หลังจากเว็บไซต์ sanook.com ถูกบริษัทเอ็มเว็บ ประเทศไทย ซื้อไปด้วยมูลค่าการซื้อขายเท่าไหร่
ไม่มีการยืนยัน แต่ดีลทางธุรกิจ
ในครั้งนั้นเป็นการพลิกโฉมหน้าใหม่ของอินเตอร์เน็ต
ของเมืองไทย
ถ้าเทียบกับเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้าที่ sanook.com จะ ขายให้กับเอ็มเว็บ
เว็บไซต์เหล่านี้เป็นแค่งานอดิเรกยามว่างของคนใหม่ๆ ที่ทดลองทำเว็บขึ้นมา
ใส่เนื้อหาเข้าไปตามที่ใจชอบ
แต่เมื่อ sanook.com กลายเป็นของมีมูลค่าทางธุรกิจขึ้นมา เว็บไซต์ใหม่ๆ
เกิดขึ้นมากมายในช่วงเวลาครึ่งปีที่ผ่านมา และคราวนี้ไม่ใช่ของเล่นอีกต่อไป
แต่กลายเป็นเรื่องของธุรกิจรายใหญ่ไปแล้ว
กรณีของบริษัทเอดี เวนเจอร์ ของค่ายชินคอร์ปอเรชั่น ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจในลักษณะเดียวกัน
venture capital เข้าลงทุนในเว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ที่เป็นไอเดียใหม่ๆ
ชินคอร์ปรู้ดีว่าธุรกิจสื่อสารไม่ใช่คำตอบของการลง ทุนอีกต่อไป เพราะแนวโน้มของโลกคืออินเตอร์เน็ต
ชินคอร์ปเองพร้อมในเรื่องเงิน แต่ขาดทีมงาน ขาดมันสมองที่จะสร้างบริการบนอินเตอร์เน็ต
ชินคอร์ป เพราะนี่คือลูกค้าคนรุ่นใหม่ แยกไม่ออกว่าใครคือผู้ใช้และผู้ขาย
เพราะทุกคนมีสิทธิทั้งนั้น ดังนั้นคนที่จะรู้ตลาดได้ดีที่สุดก็คือ ผู้ใช้เหล่านี้
หว่านเงินลงทุนลงในเว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ เรียกว่าหากลงไป 10
โครงการพลาด 8 สำเร็จสัก 2 ก็ถือว่าคุ้มแล้ว หากเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตรานี้กับการซื้ออนาคตกับอินเตอร์เน็ต
เอ็มเว็บนั้นหลังจากซื้อ sanook.com แล้ว ก็เริ่มฟอร์มทีมงานที่เป็นไทยทั้งหมด
ปรเมศวร์ มินศิริ นั้นเมื่อขายเว็บแล้ว ก็กลายมาเป็นพนักงานของเอ็มเว็บนั่งเก้าอี้รอง
ประธานกรรมการบริษัทดูแลเรื่องเว็บไซต์ จัดตั้งทีมงานทางด้านเทคนิค และข้อมูล
(content) ร่วมกับเครก ไวท์ ที่เอ็มเว็บส่งมาดูแลธุรกิจในไทย
จากนั้นเอ็มเว็บก็เริ่มทยอยซื้อเว็บไซต์ใหม่ๆเข้ามาในมือรวมแล้ว 7 เว็บไซต์
sanook.com และ mweb.com แล้ว thaicentral.com, thaiicp.com, sabuy.com,
simplemag.com และ orchidtravel.com
จากนั้นทีมงานของเอ็มเว็บจะพัฒนาเว็บไซต์เหล่านี้ให้เป็นรูปเป็นร่าง ที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
mweb.com จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล เช่น เครดิตการ์ด
การจัดการเงินสด เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ การลงทุน ภาษี ส่วน simplemag.com
จะเป็นเว็บไซต์แนวแมกาซีนสำหรับผู้หญิง มีเนื้อหาเกี่ยวกับความงาม แฟชั่น
สุขภาพ การแต่งงาน
ก่อนหน้าที่จะมาลงทุนในไทย เอ็มเว็บประสบความสำเร็จจากการนำบริษัทในแอฟริกาใต้เข้าตลาดหุ้น
แนสเดคได้เงินจากการขายหุ้นไอพีโอไปมหาศาล และทำให้เอ็มเว็บมีความพร้อมในเรื่องเงินทุนที่กว้านซื้อเว็บไซต์มาไว้ในมืออีกมาก
เอ็มเว็บมีแนวคิดไม่ต่างไปจากรายอื่นๆ การทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
การลงทุนในช่วงแรกจึงต้องหว่านไปทุกๆ กลุ่ม เพื่อดูความต้องการก่อน จากนั้น
จึงค่อยขยายการลงทุนเพิ่มเติม หรือขยายบริการอื่นๆ ต่อเนื่อง
ทำนองเดียวกันกับเอ็มเว็บ ที่จะเริ่มชิมลางกับการทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ
ด้วยเว็บไซต์ orchidtravel.com ที่รวบรวมข้อมูลท่องเที่ยว รวมถึงจองห้องโรงแรม
ทัวร์ผ่านทางอิน เตอร์เน็ต เรียกว่าเป็นโครงการนำร่องเพื่อประเมินดูผลสำเร็จ
ก่อนจะก้าวไปสู่ อี-คอมเมิร์ซอย่างเต็มตัว
แต่เว็บไซต์ก็เป็นยุทธศาสตร์เพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะการลงทุนในไทยยึดเอาโมเดลเดียวกับการลงทุนของเอ็มเว็บใช้ในแอฟริกาใต้
ที่ไม่ต่างไปจาก AOL ซึ่งเป็นทั้งไอเอสพี และผู้ให้บริการข้อมูล (content
provider) ซึ่งเมืองไทยจะล้าหลังไป 1 ปี ดังนั้นสิ่งที่เอ็มเว็บขาดอยู่ก็คือ
ธุรกิจไอเอสพี ที่ไม่ใช่เรื่องรีบร้อนเท่ากับการสร้าง content
online business คือ ก้าวที่สองของฮัทชิสัน วัม เปาในธุรกิจไอที นับตั้งแต่ได้ทุ่มการลงทุนไปที่ธุรกิจไร้สายตลอดในช่วงหลายปีที่แล้วมา
"ตอนที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ของฮัทชิสันมาถึงสนามบินดอนเมือง คำถามแรกของเขาคือ
ทำไมเมืองไทยไม่ทำธุรกิจ online business" อาจกิจ สุนทรวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาดของฮัทชิสัน
เทเลคอมมิวนิเคชั่น ประเทศไทย จำกัด บอกถึงสาเหตุของที่มาของการลงทุนที่สำคัญในไทยอีกครั้ง
หลังจากว่างเว้นการลงทุนมาแล้วกว่า 7 ปี นับตั้งแต่ลงทุนร่วมกับล็อกซเล่ย์
ในธุรกิจเพจเจอร์ ภายใต้ชื่อฮัทชิสัน
ฮัทชิสันเริ่มธุรกิจออนไลน์บิสซิเนสแล้วในหลายประเทศ ทั้งในฮ่องกงที่มีธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ต
และ ให้บริการข้อมูล ในนามของฮัทชิสันมัลติมีเดีย รวมทั้งลงทุนในประเทศอื่นๆ
ในย่านเอเชีย ออสเตรเลีย อิสราเอล มา-เลเซีย
สำหรับเมืองไทย เว็บไซต์ lemononline.com คือก้าวแรกของออนไลน์บิสซิเนสของฮัทชิสัน
ที่ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อเป็นบริการเสริมของเพจเจอร์ แต่จะเป็นธุรกิจใหม่ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเดิมที่ฮัทชิสันเตรียมเงินทุนไว้
25 ล้านบาทในการพัฒนาเว็บไซต์นี้
"พอพูดเรื่องออนไลน์บิสซิเนส ทุกอย่างมันเปิดโลก ไอเอสพี เว็บโฮสติ้ง อี-คอมเมิร์ซ
ทำข้อมูล ทุกอย่างมันคือออนไลน์บิสซิเนสทั้งหมด ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกทำอะไรและเมืองไทยเวลานี้เป็นแค่ช่วงเริ่มต้นเท่านั้น"
การลงทุนในอินเตอร์เน็ต คำว่า conflict of interest ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
เช่นเดียวกับการลงทุนของฮัทชิสัน ที่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคู่แข่งกับล็อกซเล่ย์
ที่รุกหนักในธุรกิจอินเตอร์เน็ตมาหลายปี เพราะการทำธุรกิจเหล่านี้จะ "ปิด"
ไม่ได้ แต่จะเป็นการร่วมมือกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
งานนี้ฮัทชิสันเตรียมความพร้อมมาไม่น้อย เนื้อหาของ lemononline มีมากกว่า
1,000 หน้า ห้อง chat room ที่เป็นภาษาไทย เพราะก่อนหน้านี้อาจกิจใช้เวลาศึกษามามากกว่า
3 ปีเต็ม ทดลองเข้า chat room ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้
อาจกิจมองเห็นโมเดลของการทำเว็บไซต์ไม่ต่างจากคนอื่นนัก ก่อนที่จะไปถึงจุดที่ทำรายได้
ต้องลงทุนก่อน เพื่อสร้างให้ lemononline เป็นประชาคม หรือชุมชนที่มีคนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องก่อน
ขั้นแรกของ lemononline จะต้องตอบสนองบริการทั้ง 3 อย่างคือ 1. คอมมิวนิเคชั่น
นั่นก็คือ การมีบริการอีเมล 2. คอมมูนิตี้ ที่จะใช้เป็นสถานที่สำหรับพบปะพูดคุยหาเพื่อน
และ 3. utility จะต้องเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการท่องเว็บ
บริการทั้งสามบวกกับความพร้อมของทีมงาน ประกอบไปด้วย chiea technology
โปรแกรมเมอร์ web producer พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นเรื่องของคนทำเว็บไซต์จะต้องปรับให้ทัน
ผลตอบแทนการลงทุนในครั้งนี้ก็คือ รายได้จากค่าโฆษณา การทำอีคอมเมิร์ซ และการขายตรง
แต่การจะต้องมีรายได้ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
มุมมองของผู้บริหารฮัทชิสันไม่ได้แตกต่างไปจากเอ็มเว็บ หรือ ชินคอร์ปนัก
ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่แต่ละธุรกิจจะมอง แต่เชื่อได้ว่านับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป
เม็ดเงินจำนวนมากทั้งจากในและต่างประเทศ จะหลั่งไหลเข้ามา เพราะไม่มีใครอยากจะพลาดโอกาสสำคัญที่กำลังจะมาถึงนี้