"บทเรียนที่สำคัญที่สุดในปีที่ผ่านมาคือการตั้งอยู่บนความประมาท


นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2528)



กลับสู่หน้าหลัก

"บทเรียนที่สำคัญในปีที่ผ่านมาก็คือ การตั้งอยู่บนความประมาท ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้สอนไว้นานแล้วว่า ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย"

สงบ พรรณรักษา CEO ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไอทีเอฟ บอกกับ "ผู้จัดการ" เมื่อถูกถามว่า เหตุการณ์ในรอบปี 2527 โดยเฉพาะที่เกิดกับสถาบันการเงินทั้งระบบนั้น ได้ให้บทเรียนอะไรบ้าง

ธนาคารทุกแห่งจะอ้างว่าถ้าโครงการดีก็จะไม่มองที่หลักทรัพย์ แต่ในข้อเท็จจริงแล้วมันมีมากกว่านั้น

มันหมายถึงว่า ผู้ประกอบการต้องรู้จักผู้บริหารธนาคารเป็นอย่างดี อาจจะเป็นญาติ เป็นลูกน้องคนใกล้ชิด ฯลฯ

ผู้ประกอบการต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจของตัวเองก็ย่อมเล็งเห็นว่า ถ้ามีฐานการเงินของตัวเอง ตนก็จะไปได้มากกว่าปัจจุบันหลายลี้ทีเดียว

การมีโอกาสได้เป็นเจ้าของบริษัทเงินทุนคือทางไปสู่สวรรค์ของคนพวกนี้ ซึ่งต่อมาภายหลังกับกายเป็นประตูนรกไปเสีย

การใช้เงินของประชาชนไป FINANCE กิจการตัวเองไม่ใช่ของใหม่ มันเป็นเรื่องที่ทำกันมานานแล้ว

ลักษณะการลงทุนของผู้ประกอบการที่เข้ามาเป็นเจ้าของบริษัทเงินทุนมักจะมาในลักษณะเดียวกันคือการลงทุนในที่ดิน

จากการตรวจสอบของ "ผู้จัดการ" ปรากฎว่าเกือบจะ 100% ของบริษัทเงินทุนที่ล้ม หรือที่ต้องโอนหุ้นให้กระทรวงการคลังในระบบ "วายุภักษ์นุเคราะห์" นั้น มักจะเป็นบริษัทที่เอาเงินไปจมบนที่ดิน

มีตั้งแต่ซื้อที่ไว้เก็งกำไร สร้างตึกแถวแต่ขายไม่ออก ทำบ้านจัดสรรแต่ไม่มีคนซื้อ ไป

"นอกจากจะเป็นการเตือนสติทุกคนว่า ไม่ควรตั้งอยู่บนความประมาทแล้ว ก็ยังเป็นการเตือนให้กิจการที่ต้องเกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งหลาย ต้องรับผิดชอบต่อความมั่นคงของสังคมด้วย อย่างเช่นสถาบันการเงินจะต้องรีบปรับปรุงความมั่นคงภายในกิจการ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการและคณะผู้จัดการจะต้องเป็นผู้ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน จากสังคม แล้วประสิทธิภาพของคณะผู้บริหารก็จะต้องมีการยกระดับขึ้น" เขาช่วยขยายความต่อจากที่กล่าวไว้ข้างต้น

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอทีเอฟคนนี้มองว่า สาเหตุที่ทำให้วงการเงินของประเทศไทยประสบปัญหาดังที่ผ่านมาก็เพราะ สถานการณ์ใหญ่ๆ อย่างน้อย 4 เรื่อง คือ

สถานการณ์การเงินของโลกเกิดอาการ "เงินตึงตัว" ดอกเบี้ยสูง

จิตวิทยามวลชนของคนไทยหรือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อสถาบันการเงินก็อ่อนไหวง่าย

เมื่อผนวกเข้ากับเรื่องการบริหารการจัดการของผู้บริหารสถาบันการเงินบางแห่งไม่ดีพอ และ

การประกอบการของบางแห่งนั้นๆ อยู่ในภาวะขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยตลาดหุ้นฟุบเมื่อปี 2522 เป็นต้นมา

ปลายปี 2526 และต่อเนื่องมาถึงตลอดปี 2527 ใครที่มีฐานะอย่างไรก็ต้องประสบสภาพเช่นนั้น

เข้าทำนอง "มาอย่างไรย่อมไปอย่างนั้น" นั่นเอง

สงบ พรรณรักษา ให้ความเห็นว่า เหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในปีที่เพิ่งผ่านไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือการดำเนินนโยบายทางการเงินของทางการ ล้วนเป็นสิ่งอยู่นอกจนถึงการสร้างที่พักตากอากาศ แต่มีแมงมุมไปก่อใย ฯลฯ

ส่วนประเภทเอาเงินไปเล่นการพนันจนฉิบหายวายป่วงไปนั้นก็มีอยู่บ้างแต่ไม่มาก พวกเล่นการพนันคือพวกตั้งใจฉ้อโกงจริงๆ จึงต้องขอแยกออกมาไม่ไปรวมกับพวกลงทุนผิดประเภท

ภาวะ PROPERTY BOOM กับตลาดหุ้น BOOM ในปี 2520-2522 เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้บรรดาบริษัทเงินทุนทั้งหลายมองการลงทุนทาง REAL ESTATE

ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้นเพราะเราต้องไม่ลืมว่าพวกนี้ไม่ใช่ PROFESSIONAL FINANCIER พวกนี้เป็น INVESTOR และค่อนข้างใจร้อนด้วย

การจะให้เขามานั่งรอ RETURN จาก OPERATION เพียง 3-4% (อัตราเฉลี่ยของธุรกิจด้านนี้) จากการบริหารเงินแบบมืออาชีพนั้นมันน้อยและก็ช้าไป

และการลงทุน REAL ESTATE เป็นการลงทุนที่ได้ผลคืนเร็วและสัดส่วนของกำไรก็สูงมากๆ ด้วย

ฉะนั้นโดยเจตนาแล้วพวกนี้ไม่ได้ต้องการฉ้อโกงหรือต้องการจะล้มเหนือการคาดหมาย เพราะเหตุการณ์บางอย่างได้เกิดขึ้นอย่างเหลือเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเขาเชื่อว่าแม้แต่เจ้าตัวที่ประสบเหตุเองก็คงจะคาดไม่ถึงเหมือนกัน

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีที่มีบางบริษัทต้องล้มไปนั้น ความจริงเป็นเรื่องที่พอจะรู้ๆ กันอยู่ว่า วันหนึ่งจะต้องเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้น เพียงแต่ไม่มีใครบอกได้ว่ามันจะระเบิดเอาเมื่อไหร่และจะลงเอยในลักษณะใด

"เมื่อมันเริ่มต้นจากความไม่มีหลักการ วันหนึ่งมันก็ย่อมจะต้องลงเอยด้วยต้นเหตุแห่งภัยดังกล่าวนั้นในที่สุด" สงบกล่าว

หันมาดูเรื่องความเสียหายบ้าง

สงบช่วยแยกแยะออกเป็นด้านๆ ให้เห็นว่า ด้านแรกที่กระทบก็คือประชาชนผู้ออมเงินจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการฝากเงินกับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการไป ซึ่งแม้ว่าจะได้รับเงินคืนภายใน 10 ปี แต่ถ้าหากเอามาคิดเป็นตัวเลขแล้วเงินที่จะได้คืนจริงๆ เท่ากับร้อยละ 50 ของเงินต้นเท่านั้น

ด้านต่อมา กิจการที่เคยพึ่งแหล่งเงินกู้จากสถาบันเหล่านี้ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนอย่างมาก จะต้องหาแหล่งเงินกู้ใหม่ ซึ่งก็คงไม่ง่ายนัก

อีกด้านหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันเป็นการทำลายโอกาสของคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย ต่อไปนี้กว่าจะสร้างตัวเองขึ้นมาจนเป็นที่เชื่อถือของประชาชนและโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของกิจการจะยากลำบากอย่างยิ่ง

และประการสุดท้าย การที่ทางการต้องเข้าไปช่วยเหลือกอบกู้ฐานะของสถาบันการเงินจำนวนกว่า 20 แห่ง นั้นย่อมหมายความว่าทางการต้องนำเงินจากประชาชนเข้ามาใช้ ขณะเดียวกันสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ อาจจะทำให้โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจที่มุ่งให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมต้องแปรเปลี่ยนหักแหออกไปบ้าง เพราะอาจจะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในระบบการเงินโดยส่วนรวม เพียงแต่ว่าคนพวกนี้ไม่มีคุณภาพเท่านั้นเอง!

จุดวิกฤตที่เริ่มในปี 2524

ความจริงแววมรณะของบริษัทเงินทุนมีมา 4 ปีแล้ว

ถ้าจะถาม "ผู้จัดการ" ว่า วิกฤตการณ์ครั้งแรกนั้นอยู่ในช่วงไหน? ก็เห็นจะตอบว่าในปี 2524 เป็นต้นมา

การล้มของราชาเงินทุนนั้นบางคนอาจจะดีใจว่าระบบจะได้ดีขึ้น แต่ลึกลงไปคนอาจจะลืมคิดไปว่า บรรดาบริษัทเงินทุนทั้งหลายมันมีการผูกเป็นสายโยงใย ราชาเงินทุนล้มครั้งนั้น มันมีผลกระทบอยู่ 2 ประการ

ประการแรกคือเรื่องของจิตวิทยาที่สร้างความคลอนแคลนให้กับผู้ฝากเงิน

ประการที่สองคือความสัมพันธ์ของระบบบางส่วนที่ต้องสูญเงินการล้มของราชาเงินทุนไปด้วย

อัตราดอกเบี้ยที่ขึ้นถึง 21% คือฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้อูฐต้องหลังหัก

ในภาวะการเงินตึงซึ่งย่อมหมายถึงกำลังหรือถ้าจะขยายความกันก็คือ ขณะนี้สถาบันการเงินได้ถูกแบ่งเป็นประเภทที่มีธนาคารพาณิชย์หนุนหลัง ประเภทที่เป็นอิสระและประเภทที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นและบริหารโดยคนของทางการ ซึ่งโอกาสที่จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบย่อมเป็นไปได้สูง

โดยเฉพาะบริษัทที่ทางการเข้าไปนั้น ทางการก็คงจะต้องพยายามทำให้พลิกสถานการณ์กลับเป็นสถาบันที่เข้มแข็งเป็นที่เชื่อถือของประชาชน

กล่าวในแง่ของการมองย้อนประวัติศาสตร์และใช้ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องเตือนใจแล้วสงบ พรรณรักษามองว่า ปี 2527 นั้นถือได้ว่าเป็นปีที่ประเทศไทยเกิดวิฤตการณที่เกี่ยวข้องกับการเงินครั้งรุนแรงที่สุดปีหนึ่ง คือมีเหตุการณ์การเงินเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปีอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

ในส่วนของทางการเองก็ยังมีการประกาศใช้นโยบายและมาตรการทางการเงินหลายต่อหลายครั้ง "จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เรื่องที่สถาบันการเงินควรต้องจดจำและระมัดระวังกันไว้ก็คือ การวิเคราะห์โครงการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับฝีมือการจัดการและความสามารถในการมองการณ์ไกลของคณะผู้บริหารแต่ละแห่งว่าจะมีมากน้อยเพียงใด"

"ความรุนแรงทางเศรษฐกิจในปี 2527 ผมคิดว่ามันเป็นการกลั่นกรองการประกอบการตลอดจนฐานะของกิจการต่างๆ ไว้ได้ระดับหนึ่งแล้ว ผู้ประกอบการและกิจการที่ผ่านเหตุการณ์ในปีที่แล้วมาได้ผมคิดว่า เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและมีผู้ประกอบการที่มีฝีมืออยู่ในระดับแข็งแกร่งทีเดียวจึงสามารถที่จะประคับประคองกิจการจนผ่าน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.