|
'Micro Franchise' แฟรนไชส์เพื่อสังคม
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์(9 กันยายน 2553)
กลับสู่หน้าหลัก
ระยะที่ผ่านจะเห็นการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ ประสบการณ์ ทีมงานและพันธมิตร ออกมาจัดกิจกรรมผ่านโครงการต่างๆ หากโฟกัสในกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร เครื่องดื่ม เช่น เนสท์ล่ กับโครงการเนสกาแฟ นักชงมืออาชีพ หรือนมตรามะลิ กับโครงการรถเข็นกาแฟโบราณ เป็นกิจกรรมโครงการสร้างอาชีพ แม้ที่ผ่านมาได้มีการริเริ่มโครงการเหล่านี้ แต่ในปัจจุบันเป็นรูปธรรมและขยายวงกว้างมากขึ้น
ซึ่งการสนับสนุนของบริษัทใหญ่ สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ บ้านเมือง ในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัว รายได้การส่งออกและจีดีพีอยู่ในอัตราที่สูงขึ้นในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา แต่ในระดับรากหญ้า กลุ่มคนเหล่านี้ยังประสบปัญหาขาดโอกาสในการประกอบอาชีพหาเลี้ยงชีพ
แนวทางการสนับสนุนของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ในการซัปพอร์ตวัตถุดิบ การสอนกระบวนการทำธุรกิจ และมีทีมสนับสนุน เหล่านี้ล้วนเป็นคอนเซ็ปต์ของ “Micro Franchise” แม้ว่าในไทยเพิ่งเริ่มหรือยังไม่เต็มเฟสแต่นับเป็นจุดเริ่มที่ดี
“ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” สอบถามไปยังไป “พีระพงษ์ กิตติเวชโภคาวัฒน์” นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านแฟรนไชส์ และเป็นผู้จุดประกายแนวคิดไมโคร แฟรนไชส์ ขึ้นในสังคมไทย ให้ข้อมูลว่า คอนเซ็ปต์ไมโคร แฟรนไชส์จะพูดถึงบริษัทขนาดใหญ่ แล้วนำคอนเซ็ปต์แฟรนไชส์มาขยายงานของตนเอง ด้วยการสร้างโนว์ฮาว ความเข้าใจ การทำงานร่วมกัน โดยตนเองมีกำลังซัปพอร์ต
เขายกตัวอย่าง เช่น นมตรามะลิ โครงการรถเข็นกาแฟโบราณ ซึ่งเพิ่งเริ่มทำนั้นช่วยคนให้เกิดอาชีพ หรือส่งเสริมคนที่มีรายได้น้อยที่ทำมาค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ถ้ามีเงินเก็บหลักหมื่นเขาอาจมาร่วมขายกาแฟ บริษัทหาสินเชื่อหรือไมโครเครดิตมาช่วย กลุ่มคนเหล่านี้ค่อยๆ ผ่อนจ่าย ในที่สุดจะเป็นเจ้าของพื้นที่ เจ้าของร้านตัวเองได้
ซึ่งไมโครแฟรนไชส์ จะลงที่ระดับรากหญ้า คล้ายๆ ชายสี่ บะหมี่เกี๋ยว แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบ ธุรกิจไครแฟรนไชส์ ชายสี่เล็กๆ ทำไม่ได้ แต่วันนี้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่จะทำไมโคร แฟรนไชส์ได้ เพราะมีกำลังเงิน เงิน สร้างระบบ พัฒนากลุ่มคนที่เป็นชาวบ้านให้มีอาชีพดีขึ้น
ลักษณะการทำธุรกิจของบริษัทขนาดกลาง ขนาดใหญ่ จะมีกำลังคน ฝึกให้กลุ่มคนหรือผู้เข้ามาทำธุรกิจได้มีความรู้ในการทำอาชีพ สอนการเก็บเงินอย่างไร บริหารการเงินอย่างไร สั่งซื้อสินค้าอย่างไร แล้วจะมีทีมงานคอยตระเวนช่วยเหลือ และคอยดูเรื่องเงินหมุนเวียนให้ จะเห็นว่าธุรกิจเหล่านี้เป็นธุรกิจที่เป้นที่รู้จักอยู่แล้วไม่ใช่ธุรกิจโนเนม
“ไมโคร แฟรนไชส์เป็นลักษณะของการพึงพากัน บริษัทต้องมีกำลัง เงินสร้างระบบ ทีมงาน สนับสนุนคนที่ขาดโอกาสในสังคมให้มีอาชีพ ไมโครแฟรนไชส์คือ สัมมาชีพ มี relation ship คนที่ทำธุรกิจขนาดใหญ่ลงไปสร้างอาชีพให้กับคนระดับเล็ก เมื่อก่อนคนทำธุรกิจขนาดใหญ่ไม่คิดอย่างนั้น แต่ปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวได้ขยายวงกว้างแม้ยังไม่เต็มรุปแบบก็ตาม” พีระพงษ์ กล่าว
พีระพงษ์ ยกตัวอย่างในต่างประเทศ ในละตินอเมริกาใคอนตเซ็ปต์ไมโครแฟรนไชส์ในการสนับสนุนการสร้างอาชีพให้กับคนยากจนหรือผู้ที่มีรายได้น้อยให้มีอาชีพ หรือในประเทศฟิลิปปินส์ ร้านตัดผมชื่อ “ราเยส” มีสาขามากถึง 200 จุด พัฒนามาจากร้านตัดผมเล็กๆ เมื่อเป็นบริษัทที่ใหญ่ขึ้นก็ทำการปรับปรุงร้าน ขยายธุรกิจโดยให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุน บริษัทใช้ประสบการณ์ ความรู้ สอนผู้ลงทุนตั้งแต่วิธีการจ้างช่าง การตัดผม การคิดแพคเกจ ปัจจุบ้านร้านตัดผมราเยสมีสาขากระจายทั่วฟิลิปปินส์ ความรู้วิธีการจัดการร้านซาลอนของบริษัทขนาดกลางรายสร้างอาชีพให้กับคนจำนวนมากให้มีความมั่นคงยั่งยืน
หรือ ในประเทศอินเดีย บริษัทคอมมูนิเคชั่นรายหนึ่ง ได้ดีไซน์คีออสเล็กๆ ขายบัตรเติมเงินโทรศัพท์ ขายอุปกรณ์ขนาด ให้ผู้สนใจเข้ามาทำธุรกิจ หรืออีกรายหนึ่งทำในรูปแบบไมโคร ไฟแนนซ์ ธุรกิจสินเชื่อสำหรับผู้ยากไร้โดยเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงจากภาครัฐเล็กน้อย แต่ทำให้ผู้ยากไร้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น และมีระบบการผ่อนจ่ายรายวัน รายสัปดาห์ หรือรวมกลุ่มกันโดยสมาชิกในกลุ่มรวบรวมเงินสำหรับจ่ายให้กับบริษัท ซึ่งทำให้ลดปัญหาการกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยแพงมหาโหดไปได้
ทั้งนี้ พีระพงษ์ มองว่า แนวคิดไมโครแฟรนไชส์ อาจจะเรียกว่า Social Franchise หรือแฟรนไชส์เพื่อสังคม และเขายังมองว่ามีธุรกิจอีกจำนวนมากในไทยที่กำลังดำเนินตามแนวคิดนี้อยู่ไม่ว่าจะเป็นดัชมิลล์ ยาคูลย์ รวมถึงบริษัทขนาดกลางขนาดใหญ่ที่ควรหันมามองคอนเซ็ปต์นี้เช่นกัน
แต่บางที่ไม่ใช่ social จึงเรียกว่าไมโครแฟรนไชส์
แนวคิดนี้จะกระจายอย่างไร ให้รายใหญ่ อย่างดัชมิลล์ ยาคูลย์ หันมามองกระบวนการเหล่านี้ ซีพีเฟรชมาร์ท ก้หันมาทำระบบนี้ บริษัทขนาดใหญ่ควรมมองว่าวิธีในเชิง social มากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการ เนสกาแฟ นักชงมืออาชีพ ของบริษัทเนสท์เล่ เเป็นโครงการสร้างอาชีพและรายได้ให้แผู้ที่ว่างงานในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว อีกทั้งยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจอยากมุรกิจเป็นของตัวเอง ด้วยเงินลงทุนที่ไม่สูง 3 รูปแบบการลงทุน เคาท์เตอรื ราคา 7,900 บาท รถเข็น 14,900 บาท และรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง 54,500 บาท
จุเริ่มต้นของโครงการเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมฝังอยู่ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเนสท์เล่เรียกว่า Creating Shared Value คือการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และสามารถสร้างคุณค่าคนในสังคมและชุมชนไปพร้อมกัน
โครงการดังกล่าวเริ่มเมื่อปี 2549 ทางทีมงานเนสท์เล่ ได้ลงพื้นที่สำรวจตลาดเพื่อเก็บข้อมูล ศึกษาพฤติกรรม ความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยเชิญผู้ประกอบการรถเข็น มาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความต้องการที่แท้จริงด้วยกัน
มองเห็นช่องทางว่า “รถเข็นขายกาแฟ” ยังมีโอกาสในการขยายธุรกิจได้อีกมาก ดังนั้น ในปีต่อมา จึงเปิดตัวโครงการ “เนสกาแฟ นักชงมืออาชีพ” อย่างเป็นทางการ จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 3 ปี มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 7,000 ราย
บริษัทสนับสนุนให้โครงการเนสกาแฟนักชงมืออาชีพ ประสบความสำเร็จ คือ การรักษาคำมั่นสัญญา หลังจากที่ผู้ประกอบการเข้ามาอบรมกับทางโครงการแล้ว ยังส่งพนักงานไปให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง หลายรายประสบควาสำเร็จ จากเดิมเคยขายได้วันละ 60 แก้ว หลังจากอบรมกับโครงการ สามารถขายได้ถึงวันละ 300 แก้ว
ด้าน บริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายนมตรามะลิ ได้เปิดตัวโครงการรถเข็นกาแฟโบราณเมื่อต้นปี 2553 เพื่อเพิ่มทางเลือกและสร้างอาชีพ ด้วยเงินลงทุน 25,000 บาท บริษัทซัปพอร์ตรถเข็น อุปกรณ์การขายทั้งหมดและวัตถุดิบเบื้องต้นชุดแรกขายได้ 500 แก้วคิดเป็นยอดขาย 10,000 บาท
ความพร้อมของบรัทใหญ่นอกจากผลิตและจำหน่ายวัตถุดิแล้ว การสร้างด้วยการคิดค้นสูตรเรื่องดื่ให้ 11 สูตร เช่นกาแฟเย็น กาแฟ ร้อน โอเลี้ยง ชาเย็น และอบรมการชงเครื่องดื่มสูตรต่างๆ สนับสนุนด้วยทีมให้คำปรึกษาและช่วยหาแหล่งสนับสนุนเงินทุนให้ด้วย
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|