เกาะเทรนด์ธุรกิจแอร์ไลน์ 'หลักสูตรการบิน' เนื้อหอม


ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์(9 กันยายน 2553)



กลับสู่หน้าหลัก

การเติบโตของอุตสาหกรรมการบินถึงขีดสุด สะท้อนผ่านความต้องการนักบินจำนวนมากทำให้ตำแหน่งนักบินขาดแคลนไปทั่วโลก ข่าวดังในรอบ 1-2 สัปดาห์ของสำนักข่าวต่างประเทศตีแผ่การเติบโตของสายการบินต่างๆ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้มีการเพิ่มเที่ยวบิน ขยายฝูงบิน ขณะที่สายการบินขนาดเล็กต้องปิดตัวลง เพราะไม่สามารถแข่งขันได้ จากการขนาดแคลนนักบิน และการซื้อตัวของนักบินโดยให้ราคาที่สูงลิ่ว

หันกลับมามองอุตสาหกรรมการบินในภูมิเอเชียแปซิฟิก ขณะนี้ประเทศ 2 มหาอำนาจอย่างจีน อินเดีย มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคพาณิชย์และการท่องเที่ยว การขาดแคลนนักบินจึงเป็นปัญหาอย่างหนักเช่นกัน ความต้องการนักบินของจีนสูงถึงปีละ 2,000 คน หรือกระทั่งอินเดียความต้องการกว่า 900 คนต่อปี ขณะที่จำนวนสถาบันการบินเพื่อผลิตบุคลกรรองรับใน 2 ประเทศดังกล่าวยังมีจำนวนน้อยและหลายแหล่งยังถูกมองเรื่องคุณภาพมาตรฐานหลักสูตร

ปรากฏการณ์ดังกล่าวทุกภาคส่วนในประเทศไทยเล็งเห็นโอกาสที่ประเทศจะได้รับ ล่าสุดกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ทำหนังสือเชิญหน่วยงานรัฐเอกชนในประเทศอินเดียที่ต้องการนักบิน เดินทางเข้าเยี่ยมชมสถาบันการบินไทยไทยและอยู่ระหว่างการตอบรับ เพื่อแสดงถึงศักยภาพการผลิตบุคลากรการบินในประเทศไทย ซึ่งหากมองในภาพรวมการฝึกนักบินไทยได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับจากที่ผ่านมานักบินไทยทำงานกับสายการบินนานาชาติ

ขณะที่สายการบินในประเทศไทยเองก็ขาดแคลนนักบินเช่นเดียวกัน (อ่านตารางประกอบ) เพราะปัจจุบันสถาบันการบินในไทยมีเพียง 5 แห่ง ประกอบด้วย 1.สถาบันการบินพลเรือน 2.วิทยาลัยการบินนานาชาติ (ICA) มหาวิทยาลัยนครพนม 3.บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด (Bangkok Aviation Center , BAC) 4. สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต และล่าสุด 5. สถาบันฝึกอบรมด้านการบิน บริษัท การบินไทย จำกดั (มหาชน) (Thai Flight Training Academy- TFTA)

ทั้งนี้ พลอากาศเอกคธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา คณบดีสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ข้อมูลกับ ว่า เวลานี้อาชีพนักบินเป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจอย่างมากและเป็นอาชีพที่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะร่วมงานกับสายการบินต่างๆ รวมถึงสายการบินต่างชาติ

ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ทำให้สถาบันการบิน ม.รังสิต สถาบันผลิตบุคลกรด้านการบินเตรียมขยายหลักสูตรการบิน นานาชาติ ขึ้นในปี 2554 นี้ เพื่อรองรับความต้องการของนักบินทั่วโลก และเปิดว้างสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติที่ต้องการเข้าสู่อาชีพนักบิน ซึ่งพบว่าผู้เรียนกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น

ล่าสุด สถาบันได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในจีนทั้งในระดับมัธยมเพื่อส่งต่อผู้เรียนเข้าศึกษาสถาบันการบินในระดับปริญญาตรีตลอดระยะเวลาหลักสูตร 4 ปี และประสานกับมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนควบคู่ทั้งในประเทศนั้นๆ และในไปไทยหรือเป็นหลักสูตร 2+2 เมื่อจบสามารถได้รับปริญญาทั้ง 2 แห่ง ซึ่งความร่วมมือทั้ง 2 แบบนี้ประสานไปยังจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาวอีกด้วย

ด้วยมาตรฐานหลักสูตรของสถาบันการบิน ม.รังสิต ที่มีพันธมิตรคือ ษริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด เป็นผู้ฝึกภาคปฏิบัติซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับที่การบินไทยส่งนักบินมาฝึกบินนั้น ทำให้มาตรฐานนักบินจากสถาบันการบิน รังสิต มีมาตรฐานเดียวกันกับมาตรฐานนักบินการบินไทย ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมนับจากนานาประเทศทั่วโลก เพราะ 60% ของเส้นทางบินของสายการบินไทยบินเข้ากลุ่มประเทศอียูซึ่งมีมาตรฐานการบินสูงระดับสากล จึงทำให้โอกาสของผู้เรียนสามารถเป็นนักบินจากสายการบินนานาชาติได้ไม่ยาก

นอกจากนี้ พลอากาศเอกคธาทิพย์ ได้ฉายภาพแนวโน้มความสนใจของผู้เรียนที่สมัครเข้าเรียนยังสถาบันการบิน ม.รังสิต ว่า ปีนี้เป็นปีที่ 5 ที่สถาบันการบิน ม.รังสิตได้เปิดหลักสูตรการบิน รับนักศึกษาที่จบจากมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียน ซึ่งแต่ละรุ่นที่เข้าเรียนเฉลี่ย 50 กว่าคน ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 50 คนต่อปี และมีแนวโน้มของผู้เรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้มีจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้นนั้น จากการรวบรวมข้อมูลผู้สมัครพบว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้ ที่สูงเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นและในช่วงอายุใกล้เคียงกัน หรือเริ่มต้นเงินเดือนที่ 25,000 บาทเมื่อเป็นพนักงานฝึกบิน จากนั้นอีก 6-8 เดือน เป็นนักบินที่ 2 (Co-Pilot) ได้รับเงินเดือน 60,000-80,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าเบี้ยเลี้ยง

จากนั้นระยะอีกประมาณ 6-8 ปี ก้าวสู่เป็นนักบินที่ 1 หรือกัปตันซึ่งจะมีรายได้กว่า 200,000 บาท สำหรับการบินขนาดใหญ่ หรือสายการบินทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 100,000 กว่าบาท ซึ่งขึ้นกับขนาดเครื่อง และระยะทางเส้นทางบินประกอบด้วย และเป็นอาชีพที่มีเกียรติได้รับการยอมรับในสังคม ขณะเดียวกันปัจจุบันราคาค่าเหล่าเรียนตลอดหลักสูตร 4 ปีที่สุดลงจาก 2.4 ล้านบาท อยู่ที่ 2.2 ล้านบาท จากการปรับลดชั่วโมงการบินของกรมการบินพาณิชย์ จาก 232 ชั่วโมงเหลือ 206 ชั่วโมง ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลง ประกอบกับอาชีพดังกล่าวนี้การันตีได้ว่าเมื่อจบไปสามารถมีงานทำได้ถึง 95%

“การเข้าอาชีพนักบินนั้นต้องยอมรับว่าทุกคนไม่อาจไม่ถึงฝั่งฝันกันทุกคนเพราะเมื่อเรียนถึงชั้นปีที่ 2 แล้วต้องสอบเพื่อได้รับการคัดเลือกฝึกบิน ซึ่งจำนวนนี้โอกาสกอาชีพในอนาคตคือนักบินเพราะนอกจาการสอบแล้วยังมีการสอบเรื่องความพร้อมของร่างกาย สภาพจิตใจและจิตวิทยาต่างๆ ซึ้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเป็นนักบินมืออาชีพในอตาคต และสำหรับผู้ที่ไม่ผ่านนั้นยังสามารถเข้าสู่อาชีพด้านอุตสาหกรรมการบิน ธุรกิจการบินต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกี่ยวกับด้านการบินด้วยแต่ไม่สามารถเป็นักบินได้เท่านั้น ทำให้ไม่เสียเวลาในการเรียน” พลอากาศเอกคธาทิพย์ กล่าว

ด้วยเล็งเห็นความเติบโตของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และความต้องการนักบินจากนานาชาติที่มีการลงทุนขยายฝูงบินจำนวนมากนั้น ทำให้การต้องการบุคลากรนักบินสูงขึ้นตามไปด้วย ด้วยความพร้อมของสถาบันและหลักสูตร รวมถึงการขยายความร่วมมือกับสถาบันการบินในต่างประเทศๆ เพิ่มเติม จากที่ผ่านมาได้ร่วมกับโรงเรียนการบินในประทศแคนาดา Gander Flight Training ในการส่งนักศึกษาฝึกบินกับสถาบันดังกล่าว โดยเป็นความร่วมมือในการส่งนักศึกษาไปฝึกบินเริ่มที่ 20% ของจำนวนผู้เรียนในแต่ละรุ่น และตามความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นหรือ 50 คนต่อปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อไม่นานมานี้มหาวิทยาอัสสัมชัญ (เอแบค) ได้ร่วมกับ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด และสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน (Thai Flight Training Academy- TFTA) เปิดหลักสูตปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบิน หลักสูตร 4 ปี และเตรียมที่จะเปิดวิชาเลือกเสรีเพื่อเป็นแอร์โฮสเตสและสจ๊วต

สำหรับ TFTAเพิ่งได้รับหนังสือรับรองจากกรมการบินพลเรือน เมื่อ26 มีนาคมที่ผ่านมานี้ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมนักบินรูปแบบใหม่ โดยมีชื่อหลักสูตรว่า หลักสูตรนักบินผู้ช่วยเครื่องบิน (Multi crew Pilot License-MPL) เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้เวลาในการฝึกอบรมสั้นลง มีความรู้พื้นฐานสูงขึ้นและตรงกับความต้องการของสายการบินต่างๆมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้เพื่อตอบสนองปริมาณความต้องการนักบินพาณิชย์ในอนาคต ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งในส่วนของบริษัทการบินไทยเอง และในภูมิภาคเอเชียใต้ รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามมาตรฐานและข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ แห่งสหประชาชาติ และกรมการบินพลเรือน นอกจากร่วมกับสาถบันการศึกษาอย่างเอแบคแล้ว ในอนาคตขยายความร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ และมีแนวโน้มของการเปิดรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทเพื่อฝึกบินเครื่องเฉพาะรุ่นและเครื่องบินขนาดใหญ่อีกด้วย


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.