วิบูลย์ ผานิตวงศ์ เป็นคนหนุ่มที่เติบโตขึ้นมา ในวงการน้ำตาลอย่างก้าวกระโดด
ต่างจากวิเทศ ว่องวัฒนะสิน ผู้อาวุโสที่ค่อย ๆ สะสมบารมีมาช้านาน และไม่เหมือน
อารีย์ ชุนฟุ้งแห่งกลุ่มวังขนายแต่ทั้ง 3 คน ดูเหมือนมีบางสิ่งที่เหมือนกันเข้าให้แล้ว
นั่นก็คือหนี้สินที่รวมกันแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท ที่ทำเอานานแบงก์นั่งน้ำตาตกตาม
ๆ กัน
วันที่ 3 กันยายน ที่ผ่านมาเป็นวันครบรองสองปีที่อาณาจักรบ้านโป่งของ "วิบูลย์
ผาณิตวงศ์" ต้องนั่งเผชิญหน้ากับธนาคารเจ้าหนี้รายใหญ่ถึง 13 แห่งโดยมี
"กำจร สถิรกุล" ผู้ว่าการแบงก์ชาติแกนกลางร่วมเป็นสักขีพยายานภายใต้เงื่อนไขที่เรียกกว่า
"ข้อตกลง 3 กันยายน (3 ก.ย. 2528)
หลังจากนั้นเพียงปีเดียวเครือ "น้ำตาล มิตรเกษตร" ของ "วิเทศ
ว่องวัฒนะสิน" นักอุตสาหกรรมน้ำตาล รุ่นเก่าแก่ก็เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องขึ้นมาอีกแห่ง
แบงก์กรุงศรีอยุธยา, มหานครและไทย พาณิชย์ต้องเข้าผ่อนปรนหนี้สินด้วยการตั้งบริษัท
เอ.เอส.เข้าฟื้นฟูฐานะ
ตามมาติด ๆ ในต้นฤดูการผลิตปี 29/30 กลุ่ม "วังขนาน" ก็ถูกผู้บริหารระดับสูงของแบงกืทหารไทยเจ้าหนี้เพียงรายเดียวจัดขบวนทัพแวะไปเยี่ยมเยือน
พร้อมจัดแจงปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้วยการซื้อตัวคนของสยามคราฟท์เครือปูนใหญ่เข้าร่วมบริหารซึ่ง
"อารีย์ ชุนฟุ้ง" ผู้ปลุกปั้นกลุ่มวังขนายมากับมือถึงกับประกาศอำลาจากวงการน้ำตาลด้วยท่าทีโผงผาง
เหตุใหญ่ที่ทำให้ "วิบูลย์" ต้องมานั่งเปลี่ยนสีหน้ากับธนาคารหลาย
ๆ แห่งคราวนั้นเพียงเพราะเขาไม่สามารถไถ่ถอนน้ำตาลี่ติดจำนำแบงก์ลงเรือที่มารอรับได้
ถึงกับธนาคารแห่งประเทสไทยต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาเพื่อรักษาหน้าตาของบ้านเมืองในเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศ
โดยเฉพาะปัญหานี้ถูก "คอมเม้นท์" ลงมาจาก พล.อ.เปรม โดยตรงว่าต้องแก้ไขด้วย
วันนั้นจึงเป็นบรรยากาศแห่งการเริ่มต้นที่ "พยัคฆ์หนุ่มลำพอง"
อย่าง "วิบูลย์" ซึ่งก่อนหน้านั้นเขาออกจะเครดิตดีจนเกินไปถูกเฉือนเชือนกลายเป็นเสือลำบากมาจนปัจจุบัน
"วิบูลย์ ผาณิตวงศ์" "วิเทศ วjอง วัฒนะสิน" และ "อารีย์
ชุนฟุ้ง" ได้พากันสร้างประวัติศาสตร์ให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำตาลขึ้นมาอีกหน้าหนึ่ง
ซึ่งคนที่เกี่ยวข้องกกับวงการนี้จะต้องจดจำไปอีกนาน เขาทั้งสามคนมีฝีมือจัดจ้านไปคนละรูปแบบ
นับแต่เบื้องหลังความเป็นมาจนกระทั่งวิธีการเข้าสู่อุตสาหกรรมน้ำตาลที่ไม่เหมือนกัน
และน่าสนใจที่สุดคือเพลงกระบี่ของแต่ละคนที่สามารถเป็นเจ้าอาณาจักรโรงงานน้ำตาลได้
จนสร้างภาระหนี้สินให้กับบรรดาแบงก์เจ้าหนี้เสีย แทบกระอักเลือดเพราะเมื่อรวมตัวเลขหนี้สินของทั้งสามกลุ่มโดยคร่าว
ๆ แล้วเป็นจำนวนเงินที่ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท
ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไม่น้อยกว่า 15 ราย (ยกเว้นแบงก์แหลมทอง) ต่างพากันแบกภาระหนี้สินให้กับกลุ่มบ้านโป่ง,
มิตรเกษตรและวังขนายโดยถ้วนหน้า ขณะราคาน้ำตาลตลาดโลกยืนอยู่ระหว่าง 5-6
เซ็นต์/ปอนด์ติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี นับแต่ฤดูการผลิตอ้อยปี
25/26 ปีที่ราคาน้ำตาล ในตลาดโลกต่ำจนกระทรวงอุตสาหกรรมได้บันทึกไว้ว่าเป็นปีที่วิกฤติเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์
ธนาคารเจ้าหนี้หลายแห่งกำลังหันหน้าหันหลังในเรื่องจัดการหนี้สิน ว่าจะเอาอย่างไรดีกับกลุ่มลูกหนี้โรงงานน้ำตาลเพราะไม่มั่นใจกับอนาคตอุตสหการรมน้ำตาลเอาเสียจริง
ๆ เหตุการณ์ในวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมาบรรดาแบงก์เจ้าหนี้ร่วมของโรงงานน้ำตาลนครปฐม
(หนึ่งในเครือกลุ่มบ้านโป่ง) ต้องผวาไปตาม ๆ กัน เมื่อได้รับหนังสือเชิญประชุมจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาเจ้าหนี้มีประกันอันดับหนึ่งระบุว่า
"เพื่อพิจารณายกเลกแผนฟื้นฟูกิจการโรงงานน้ำตาลนครปฐม"
"ออกจะล่อแหลมพอดูราคาตลาดโลกที่ต่ำเป็นตัวหนึ่งทำให้เจ้าหนี้ลังเลใจกับแผนการฟื้นฟูบรรดาโรงงานที่มีปัญหา
ขระที่ความแห้งแล้งในปีนี้เป็นตักวำหนดกันว่าโรงงานจะต้องแย่งรับซื้ออ้อย
ปัจจุบันทั้งกลุ่มบ้านโปร่งและกลุ่มมิตรเกษตรยังมีปัญหาเรื่องเช็คเกี๊ยวอ้อยจากแบงก์เจ้าหนี้ที่ยังไม่ยอมปล่อยให้เขา"
พนักงานสินเชื่อธนาคารเจ้าหนี้แห่งหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"
สถานการณ์ดังกล่าวทั้ง "วิบูลย์" ผาณิตวงศ์" และ "วิเทศ
ว่องวัฒนะสิน" นักอุตสาหกรรมต่างวัยที่ร่วมชะตากรรมกำลังเผชิญกันอยู่
แต่สำหรับ "อารีย์ ชุนฟุ้ง" แล้งคงไม่หนักใจนักเรพาะธนาคารทหารไทยเจ้าหนี้เพียงรายเดียวได้ร่วมสังฆกรรมมาด้วยดีตลอด
ในปี พ.ศ. 2523 "วิบูลย์" เทขายล็อตใหญ่ ๆ จนมีกำไรเป็นกอบเป็นกำหลายคนมองว่าเขาคือเซียนรุ่นเยาว์ที่เก็งตลาดแน่ม่นอย่างจับวาง
แต่อีกภาพพจน์หนึ่ง "วิบูลย์" ถูกมองว่าเขาคือนักเก็งกำไรที่ไม่กลัวจนดี
ๆ นี่เอง
ก่อนค่ายบ้านโป่งล้มลง "วิบูลย์" ขยายอาณาจักรจนใหญ่โตพร้อมการเต็มใจสนับสนุนให้โอดีเงินจากบรดาธนาคารพาณิชย์ในปี
25/26 ต่างคิดกันว่าในปี 27 ถัดมาราคาน้ำตาลจะกลับดีสูงขึ้นอีกบวกกับการบันทึกความเคลื่อนไหวตลาดโลกที่ใคร
ๆเชื่อ จนเป็นสูตรว่าราคาน้ำตาลจะขึ้นลงในเวลาที่ไม่นานเกิน 3 ปี อาณาจักรบ้านโป่งจึงถูกขยายขึ้นรอรับกับสิ่งที่
"วิบูลย์" คาดหวังไว้ แต่จนปัจจุบันราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่เขาและใคร
ๆ เคยวาดหวังไว้ก็ยังไม่หวนคืนมา
"วิบูลย์" หายไปจากวงการพอ ๆ กับเวลาที่นับแต่กลุ่มบ้านโป่งมีปัญหา
ในฐานะลูกหนี้อย่างเป็นทางการเป็นเวลาร่วม 2 ปี เขายังคงนั่งทำงานอยู่ที่อาคารบ้านโป่งแต่เช้าจรดเย็น
"วิบูลย์" เปิดโอกาสให้ "ผู้จัดการ" ได้พบด้วยอารมณืยิ้มแย้มแจ่มใสพร้อมบอกว่าเป็นคเล็ดลับในการบริหารให้พนักงารร่วม
3-4 พันคนในอาณาจักรบ้านโป่งรู้ว่าแม้จะมีหนี้สินเจ้านายอย่างเขาก็ยังสบายดี
"ไม่ทำอย่างนั้นแล้วเดี๋ยวบุคลากรที่ดี ๆ ก็หนีไปหมดตั้งแต่มีปัญหามานี้พนักงานผมยังอยู่ครบ
หากราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้นอีกในระดับ 12-13 เซ็นต์/ปอนด์ ผมคิดว่าอีก
7-8 ปี เราก็จะเคลียร์หนี้สินได้" เขาชี้แจงถึงวิธีทำใจและอนาคตที่หวัง
ก่อนถูกธนาคารเจ้าหนี้เข้าควบคุมเขาเคยวาดภาพเอาไว้ว่าอาณาจักร "บ้านโป่ง"
จะต้องเป็นกลุ่มค้าน้ำตาลอีกแห่งซึ่งยอมรับกันทั่วโลก ความหวังของ "วิบูลย์"
คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะกลุ่มบ้านโป่งโตขึ้นมาได้และล้มลงไปได้ด้วยพี่อ้งตระกูล
"ผาณิตพิเชฐวงศ์" และบรรดาแบงก์ที่ทำมาหาได้กับอุตสาหกรรมนี้มอบหมายให้เขาได้แสดงฝีมือจริง
ๆ
บทบาทลูกหนี้อย่าง "วิบูลย์" ครั้งก่อนที่ได้รับความเกรงใจเอามาก
ๆ แต่วันนี้ตอ้งพินอบพิเทากับเจ้าหนี้ทุกคนเพราะนอกจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูง
ๆ จะช่วยฉุดอาณาจักรบ้านโป่งได้แล้ว ที่สำคัญคือเครื่องจักรในโรงงานทั้งหมดของเขาจะต้องได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเจ้าหนี้ให้เดินเครื่องต่อ
การพังทลายของกลุ่ม "บ้านโป่ง" หลายคนในวงการน้ำตาลมองว่า "วิบูลย์"
ล้มลงบนฟูกหนาม ๆ ที่ยังอยู่ได้อย่างสบาย ๆ นี่เอง ทำเอา "บิ๊กบอส"
แห่งแบงก์กรุงเทพ ซึ่งเมื่อก่อนเคยชื่นชมในฝีมือ "วิบูลย์" เอามาก
ๆ ถึงกับไม่พอใจในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่หลังจากร่วมเคลียร์หนี้สินแล้วทราบว่านายแบงก์แห่งนึ่งมีเรือเร็วไว้พักผ่อนในวันหยุดงาน
สำหรับ "วิบูลย์" ตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำว่าเรือลำละไม่กี่แสนเขาสามารถจะหาซื้อเอาไว้ใช้สำหรับการพักผ่อนเสาร์อาทิตย์
ซึ่งปัจจุบันเขายังมียามว่างได้อกไปชื่นชมกับบรรยากาศแถบชายทะเลอยู่เป็นประจำ
นอกจากพื้นการศึกษาระดับปริญญาโทเกษตรด้านอ้อยโดยตรงแล้ว ในปี 2518 สถานการณ์การบริหารงานใน
"บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย) ที่มี "ชะลอ สัมพันธ์รักษ์"
และ "บรรเจิด ชลวิจารณ์" ร่วมกันทำอยู่เกิดความปั่นป่วนผลักดันให้
"วิบูลย์" ได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาการด้านน้ำตาลในตลาดโลกจาก "ชะลอ
สัมพันธรักษ์" โดยตรง
ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการ "ชะลอ" ไม่พอใจมากกับสัญญาขายน้ำตาลที่
"บรรเจิด" ไปทำไว้กับต่างประเทศซึ่ง "ชะลอ" มองว่าทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ
ประกอบขณะนั้น "สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย" ที่เป็นการรวมกลุ่มโรงงานระดับใหญ่ถึง
26 โรงนับแต่กลุ่ม "กวางซุนหลี" ของตระกูล ชินธรรมมิตร กลุ่ม "มิตรเกษตร"
ของ "วิเทศ ว่องวัฒนะสิน" และกลุ่ม "มิตรผล" ของตระกูลผาณิตพิเชฐวงศ์
"บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย" ถูกกลุ่มโรงงานในสมาคม
"การค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย" มองว่าเป็นบริษัทส่งอกที่ทำการผูกขาดอยู่แต่เพียงผู้เดียวในขณะนั้น
ความไม่พอใจการบริหารงานใน "บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย"
ทำให้ "ชะลอ สัมพันธรักษ์" ถึงกับต้องแยกตัวออกมาจาก "บรรเจิด
ชลวิจารณ์" พร้อมให้การสนับสนุน "สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย"
เรียกร้องขอจัดตั้งบริษัทส่งออกเป็นแห่งที่สอง
"ชะลอ สัมพันธรักษ์" คนเก่าแก่ ที่เข้าใจเรื่องการค้ากับต่างประเทศวางแผนร่วมกับ
"อำนวย ปติเส" นักวิชาการจากกลุ่มมิตรเกษตร" และ "วิบูลย์
ผาณิตวงศ์" ตัวแทนจากกลุ่มมิตรผลผลักดันให้ "ยงศิลป เรืองศุข"
นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทยขณะนั้นเป็นทัพหน้าเดินเข้าหารัฐาบาลซึ่งมี
พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมขณะนั้น
บรรยากาศทางการเมืองเป็นใจที่รัฐบาลรับฟังความเห็นเอกชน "บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลจำกัด"
ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้เป็นบริษัทส่งออกแห่งที่สองในวันที่ 28 ก.พ. 2518
"วิบูลย์" จึงเป็นคนหนุ่มอยู่ในโพยถูกเสนอให้เป็นตัวแทนจากโรงงานในสังกัดเข้านั่งเป็นกรรมการร่วมบริหาร
"บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาล จำกัด" ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ซึ่งมี
"ยงศิลป เรืองศุข" เป็นประธานบริษัทและ "ชะลอ สัมพันธ์รักษ์"
เป็นกรรมการผู้จัดการ
จากจุดนี้นี่เองที่ทำให้ "วิบูลย์" ซึ่งก่อนหน้านั้นรู้เรื่องอ้อยและโรงงานได้รับข่าวสารการเคลื่อนไหวตลาดในต่างประเทศโดยตรงขณะที่เถ้าแก่โรงงานคนหนุ่มสมัยนั้นน้อยนักจะมีโอกาสได้รับรู้
เพราผู้ซื้อต่างประเทศมักไม่ติดต่อกับโรงงาน แต่จะเข้าหาบริษัทส่งออกโดยตรง
บริษัท "ค้าผลิตน้ำตาล จำกัด" เป็นบริษัทส่งออกที่โรงงานรวมตัวกันเข้าถือหุ้นโดยตรง
การมีโอกาสเข้าไปนั่งบริหาร ทำให้ "วิบูลย์" ได้ศึกษาความเคลื่อนไหวการซื้อขายน้ำตาลในตลาดโลกอย่างเอาจริงเอาจัง
ต่อมาทั้ง "ชลอ" และ "วิบูลย์" ได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางรับซื้อขายน้ำตาลในตลาดโลกสาขาลอนดอนขึ้นเรียกว่า
"ซูการ์เทรดดิ้งคัมปานี"
"วิบูลย์" ถึงกับได้รับมอบอำนาจในการทำสัญญาซื้อขายน้ำตาลกับต่างประเทศในนามบริษัทค้าผลผลิตที่สาขาลอนดอน
การค้าขายน้ำตาลที่ลอนดอนขาดทุนกระทั่งมีปัญหาหนักกับบรรดาผู้ถือหุ้นในบริษัทค้าผลผลบิตที่
"วิบูลย์" เป็นกรรมการรองผู้จัดการอยู่ ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าล็อตที่มีกำไรมักจะเป็นการขายในนามของ
"วิบูลย์" แต่ล็อตที่ขาดทุนกลับเป็นสัญญาซื้อขายที่ประทับตราบริษัทค้าผลผลิต
"ตอนหลัง ๆ แกขายน้ำตาลที่สาขาลอนดอนขาดทุนมากผู้ถือหุ้นบริษัทค้าผลผลิตไม่ยอมให้สัตยาบันกับสัญญาที่คุณ
วิบูลย์ ไปทำเอาไว้" คนเก่าแก่กลุ่มค้าผลผลิตเล่าให้ "ผู้จัดการ"
ฟัง
ปัญหาการขาดทุนนำมาสู่การทะเลาะเบาแว้งหนักในปี 2522 ทั้ง "วิบูลย์"
และ "ชลอ" พากันตบเท้าออกจากบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาล ซึ่งร่วมกันบุกเบิกมาแต่แรกการลาออกของคนทั้งสองในครั้งนั้น
มีผู้บริหารชุดใหม่ข้ามาทำหน้าที่แทนคือ "ชวลิต ชินธรรมมิตร" จากกลุ่มกว้างซุ่นหลี
เป็นกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วย "วิบูลย์ ว่องกุศลกิจ" กลุ่มมิตรผลเป็นรองผู้จัดการคนที่
1 และมี "วิชัย ชินธรรมมิตร" เป็นรองผู้จัดการคนที่ 2
การเข้านั่งเก้าอีร้บริหารในบริษัทค้าผลผลิตโดยทีมงานที่มีคน "เซี่ยงว่อง"
ดูเหมือนวิบูลย์จะไม่ค่อยสบอารมณ์มากนักเพราะให้หลังนั้นในปี 2523 ราคาน้ำตาลดีจนที่ใครก็อยากค้าขายกับต่างประเทศ
ความไม่สมใจครั้งนั้น "วิบูลย์" ถึงกับลาออกจาก "บริษัทโรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง"
ซึ่งมีตระกูล "ว่องกุศลกิจ" และ "ผาณิตพิเชฐวงศ์" ร่วมหุ้นส่วนกันอยู่
หลังการลาออกจาก "บริษัทโรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง" ครั้งนั้น วิบูลย์ก็อาสาเข้าบริหารโรงงานน้ำตาลธนบุรี
13 (หนึ่งสาม) ต่อจากกลุ่มกว้างซุ่นหลีของตระกูล "ชินธรรมมิตร"
ซึ่งมีปัญหาเรื่องการจัดการและหนี้สินเป็นพันล้านบาทที่กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ถึง
11 แห่ง
ราคาน้ำตาลในตลาดโลกในปี 2523 ออกจะเป็นใจทำให้การบริหารงานที่ "ธนบุรี
13" ของ วิบูลย์ได้ทั้งเงินและเครดิตจากบรรดาธนาคารพาณิชย์ ประสบการณ์ที่เคยค้าขายกับต่างประเทศบวกกับสายตาที่ศึกาาการขึ้นลงของราคาตลอดเวลา
วิบูลย์ เทขายเอากับจังหวะที่ราคาสูง ๆ จนคนในวงการค้าบอกว่าหากเอาสถิติมาเทียบดูแล้วในเวลานั้นเขาเป็นคนเดียวที่ขายได้ราคาที่สูงที่สุด
เครดิตของ "วิบูลย์" ดีจนธนาคารที่ไม่เคยปล่อยสินเชื่อก็แข่งขันกันให้โอดี
เงินจากแบงก์ไหลเข้ากลุ่มบ้านโป่งจนสะพันกลุ่มบ้านโปร่งจัดสรรขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจที่ไม่เคยทำมาก่อนไม่ว่าจะเป็นโรงแร,
เหมืองแร่รวมไปถึงประกันภัย ขณะโค้งแรกของการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมน้ำตาลกำลังมาถึงปี
2524 ราคาน้ำตาลในตลาดโลกเริ่มต่ำลงรัฐบาลต้องหาวิธียกระดับราคาอ้อยพร้อมมาตรการในการยุติเรื่องผลประโยชน์ระหว่างงานกับชาวไร่
วิธีการหาระบบแบ่งปันผลประโยชน์เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง พร้อมการกู้เงิน 78
ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง เพื่อนำมารักษาเสถียรภาพอุตสาหกรรมกนำตาลทำให้กลุ่ม
"ไทยรุ่งเรือง" ออกมาคัดค้านการกู้เงินครั้งนั้นถึงกับประกาศขายดรงงานในเครือทั้งหมดบนหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่ง
"จิรายุ"ฯ ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบนโยบายบอกกว่าเป็นการขายเพื่อประชดรัฐบาล
"วิบูลย์" ตัดสินใจเข้าซื้อโรงงานน้ำตาลจากกลุ่ม "ไทยรุ่งเรือง"
ด้วยการสนับสนุนของธนาคารครั้งนั้นอีก 2 โรงคือโรงงานน้ำตาลกรุงไทยและโรงงานน้ำตาลร่วมกำลังภายหลัง
"วิบูลย์" เปลี่ยนชื่อเป็นเกษตรผลและเกษตรไทยตามลำดับ
"วิบูลย์" กลับเข้าเป็นกรรมการบริหารบริษัทโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งอีกครั้งหลังตัดสินใจซื้อโรงงานจากกลุ่มไทยรุ่งเรือพร้อมกับที่มีโรงธนบุรี
13 (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นธนราช) เข้าผนวกกลุ่มบ้านโป่งอีกโรงการกลับของวิบูลย์ทำเอาตระกูล
"ว่องกุศลกิจ" ซึ่งร่วมกันมาแต่แรกต้องขอถอนตัวออกไปหมดไม่ว่าจะเป็น
สุนทร. วิฑูรย์และอิสระ บริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจึงเป็นของ "ผาณิตพิเชฐวงศ์"
โดยสิ้นเชิง
ในปี 2526 วิบูลย์ เข้าซื้อโรงงานน้ำตาลนครปฐมและโรงงานน้ำตาลมหาคุณจากสองตระกูลผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการน้ำเมาทั้งเตชะไพบูลย์และตระกูลมหาคุณร่วมกันทำมาช้านาน
ภายหลัง วิบูลย์ เปลี่ยนชื่อโรงมหาคุณเป็นน้ำตาลสิงห์บุรี ซึ่งเขาคาดว่าในปี
27/28 ราคาในตลาดโลกจะต้องสูงขึ้นแน่ ทำให้กลุ่มบ้านโป่งมีโรงงานในสังกัดถึง
6 โรง นับแต่บ้านโป่ง, ธนราช, เกษตรผล, เกษตรไทย, นครปฐมและสิงห์บุรี เป็นกลุ่มโรงงานที่มีกำลังผลิตสูงที่สุดขณะนั้น
แนวคิดที่ต้องการให้ยอมรับไปทั่วโลกของวิบูลย์ บวกกับเครดิตที่เขามีอยู่พร้อมความคาดหมายที่เปี่ยมล้นว่าในปี
27 ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะต้องสูงขึ้นทำให้กลุ่มบ้านโป่งโตแทบจะเป็นการก้าวกระโดด
วิบูลย์ควักกระเป๋าอีกหลายสิบล้านบาทสร้างที่ทำการบริษัทขึ้นมาใหม่ย่านสะพานหัวช้างเป็น
"อาคารบ้านโป่ง" พร้อมเชิญ ดร.โสภณ ภูเก้าล้าน นักบริหารที่หลาย
ๆ บริษัทจ้างให้เป็นที่ปรึกษาเข้ามาเป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารด้วยความพยายามที่จะจัดการบริหารขององค์กรให้ทันสมัยโดยวิบูลย์เองรั้งตำแหน่งประธานบริษัท
ปีพ.ศ. 2527 ไม่เฉพาะวิบุลย์เท่านั้นที่รอคอยด้วยคาดว่าราคาจะดีขึ้นแน่แต่สถานการณ์ที่พลิกผันราคาในตลาดโลกกลับเป็นเรื่องตรงกันข้ามที่ไม่มีใครคิดว่าเป็นไปได้ทำให้บรรดาเซียนถึงกับซีดไปตาม
ๆ กัน สำหรับวิบูลย์การลงทุนไปก่อนหน้านี้หมาด ๆ มันเป็นเงินจำนวนที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ราคาน้ำตาลดิ่งลงไปที่ 2 เซ็นต์/ปอนด์ ในปี พ.ศ. 2528 ขณะกลุ่มบ้านโป่งเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องโดยเฉพาะเรื่องภาระดอกเบี้ยที่กู้มาจากธนาคารพาณิชย์
วิธีแก้ปัญหาของวิบูลย์เป็นวัมนธรรมปฏิบติที่ไม่แตกต่างไปจากโรงงานอื่น ๆ
ด้วยการนำน้ำตาลที่ติดจำนองอยู่กับธนาคารแห่งหนึ่งจำนองดับเบิ้ลไปยังอีกแบงก์หนึ่ง
"เวลาเกิดปัญหาเราก็พยายามที่จะแก้ทุกทาง อีกอย่างปัญหานี้แบงก์เองก็รับรู้มันปฏิเสธลำบากทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของแบงก์แล้วก็เครดิตที่ตัวคุณวิบูลย์ด้วย"
พนักงานเก่าแก่กลุ่มบ้านโป่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
"หลังจากแกขยายโรงงานถ้าราคาน้ำตาลไม่เปลี่ยนไปมากนักก็อยู่ได้ บังเอิญมันลดลงอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน
2 เซ็นต์ไม่มีใครคิดว่ามันเป็นไปได้ปกติต้นทุนจะอยู่ที่ 9-10 เซ็นต์ถือว่าต่ำสุดแต่ลงมาที่
2 เซ็นต์พอราคาลงก็มีความจำเป็นต้องขาย ซึ่งก่อนหน้าจะขายได้เอาน้ำตาลไปจำนำไว้กับแบงก์ในราคาที่สูงถึงเวลาเรือมรับราคาผู้ซื้อต่างประเทศก็ต่ำ
ต้องวิ่งหาเงินมาโป๊ะการขายในครั้งนั้นแรก ๆ อาจจะรู้เพียงคนสองคนพอรู้ถึงหูธนาคารก็กระจายทำให้หยุดชะงัก"
แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว
ยังไม่ทันเปิดแชมเปญฉลองอาคารบ้านโป่งหลังใหม่ซึ่งก่อสร้างเสร็จไปแล้วกว่า
90% วิบูลย์ก็ถูกธนาคารเจ้าหนี้เชิญเข้าพบโดยถ้วนหน้า
"ระยะหลังเขาโอดีเงินมากจนเราสงสัยแรก ๆ ก็ยังไม่เชื่อว่าจะมีปัญหาหลังจากที่เราได้เชิญเจ้าหนี้หลายรายมาปรึกษากันเอาตัวเลขแต่ละแบงก์มายันจึงได้รู้ปัญหาชัด"
พนักงานแบงก์เจ้าหนี้แห่งหนึ่งบอกถึงสาเหตุที่วิบูลย์ทำให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ต้องกระอักไปตาม
ๆ กัน
ขณะที่การไล่เรียงตัวเลขแต่ละแบงก์ว่า วิบูลย์มีหนี้สินมากน้อยเพียงใดอาณาจักรบ้านดป่งของเขาก้ไม่สามารถที่จะแก้ไขการส่งมอบน้ำตาลลงเร่อที่มารอรับแล้วหลายวันได้
วันนั้นเป็นวันที่ 3 กันยายน 2528 จุดจบอย่างเป็นทางการของ "วิบูลย์"
ก็มาถึงหนังสือเชิญจากธนาคารแห่งประเทศไทยถึงบรรดาเจ้าของโรงงานน้ำตาลและธนาคารเจ้าหนี้ให้ร่วมประชุมแก้ไขปัญหาเพื่อรักษาหน้าตาการค้าขายจองประเทศชาติ
ทั้งเถ้าแก่โรงงานน้ำตาลอื่น ๆ ธนาคารเจ้าหนี้รวมถึงแบงก์ชาติต้องมานั่งจับเข่าวคุยกันเพื่อแก้ปัยหาหนี้สินทั้งหมดไม่ว่จะเป็นหนี้ที่กลุ่มบ้านโป่งมีอยู่กับทั้ง
2 บริษัทส่งออกคือ บริษัทค้าผลผลิตและบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเงินจากแบงก์ที่ส่งน้ำตาลอก
โดยนำตั๋วมาขายลดกับแบงก์ชาติและให้กลุ่มบ้านโป่งทำการกู้ต่อรวมถึงหนี้ที่จำนำน้ำตาลไว้ดับเบิ้ลกับธนาคารอีกลายแห่งและไม่สามารถไถ่ถอนจำนำได้
ผู้สังเกตการณ์ขณะนั้นบอกว่าบรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดบางวันต้องเจรจากันถึงตีสามตีสี่
วิบูลย์ ยังคงแสดงท่าทีเฉยเมยเขาไม่มีปริปากแม้แต่น้อยที่จะขอร้องให้เถ้าแก่โรงงานอื่นเข้ามาแก้ปัญหาช่วยเหลือด้วยการขอยืมน้ำตาลลงเรือไปก่อน
กลับกลายเป็นภาระของ กำจร สถิรกุลผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเป็นผู้ลงชื่อในบันทึกเป็นสักขีพยาย
เพื่อรักษาชื่อเสียงการค้าของประเทศเอาไว้ร่วมกับบรรดาธนาคารเจ้าหนี้ไม่ว่าจะเป้นกรรมการผู้จัดการใหญ่แห่งแบงก์กรุงเทพฯ
ตามใจ ขำภโต แห่งแบงก์กรุงไทย, กสิกรไทย, กรุงศรีอยุธยา, ไทยพาณิชย์, เอชีย,
ทหารไทย, มหานคร นครหลวงไทย, และสหธนาคารล้วนเข้ามารับปัญหาพร้อมกันถ้วนหน้า
คนในตระกูล "ผาณิตพิเชฐวงศ์" ก็ต้องเข้ามาค้ำประกันหนี้กลุ่มบ้านโป่งเป็นการส่วนตัวอก็ไม่ว่าจะเป็น
อัก ผาณิตพิเชฐวงศ์, ล่อหัง ผาณิตพิเชฐวงศ์, พี ผาณิตพิเชฐวงศ์, รวมถึงวิบูลย์
ที่ต้องเซ็นสัญญาค้ำประกันตัวเองด้วย
วิบูลย์ สร้างตำนานยิ่งใหญ่ไปแล้วในช่วงสั้น ๆ ของเขา
และไม่มีใครยืนยันได้ว่าอนาคตของเขากับอนาคตของกลุ่มบ้านโป่งจะจบลงที่จุดใด
เสี่ยสามแห่งตระกูล "ว่อง" ที่ใคร ๆ เรียกว่าเท้งโป้งหรือชั่ง
ล้วนแล้วแต่เป็นชื่อดั้งเดิมของ "วิเทศ" เขาเป็นคนเก่าแก่ในวงการน้ำตาลที่มีพื้นการศึกษาระดับสูงจากเมืองจีน
เป้นลูกคนที่สามของ "ลิบ แซ่ว่อง" คนจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพมาจากแต่จิ๋ว
เริ่มตั้งรกรากทางภาคใต้ที่อำเภอนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานีก่อนเป็นที่แรก
ย้อนหลังไปเมื่อ 40 ปีก่อน เท้งโปเป็นเสมียนในโรงไม้ช่วยครอบครัวที่อำเภอนาสาร
ขณะเน้นนับได้ว่าเป็นโรงเลื่อยโรงเดียวที่ใหญ่ในอำเภอ การค้าไม้ต่อมาเจริญรุ่งเรืองสามารถขยายจากใต้ขึ้นถึงนครปฐมปัจจุบันใช้ชื่อว่า
"ว่องวัฒนา" เป็นโรงไม้อีกแห่งซึ่งใหญ่ที่สุดมีถึง 10 คูหาในตัวจังหวัดนครปฐม
ตระกูล "ว่องวัฒนะสิน" คลุกคลีกับน้ำตาลนับแต่อยู่เมืองจีนเป็นความจัดเจนนอกเหนือจากธุรกิจค้าไม้ผนวกกับฐานะการเงินที่พน้อมจะลงทุนขยายธุรกิจก็เลยตัดสินใจเข้าร่วมกับตระกูล
"ผาณิตพิเชฐวงศ์" และ "ว่องกุศลกิจ" สร้างโรงงานมิตรผลขึ้นมา
"วิเทศ" มีความรู้ด้านตลาดน้ำตาลที่ไม่ด้อยไปกว่าใคร เขาเป็นนักอุตสาหกรรมน้ำตาลรุ่นที่ไล่หลังไม่ไกลนักกับเถ้าแก่หลิ่นแห่งกลุ่มไทยรุ่งเรือง
และนับเป็นผู้ยิ่งใหญ่อันดับสองรองจาก "ยงศิลป เรืองศุข" อดีตนายกสมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย
"วิเทศ" ได้รับความเคารพอย่างมากจากกลุ่มโรงงาน "สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย"
หลังจากที่ "ยงศิลป เรืองศุข" ถูกอัมพาตคุกคามหนักกระทั่งต้องเสียชีวิตไปในกลางปีนี้
เขาเป็นคนเดียวที่นั่งแป้นนายกสมาคมต่อจาก "ยงศิลป" มาจนปัจจุบัน
"วิเทศ" แยกตัวออกจากกลุ่มโรงงานมิตรผล มาสร้างอาณาจักรของตัวเองที่เรียกว่ากลุ่มมิตรเกาตรโดย
วิเทศ ได้โรงงานน้ำตาลมิตรเกษตร และโรงงานน้ำตาลไทยมารบริหารการแยกตัวในกลุ่มมิตรผล
ว่ากันว่าเนื่องมาจากการค้าน้ำตาลที่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำจากปี 2516 ซึ่งเป็นปีที่ใคร
ๆ ก็บอกว่ากำไรจากการขายน้ำตาลยิ่งกว่าขายฝิ่นเสียอีกมาจนถึงปี 17 และ ปี
18 การสะสมทุนในกลุ่มผู้ก่อตั้งโรงงานมิตรผล ส่งผลให้ต่างฝ่ายต่างแยกย้ายออกเพราะก็มีเงินทุนด้วยกันทุกฝ่ายแล้ว
การแยกตัวจากกลุ่มมิตรผลหลายคนบอกว่ากลุ่มมิตรเกษตรยังบริหารงานลักษณะกงสีที่ติดกับญาติพี่น้องแม้จะมีนักวิชาการเป็นที่ปรึกษาแต่การตัดสินใจก็อืดอาด
"วิเทศ" ขยับขยายเงินไปลงทุนในธุรกิจที่เขาไม่เคยทำมาก่อนไม่ว่าจะเป็น
"ไทยธนากรทรัสต์" สถาบันการเงินซึ่งภายหลังต้องขอร้องให้แบงก์ทหารไทยเข้าไปแก้ไขจนถูกเทคโอเวอร์กลายเป็นทรัสต์ในเครือของธนาคารทหารไทย
โรงเหล็ก, รีสอร์ท, ภัตตาคาร, กระทั่งเหมืองแร่ล้วนเป็นธุรกิจที่บรรดาเจ้าของโรงงานน้ำตาลแข่งขันกันทำซึ่ง
"วิเทศ" เป็นอีกคนหนึ่ง ที่ตอ้งสูญเสียเงินให้กับกิจการเหมืองแร่เป็นตัวเงินที่ไม่ต่ำกว่า
300 ล้านบาทซึ่งเป็นจังหวะที่ราคาดีบุกกำลังตกต่ำพอดี
"กำไรจากการค้าน้ำตาลก่อนหน้านั้นค่อนข้างสูงโรงงานน้ำตาบหลายแห่งคิดหันมาลงทุนเหมืองแร่เพราะเขาเชื่อกันว่าเรือขุดแร่กับโรงงานน้ำตาลใช้เทคนิคเดียวกัน"
ผู้ใกล้ชิดในวงการกล่าว
การหันมาจับธุรกิจที่ไม่เคยมาก่อนทำให้เงินที่ลงทุนไมได้ฟื้นคืนมาในช่วงเวลาที่คิด
ประกอบกับราคาน้ำตาลเริ่มตกต่ำในปี 2524 ถัดจากนั้นมาปีเดียว พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ของกลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรเกษตรกับ
"คำรณ เตชะไพบูลย์" หรือโคโร่ก็เกิดขึ้น่จากการเสนอขายน้ำตาลล่วงหน้าให้กับบริษัทเท็คแอนไลน์
ซึ่งติดต่อขอซื้อผ่านวิเทศมาจำนวนหนึ่งในฐานะประธานกลุ่ม "สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย"
ที่มี "บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาล" เป็นบริษัทส่งออกของกลุ่มโรงงานในสังกัด
"คำรณ" เสนอให้วิเทศโอดีเงินจากแบงก์มหานครในเมืองไทยได้เป็นสองเท่าตัวกับเงินจำนวน
10 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งขายน้ำตาลให้กับเท็ดแอนไลน์ซึ่งตองเข้าฝากไว้กับทรัสต์ของ
"โคโร่" ในฮ่องกง" แหล่งข่าวกล่าว
"วิเทศ" ทำตามข้อเสนอของโคโร่โดยนำเงินเข้าฝากในทรัสต์ฮ่องกงเพื่อรับผลตอบแทนจากการโอดีเงินกับแบงก์มหานครอีกสองเท่าตัวเป็นตัวเงินไม่น้อยกว่า
600 ล้านบาท ในระยะหลังกลุ่มมิตรเกษตรค่อนข้างจะฝากความหวังกับเครดิตเงินก้อนนี้จากแบงก็มหานครเอามาก
ๆ
นับแต่ปี 2525 เป็นต้นมา "วิเทศ" นำเงินจากแบงก์มหานครเข้ามาใช้จ่ายซึ่งนอกจากกิจการโรงงานน้ำตาลแล้วยังต้องใช้หมุนเวียนอยู่ในกิจการที่เขาขยายออกไปโดยเฉพาะเหมืองแร่
ประกอบกับระยะนี้เป็นช่วงที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลำต่ำลงตลอดกลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรเกา๖รขาดสภาพคล่องเอามาก
ๆ
ปัญหาใหญ่ของกลุ่มน้ำตาลมิตรเกษตรไม่สามารถที่จะทนอุ้มสถาบันการเงินในเครืออย่าง
ไทยธนากรทรัสต์เอาไว้ต่อไปได้ "วิเทศ" ถึงกับต้องเข้าขอร้องผู้ใหญ่ในแบงก์ทหารไทยเข้ามาคลี่คลายก่อน
ประกอบกับข่าวการซวนเซของทรัสต์ในฮ่องกงที่โคโร่ควบคุมอยู่ทำให้การดอดีเงินที่
"วิเทศ" เคยใช้จ่ายกับแบงก์มหานครพลอยต้องมีปัญหาไปด้วย เพราะเงื่อนไขการตกลงระหว่างโคโร่กับ
"วิเทศ" นั้นเป็นเพียงสัญญาสุภาพบุรุษ
หลังจากข่าวลือก็เป็นความจริงทรัสต์โคโร่ในฮ่องกงล้มลงพร้อมการเข้าเคลียร์หนี้สินของทางการเงิน
10 ล้านเหรียญ ซึ่งวิเทศน้ำเข้าฝากไว้ในนามของโคโร่ หากคิดเป็นเงินบาทก็ร่วม
300 ล้านบาทต้องสูญไปทันที บวกกับเครดิตของ "วิเทศ" ที่เคยใช้กับแบงก์มหานครในเมืองไทยอีกสองเท่าตัวเป็นเงินประมาณ
600 ล้านบาทก็ไม่มีสิทธิที่จะได้ใช้อีกต่อไป
"เงินฝากในฮ่องกง 300 ล้านก็ไม่มีทางได้คืนพร้อมกับสูญเสียเครดิตไปอีก
600 ล้านบาท ที่เคยมีเครดิตก็ไม่มีแล้วมันก็เท่ากับว่าเขาต้องสูญเสียเงินจากหน้าตักไปเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า
900 ล้านบาทมันเป็นเงินก้อนใหญ่พอสมควร" แหล่งข่าวในวงการน้ำตาลให้ทัศนะกับ
"ผู้จัดการ"
ก่อนหน้านี้ "วิเทศ" ออกจะมีเครดิตกับธนาคารมหานครเอาเสียจริง
ๆ สิ่งที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนในปัจจุบันก็คือแบงก์มหานครมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของกลุ่มน้ำตาลเครือ
"มิตรเกษตร" ที่ไม่มีอะไรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันถึงกับ "อรรรพ
พทักษ์ อรรณพ" ผู้จัดการฝ่ายหนี้สินและหลักทรัพย์คนปัจจุบันบอกว่า ปวดหัวจริง
ๆ
"เราเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นเงินไม่ต่ำกว่า
1,000 ล้านบาทฝ่ายเจ้าหนี้ที่หลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างกรุงศรีอยุธยาและไทยพาณิชชย์เราก็เจรจาเกี่ยวกับแผนระยะยาวว่าจะทำเช่นไร"
อรรรพ พิทักษ์อรรณพ บอก "ผู้จัดการ"
หลังจากคำนวณตัวเลขดูแล้วรายรับเป็นเงินที่ได้นั้นแค่ใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ยก็ยังไม่คุ้มในต้นฤดูการหีบอ้อยปี
29/30 ที่ผ่านมา "วิเทศ" ต้องออกตัวเจรจาขอให้แบงก์เจ้าหนี้นับแต่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,
ไทยพาณิชย์และมหานครช่วยผ่อนปรนภาระหนี้สิน ภายหลังที่ไทยธนากรทรัสต์ถูกธนาคารทหารไทยโอนเข้าเป็นกิจการในเครือเรียบร้อยไปแล้ว
กระทั่งบรรดาธนาคารเจ้าหนี้ตกลงตั้งบริษัทกลางขึ้นเรียกว่า "บริษัท
เอเอ็มเอส." เข้ามาเช่วโรงงานน้ำตาลไทยซึ่งเป็นหนึ่งในเครือกลุ่มมิตรเกษตรมาบริหารเป้นเวลา
1 ปี ด้วยการส่งมือบริหารที่ค่อนข้างรู้เรื่องน้ำตาลเป็นอย่างดีจากแบงก์กรุงศรีอยุธยาเข้ามาเป็นเอ็มดี.ชื่อว่า
"วิชัย สุวรรณเมธา"
การบริหารงานภายใต้ภาระหนี้สินที่มีบริษัทกลางเจ้าหนี้ "วิเทศ"
ได้รับเกียรติให้เข้านั่งเป็นประธานบอร์ดซึ่งมีตัวแทนจากแบงก็เจ้าหนี้เป็นกรรมการร่วมบริหารและตัดสินใจ
"เราต้องเข้าไปนั่งบริหารการเงินและตัดสินใจร่วมกันในบรรดาเจ้าหนี้เป็นปี
ๆ ไป เพราะที่ผ่านมาผมว่าเขาผิดพลาดเกี่ยวกับการบริหารเงินมากนอกจากนี้ยังมีลักษระที่เป็นกงสีอยู่
ฝ่ายลูกหนี้ก็เพียงร่วมรับรู้" เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อจากธนาคารไทยพาณิชย์บอกกับ
"ผู้จัดการ"
"ผมว่าโรงงานน้ำตาลที่มีปัญหาขณะนี้เกิดจากสาเหตุคือเขาค่อนข้างใช้จ่ายกันฟุ่มเฟือย
และอีกอย่างก็เมื่อก่อนเป็นการค้าเสรี แต่ขณะนี้มีระบบแบ่งปันผลประโยชนืเข้ามาควบคุมสิ่งที่เคยเล็ดรอดกัน
ได้เดี๋ยวนี้ทำไม่ได้แล้วเพราะมันมีมาตรการเข้ามาควบคุมอยู่ "เขาเองก็อาจจะปรับตัวไม่ทัน"
แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว
ปัจจุบันภาระหนี้สินของกลุ่มโรงงานน้ำตาลเครือมิตรเกษตรซึ่งมีโรงงานในสังกัด
2 โรงคือ น้ำตาลไทยและมิตรเกษตร หนี้ทั้งหมดเป็นจำนวนเงินที่ไม่ต่ำกว่า 1,500
ล้านบาท หากเทียบหนี้สินระหว่างวิเทศกับวิบูลย์แล้วยังนับว่า อาการของกลุ่มบ้านโป่งหนักกว่ากลุ่มมิตรเกษตรหลายเท่าตัว
ทุกวันนี้ "วิเทศ" ยังคงนั่งทำงานในฐานะประธานที่ต้องรับทราบนโยบายการดำเนินงานของบริษัทกลางที่บรรดาเจ้าหนี้ตั้งขึ้นมา
สถานการณ์เฉพาะหน้าของกลุ่มน้ำตาลมิตรเกษตรยังอยู่ในสภาพที่ต้องพึ่งพากับอารมณ์ของแบงก์เจ้าหนี้เป็นอย่างสูง
เพราะเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูในระยะยาวจนปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ระหว่างเจ้าหนี้ร่วมทั้งหลาย
ขณะเดียวกันสำหรับเงินทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายในฤดูการหีบอ้อยปี 30/31 ที่จะมาถึงโดยเฉาพะเงินเกี๊ยวที่จะให้กับกลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรเกษตรปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับกาตัดสินใจจากธนาคารเจ้าหนี้
ขณะเดียวกันก็มีข่าวร้ายจากบรรดาโรงงานน้ำตาลอีกหลายแห่งที่ไม่ต้องการจะให้
"วิเทศ" เกิดในฤดูการผลบิตที่จะมาถึง ขนาดต้องลงทุนล็อบบี้ข้อมูลไม่ให้ธนาคารตัดสินใจ
ปล่อยเช็คเกี๊ยวกับกลุ่มมิตรเกษตร
"เราคาดกันว่าฤดูหีบอ้อยที่จะมาถึงปริมาณอ้อยจะลดลงจากปีที่ผ่านมาจาก
12 ล้านตันเหลือเพียง 8 ล้านตันเพราะฝนแล้งโรงงานจะต้องแย่งกันซื้ออ้อยปีนี้จะเป็นปีที่มีราคาใต้โต๊ะกันมากที่สุด
โรงงานที่มีปัญหาด้านการเงินจะลำบาก" ผู้นำชาวไร่อ้อยคนหนึ่งให้ทัศนะ
ดูเหมือนโรงงานในสังกัดของกลุ่มมิตรเกษตรทั้งสองโรงงานอยู่ใจกลางยุทธภูมิเขต
7 ซึ่งถูกปิดล้อมจากโรงงานที่ไม่มีปัญหาด้านเงินทุนอย่างไทยรุ่งเรืองซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ปักหลั่นอย่างแข็งแรง
พร้อมที่จะต่อกรกับบรรดาโรงงานอื่นในการรับศึกที่เสนอราคาอ้อยใต้โต๊ะในปีนี้
ปัจจุบันปัญหาเช็คเงินเกี๊ยวในฤดูการผลิตที่จะมาถึงยังเป็นปัญหาหนักอกให้กับ
"วิเทศ" เอามาก ๆ อนาคตของกลุ่ม "มิตรเกษตร" ขึ้นอยู่กับแผนฟื้นฟูระยะยาวของเจ้าหนี้ร่วมที่ได้พูดคุยกันมาหลายครั้งแต่ยังไม่ปรากฏเป็นจริงปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกที่ตกต่ำ
ทำให้เจ้าหนี้หลายคนไม่มั่นใจเอากับอนาคตของอุตสาหกรรมน้ำตาล ที่ขนาดแบงกืเจ้าหนี้ที่มีประกันอย่างกรุงศรีอยุธยาต้องตกอยู่ในสายตาของเจ้าหนี้ร่วมรายอื่นว่ามีพฤติกรรมลึกลับกับแผนฟื้นฟูดังกล่าว
กลุ่ม "มิตรเกษตร" ทรุดเป็นกลุ่มที่สองต่อจากอาณาจักรบ้านโป่งของ
"วิบูลย์" ซึ่งทิ้งช่วงเวลาไม่ไกลกันนัก ชะตากรรมร่วมยุคสมัยเป็นประวัติศาสตร์ที่ต่างเพียงวัยอายุของคนทั้งสอง
สำหรับ "วังขนาย" ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าของแบงก์ทหารไทย ธนาคารหนึ่งเดียวที่ต้องผูกพันภาระหนี้สินไว้กับกลุ่มโรงงานน้ำตาลนี้เป็นเงินกว่า
4 พันล้านบาท ก็เป็นอีกกล่าที่น่าจับตามองมาก ๆ
พูดถึง "วังขนาย" ทุกคนในวงการต้องนึกถึง "อารี ชุนฟุ้ง"
นักปั้นโครงการตัวยงผู้สร้างอาการงุนงงในยุทธจักรอ้อยและน้ำตาล เขาเป็นผู้ประกบอการคนเดียวที่เริ่มต้นจากเลขศูนย์ด้วยวิชาบริหารธุรกิจที่ไม่มีสอนในสำนักใด
"อารีย์" ไต่อันดับจากชาวไร่เป็นผู้บริหารโครงการวิ่งเต้นรวมเงินจากเศรษฐีภูธรย่านท่าเรือ
จังหวัดกาญจนบุรีที่ชื่อ "เต็กหลี แซ่โล้ว" รวมตัวกับ "เรวัติ
ศิรินุกูล" ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ สาขาท่าเรือและ "สุชาติ
เนติสิงห์" ผู้บริหารระดับสูงแบงก์เดียวกันวางแผนระดมเงินให้กับโครงการที่เขาร่วมกันคิดขึ้นมาเป็นกลุ่มโรงงานน้ำตาลที่มีกำลังผลิตสูงสุดในเอเชียที่แบกหนี้บานเบอะในปัจจุบัน
"อารีย์" สนิทสนมและใกล้ชิดกับ "ปรีชา อรรถวิภัช"
รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเอามาก ๆ ชนิดที่ต้องพบหน้ากันประจำที่ชายคาบ้านของ
"พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ" หัวหน้าพรรคชาติไทยผู้เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมยุคสมัยหนึ่งซึ่งใบอนุญาตโรงงานหลุดถึงมือกลุ่ม
"อารีย์" กลายเป็นทีมาของ "วังขนาย"
และที่สุดกว่านั้นคือ "อารีย์" สามารถต่อสายป่านได้ลึกซึ้งกับผู้บริหารระดับสูงธนาคารทหารไทยให้เป็นฐานการเงินขยายโรงงานนับพันล้านบาทขณะโครงการที่เริ่มมากกว่า
7 ปี กำลังจะเฉาตายแต่หลายคนก็บอกว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่จับขั้วลบชนขั้วบวกจนเงินไหลอกมานับไม่ถ้วน
สิ่งที่ยืนยันขณะนี้คือนับแต่ลงเสาเข็มต้นแรกโรงงานน้ำตาลกลุ่มวังขนายมีผลประกอบการขาดทุนตลอดมา
"วังขนาย" กลายเป็นสมบัติอย่างไม่เป็นทางการของธนาคารทหารไทยก่อนเปิดฤดูหีบอ้อยปี
29/30 เพียงไม่กี่วัน ขณะนั้น "อารีย์" เปิดเผยความรู้สึกว่าจะอยู่กับ
"วังขยาย" อีกไม่นานแต่เขาก็ยังให้เหตุผลอีกว่า ผู้ใหญ่จากธนาคารเจ้าหนี้ของร้องไห้อยู่ต่อแม้จะพ้นจากอำนาจบริหาร
คงจะเป็นเพราะ "อารีย์" มีส่วนสำคัญในการสร้างหนี้สินให้กับกลุ่มวังขนายมาตลอดนั่นเอง
"อยู่ต่อไปผมคงมีหน้าที่เดินขึ้นศาลอย่างเดียว" อารีย์พูดติดตลกในวันที่แบงกืทหารไทยน้ำสื่อมวลชนเยี่ยมวังขนายอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี
2530 นี้
"อารีย์" กลายเป็นอดีตผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ธนาคารเจ้าหนี้ต้องถนอมเอาไว้ให้นานที่สุดถึงกับมีคนกล่าวว่า
หากไม่เช่นนั้นแล้วเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงก็จะเกิดขึ้นเร็วเกินไป
การผูกพันทางหนี้สินระหว่างธนาคารทหารไทยกับกลุ่มโรงงานน้ำตาลวังขนายถึงกับผู้ใหญ่ในแบงก์ชาติมีความเห็นว่า
"แบงก์ทหารไทยจัดเป็นแบงก์ที่อยู่ในอันดับดีแต่มีข้อยกเว้นในกรณีของวังขนาย"
แหล่งข่าวระดับสูงในวงการน้ำตาลให้ทัศนะ
หลังการเยี่ยมโรงงานกลุ่มวังขนายในฤดูหีบอ้อยปี 29/30 แบงก์ทหารไทยถึงกับดึงตัว
"วิสูตร ชุนวิเศษ" คนสยามคราฟท์บริษัทหนึ่งในคเรือปูนใหญ่มานั่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารโรงงานกลุ่มวังขนายเริ่มงานผ่าตัดโครงสร้งองค์กรในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาขณะที่
"อารีย์ ชุนฟุ้ง" ต้องเดินขึ้นศาลถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายเรียกเงินคืนกว่า
126 ล้านบาทซึ่งอดีตผู้ร่วมหุ้นฝ่ายเต็กหลี แซ่โล้วเป็นโจทก์
การเดินขึ้นศาลเป็นหน้าที่หลักของ "อารีย์" เสียจริง ๆ เดือนสิงหาคม
2529 ก็ถูกร้องขอต่อสษลให้สั่งเลิกบริษัทวังขนายเหตุเพราะขาดทุนตลอดนับแต่ดำเนินกิจการมาจากงบดุลปี
2528 ขาดทุนสะสมกว่า 700 ล้านบาท
"วังขนาย" บริษัทเดียวมีทรัพย์สินหมุนเวียนกว่า 684 ล้านบาทแต่หนี้สินหมุนเวียนมีถึง
2,346 ล้านบาทหากนับรวมเงินกู้ระยะยาวเข้าด้วยกันแล้ว "วังขนาย"
แห่งเดียวต้องมีหนี้สินถึงกว่า 2,756 ล้านบาท" สงกรานต์ พงษ์วิทยภานุ
ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งยืนยันปัญหาสภาพคล่อง
การเปิดเผยถึงสภาหนี้สินล้นพ้นตัวของ "วังขนาย" จากบรรดาผู้ร่วมหุ้นถึงขนาดกล่าวว่า
(บิรหารต้องกาปรกปิดฐานะทางการเงินซึ่งนับแต่เปิดกิจากรมาไม่เคยเสนองบการเงินแก่ผู้ถือหุ้นหรือทางการเลยมาเริ่มจัดทำในปี
2528 หลังจากนั้นปลายปี 2529 "จงจิต หลีกภัย" ผู้สอบบัญชีที่อารีย์ดึงตัวเข้ามารับผิดชอบงบการเงินก็เปิดเผยว่า
"งบการเงินทำขึ้นโดยถือหลักว่ากิจการจะดำรงอยู่ต่อไปบัญชีสิ้นสุดเพียงสิ้นปี
2529 และปี 2528 บริษัทมีผลขาดทุนสะสมเป็นเงิน 1,204,342,582.65 บาทและ 709,305,666.83
บาทตามลำดับ การดำรงอยู่ตอ่ไปของบริษัท จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดหาเงินทุนมาดำเนินการในอนาคต"
นั่นแสดงว่าอนาคตของกลุ่มวังขนายจะต้องมีแต่การกู้กับเพิ่มทุนเพื่อดำเนินกิจการต่ออีกเท่านั้น
เรื่องวังขนาย "ประยูร จินดาประดิษฐ์" กรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์ทหารไทยเจ้าหนี้เพียงผู้เดียวกับกล่าวว่าตนมีอำนาจให้สินเชื่อแก่ลูกค้าได้ในวงเงินรายละไม่เกิน
30 ล้านบาท และรองกรรมการผู้จัดการ มีอำนาจปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าอีกรายละประมาณ
20 ล้านบาทสำหรับหนี้สินทางตรง (หนี้ที่ค้างชำระอยู่) วังขนายมีต่อแบงก์ทหารไทยจำนวน
1,400 ล้านบาทและหนี้ทางอ้อม (หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ) จะมีอยู่เท่าใดนั้นท่านผู้จัดการใหญ่บอกว่าจำไม่ได้
แต่ในฐานะผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อธนาคารทหารไทยมาร่วมสองปี "ปรียานุช
สิทธิชัย" ยืนยันว่าหนี้ทางอ้อมหรือหนี้สินที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระที่วังขยายมีต่อแบงก์ทหารไทยตกประมาณ
750 ล้านบาท นับเป็นตัวเลขที่ผู้บริหารธนาคารเจ้าหนี้เปิดเผยเป็นครั้งแรกซึ่งรวมหนี้ทางตรงและทางอ้อมแล้ววังขนายแห่งเดียวเป็นหนี้แบงก์ทหารไทยถึง
2,150 ล้านบาทซึ่งยังไม่รวมหนี้อีก 3 บริษัทในเครือที่ทหารไทยปล่อยเงินให้อยู่ด้วย
ไม่ว่าจะเป็นรีไฟน์ชัยมงคล, อ่างเวียนหรือทรายเพชร ล้วนเป็นโรงงานในเครือที่แบงก์ทหารไทยปล่อยเงินทุนหมุนเวียนให้โดยเฉพาะในปีฤดูอ้อย
29/30 ที่ผ่านมาเป็นเงินที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
"สำหรับการขาดทุนสะสมของโรงงานน้ำตาลอ่างเวียนนับแต่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบงันเป็นเงินไม่ต่ำกวา
400 ล้านบาท โรงทรายเพชรขาดทุนสะสม 105 ล้านบาท รีฟน์ชัยมงคลขาดทุนสะสม 1,800
ล้านบาทนอกจากนี้ยังมีค่าเครื่องจักรที่ติดค้างนิโช่อีวายอิอีกเป็นเงินไม่ต่ำกว่า
1,000 ล้านบาท" "วิสันต์ พงษ์วิทยภานุ" อดีตผู้ถือหุ้นคนหนึ่งบอกกับ
"ผู้จัดการ"
เมื่อรวมตัวเลขหนี้สินกลุ่มวังขยายรวมทั้งเงินค้างค่าเครื่องจักรแล้วนับได้ไม่ต่ำกว่า
4 พันล้านบาท พิษของวังขยายว่ากันว่าถึงกับทำให้เก้าอี้ผู้บริหารแบงก์เจ้าหนี้ร้อนไปตาม
ๆ กัน
ความต้องการมีบริษัทส่งออกของกลุ่มวังขยายนั้นเกิดขึ้นภายหลัง "ทะนง
ลำไย" ออกมาให้ข่าวถึงโครงการเปิดทีเอ็มบี.ไฟแนนส์ของทหารไทยในฮ่องกง
หลังติดต่อขอซื้อกิจากรจากไทยแมกซ์เป็นเงินถึงกว่า 30 ล้านบาทเพื่อให้บริการเปิดแอลซีไปต่างประเทศและแหล่งเงินทุน
ดร.ทะนง ลำไย เป็นมืออาชีพคนหนึ่งทำงานระดับมันสมองให้กลุ่มโรงงานน้ำตาลเครือด้านผลผลิต
ภายหลังถูกธนาคารทหารไทยดึงตัวเข้ามาร่วมงานรับผิดชอบด้านบริหารหนี้สินบริหารเงินและลงทุน
แบงก์ทหารไทยจึงมีมือคร่ำหวอดอีกคนหนึ่งที่รู้เรื่องน้ำตาลดีเอามาก ๆ ขณะที่ต้องเยียวยาหนี้สินให้กลุ่มลูกหนี้อย่างวังขนาย
ฤทธิ์เดชกลุ่มโรงงานน้ำตาลวังขนายกดดันความรู้สึก "จิรายุ อิศรางกูร
ณ อยุธยา" อดีตรัฐมนตรีอุตสาหกรรมซึ่งคัดค้านการของตั้งบริษัทส่งออกในที่ประชุม
ครม.การพิจารณาหนแรกหลังจากที่ พลเอกเปรมให้นำเรื่องกลับไปศึกษาพิจารณาครั้งที่สองอดีตรัฐมนตรีอุตสาหกรรมถึงกัปบิดปากเงียบปล่อยให้บริษัทส่งออกคลอดสมใจกลุ่มวังขนาย
การขอจัดตั้งบริษัทส่งออกที่ ประมวล สภาวสุ ส่งเรื่องให้เลขานุการฯเสนอ
ครม.โดยไม่มีการพิจารณาข้อดีข้อเสียจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ทีประพาส
จักกะพาก ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมคราวนั้นกระทั่งถูก "จิรายุฯ" ซักถามในที่ประชุมครม.จนเสียหลัก
เพราะมติ ครม. 19 มิถุนายน 2527 ระบุเอาไว้ชัดเจนว่าจะไม่อนุมัติให้เพิ่มจำนวนบริษัทส่งออกอีกต่อไป
"วันที่ 23 มิถุนายน 2530 ประมวล สภาวสุ ร่ายยาวต่อที่ประชุม ครม.ทำเอาพลเอกเปรม
มองซ้ายมองขวาสองสามรอบถามคณะรัฐมนตรีที่เข้าประชุมวันนั้นว่าใครมีความคิดเห็นอะไรบ้างบรรยากาศเงียบกริบต่างจากประชุมครั้งก่อนอย่างไม่น่าเชื่อเพียงการพิจารณาไม่กี่นาที
"บริษัทการค้าอุตสหกรรม จำกัด" ที่เป็นบริษัทส่งออกของกลุ่มวังขนายก็คลอดออกมา"
แหล่งข่าวเล่าถึงบรรยากาศวันนั้นให้ฟัง
หลังการได้รับอนุมัติตั้งบริษัทส่งออกของกลุ่มวังขนาย ประพาส จักกะพาก
ที่ใคร ๆ บอกว่าเป็นพ่อพระของกระทรวงอุตสาหกรรมก็ส่งหนังสือด่วนเร่งหใก้ลุ่มวังขนายจดทะเบียนบริษัทส่งออกพร้อมระบุภาระผูกพันที่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อระบบคือเงินกู้
78 ล้านเหรียญที่เป็นยาดำของวังขนายและวังขนายปฏิเสธที่จะร่วมรับผิดชอบเงินก้อนนี้มาโดยตลอด
"เรียกว่าลุ้นตั้งบริษัทสี่งออกแทบตายผลสุดท้ายก็ตายน้ำตื้น ถ้าจดทะเบียนตั้งเมื่อไร
ต้องรับสภาพหนี้ของระบบเมื่อนั้นวังขนายก็เลยชะงักค้าง" แหล่งข่าวคนหนึ่งบอก
เรื่องกลุ่มวังขนายที่อารีย์ ชุนฟุ้งเริ่มมากับมือนั้น ดู ๆ ไปก็มีส่วนคล้ายเรื่องของกลุ่มบ้านโป่งและกลุ่มมิตรเกษตร
ตรงปัญหาหนี้สินที่ดินพอกหางหมู
อารีย์กับวังขนายอยู่ในสภาพที่ดีกว่าหน่อยก็ตรงที่คุยกับเจ้าหนี้ได้ง่าย
เพราะเผอิญมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว
แต่ผลสุดท้ายจะลงเอยต่างกันหรือเหมือนกันหรือไม่