จับตาแฟรนไชส์ไทย ยกระดับธุรกิจ-โตต่อเนื่อง


ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์(17 ตุลาคม 2553)



กลับสู่หน้าหลัก

“ผู้จัดการรายสัปดาห์” ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้แสดงงาน (แฟรนไชซอร์) และผู้เข้าชมงาน ในงาน TFBO 2010 ที่ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 7-10 ตุลาคมที่ผ่านมา ในภาพรวมพบว่า มีผู้สนใจเข้าร่วมงานมองหาธุรกิจเพื่อการลงทุนตั้งแต่เงินลงทุนหลักหมื่นไปจนถึงเงินลงทุนระดับล้านขึ้นไป

ซึ่งในงานมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ในต่างประเทศอย่างประเทศแคนนาดา ที่เข้าร่วมงานำเสนอเครื่องหยอดเหรียญชอคโกแลตและลูกกวาดที่กำหนดการลงทุนขั้นต่ำที่ 20 เครื่องราคาต่อเครื่อง 12,995 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเหมาะกับทำเลในห้างสรรพสินค้ากระจายในหลายๆ จุด

นอกจากนี้แบรนด์ลงทุนราคาหลักล้านจนถึงหลัก 10 ล้านบาทขึ้นไป เช่น เชสเตอร์ กริลล์ มี 3 รูปแบบการลงทุนตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทจนถึง 5 ล้านหรือ TOM & TOM Coffee แฟรนไชศ์จากเกาหลีก็มาแสดงในงานนี้ด้วย

ทั้งนี้จากการสอบถามแฟรนไชซอร์ ที่ร่วมแสดงงาน พบความสนใจในหลายประเนทั้งการขยายตัวของธุรกิจและการตอบรับของนักลงทุนไว้อย่างน่าสนใจ



'แด๊ดดี้ โด'
เปิดตัว ขายแฟรนไชส์

ปีเตอร์ ทวีผลเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แด๊ดดี้ โด (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่า จากการเข้าร่วมงาน TFBO 2010 มีผู้สนใจลงรายละเอียดเพื่อเข้ารับฟังข้อมูลการลงทุนกว่า 300 ราย ผู้สนใจลงทุนกับแด๊ดดี้ โด มีทั้งนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตนเอง และนักลงทุนที่มีกิจการอยู่แล้วสนใจขยายการลงทุนมาธุรกิจเบเกอรี่ประเภทโดนัท เป็นนักลงทุนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

สำหรับเงินลงทุนแฟรนไชส์แด๊ดดี้ โด อยู่ที่ประมาณ 1.9-2.5 ล้านบาท ซึ่งอยู่กับพื้นที่ ค่าแฟรนไชฟี 450,000 บาท ค่ารอยัลตี้ฟี 5% ของยอดขายและค่ามาร์เก็ตติ้งฟี 3% ของยอดขาย สัญญาแฟรนไชส์ 10 ปี แบ่งเป็นการต่อสัญญาทุกๆ 5 ปี

ปัจจุบันสาขาแด๊ดดี้ โ ที่บริษัทลงทุนเองมี 20 กว่าสาขา และจะขยายสาขาแฟรนไชซีอย่างจริงจังในปี 2554 นี้

ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทย ได้มีโครงการสินเชื่อเพื่อธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งบริษัทได้เข้าร่วมกับโครงการดังกล่าวด้วยเพื่อเป็นสินเชื่อแบงก์ให้กับแฟรนไชซี ซึ่งโครงการดังกล่าวคาดจะขยายฐานผู้ลงทุนเพิ่มขึ้น

และสำหรับกระแสความคลั่งไคล้ Krispy Kreme โดนัทสัญชาติอเมริกันอยู่ในขณะนี้ ปีเตอร์ มองว่า กลับทำให้ตลาดโดนัทในไทยตื่นตัวมากขึ้น ทั้งผู้ประกอบการที่มีการปรับปรุงพัฒนาโปรดักส์หรือผู้บริโภคเองที่สนใจต่อเบเกอรี่ประเภทโดนัทเพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจภาพรวมของโดนัทในทุกแบรนด์ขยายตัวขึ้นแม้แต่แด๊ดดี้ โด เองพบว่าไม่ได้รับผลกระทบหรือมียอดขายลดลงแต่อย่างใดกระแสดังกล่าวกลับทำให้แด๊ดดี้ โด ขายดีขึ้นอีกด้วย



'เดอะ วอฟเฟิล'
Go Inetr ปี 2554

ด้านแฟรนไชส์ “เดอะ วอฟเฟิล” ดำเนินการโดยบริษัท เดอะวอฟเฟิล ซัพพลาย จำกัด ซึ่งปัจจุบันมีสาขาแฟรนไชส์ในรูปแบบคีออส ในทำเลต่างๆ กระจายทั่วประเทศกว่า 160 สาขา ล่าสุดขยายโมเดลการลงทุนในรูปแบบชอป และทำการรีโนเวทรูปแบบชอปที่มีอยู่ที่ยูเนี่ยนมอลล์ สำหรับโมเดลชอบรูปโฉมใหม่นี้ เตรียมจะเปิดตัวสาขาต้นแบบสาขาแรกที่เสรี เซ็นเตอร์ ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ โดยได้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าภายในร้านนอกจากวอฟเฟิล เครื่องดื่ม แล้วยังมีไอศรีมโยเกิร์ต

ผู้บริหารของเดอะ วอฟเฟิล ให้ข้อมูลว่า ภายในปี 2554 นี้ เตรียมขยายสาขาเดอะ วาฟเฟิล ไปยังต่างประเทศเป็นการขายสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์ ซึ่งล่าสุดเจรจากับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และเป้าหมายขยายไปยังดูไบและฟิลิปปินส์



'พรู๊ฟโค๊ท'
ธุรกิจบริการมาแรง

แฟรนไชส์พรู๊ฟโค๊ท ธุรกิจศูนย์บริการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความร้อน รอยรั่ว และรอยร้าวให้กับอาคารสำนักงาน ที่พักอาศัย ธุรกิจบริการที่ได้รับความสนใจจากการแสดงงาน TFBO 2010 นี้มีผู้สนใจลงทุนกว่า 200 ราย สำหรับบริษัทดังกล่าวนี้เป็นธุรกิจด้านเคมีภัณฑ์เพื่อการก่อสร้างมากว่า 10 ปี เป็นทั้งผู้ผลิต นำเข้า จัดจำหน่ายและงานบริการดัง มองเห้นการขยายธุรกิจด้วยรุปแบบแฟรนไชส์

ทั้งนี้คุณสมบัติแฟรนไชซีต้องรักงานบริการ เข้าใจวิธีการบริหารลุกค้า ดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง และพร้อมปฏิบัติตามระบบแฟรนไชส์ของพรู๊ฟโค๊ท



'i-maru'
ไอศกรีมประสบการณ์ใหม่

i-maru ไอศกรีมประสบการณ์ใหม่ ที่เรียกความสนใจจากผู้เข้าชมงานได้ไม่น้อย เนื่องจากโปรดักส์ที่ดึงดูดความสนใจเป็นไอศกรีม mi-lu-ku ผลิตจากนมฮอกไกโด ที่บรรจุในรูปทรงคล้ายเต้านมวัว นอกจากความโดดเด่นของแพคเกจจิ้งแล้ว ยังเสนอ “การลงทุนต่ำ คืนทุนเร็ว” หรือราคา 45,000 บาท ไม่มีส่วนแบ่งยอดขายรายเดือน โดยบริษัทได้ประมาณการยอดขายเฉลี่ยวันละ 96 ลูก (ต้นทุนลูกละ 29 บาท ขายลูกละ 39 บาท )ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 39 วัน กำไรขั้นต้นจากการขยายระยะเวลา 1 ปีที่ 350,400 บาท

ปัจจุบัน i-maruมีจำนวน 10 สาขา ส่วนใหญ่เป็นทำเลแหล่งเมืองท่องเที่ยวหรือย่านชุมชน สำหรับผู้สนใจและอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดบริษัทจะทำการจัดส่งถึงที่กรณีที่สั่งตั้งแต่ 2 กล่อง (240 ลูกต่อกล่อง) ขึ้นไป

นอกจากนี้บริษัทได้เพิ่มโปรดักส์ใหม่ที่คิดค้นขึ้นเป็นไอศกรีมผลไม้ 100% รูปทรงไข่ รสทุเรียนและผลไม้ เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับผู้บริโภค



อีซี่ส์ ขยาย 'มอร์เก้น'
เตรียมเปิดสาขาที่ 5

บริษัท อีซี่ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล แฟรนไชส์ จำกัด ได้เปิดตัว Morgen (มอร์เก้น) แฟรนไชส์ร้านอาหารสไตล์เยอรมัน ในงาน TFBO 2010 นี้หลังขยายสาขาเงียบๆ ไปแล้ว 4 สาขา ล่าสุดเตรียมขยายสาขาที่ 5 หมู่บ้านทิพวัล ย่านสำโรง

“สุภัค หมื่นนิกร” ผู้บริหาร กล่าวว่า ปัจจุบันมอร์เก้นได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน ด้วยโปรดักส์ที่หลากหลายและมูลค่าการลงทุนที่ 2 ล้านกว่าบาทซึ่งไม่สูงมากเหมาะกับผู้ประกอบการใหม่หรือผู้ที่ต้องการขยายการลงทุนมายังธุรกิจอาหาร เป็นเม็ดเงินระดับกลางๆ ที่มีฐานผู้สนใจมีเงินอยู่ในระดับนี้สูง

ทั้งนี้ “สุภัค” ไม่ได้ตั้งเป้าตัวเลขการจำนวนผู้มาเป็นแฟรนไชซี แต่จะให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้ง กลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ เพราะจากการขยายสาขาของมอร์เก้น ทำให้ค้นพบทำเลใหม่ๆ ที่แตกต่างจากที่ผ่านมาที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญหรือทำเลทองคือห้างสรรพสินค้า เช่น 2 สาขาของมอร์เก้น ไม่ได้อยู่ในห้างคือสาขาพิษณุโลกที่อยู่ใกล้แห่งชุมชน หรือสาขาหมู่บ้านทิพวัล เป็น Community Mall ในหมู่บ้านใกล้กับ 2 โรงเรียนใหญ่ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นในสาขาต่อไปจะให้ความสนใจกับการพิจารณาทำเลที่ได้ไม่ใช่ทำเลในลักษณะเดิมๆ ที่มีการแข่งขันสูง





'บ้านใร่กาแฟ'
6 สาขาต่อเดือน

“อัศวิน ไขรัศมี” ผู้บริหารบ้านใร่กาแฟ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันทำโปรโมชั่นพิเศษถึงสิ้นปี ทุกพื้นที่ ทุกขนาดลงทุนเพียง 500,000 บาท ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นแตกต่างกันที่ขนาดพื้นที่ ตั้ง 40 ตารางเมตรขึ้นไป จนถึงพื้นที่ที่ 6-16 ตารางเมตร เพราะรูปแบบ ข. ขนาดพื้นที่ 17-40 ตารางเมตรได้รับความสนใจมากที่สุดเพราะตกแต่งเป็นจั่วสามเหลี่ยนมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของบ้านใร่กาแฟ

แม้ปัจจุบันธุรกิจกาแฟมีการแข่งขันสูงทุกระดับ แต่การขยายตัวของบ้านใร่กาแฟอยู่ในระดับที่พอใจเฉลี่ยการขยายตัวต่อเดือนเฉลี่ย 6 สาขาทั้งของแฟรนไชซีและบริษัทลงทุนเอง ขณะที่โมเดลในห้างสรรพสินค้าสาขาแรกที่เซ็นทรัล ชลบุรี นั้นปัจจุบันได้หยุดดำเนินการ เนื่องจากค่าเช่าสูงไม่คุ้มค่าการลงทุน ซึ่งจากนี้ทำเลที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษจะเป็นทำเลในปั๊มน้ำมันที่ปัจจุบันมีแฟรนไชซีหลายหลายขยายไปยังปั๊มน้ำมันและทำเลทั่วไปย่านชุมชนต่างๆ


พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์

อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อพัฒนาธุรกิจไทย “Creative Business Development” ระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสถาบันอุดมศึกษา 3 สถาบัน โดยมี ดร.รัชนีพร พุคยาภรณื พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมลงนามด้านการพัมนาธุรกิจแฟรนไชส์ เมื่อเร็วๆ นี้


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.