|
กว่าจะเป็น Kitayushu Eco-Town
โดย
สุปราณี คงนิรันดรสุข
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( สิงหาคม 2554)
กลับสู่หน้าหลัก
ทศวรรรษ 1901-1950
- รัฐบาลญี่ปุ่นก่อตั้งโรงงานเหล็กกล้า Yawata Steel Works เพื่อเป็นวัตถุดิบพื้นฐานอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมาจนกระทั่ง Kitykyushu เป็นเมืองนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 1 ใน 4 แห่งของญี่ปุ่น
- ปัญหารุนแรงเกิดขึ้นจากโรงงานปล่อยน้ำเสีย น้ำในอ่าว Dokai Bay กลายเป็น Sea of Death สีสนิมแดง ปนเปื้อนโลหะหนัก และท้องฟ้าปกคลุมด้วยควันพิษ (Seven-color smoke)
ทศวรรษ 1960-1970
- กลุ่มสตรีแม่บ้าน เดินขบวนต่อต้านสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ร่วมมือกับสื่อมวลชน+นักวิชาการ และเรียกร้องต่อเทศบาลนครคิตะคิวชูเข้าตรวจสอบโรงงานสำเร็จ
- เทศบาลนครคิตะคิวชู (City Government) ออกแนวคิดแก้ไขปัญหา โดยออกกฎหมายทำข้อตกลงระหว่าง โรงงานกับชาวบ้าน และมีรัฐคอยกำกับตรวจสอบและออกข้อกำหนด ข้อบังคับและควบคุมดูแลการปล่อยมลพิษของโรงงาน
1974-1976
- ขุดลอกตะกอนอุตสาหกรรมหนัก 300,000 ตันขึ้นมาจากอ่าว Dokai แล้วนำไปฝังกลบเป็นพื้นที่ใหม่ของเมือง โดยโรงงานเอกชน (Private Enterprise) ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด 70% นอกจากนี้ยังปรับใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตและระบบบำบัดของเสีย และทำโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกต้นไม้
1980
- เริ่มแผนพัฒนาเมืองโดยก่อตั้งสมาคม “KITA” (Kitakyushu International Techno-cooperatiive Association) และมีความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้นตั้งแต่ปี 1988
1989-1992
- เริ่มแนวคิดพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมบริเวณทะเล Hibiki
1993
- รณรงค์ลดมลพิษเมือง โดยแนะนำระบบใหม่ๆ และดึงให้ประชาชนมีส่วนร่วม เช่น การคัดแยกขยะ
1994-1996
- เริ่มแผนพื้นฐานการพัฒนาบริเวณทะเล Hibiki
1997
- รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมให้ท้องถิ่นจัดตั้ง Eco-Town โดยมีหน่วยงาน MOE และ METI สนับสนุนเมืองที่ได้รับคัดเลือก Kitakyushu ได้รับอนุมัติโครงการโรงงานรีไซเคิลครั้งแรกในปี 1997
1998
- แผนปฏิบัติการพัฒนา Kitakyushu ให้เป็นเมือง Eco-Town เริ่มขับเคลื่อน
2000
- ใช้หลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle)+รณรงค์ให้ประชาชนเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2001
- ก่อตั้ง PCB Treatment Facility ช่วยจัดการสารพิษ Polychlorinated biphenyl or PCB ซึ่งใช้เป็นตัวระบายความร้อนของเครื่องจักร เมื่อสารพิษ PCB ผ่านลงแหล่งน้ำจะผ่านเข้าสู่สิ่งมีชีวิตตามโซ่อาหาร
2002
- ปรับแผนพัฒนา Eco-Town ครั้งที่ 1 และได้รับยกย่องว่าเป็น Kitakyushu Initiative for a Clean Environment ในที่ประชุม Johannesburg Summit
2004
- ปรับแผนดำเนินงานพัฒนา Eco-Town ครั้งที่ 2 และมุ่งเป้าหมายเป็น “เมืองหลวงแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก” (World Capital of Sustainable Development)
2008
- รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนโครงการ Low-carbon Society และKitakyushu ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 6 เมืองต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมเมือง และต่อมาเพิ่มอีก 7 เมือง รวมเป็น 13 เมือง Eco-Town
2009
- Kitakyushu เป็น Eco-Model City ที่ดำเนินการตามแผน Green Frontier Plan เพื่อเป็น “เมืองที่บุกเบิกเศรษฐกิจสังคมที่มีระดับคาร์บอนต่ำของทวีปเอเชีย”
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|