'IDF ' สถาบันแฟชั่นดีไซน์ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่รักงานอิสระ


ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์(7 กันยายน 2553)



กลับสู่หน้าหลัก

ประสบการณ์การทำงานในวงการ Fashion Designer ในประเทศนิวซีแลนด์มากว่า 15 ปี ของ “สุดารัตน์ อู่สุวรรณ” หรือ วิคกี้ เมื่อมีโอกาสกลับบ้านเกิดที่ประเทศไทย จึงต้องการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ในสายงานที่มีให้กับผู้สนใจโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน คนรุ่นใหม่ที่รักในการออกแบบ ซึ่ง วิคกี้ บอกว่า ในขณะนั้นตนต้องลองผิดลองถูกไม่มีโอกาสได้เรียนรู้จากใคร

วันนี้เป็นวันที่เธอฝ่าฝันอุปสรรคมาได้ และประสบการณ์จากต่างแดน ทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆในเรื่อง fashion ที่แตกต่างจากที่ Fashion Designer ทั่วไป จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอเปิด เปิดสถาบันสอน การออกแบบแฟชั่นและศิลปะ ภายใต้ชื่อ IDF Academy (Identity Fashion Academy) ขึ้น ช่วยพัฒนาศักยภาพและความสามารถของคนไทย โดยเฉพาะเยาวชนไทย ให้สามารถก้าวไปสู่การแข่งขันในเวทีระดับสากลได้ จึงได้ดีไซน์หลักสูตรดังนี้

1. หลักสูตร Fashion Design (เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็น Fashion Designer และผู้ที่ต้องการเรียนรู้พื้นฐานการออกแบบแฟชั่น และต้องการศึกษาต่อด้านการออกแฟชั่น)

Course1: Fashion Design Foundation เรียนรู้พื้นฐานการออกแบบแฟชั่นดีไซน์ (จำนวน 30 ชั่วโมง)

Course2: Fashion Design Advance สำหรับผู้ที่ต้องการเป็น Fashion Designer (จำนวน 42 ชั่วโมง)

Course3: Fashion Design Advance (EP) สำหรับผู้ที่ต้องการยื่น Portfolio ศึกษาต่อต่างประเทศ และเรียน 2 ภาษา (จำนวน 42 ชั่วโมง)

2. หลักสูตรVisual Arts (เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้พื้นฐานทางด้านศิลปะ) Course1: Drawing เรียนหลักการและเทคนิคการวาดเส้นพื้นฐาน
(จำนวน 16 ชั่วโมง)

3. หลักสูตร Making To Design (เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้พื้นฐานการตัดเย็บ และต้องการเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง) Coursel : Making To

Design for SME สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเสื้อ (จำนวน 72 ชั่วโมง)

“IDF Academy มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับเนื้อหาในการเรียนการสอนอย่างเป็นพิเศษ ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักเรียนที่มาเรียนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นไปอย่างเต็มที่” วิคกี้ ผู้อำนวยการสถาบัน กล่าว

และเธอยังให้มุมมองต่ออุตสาหกรรม และอาชีพ Fashion Designer ในปัจจุบันว่า อาชีพ Fashion Designer ได้รับความสนใจมากขึ้นกว่าในอดีตการยอมรับต่อ Fashion Designer เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จาก Local Brand ที่เกิดขึ้นในวงการ Fashion ในบ้านเรามีมากขึ้นประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่รักอิสระ และมีความเป็นตัวของตัวเองสูงขึ้น ก็ยิ่งส่งผลให้ Brand เล็กๆแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนก็สามารถเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ยากเกินไป

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ Fashion Designer จะต้องทำงานหนักขึ้น ทำการบ้านมากขึ้น มีการศึกษาและสำรวจแนวโน้มของตลาด รวมถึงจะต้องฝึกฝนทักษะของตนเองให้มากขึ้นในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไม่ว่าจะเป็นการวาดเส้น (Drawing) การใช้โปรแกรม computer มาช่วยในการออกแบบ ตลอดจนทำเข้าใจในวิธีและขั้นตอนการตัดเย็บที่ถูกต้อง เพื่อที่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างมีคุณภาพ และตรงความต้องการของลูกค้ามากที่สุดโดยไม่สูญเสียความเป็นตัวตนของเรามากจนเกินไป

ทั้งนี้เพราะการออกแบบแฟชั่น ก็เหมือนงานศิลปะอีกแขนง ซึ่งจำเป็นจะต้องมีลายเซ็นเป็นของตนเอง เพื่อให้คนจดจำงานของเราได้ และเพื่อให้เราอยู่ได้ในเส้นทางสายนี้ได้อย่างมั่นคงความรู้ด้านการตลาดก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ Fashion Designer ในยุคปัจจุบันจะต้องศึกษาและให้ความสนใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.