|
“ถั่วเหลือง-อาหารสัตว์จ่อคิวขาดแคลน น้ำมันโลกพุ่งแย่งพืชอาหารผลิตพลังงาน
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์(16 มกราคม 2554)
กลับสู่หน้าหลัก
เตือนวิกฤติปาล์มจะดึงราคา “น้ำมันถั่วเหลือง-อาหารสัตว์” พุ่ง เผยวิกฤติน้ำมันดันให้ทั่วโลกโหมใช้ธัญพืชทุกชนิดผลิตพลังงานทดแทนน้ำมัน แย่งอาหารคนและสัตว์ จี้รัฐจับตาใกล้ชิดเพื่อรับมือได้ทันด้านสมาคมปาล์มน้ำมันคาดราคาน้ำมันปาล์มจะเข้าสู่ภาวะปกติในไตรมาส 3 จี้รัฐบาลตั้งกองทุนฯและสร้างสต็อกเก็บน้ำมันปาล์ม จะสามารถแก้ปัญหาราคาได้ทั้งระบบ มั่นใจแม้เปิดเสรีอาฟต้า เกษตรกร และผู้ผลิตปาล์มไทยจะสามารถสู้ได้ พร้อมแนะอย่างปล่อยให้ราคาน้ำมันปาล์มไทยสูงกว่ามาเลย์มากเกินไป จะทำให้น้ำมันปาล์มเถื่อนระบาด
วิวรรณ บุณยประทีปรัตน์ เลขาธิการสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย กล่าวว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลอนุมัติให้องค์การคลังสินค้า หรือ อคส. เป็นผูนำเข้าน้ำมันปาล์มจำนวน 30,000 ตันนั้น จะสามารถผลิตเป็นน้ำมันปาล์มบรรจุขวดได้ 33 ล้านขวด เพียงพ่อต่อการใช้ได้ 1 เดือน ซึ่งหลังจากนี้ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมิถุนายนจะเป็นช่วงฤดูปาล์มรอบใหม่จะเข้าสู่ตลาด ช่วยบรรเทาความคลาดแคลนไปได้
ทั้งนี้แม้ว่ากรมการคาภายในจะเพิ่มเพดานราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดไว้ที่ 47 บาท แต่ก็คาดว่าหลังจากนำเข้าน้ำมันปาล์มแล้วราคาต่อขวดไม่น่าจะสูงถึงเพดานที่กำหนด เพราะ อคส. เป็นตัวกลางในการขายทำให้ผู้ผลิตทุกรายมีต้นทุนเท่ากัน และแต่ละบริษัทก็ต้องแข่งขันด้านราคาทำให้ราคาจะไม่เพิ่มสูงถึงเพดานที่กำหนด รวมทั้งภาวะการตื่นตระหนกจากข่าวลือว่าน้ำมันปาล์มจะขาดแคลนจะค่อยๆหายไปทำให้ปริมาณการซื้อเข้าสู่ภาวะปกติ
ระบุ”พาณิชย์”ส่งสัญญาณพลาดเกิดการกักตุน
สำหรับสาเหตุของการขาดแคลนน้ำมันปาล์มอย่างรุนแรงในช่วงนี้ก็เพราะว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลุกประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ได้ผลผลิตลดลง ส่วนในช่วงปลายปีก็ประสบกับน้ำท่วมทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าไปเก็บเกี่ยวผลผลิตมาส่งให้โรงงานได้ รวมทั้งผลผลิตที่ได้มีความชื้นสูงทำให้ต้องใช้เมล็ดปาล์มมากขึ้นในการสกัดน้ำมันปาล์ม จากปกติที่ใช้เมล็ดปาล์ม 6 กิโลกรัมจะได้น้ำมันปาล์มดิบ 1 ลิตร ต้องเพิ่มเป็น 7-8 กิโลกรัมจึงจะได้น้ำมันปาล์มดิบ 1 ลิตร และในช่วงเดือนนี้ก็เป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวที่มีผลผลิตออกมาน้อยที่สุด ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่าน้ำทำให้เกิดภาวะขายแคลนน้ำมันปาล์ม ทำให้ราคาเมล็ดปาล์มสูงขึ้นจาก 4 บาทในเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา จนในขณะนี้มีราคาสูงกว่า 7 บาท ทำให้จำเป็นต้องปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวด และนำเข้าจากต่างประเทศ ประกอบกับการดำเนินงานที่ผิดพลาดของกระทรวงพาณิชย์ที่ออกมาบอกว่าจะปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์มในช่วงต้นปีนี้ทำให้เกิดการกักตุนซ้ำเติมให้ปัญหารุนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตามแม้วราคาปาล์มจะสูงมาก แต่เกษตรก็ได้ประโยชน์ไม่มาก เพราะไม่มีผลผลิตที่จะขาย ซึ่งในภาวะปกติต้นทุนการผลิตสูงที่สุดจะอยู่ที่ที่ 2.90 บาทต่อกิโลกรัม แต่รัฐบาลประกันราคาไว้ที่ 3.50 บาท ทำให้น้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 22.50 บาทต่อลิตร และหลังการกลั่นจนบรรจุขวดราคาจะอยู่ที่ 36 บาทต่อขวด แต่ในขณะนี้ราคาเมล็ดปาล์มอยู่ที่ 7 บาทต่อกิโลกรัม จึงทำให้ราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดเพิ่ม 12-16 ทำให้ราคาต่อขวดสูงถึง 48-52 บาทต่อขวด
คาดไตรมาส3ราคาปาล์มโลกเข้าสู่ภาวะปกติ
ไม่เพียงแต่ประเทศไทยจะประสบภัยธรรมชาติเพียงประเทศเดียว แต่แหล่งปลูกพืชน้ำมันทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศแปรปรวนเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ผลิตน้ำมันปาล์มอันดับ 1 ของโลกอย่างมาเลเซีย ซึ่งคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกจะตึงตัวไปอีก 1-2 เดือน โดยมาเลเซียคาดว่าปริมาณผลผลิตจะเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ทั้งนี้แม้ว่ารัฐบาลไทยจะส่งเสริมการปลูกปาล์มเพิ่มขึ้นถึง 4 ล้านไร่ แต่ราคาปาล์มของไทยก็ยังคงแพงกว่ามาเลเซีย เพราะว่ามาเลเซียปลูกแบบอุตสาหกรรมใช้พื้นที่สัมปทานกว้างตั้งแต่ 1 แสนไร่ไปจนถึงหลาบล้านไร่ ทำให้มีต้นทุนผลิตต่ำกว่าไทยมากที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตรายย่อยมีเนื้อที่เพาะปลูกไม่มาก
ทั้งนี้คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบตลาดโลกในช่วง 2 ปีข้างหน้า ราคาจะอยู่ในระดับ 33-35 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งราคาของไทยจะแพงกว่าประมาณ 3 บาท แต่รัฐบาลต้องควบคุมไม่ได้ราคาสูงเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้น้ำมันปาล์มเถื่อนทะลักเข้าประเทศ ซึ่งในขณะนี้ก็เริ่ทมีการลักลอบน้ำเข้าจากกองทัพมด เพราะราคาในประเทศสูงถึง 43-50 บาทต่อกิโลกรัมแต่ราคาตลาดโลก 38-39 บาทต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังไม่กระทบกับเกษตรกรเพราะราคายังดีอยู่
มั่นใจเปิดอาฟต้าปาล์มไทยแข่งได้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าต้นทุนการผลิตของมาเลเซียจะต่ำกว่าไทย แต่ก็มั่นใจว่าเกษตรกรผู้ปลุกปาล์มของไทยจะได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะกระทรวงพลังงานจะเป็นเป็นผู้ซื้อน้ำมันปาล์มเฉพาะจากผู้ผลิตในประเทสเท่านั้นมาทำไบโอดีเซล และถ้าราคายังไม่ดีขึ้นก็สามารถเพิ่มปริมาณไบโอดีเซลจาก บี5 ไปจนถึง บี10 ได้ ทำให้ราคาในประเทศไม่ถูกกระทบจากการเปิดเสรีอาฟต้าไม่มาก ในส่วนของน้ำมันปาล์มสำหรับบริโภคก็คาดว่าน้ำมันปาล์มของมาเลเซียจะไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่ายนัก เพราะต้องเริ่มทำแบรนด์ใหม่ทั้งหมด ประกอบกับคุณภาพการผลิตก็ต่ำกว่าโรงงานของไทยจึงมีสีแดงกว่า ถ้าโรงงานไทยนำเข้ามาก็ต้องกลั่นเพิ่มอีกครั้งทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคไทยชอบน้ำมันปาล์มที่สีใส ดังนั้นถ้าจะเข้ามาแข่งก็จะเป็นเพียงในตลาดล่างและโรงงานอุตสาหกรรม ที่เน้นลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งรัฐบาลยังเตรียมออกมาตรการต่างๆเพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ
จี้ตั้ง”กองทุน-สต็อกปาล์ม”แก้ปัญหาทั้งระบบ
สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มอย่างถาวรนั้น รัฐบาลจะต้องบริหารจัดการการผลิตน้ำมันปาล์มทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่เกษตรกรผู้เพาะปลูกไปจนถึงโรงงานผลิตบรรจุขวด ไม่เปิดโอกาสให้มีการกักตุนในทุกขั้นตอน และต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันปาล์มวิ่งขึ้นลงตามราคาตลาดโลกได้เหมือนราคาน้ำมัน เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน
นอกจากนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องตั้งกองทุนดูแลรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันปาล์ม และสร้างสต็อกกักเก็บน้ำมันปาล์ม โดยนำเงินเงินกองทุนไปซื้อน้ำมันปาล์มในช่วงที่ล้นตลาดเพื่อยกราคาให้สูงขึ้น และนำออกมาขายในช่วงที่ขาดแคลน จะทำให้ราคาน้ำมันปาล์มมีเสถียรภาพ แต่ทั้งนี้ข้อเสนอดังกล่าวได้เสนอมาหลายรับบาลแล้วแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหระทรวงพาณิชย์ที่ดูแลน้ำมันปาล์มบริโภค กับกระทรวงพลังงานที่ดูแลน้ำมันไบโอดีเซลต่างผลักภาระกัน ดังนั้นจึงเห็นควรให้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อเข้ามาควบคุมดูแลกองทุนและสต็อกน้ำมันปาล์ม รวมทั้งออก พ.ร.บ.ออกมาควบคุมโดยเฉพาะแบบยางพาราที่จะเข้ามาช่วยเหลือทั้งระบบ แต่อย่างไรก็ตามทุกข้อเสนอรัฐบาลชุดปัจจุบันก็รับปากที่จะเร่งดำเนินการ แต่ก็ยังต้องใช้เวลาอีกมากในการออกกฎหมาย และการพัฒนาพันธุ์ให้มีผลผลิตที่ดีขึ้น
หวั่นน้ำมันแพงฉุดราคาปาล์ม-ถั่วเหลือพุ่ง
ด้าน ภคอร ทิพยธนเดชา ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจจุลภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า แม้ในช่วงเดือนมีนาคมจะมีผลผลิตปาล์มรอบใหม่ออกมาจะช่วยบรรเทาภาวะการขาดแคลนไปได้บ้าง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯได้คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตปาล์ม15.1% แต่ก็มีปัจจัยน่ากังวลหลายประการ โดยในระยะสั้นการที่ราคาน้ำมันปาล์มที่สูงขึ้นมากในขณะนี้จะทำให้ช่องว่าราคาที่ต่างจากน้ำมันถั่วเหลืองห่างกันน้อยมาก ทำให้ผู้บริโภคจะหันมาใช้น้ำมันถั่วเหลืองที่คุณภาพดีกว่าเป็นจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดปัยหาการขาดแคลนน้ำมันถั่วเหลือตามมา ซึ่งในขณะนี้ถั่วเหลืองในตลาดโลกก็อยู่ในภาวะตึงตัว เนื่องจากสหรัฐฯได้นำไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ใช้ข้าวโพดเพียงอย่างเดียวเนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นมาก และปริมาณการเลี้ยงปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกทำให้ต้องการถั่วเหลือมาทำอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ทำให้อาหารสัตว์จะมีราคาแพงตามมาอีก รวมทั้งสภาวะอากาศที่แปรปรวนทำให้ผลผลิตลดลง ซึ่งอาจทำให้ราคาน้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นอีก
ในขณะที่น้ำมันปาล์มที่แม้ว่าจะมีผลผลิตรอบใหม่ออกมา แต่ถ้าการคาดการณ์ของกระทรวงเกษตรฯผิดพลาด เกิดภัยภิบัติทางธรรมชาติก็ทำให้ปริมาณผลผลิตไม่ได้ตามที่คาดไว้ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการแย่งชิงน้ำมันปาล์มนำไปผลิตไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น จึงยังคงทำให้ปริมาณผลผลิตทั่วโลกยังอยู่ในภาวะที่ตึงตัว นอกจากนี้หากรัฐบาลได้บังคับใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 5 ในช่วงกลางปีนี้ตามที่ประกาศไว้ ก็จะยิ่งทำให้ปริมาณน้ำมันปาล์มในตลาดลดลงไปอีก ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจับตาสถานการณ์ต่างๆที่ส่งผลผระทบอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือได้ทัน ดังนั้นจึงคาดว่าในระยะสั้นช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคมสถานการณ์น้ำมันปาล์มจะดีขึ้น แต่ถ้าราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้นมาก จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนเกิดการส่งออกไปต่างประเทศ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันปาล์มได้ ซึ่งสรุปได้ว่าภาวะน้ำมันปาล์มในปีนี้จะค่อยๆดีขึ้น แต่ก็มีปัจจัยเสียงหลายประการที่อาจทำให้เกิดการขาดแคลนได้
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|