สร้างเด็กเก่งอังกฤษแต่หัวใจไทย ผ่านมุมมอง 'เจ้าแม่ตาวิเศษ'


ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์(17 ตุลาคม 2553)



กลับสู่หน้าหลัก

คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช

คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช นักพัฒนาชุมชน นักสังคมสงเคราะห์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครและผุ้บริหารอุทยานการเรียรู้ ที เค ปาร์ค ฯลฯ

ประสบการณ์การทำงาน ประวัติการทำงาน กับโครงการกิจกรรมต่างๆ ที่มีโอกาสคลุคลีกับระบบการศึกษาในไทย ได้ให้มุมมองผ่าน “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ต่อต่อระบบการศึกษาภาษาอังกฤษในประเทศไทยและค่านิยมของผู้ปกครองไทยกับการส่งบุตรหลานเรียนโรงเรียนนานาชาติไว้อย่างน่าสนใจ

ด้วยแบล็กกราวด์ของคุรหญิงชดช้อย เมื่ออายุ 9ขวบ ต้องเดินทางไปศึกษาเรียนที่ประเทศออสเตรเลียและผลการเรียนอยู่ในระดับท็อปมาตลอด และซึมซับกับค่านิยมของผู้ปกครองไทยที่นิยมส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศ หรือปัจจุบันครอบครัวจำนวนมากส่งบุตรหลานเรียนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยด้วยเหตุผลสำคัญคือต้องการให้ลูกหลานเก่งภาษาอังกฤษ และผู้ปกครองไม่มั่นในระบบการศึกษาของไทยกลัวว่าลูกจะตามไม่ทันโลก

แต่คุณหญิงชดช้อยมองว่าต้องดูที่กระบวนการสอนด้วย แม้เด้กกจะเก่งภาษาอังกฤษ หรือเรียนโรงเรียนนานาชาติ แต่ระบบการสอนที่ไม่พัฒนาทำให้เด็กไทยที่จบไปแล้วไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ไม่สามารถแข่งขันได้ ความคิดไม่ทันคนอื่นและไม่มีจินตนาการ

“เราพูดเรื่องปฏิรูปการศึกษามามาก ถ้าเราจะสอนครูอย่างที่เขาสอนกันจัดอบรม ส่งไปเมืองนอก แล้วครูกลับมาไม่มีเวลามาปรับปรุงการสอน เพราะงานที่มีอยู่ก็มาก จากการคลุกคลีกับโรงเรียนตั้งแต่ทำโครงการตาวิเศษ รู้ว่าระบบการศึกษาเป็นอย่างไร วิธีการสอน ผู้ปกครองส่งลูกไปเรียนโรงเรียนนานาชาติ อนาคตเด็กที่มีความพร้อมที่สุดจะไม่เป็นคนไทย แต่เด็กจะเป็นคนเก่ง ภาษาอังกฤษเก่ง แต่จะได้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ความลึกซึ้งเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ ภาษาไทยไม่รู้เลย ครูที่สอนในโรงเรียนนานาชาติก็มใจากหลายประเทศจำนวนมากที่ดูถูกคนไทยรู้สึกว่าตนเองเหนือชั้นกว่าเด็กไทย”

คุณหญิงชดช้อย บอกว่า น่าเป็นห่วงอนาคตเด็กไทยหากโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมากจะมีใจให้กับประเทศไทยจริงๆ หรือไม่ พัฒนาประเทศไทย หรืออาจไม่สนใจที่จะพัฒนา เพราะทุกวันนี้กระแสสังคมไทยทุกอย่างต้องเป็นภาษาอังกฤษ แต่ตนคิดว่าไม่มีใครคิดถึงอนาคตว่าเด็กเหล่านี้จะเป็นอย่างไร เพราะเด็กเหล่านี้จะเป็นผู้บริหารของประเทศไทยในอนาคต

“เรื่องนี้ไม่แฟร์เลยที่ผู้ปกครองกำลังตัดอนาคตของลูก 50% เพราะว่า 50% เขาจะไม่เข้ารับราชการเลยเพราะไม่ได้ภาษาไทยจะสอบเข้าราชการได้อย่างไร บางคนบอกไม่เป็นไร เพราะเขาไม่ต้องการให้ลูกทำงานราชการอยุ่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะคนเหล่านี้อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะทางการเงินที่ดี เขามีความพร้อมทุกอย่างไม่ต้องการเงิน แต่มีความรู้น่าจะนำมาช่วยพัฒนาประเทศ

แม้จะประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานในภาคเอกชน เช่น เป็นนากสมาคมธนาคาร ประธานหอการค้า แต่เขาจะเจรจาเรื่องกฏหมายไม่ได้เพราะกฏหมายไทยก็ต้องเป็นภาษาไทยไทย ต้องอ่านให้รู้เรื่อง ให้ลึกซึ้ง จึงเป็นปัญหาในอนาคต นี่คือเหตุผลที่น่าเป็นห่วง และรัฐบาลกำลังทำผิดทาง เพราะเข้าไปส่งเสริมไบลิงกัว โดยคิดว่าเรื่องภาษาอังกฤษเป็นเรื่องหลัก

เห็นด้วยที่จะมีการภาษาอังกฤตั้งแต่อนุบาลและควรมีเจ้าของภาษามาสอน แต่ภาษาอังกฤษต้องเป็นภาษาที่สอง เหมือนที่เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง”

ปัจจุบันการเรียนการสอนต้องบูรณาการ สามารถสอดแทรกภาษาอังกฤษเข้าไปได้ในขระที่วิชานั้นเป็นวิชาที่ต้องเรียนด้วยภาษาไทย เพราะจากการที่ศึกษาดูงานระบบการเรียนการสอบแบบบูรณาการในต่าประเทศพบว่าทุกอาทิตย์ครูผู้สอนต้องมาประชุมกันว่าสัปดาห์นี้จะสอนเรื่องอะไร จะสอนวิทยาศาสตร์สอนเรื่องหัวใจ บูรณาการเข้าไปเด็กก็จะรับได้เร็วขึ้น สอนวิทยาศาสตร์ก็ให้เด็กค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นภาษาอังกฤษเรื่องหัวใจ ทำให้เด็กมีความรู้เร็วขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องสอนเป็นภาษาอังกฤษ ปัจจุบันพบว่าโรงเรียนไบลิงกัวเช้าสอนภาษาอังกฤษ บ่ายต้องมาทบทวนเป็นภาษาไทย แล้วมีประโยชน์อะไรที่ต้องให้เด็กมาเรียนเนื้อหาซ้ำๆ

“ความจริงแล้วโรงเรียนไบลิงกัว โรงเรียนนานาชาติในไทย มีมากกว่า 10 แห่งที่มีคุณภาพดีจริงๆ แต่บางแห่งต้องยอมรับว่ายังไม่ได้มาตรฐาน มีครูที่ไม่ใช่เจ้าของภาษามาสอน เช่นครูชาวพม่า ฟิลิปปินส์

นอกจากนี้โรงเรียนนานาชาติหลายแห่งในไทยไม่ได้สอนประวัติศาสตร์ ประเพณีของไทย แต่เป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมของทั่วโลบกแล้วคนสอนก้ไม่รู้วัฒนธรรมประเณีของประเทศเหล่านั้นเลย และเกรดหรือระดับความรู้ของครูก็แตกต่างกัน เช่น โรงเรียนไบลิงกัวค่าใช้จ่ายถูกกว่าโรงเรียนนานาชาติกว่า 50% คุณภาพของครูที่มาสอนก็ต้องลดลงด้วย”

คุณหญิงชดช้อย ได้ยกตัวอย่างโครงการทำร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่พัฒนาระบบการศึกษาภาษาอังกฤษตั้งแต่รากฐานคือครูผู้สอนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เป็นโครงการร่วมกับ บริติส เคาซิล จัดตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ ซึ่งบริติส เคาซิล มีแนวคิดเดียวกันที่จะนำครูจากต่างประเทศเข้ามาสอนและส่งครูจากไทยไปอบรมยังต่างประเทศ โดยได้ให้ทุนไปศึกษาดูระบบการเรียนการสอนและส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเข้ามาทำระบบร่วมกันเป็นเวลา 3 เดือน นอกจากนี้ได้เจรจากับโรงเรียนนานาชาติหลายแห่งเช่น โรงเรียนนานาชาติบางกอกพัฒนา โรงเรียนเซนต์แอนดรูว์ สามัคคี ที่สนใจโครงการนี้ร่วมกัน

ขณะเดียวกันได้ชักชวนผู้บริหารโรงเรียนเอกชนต่างๆ เพื่อสอบถามปัญหา พบว่า ยังมีเพดานค่าจ้างครูที่จะมาสอน แต่โรงเรียนจำนวนหนึ่งไม่สนใจเพดานค่าจ้างเพราะมองว่าหัวใจสำคัญของการศึกษาคือครู เจรจากับโรงเรียน 5 แห่งที่ให้ความสำคัญกับครู พัฒนาครูจึงจะทำโครงการการพัฒนาครูร่วมกันทำต่อเนื่องมา 5 ปี

หลังจบโครงการนี้ ก็เจรจาทำต่อเนื่องกับโรงเรียนในสังกัด กทม. เพราะการที่ทำกับโรงเรียน กทม. ถือว่าอนาคตสิ่งที่ปลูกฝังไปก็ยังอยู่เพราะเด็กๆเหล่านี้เป็นแกนนำในอนาคตและโรงเรียนก็สามารถสานต่อโครงการได้

“แม้วันนี้ที่เราไม่ได้ทำแล้วยังมีคนสานต่อเพราะเขาคือองค์กร โครงการทำกับจากโรงเรียนเล้ก ๆที่มีไม่ชื่อเสียไม่มีใครสนใจแต่หยิบยื่นโอกาสดีๆ ให้ซึ่งโรงเรียนก็ต้องการทำโครงการร่วมกับเราและปรากฏว่าไปได้ดี”

นี่คือมุมมองของผู้หญิงแก่ง ที่นำความรู้ ประสบการณ์การทำงาน เพื่อพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษของเด็กไทยอย่างถูกทิศทางถูกทาง เพื่อเยาวชนไทยหัวใจไทย เติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.