ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญตลาดหุ้นไทยได้เคยกล่าวว่า มูลค่า
MARKET CAPITALIZATION ที่พูดได้ว่าลอยตัวอยู่ในตลาดหุ้นอย่างแท้จริงนั้น
มีอยู่เพียง 40 % ของ MARKET CAPITALIZATION ทั้งหมดเท่านั้น และในจำนวน
40 % นี้ประมาณ 25 % เป็นมูลค่าตลาดที่เกิดจากการลงทุนของต่างประเทศ
ความเคลื่อนไหวที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยคึกคักหรืออับเฉาได้คือบทบาทของกองทุนต่างประเทศ
ซึ่งในระยะกว่า 5 ปีทีผ่านมาปรากฏว่ามีการตั้งกองทุนขึ้นมาถึง 10 กองทุนด้วยกันคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น
580 ล้านเหรียญสหรัฐและตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2532 ปรากฎว่ากองทุนต่างประเทศเหล่านี้มีการลงซื้อขายหุ้นในบ้านเราเพิ่มขึ้นถึง
150 % เมื่อเทียบกับปี 2531 หรือคิดเป็นวงเงินถึง1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ
ตัวเลขเหล่านี้อาจจะสะท้อนได้ว่าใครคือผู้ลงทุนรายสำคัญในตลาดหุ้นไทยกันแน่!!
กองทุนรายล่าสุดที่เข้ามายังตลาดหุ้นไทยในต้นเดือนมิถุนายนนี้คือกองทุนไทยแคปิตอล
(THAI CAPITAL FUNF) ซึ่งเกิดขึ้นโดยความร่วมมือของบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม
, DAIWAINTERNATIONAL CAPITAL MANAGEMENT (DICAM) และ MERRILLLYNCH ซึ่งเป็นโบรกเกอร์
ยักษ์ใหญ่รายหนึ่งในตลาดหุ้นนิวยอร์ก
YALUTAKA KIMURA ผู้อำนวยการฝ่ายงานระหว่างประเทศของ DICAM กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ว่าฝ่ายกองทุนรวมเป็นผู้ที่มาติดต่อกับทางไดวาเพื่อที่จะจัดตั้งกองทุนนี้ขึ้น
"ผมคิดว่า ทางกองทุนรวมพิจารณาว่าเราเป็นผู้มีอำนาจในการจัดจำหน่ายหุ้นในตลาดนิวยอร์ก
ดังนั้นจึงมาติดต่อกับเรา อันที่จริงไดวาก็เป็นผู้นำทางด้าน UNDERWRITING
SYNDECATE และทำPLACEMENT ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก และตลาดหุ้นอื่น ๆ ด้วย"
DAIWA GROUP เป็นกลุ่มธุรกิจการเงินญี่ปุ่นที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ยักษ์ใหญ่อินเวสเม้นท์แบงก์ของโลก
บริษัท DICAM ถือเป็น INVESTING MANAGEMENT ARM ของ DAIWAGROUP ทำหน้าที่บริหาร
PORTFOLIO ให้กับ US PENSION FUND วงเงินประมาณ 15 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยกระจายการลงทุนไปยังตลาดทุนต่าง
ๆ ทั่วโลก
KIMURA เปิดเผยกับ "ผู้จักการ" ว่า "ประเทศไทยมี COUNTRY
FUND อยู่เป็นจำนวนมากกองทุนเหล่านี้เป็น OFF-SHORE FUND ที่ไปจัดจำหน่ายในประเทศอื่น
ๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐ กองทุนไทยแคปิตอลนับเป็นกองทุนจากประเทศไทยกองทุนที่สองที่ญี่ปุ่นจัดตั้ง
และทำการจดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์กและนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นกรุงเทพแล้ว
กองทุนไทยแคปิคอลมีมูลค่าทั้งสิ้น 60 ล้านเหรียญสหรัฐและสามารถจัดสรรเพิ่มได้อีก
9 ล้านเหรียญ แบ่งออกเป็น 5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ.01 เหรียญสหรัฐโดย3
ล้านหุ้นแรกจำหน่ายโดยกลุ่มอันเดอร์ไรเตอร์สหรัฐนำโดย MERRILL LYNCH CAPITAL
MARKETS และ DAIWASECURITIES AMERICA INC 2 ล้านหุ้นต่อจัดจำหน่ายโดยกลุ่มอันเดอร์ไรเตอร์สากล
ซึ่งนำโดย DAIWA EUROPE LTD. } MERRILL LYNCH INTERNATIONALLTD. และ DAIWA
SECURITIES (H.K.) มีอายุโครงการ 25 ปีโดยเมื่อผ่านไป 10 ปีแล้ว สามารขออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนจากกองทุนประเภท
CLOSE-ENDED เป็น OPEN-ENDED ได้
ส่วนในแง่ของการลงทุนนั้น ดำรงสุข อมาตยกุลผู้ช่วยกรรมการจัดการฝ่ายบริหารกองทุนแห่งกองทุนรวมกล่าวกับ
"ผู้จัดการ" ว่ากองทุนไทยแคปิตอลจะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพียง
75 % ของกองทุน ที่เหลืออีก 25% จะนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
กองทุนไทยแคปิตอลได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศอย่างมาก ทั้งนี้
HIRO SAGO รองประธานกรรมการซึ่งรับผิดชอบงานอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ของ DAIWA SEVURITIES
(H.K.) กล่าวว่าตอนที่เปิดให้จองซื้อนั้น ปรากฎว่ามีผู้แจ้งความจำนงมามากมายเป็นสองเท่าตัวซึ่งนั่นหมายความว่าส่วนที่วางแผนว่าอาจจะจัดสรรเพิ่มขึ้นอีก
9 ล้านเหรียญนั้น คงต้องมีการจัดสรรเพิ่มอย่างแน่นอน
SAGO กล่าวด้วยว่า การจัดจำหน่ายกองทุนครั้งนี้ได้มีการขายให้กับนักลงทุนรายบุคคลมากกว่า
2,000 ราย ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบของการนำกองทุนไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก
และยังเป็นความประสงค์ของไดวากับกองทุนรวมที่ต้องการให้นักลงทุนรายบุคคลสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น
SAGO กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "การร่วมมือกันระหว่างกองทุนรวมซึ่งถือเป็นผู้ชำนาญในตลาดหุ้นไทยกับทาง
DICAM ถือเป็นการ GENERATE SYNERGY ของเรา นั่นหมายความว่าการดำเนินงานของไดวาในอนาคตย่อมจะดีขึ้นอันเป็นผลมาจากความร่วมมือกันตั้งกองทุนครั้งนี้"
ส่วน HIROKI NOMURA กรรมการผู้จัดการ DAIWACAPITAL MANAGEMENT (H.K.) กล่าวกับ
"ผู้จัดการ" ว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่ไดวาร่วมกับกองทุน รวมตั้งกองทุนขึ้นในไทย
ความจริงเรามี COUNTRY FUND แบบนี้เป็นหลายประเทศย่านนี้ เช่นที่มาเลเซียเราร่วมกับ
ธนาคารภูมิปุตตรตั้งกองทุนวงเงินประมาณ 75 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่อินโดนีเซียวงเงินน้อยลงมาเป็น
30 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่สิงคโปร์และฮ่องกง นั้นเรากำลังริเริ่มอยู่"
การตั้งกองทุนไทยแคปิตอลถูกจับตาจากหลายฝ่ายว่า จะเป็นตัวชักนำให้กองทุนปิดอีกหลายแห่งของญี่ปุ่นบุกเข้ามาในตลาดหุ้นไทยในอนาคต
และเมื่อผนวกกับการยกเลิกการควบคุมเรื่องการนำเงินเข้าและออกของธนาคารแห่งประเทศไทยในธุรกิจการลงทุน
ซึ่งจะประกาศใช้ในเดือนสิงหาคมนี้หมายความว่า นักลงทุนสามารส่งเงินที่ได้จากการปันผลและกำไรกลับไปยังประเทศตนได้สะดวกมากขึ้นแล้ว
บรรดานักลงทุนญี่ปุ่นก็จะเข้ามาลงทุนโดยตรงกันมากขึ้น !!