การวิเคราะห์การเพิ่มการตกตะกอนโดยใช้ไม้ไผ่รวกปัก

โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มีนาคม 2554)



กลับสู่หน้าหลัก

แนวไม้ไผ่รวกใช้บรรเทาความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งได้ เพราะยังพบว่ายังมีการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณที่ไม่มีแนวไม้ไผ่ป้องกัน และมีอัตราการกัดเซาะน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่มีแนวป้องกัน

มีการทับถมของตะกอนดินด้านหลังแนวไม้ไผ่อย่างเห็นได้ชัด (อัตราทับถมสูงสุดเฉลี่ย 46 เซนติเมตร ในรอบ 1 ปี) ในขณะที่เกิดการสูญเสียตะกอนดินในแปลงที่ไม่มีแนวไม้ไผ่

แนวไม้ไผ่รวกช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดแรงปะทะของลม ด้านหลังแนวไม้ไผ่รวกได้ในระดับหนึ่ง (ทั้งนี้แนวไม้ไผ่รวกมีความสูงพ้นพื้นดินประมาณ 4 เมตร)

แนวไม้ไผ่ควรปักในระยะไม่เกิน 30 เมตรจากชายฝั่ง

ดินตะกอนที่ทับถมมีธาตุอาหารสูงเหมาะแก่การปลูกพืชและฟื้นฟูป่าชายเลน

ที่มา: ธวัต แทนไฮ, 2549. อ้างจากโครงการจัดทำแผนหลักและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน กรมทรัพยากรฯ


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.