mrpalm.com เรื่องของคนรักปาล์ม

โดย ไพเราะ เลิศวิราม
นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

จากผู้ใช้เครื่องปาล์ม มาเป็นเจ้าของเว็บไซต์ "mrpalm" ชุมชนคนรักปาล์ม ที่กำลังผันตัวเองไปสู่ตลาด e-commerce

ภาพบรรยากาศในงาน "คนรักปาล์ม" ซึ่ง จัดขึ้นที่ร้านเบอร์เกอร์คิงส์ สยามสแควร์ บรรดา ผู้ใช้เครื่องปาล์มเกือบ 200 คน มาพบปะ สังสรรค์ นับเป็นบรรยากาศในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่แตกต่างจากทั่วไป

เพราะนี่คือ ชุมชนผู้ใช้เครื่องปาล์ม (palm) ที่เข้าไปแลกเปลี่ยนข้อมูล หาความรู้ ในเว็บไซต์ mrpalm.com อยู่เป็นประจำ ซึ่ง สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความนิยมของอุปกรณ์ ขนาดเท่าฝ่ามือ กำลังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ในสังคมไทย และเป็นโอกาสให้กับอีก หลายคน

การจัดงาน "คนรักปาล์ม" ถูกจัดขึ้น เป็นครั้งที่ 6 แล้ว ในครั้งนี้มีณัฎฐะพันธุ์ เลิศ พงศ์พิรุฬท์ webmaster และเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ mrpalm.com เป็นโต้โผในการจัดงาน

"อยากมาพบปะกับผู้ใช้ปาล์มด้วยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะปกติก็คุยกัน ทางเว็บไซต์อยู่แล้ว หากมีงานลักษณะนี้ ก็จะได้มาพบหน้า มาทำความรู้จักกัน" เป็นเหตุผล ส่วนใหญ่ของผู้เข้าร่วมงานบอกกับ "ผู้จัดการ"

แน่นอนว่า ก่อนหน้านี้ พวกเขาล้วนแต่ เป็นผู้ที่เข้าไปค้นหาข้อมูลจากแหล่งเดียวกัน แลกเปลี่ยนความรู้ในการใช้งาน รวมถึงการหา แหล่งในการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ใหม่มาทดลอง ใช้งาน และตัวกลางที่ว่านี้ก็คือ เว็บไซต์ mrpalm ที่ได้กลายเป็นชุมชนย่อยๆ ของผู้ใช้เครื่องปาล์ม

ณัฎฐะพันธ์เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการทำ เว็บไซต์ mrpalm มาจากการที่เขาได้ทดลอง ใช้เครื่องปาล์มเป็นครั้งแรกเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ในช่วงที่ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่สหรัฐ อเมริกา

แนวคิดในการทำเว็บไซต์ของเขา มาจากการทดลองใช้เครื่องปาล์มและพบว่า การใช้งานได้ดีกว่าเครื่องออแกนไนเซอร์ทั่วไป จากนั้นก็เริ่มศึกษาหาความรู้ในเว็บไซต์ที่เกี่ยว กับเรื่องปาล์มในต่างประเทศ

หลังจากเรียนจบกลับมาทำงาน ที่ปรึกษาซีเมนส์ประเทศไทย ได้เพียงแค่ปีกว่า ณัฎฐะพันธุ์ก็ตัดสินใจลาออก เพื่อหันมาทำ ธุรกิจเว็บไซต์ mrpalm.com ซึ่งก่อนหน้านี้เคย เป็นแค่งานอดิเรกอย่างเต็มตัว

"ใจรักครับ" เหตุผลง่ายๆ ที่บอกถึงการ ตัดสินใจทิ้งงานประจำมีเงินเดือน มาเป็นเจ้า ของเว็บไซต์ที่มีรายได้เพียงค่าโฆษณา ซึ่งเขา ยอมรับว่าไม่ได้มากมาย นอกจากนี้การตัดสินใจ ของเขาในช่วงนั้น คือ กลางปี 2543 เป็นช่วงที่ ธุรกิจดอทคอมในไทยเริ่มลดกระแสการบูมลง มาแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขามองเห็นแนวโน้ม ที่ดี ก็คือ จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ "mrpalm.com" เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ณัฎฐะพันธุ์บอกว่า ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ ไซต์ mrpalm ส่วนใหญ่จะมาจากการบอก ต่อปากต่อปาก ในหมู่ผู้ใช้ด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ จากจำนวนผู้ใช้ปาล์มในไทย ที่ประเมินว่ามีอยู่ ทั้งหมด 40,000-50,000 ราย ในจำนวนนี้คาด ว่า จะเป็นผู้ที่เข้ามาใช้เว็บไซต์ mrpalm.com ประมาณ 7,000-8,000 ราย

"พอซื้อเครื่องปาล์มมาใช้ ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาข้อมูลเพิ่มได้จากที่ไหนแนะนำให้ไปหา ข้อมูลในเว็บไซต์ mrpalm เวลาสงสัย หรือติด ขัดเรื่องไหน ก็ส่งกระทู้ลงในเว็บ คนที่เขาเคย ใช้งานอยู่มาก่อน ก็มาให้คำตอบ" ผู้ใช้ปาล์ม คนหนึ่งที่เข้าไปใช้เว็บไซต์ mrpalm เป็น ประจำเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

เนื้อหาส่วนใหญ่ที่อยู่บนเว็บไซต์ mrpalm จะเป็นการใช้งานในเรื่องของเว็บ บอร์ด การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นเรื่องของการใช้เครื่องปาล์ม จากที่มีผู้ใช้ ในช่วงแรกไม่กี่ร้อยราย เมื่อจำนวนผู้ใช้งาน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เว็บไซต์ mrpalm ไม่สามารถ รองรับการใช้งานของภาระต้นทุนที่เป็นค่าเข้า บริการ hosting ที่ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

"ตอนนั้น ผมเข้าไปใช้บริการ hosting จากบริษัทในต่างประเทศ เสียเงินเดือนละ 2,000 บาท ช่วงหลังคนเข้ามาใช้บริการมากขึ้น เขาจะให้เปลี่ยนไปใช้ server ต่างหาก ซึ่งต้องใช้เงิน มาก เลยต้องย้ายออกมา แต่ปัญหาเหล่านี้ลุล่วงเมื่อบริษัทไอเนต ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และบริษัทดาต้าวัน ซึ่งทำธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ตดาต้า เซ็นเตอร์ เข้าใช้ hosting ได้ฟรี โดยแลกเปลี่ยนกับแบน เนอร์โฆษณา

ปัจจุบันรายได้หลักของ mrpalm มาจาก ค่าโฆษณา ถึงแม้จะมีการร่วมมือกับบริษัท ทอปสเปซ ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนโฆษณาใน เครือเอ็มเว็บ เป็นผู้ขายโฆษณาให้ก็ตาม แต่ รายได้เพียง "หลักหมื่นบาท" ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของ การบำรุงรักษาเว็บไซต์ที่ต้องจ้างโปรแกรม เมอร์มาดำเนินการ ทางออกของณัฎฐะพันธุ์ คือ การขยาย ไปสู่การทำธุรกิจ e-commerce คือ การหาราย ได้จากการขายสินค้าบนเว็บไซต์ ซึ่งเขาพบว่า ผู้ใช้เครื่องปาล์มที่เข้ามาใช้บริการของเว็บไซต์ mrpalm.com นั้นส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้และ ระดับการศึกษาที่ดี โดย 70% ของจำนวนคน ใช้เหล่านี้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 20% จบปริญญาโท อื่นๆ 10%

จากฐานข้อมูลของผู้ใช้เหล่านี้ เขาเชื่อ ว่าจะเป็นโอกาสที่ดีต่อการขยายไปประกอบ ธุรกิจ e-commerce ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า ออนไลน์ และการให้บริการข้อมูล ซึ่งเวลานี้ mrpalm กำลังอยู่ระหว่างเจรจาความร่วมมือกับ บริษัทขายข้อมูลด้านตลาดหุ้นจากต่างประเทศ ในลักษณะของการเก็บค่าสมาชิกกับผู้ใช้ปาล์ม ที่ต้องการข้อมูลแบบเรียลไทม์

ทางออกอีกด้านหนึ่งของเขาก็คือ การ ให้บริการโซลูชั่น การใช้งานให้กับลูกค้าประเภท องค์กร (Business Solution) ซึ่งเขามองว่า ขีด ความสามารถของเครื่องปาล์มที่มีอยู่จะถูกนำ มาใช้งานได้จริงในโลกของธุรกิจ โดยเฉพาะใช้ทดแทนเครื่องโน้ตบุ๊คที่มีขนาดใหญ่กว่า

ขณะเดียวกัน แนวคิดในการขายข้อมูล หุ้น ส่วนหนึ่งมาจากฐานข้อมูลของผู้ใช้เครื่อง ปาล์มส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่ทำงานในสถาบัน การเงิน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องการใช้ บริการในเรื่องเหล่านี้ และคุณสมบัติของเครื่อง ปาล์มนั้นก็สามารถให้ข้อมูลในลักษณะที่เป็นทั้ง ภาพกราฟิก ตาราง ซึ่งเครื่องลูกข่าย ไม่ว่าจะเป็นเพจเจอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำไม่ได้ และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของเจ้าของเว็บไซต์ mrpalm.com ที่จะผันตัวเองจากชุมชนคนรัก ปาล์มมาสู่เส้นทางของธุรกิจ e-commerce ที่พวกเขาเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่ช้า



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.