒนธรรมปงปิดูเป็นผู้ซื้อไป

ฟรองซัวส์ โมเรลเลต์เป็นผู้นำร่อง art minimal เขาสรรค์สร้างประติมากรรม ตามสั่ง ผู้ชื่นชอบผลงานของเขามีอยู่ในหลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เป็นต้น หน้าต่างของบันได Lefuel ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นผลงานของเขาเช่นกัน


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.