พม่าหลังการเลือกตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2553


นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มีนาคม 2554)



กลับสู่หน้าหลัก

พม่าหลังการเลือกตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2553

1. Communication Link จะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง

Dawei Port ท่าเรือทวายรัฐบาลพม่าได้มีข้อตกลงและสัมปทานให้กับเอกชนของไทย คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่

China Rail Link ระบบขนส่งทางรางของพม่า ถ้าสร้างเสร็จครบวงจรจะมีระบบรางเชื่อมจากนครคุนหมิง ย่างกุ้ง ทวาย แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ กลายเป็นเส้นทางของอาเซียน

2. National Unity นโยบายพม่าจะมีการรวมประเทศมากขึ้น โดยใช้สัญลักษณ์ของสามวีรกษัตริย์ในอดีตที่ประเทศพม่า ถือเป็นมหาราช ได้แก่ พระเจ้าอโนรธา พระเจ้าบุเรงนอง หรือพม่าเรียกว่า บาติงนอง และพระเจ้าอลองพญา

3. Border Change นโยบายของพม่าภายใต้ความเป็นเอกภาพของประเทศ หรือนโยบายหนึ่งประเทศหนึ่งกองทัพ จะดำเนินการแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยอย่างเป็นระบบส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าแบบดั้งเดิม

4. Thailand Brand สินค้าไทยได้รับการยอมรับจากคนพม่า ถึงแม้จะแพงกว่าแต่หากสอดแทรกตลาดเข้าไปได้ ก็จะถึงเป็นโอกาสด้านการค้า ซึ่งสินค้าไทยเป็นที่นิยมของคนพม่า

5. Energy Resources นอกจากมีทรัพยากรทางทะเลแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำมันและแหล่งก๊าซที่ใหญ่ของโลก ซึ่ง ปตท. ของไทยเข้าไปลงทุนในอ่าวเบงกอล อ่าวเมาะตะมะ กลุ่มเกาะมะริดและในทะเลอันดามัน

6. Industrial Investment ศักยภาพของพม่าประกอบด้วยฐานประชาชนถึง 58 ล้านคน กว่า 70% เป็นคนวัยทำงาน กอปรกับการมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทางด้านป่าไม้ เป็นทั้งแหล่งอัญมณี ทับทิม หยก แหล่งประมงในภาคใต้

7. Agriculture Investment รัฐบาลทหารพม่าพยายามส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้ได้มากที่สุด ด้วยการสนับสนุนการบุกเบิกและฟื้นฟูที่ดินเพื่อการผลิต ผลผลิตเกษตรกรรมส่งออก 5 อันดับแรกได้แก่ ข้าว ถั่ว/ข้าวโพด/อ้อย ยางพารา ไม้สักและไม้เนื้อแข็ง และสินค้าประมง

ที่มา: ธนิต โสรัตน์, มกราคม 2554.


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.