เชิดชู เป็นลูกชายคนสุดท้องของเจ้าสัวชิน โสภณพนิช ครั้งหนึ่งเชิดชูเคยประสบเคราะห์กรรมแทบเอาตัวไม่รอด
แต่เมื่อฟื้นคืนสติกลับบอกว่า
เขานั้นเฉลียวฉลาดมากขึ้น และตั้งใจจะตามรอยผู้พ่อให้จงได้
ในวันฟ้าใสใต้เดือนพฤษภาคมเสียงสวดขานรับการเป็นภิกษุสงฆ์ที่ดังทุ้มกังวานออกมาจากพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาสบ่ายวันนั้น
ช่างมีมนต์ขลังทำผู้คนซึ่งชุมนุมกัน ณ ที่นั้นล้วนเกิดศรัทธาร่วมไปกับความปรารถนาของหัวใจคน
ๆ หนึ่งที่มาต่อพระบวรพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
เป็นงานบวชที่จัดขึ้นอย่างไม่มีพิธีรีตรองและสิ้นเปลืองอะไรมากนักของชัย
โสภณพณิชกรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด 5 ของชิน โสภณพนิช
อัครมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเมืองไทย !!
งานเดียวกันตรงเชิงบันไดพระอุโบสถ ชายหนุ่มวัยกลางคนในชุดลำรองแขนสั้นสีขาวลายเทายาวยาวสวมแว่นตาหนาเตอะนั่งทอดหุ่ยอย่างคนอารมณ์ดี
"ผมอยากเข้าไปฟังพระสวด แต่นั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิไม่ได้เพราะเจ็บสะโพก"
เข้าตอบคำถามพลางอัดควันบุรี่ท้าทายความแข็งแกรงของปลอดอย่างรุนแรงหลายครั้งตติดต่อกัน
จากบุคลิกท่าทางดูเปิ้น ๆ เหมือนคนไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อเหตุการณ์ใด ๆ เชื่อเหลือเกินว่าถ้าไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกันมาบ้าง
ความรู้สึกแรกที่ต้องยัดยืดให้กับชายคนนี้อาจจะมองว่าเขาเป็นคน "บวม
ๆ ที่พบกับความผิดหวังอะไรบางอย่างในชีวิต "
แต่ถ้าได้เข้าไปใกล้ชิดพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงความสุขุมลุ่มลึกต่าง
ๆ แม้แต่กลองไม้ขีดไฟที่ใช้ซึ่งประทับตรา "คลับเมด" สถานพักผ่อนตากอากาศที่สมบูรณ์ของโลก
กับนาฬิกาโรแลกซ์เรือนทองหน้าปัดส่งประกายแวววาวที่สวมใส่อยู่ ย่อมบ่งถึงผู้มีอันจะกินและมีรสนิยมวิไลไม่น้อยเลยของคน
ๆ หนึ่ง
"ลมเย็นดีนะ เงียบสงบสุขจัง ผมชอบอะไร ๆ ที่มันเรียบง่ายอย่างนี้"
เขาพูดด้วยน้ำเสียงที่ออกจะรัว ๆ อยู่สักนิดพร้อมกับกรวดสายตาชื่นชมความอลังการ์ของงาน
จิตรกรรมไทยที่ระดาดาษทั่วทุกซอกทุกมุมพระอุโบสถหลังงามอย่างให้สาแก่ใจตนเองและ
"ผู้จัดการ" ได้รับรู้จากวันนั้นอีกว่า
เขาเป็นคนที่รักและภาคภูมิใจในงานศิลปกรรมแบบไทย ๆ ที่คงความหนักแน่นสวยงามละเอียดลึกซึ้งในตัวเองอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
"ผู้จัดการ" พบว่าภาพ เขียนสีน้ำมานที่ประดับเด่นอยู่บนฝาผนังห้องทำงานของเขาที่อาคารใหญ่ริมถนนสีลมนั้น
เป็นภาพเขียน ซึ่งมีอายุนานกว่าครึ่งทศวรรษและภาพเขียนนี้เขาสืบเสาะหามาด้วยตนเองเสียด้วย
"เคยคิดว่าถ้ามีเวลาอยากจะค้นภาพเขียนดี ๆ อย่างนี้อีก " เขาเปิดเผยความตั้งใจบางอย่างที่อยากจะกระเบียดกระเสียดภาระหน้าที่การงานที่แสยจะสับสนวุ้นวายในแต่ละวันออกไปพ้นจากสิ่งเหล่านี้
เขาคนนี้ - เชิดชู โสภณพนิช ลูกชายคนสุดท้องหัวแก้วหัวแหวนของชิน โสภณพนิช
ที่ได้รับการยอมรับและกล่าวขวัญอย่างเงียบ ๆ ว่า เป็นนักธุรกิจที่มีสตริปัญหาเฉลียวฉลาดมากที่สุด
เมื่อเทียบกับวัย 40 กว่า ๆ เท่านั้นเอง และยังเป็น " โสภณพนิช "
คนเดียวเท่านั้นเองที่ใคร ๆ ก็บอกว่าพิมพ์ประพายละม้ายคล้ายคลึงกับเจ้าสัวชินแทบทุกระเบียบนิ้ว
ไม่ว่าจะเป็นบุคลิก ! กระทั้งความสามารถในการทำงาน
เชิดชูเองเคยปรารถนาว่า "ใครในโสภณพนิชจะเป็นอย่างไรก็ช่าง เขาไม่ชอบอะไรที่เป็นครอบครัวของเพียงเดินตามรอยเท้าพ่อเท่านั้น
"
ในเมื่อรอยเท้าพ่อประทับความยิ่งใหญ่ไว้ในประวัติศาสตร์ธุรกิจเหลือคณานับแล้วรอยเท้าของเชิดชูกำลังจะมาถึงในวัย
40 ปี ที่เป็นจุดเริ่มต้นความรุ้งโรจน์ล่ะจะเป็นอย่างไรกัน!!! ??
ประมาณเดือนสิงหาคม ปี 2521 หนังสือพิมพ์ทุกฉบับตีพิมพ์ลูกชายคนโปรดของอัครมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของเมืองไทย
อุบัติเหตุถูกรถชนอาการเป็นตายเท่ากันอย่างครึกโครม และลือลั่นมากไปอีกเมื่อความรู้สึกแรกของผู้ป่วยที่พื้นขึ้นมา
เขาพร้ำถามใคร ๆ ว่า…
"หุ้น..หุ้น..หุ้นเป็นเป็นยังบ้าง " จากนั้นก็แน่นิ่งไปกว่า
2 อาทิตย์ คำถามแรกของเขาที่วูบวาบนั้นจะจริงหรือเท็จแค่ไหนยังไม่อาจยืนยันได้
กระทั้งเจ้าตัวเองยังปฏิเสธว่าไม่ได้พูดอย่างแน่ ทว่าคนที่อยู่ในเหตุการณ์หลายคนยืนยันว่า
ผู้ป่วยละเมอถามถึงเรื่องหุ้นจริง ๆ!!!!
ช่วงนั้นตลาดหุ้นกำลังบูมอย่างสนั่นหวั่นไหว โดยเฉพาะหุ้นปูนซิเมนต์จ่ายเงินปันผลอย่างงดงาม
ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ได้เชื่อว่า เป็นนักเล่นหุ้นมือฉมังและเขานี้แหละที่เป็นผู้เสนอให้แบงก์กรุงเทพเข้าไปกรวดซื้อหู้นปูน
ฯ เข้ามาไว้หลายแสนหุ้น ประจวบเหมาะช่วงนั้นใคร ๆ ต่างก็ติดตามหุ้นปูนฯอย่างใกล้ชิด
เป็นไปได้ไหมว่าคนที่ซื้อหุ้นเอาไว้มากมายอย่างเขาและแบงก์กรุงเทพ จะต้องลั่นไกความรู้สึกถามถึงความเป็นไปในเรื่องหุ้นไม่ว่าสถานการณ์ของตัวเองในขนาดนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม
เรื่องนี้นักจริตวิทยาให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ว่า ความรู้สึกฝังใจนี้เป็นไปได้
คล้ายกับเป็นความหวังกังวลแสดงออกมาโดยที่เจ้าตัวอาจไม่รู้เรื่องในขนาดที่ตคัวเองกำลังป่วยไข่อยู่
เอาเถอะถึงอย่างไรก็ตาม! สิ่งที่ปรากฏตามมารภายหลังก็คือว่า แบงก์กรุงเทพฟันกำไรจากการซื้อขายหุ้นปูนซิเมนต์ในเที่ยวนั้นอย่างบานเบอะ
และทำให้ใครทั้งหลายต่างรู้จักและติดตามชื่อ "เชิดชู โสภณพนิช "
ทายาทคนสุดท้องของตระกูลที่เป็นต้นความคิดเรื่องนี้อย่างขะมักเขม้น
"เขามีแววเหมือนพ่อ ผมดูว่าเขาเก่งมากเลยทีเดียว อาจจะเก่งกว่าทุกคนในตระกูลเกี่ยวกับเรื่องเล่นหุ้นก็เป็นได้
คิดดูเอาว่าเขาเข้ามาบริหารงาน บงล.กรุงเทพธนาทรไม่ทันเท่าไร อายุก็สามสิบกว่า
ๆ ทว่าสามารถทำให้โบรคเกอร์รายนี้ผงาดขึ้นมาอยู่ในระดับ 1 ใน 10 ได้อย่างสง่าผ่าเผย"
โบรคเกอร์รายหนึ่งกว่ากล่าวถึงเชิดชู ย้อนหลังไปเมื่อเหตุการณ์ในปี 2521
เชิดชู เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2489 เป็นบุตรคนสุดท้องของชินกับบุญศรี
สำเร็จ การศึกษาชั้นประถมต้นที่เซนต์คาเบรียลแล้วไปเรียนต่อระดับไฮสคูลที่มิววิลด็
ซอมเมอเซท ประเทศอังกฤษ และสำเร็จปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลอดดอนที่ทนี้ทำให้เขากลายเป็นคนที่มีเพื่อนฝูงที่เป็นนักเล่นหุ้นระดับโลกหลายคนในปัจจุบัน
เชิดชูเริ่มต้นชีวิตการทำงานเฉกแรกเช่นเดียวกับชิน ผิดกับลูกคนอื่นที่เข้าทำงานบริษัทชินวางพื้นฐานไว้ให้หมดแล้ว
ต่างกันที่ว่าเขานึกสนุกกับการเป็นข้าราชการมากกว่าเป็นลูกจ้างเอกชน จึงได้สมัครสอบเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วก็กลายเป็นคนนอกคนเดียวในรุ้นนั้นที่ได้รับเลือกให้เข้าทำงาน
คนอื่น ๆ เป็นนักเรียนทุนของกระทรวงการคลั่งทั้งสิ้น
"คุณพ่อไม่สู้พอใจนักที่เห็นไปสมัครสอบ แต่ท่านก็ไม่บังคับ ผมบอกไปว่าการเข้าไปเรียนรู้และทำความรู้จักกับคนกับระบบราชการอาจจตะช่วยกิจการของตัวเองได้มากในวันข้างหน้า
" เขากล่าวกับ"ผู้จัดการ"
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เชิดชู ได้มีโอกาศร่วมงานกับอาจารย์ ป๋วย อึงภากรณ์
สมหมาย ฮุนตระกูล กับอาจารย์ป๋วยเขายอมรับว่า ได้รับความรู้ในการทำงานอย่างมากมาย
เป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือโดยไม่ต้องตะขิดตะขวงใจ 4 ปีที่แบงก์ชาตินอกจากประสบการณ์
ความสนุกสนานในการทำวานเชิดชู ยังได้ผู้พันกับยังเติร์กแบงก์ชาติในยุคปัจจุบันอีกหลายคนไม่ว่าจะเป็นเอกมล
คีรีวัฒน์
ความผันแปรของระบบราชการกับความอยากรู้อยากทำในสิ่งที่ชอบทำทำให้เศรษฐกร
ฝ่ายปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (FOREIGN REMITTANCE ) อย่างเขาต้องตัดสินใจลาออกจากราชการหันเหชีวิตเข้าสู่วงการธุรกิจของครอบครัวอย่างเต็มตัวเมื่อปี
2516
"มันอึดอัดนะ มีขั้นตอนมากเกินไปกระมัง ก็รู้ว่าถ้าอยู่ไปแล้วจะทำที่ตัวเองชอบทำไม่ได้ก็อย่าทำดีกว่า
" เขาย้อนความหลังสุดท้ายของการรับราชการแบงก์ชาติให้ฟัง
ก้าวแรกของธุรกิจของตระกูล เชิดชู ถูกส่งตัวไปเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพสาขาฮ่องกงในปีเดียวกันนั้นเอง
ที่นั้นเขามีโอกาสได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับอู่เข่ง แซ่ตั้ง หรือ โรบิน ชาน
หรือ ระบิล โสภณพนิช พี่ชายคนโตต่างมารดา ความสัมพันธ์ของคู่น้องคู่นี้แนบสนิทกว่าทุก
ๆ คน เชิดชูเองมักกล่าวยกย่อระบิลโดยปราศจากช่องวางในหัวใจ "พี่เขาสอนผมมาก"
เขาพูดกับ"ผู้จัดการ" สั้น ๆ เมื่อคุยถึงระบิล โสภณพนิช
แหล่งข่าวกล่าวในธนาคารกรุงเทพตั้งข้อสังเกต " ผู้จัดการ" ว่า
ตามที่มีการแต่งตั้งระบิล โสภณพนิช เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการธนาคารกรุงเทพ
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ท่ส่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบางอย่างของธนาคารกรุงเทพนั้น
นอกจากจะต้องจับตาบทบาทของระบิลแล้ว อีกคนหนึ่งที่ควรมองไม่น้อยก็เป็นเชิดชูคนนี้นั้นแหละ
"ระบิลเขาเชื่อถือฝีกมือน้องคนเล็กมาก อีกอย่างสองคนนี้ยังไปมาหาสู่กันเป็นประจำ
เชิดชูเองเขามีธุรกิจเกี่ยวกับหุ้นในฮ่องกงมากและช่วยบริหารเงินให้พี่ชายด้วย
ครั้งหนึ่งเชิดชูเคยลาออกจากการเป็นกรรมการแบงก์ไปแล้วก็จริง แต่เมื่อโรบิลกลับมาไม่แน่เขาอาจจะกลับมาอีกครั้งก็ได้
!
กล่าวกันว่าเป็นเหตุผลใหญ่ที่ชินส่งลูกชายคนเล็กไปทำงานที่ฮ่องกง เป็นเพราะต้องการฝึกปรือวิทยายุทธการเล่นหุ้นที่เป็น
"หนึ่ง" ให้กับเขา เพราะที่ฮ่องกงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งชุมนุมมือเซียนเรื่องหุ้นจากทั่วทุกมุมโลก
สองปีในฮ่องกงเชิดชูยอมรับว่า "ผมได้เห็นกลเม็ดการเล่นหุ้นอย่างมากมาย"
ชินค้าทองคำเคยพลาดพลั้งอย่างไร ? ก้าวแรกสู่วงการหุ้นของเชิดชูก็เจ็บไม่น้อยไปกว่ากัน!!!
เชิดชูลงไปซื้อหุ้นในตลาดหุ้นของฮ่องกงวันแรกที่ลงเล่นราคาหุ้นราคาหุ้นบางตัวลดลงเหลือแค่
5-6% ของราคาที่เขาซื้อไว้ 10% และต่อมาราคาหุ้นก็พุ่งกับขึ้นมาทว่ามันขึ้นมาไม่ถึงราคาที่ซื้อ
ทำให้ต้องประสบกับการขาดทุนไปไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว "ผมไม่ปลงนะ ถ้าปลงก็เลิกยุ้งเรื่องหุ้นแล้ว
มันกับให้ข้อคิดกับเราว่ารักจะเป็นนักเลงหุ้นที่เก่งอย่าได้ไปตามชาวบ้าน
ต้องศึกษาข้อมูลทุกด้านให้ละเอียด "
"พ่อเคยเจ็บยิ่งกว่านี้ เคยขาดทุนมาไม่รู้กี่มากน้อย เรายังดีที่ฐานแน่นพอควรผมเลยตั้งใจไว้ว่าจะเรียนรู้กลวิธีเรื่องหุ้นให้ถึงที่สุด
" เขากล่าวสรุปถึงวิถีชีวิตที่กลายมาเป็นคนค้าเงิน
กลับจากฮ่องกงเข้ามาเป็นกรรมการแบงก์กรุงเทพ ได้ไม่ทันเท่าไหร่ก็ขอลาออกให้พี่ชาย
(ชาญ) เป็นแทนด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่าแบงก์กรุงเทพเป็นองกรใหญ่จนเกินไป ขณะที่ตัวเองอยากทำงานที่มีพนักงานซึ่งมีความสามารถเพียง
20-30 คนเท่านั้นพอ ดังนั้นจึงมาเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จักดาร บลง.
กรุงเทพธนาทร โบรคเกอร์อีกรายหนึ่งในเครือแบงก์กรุงเทพเมื่อปี 2519
กรุงเทพธนาทร อ่อนวัยนั้นจริงอยู่แต่ด้วยมานสมองหลักแหลมและเฉียบลึกของเชิดชูและทีมงานที่ได้ชื่อว่าสิงห์สนามในตลาดหุ้นอาทีเช่น
สุรินทร์ เจริญชนาพร โยธินอารี ร่วมกันปลุกปั้นให้บริษัทโตขึ้นอย่างน่าเกรงขาม
ทรัพย์สินในปี 2519 ที่มีเพียง 700 กว่าล้านคล้อยหลัง 10 ปีกลับสูงขึ้นถึง
1,402,215,086 บาท (เล่นเอาสิ้นเอเซียกับร่วมเสริมกิจ) สองบริษัทผู้พี่อดชำเลืองตาด้วยความฉงนงงงวยไม่ได้
"แปลกแยกกันนะชาจรีเขาเล่นหุ้นแบบ TECHNICAL ANALYSIS คือเก็งกำไรขึ้นลงตามยตลาดเล่นแบบฉาบฉวยอย่างนี้มองรระยะสั้นอาจจะเหนือกว่า
ส่วนเชิดชูเขาผสมผสานกันทั้ง FENDAMENTAL ANALYSIS ที่ต้องวิเคราะห์ตามมูลฐานโดยรอบด้านกับ
TECHNICAL ANALYSIS เขาเล่นแบบลงทุนระยะยาวมากกว่าเก็งกำไรซึ่งเป็นการเล่นที่พัฒนาในตลาดโลก
ถ้ามองในพื้นฐานนี้เชิดชูอาจจะเด่นกว่าในอนาคต " มือหุ้นชื่อดังรายหนึ่งกว่า
และก็กล่าวกันอีกว่าถึงแม้แบงก์กรุงเทพจะมีเซียนหุ้นอยู่ในสังกัดเป็นกุรุส
ๆ ทว่าถึงคราวใช้งานเกี่ยวกับเคราะห์เรื่องสำคัญ ๆ ผู้ใหญ่ในแบงก์ยังให้เกียรติเชิดชูเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยอย่างจริงใจ
"เชิดชูเขาแทบจะไม่แตกต่างเจ้าสัวชินเลย เก่งมากในเรื่องหุ้น เสียอย่างเดียวเขาเงียบไปหน่อย
" ผู้ใหญ่แบงก์คนหนึ่งกล่าว
ล่าสุดเชิดชูสำแดงความเก่งกาจออกมาให้เห็นอีกแล้ว เมื่อหุ้นของเมตัลบอกซ์ที่เขาซื้อเก็บไว้เมื่อ
3 ปีก่อนในราคาไม่กี่สิบบาท เพราะช่วงนั้นเมตัลบอกซ์ค่อนข้างระส่ำระสายพอสมควร
ทว่าหุ้นของเมตัลบอกซ์กับเป็นหุ้นที่บูมมากในธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่กลายเป็นจุดสนใจของนักเลงหุ้น
งานนี้เชิดชูฟันกำไรมากกว่าที่เคยซื้อมาร่วม 30 เท่าตัวเลยทีเดียว !!!
ลูกเล่นในตลาดหุ้นของกรุงเทพธนาทรยุคเชิดชูแพรวพราวพอตัวเลยทีเดียวที่นี่เคยถูกกล่าวขานกันมากกว่าเป็นแหล่งที่ทำอ๊อบชั้นสูงแห่งหนึ่ง
จนตลาดหลักทรัพย์ต้องจับตาอย่างไม่คลาดครา เรื่องอ๊อบชั้นนี้ถือเป็นการนอกเกมอย่างหนึ่งเรื่องเชิดชูให้การปฏิเสธว่า
"บริษัทและตัวเขาเองไม่เคยกระทำ "
มารวย ผดุงสิทธิ์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนปัจจุบันกล่าวถึงโบรคเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งแต่ละรายขึ้นชื่อลือชาในความร้ายกาจ และบางรายก็กะล่อนกลมกล่อมจนทำเอาผู้จัดการหลายคนเด้งออกจากเก้าอี้อย่างเจ็บซ้ำน้ำใจมาแล้ว
"ผมไม่กลัวความร้ายของโบรคเกอร์ ใครจะมากำแหงว่าเป็นคนเลี้ยงตลบาดหลักทรัพย์ไม่ได้
เราต้องมาร่วมหัวจบท้ายกัน"
ไม่รู้ว่ากรุงเทพธนาทรร่วมอยู่ในขบวนการที่น่าสะพรึงกลัวนั้นหรือเปล่า
? แต่ที่แน่ ๆ คนเล่นหุ้นให้ความเชื่อถือกรุงเทพธนาทรไม่น้อย อย่างที่เรียกว่าเวลากรุงเทพธนาทรไปเคาะกระดานโป๊ก
ๆ ที่กระดานไหนคนก็เฮไปที่กระดานนั้น ส่วนใหญ่ไม่ผิหวังด้วยซิ !!!
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นหลักประกันในอนาคตของลูกจ้าง ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ซึ่ง บงล. กรุงเทพธนาทร เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ให้บริการเรื่องนี้ (มีด้วยกัน
9 บริษัท) เดิมทีเดียวที่กระทรวงการคลังมีการคัดเลือกตัวผู้บริหารกองทุน
แรก ๆ ทำท่าว่า บงล. ธนสยาม จะเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบ เพราะเป็นบริษัทเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมานาน
ทว่าถึงที่สุดกลับเป็น บงล. กรุงเทพธนาทร ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดการกองทุนเลี้ยงชีพ
งานนี้ชี้ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์เก่า ๆ สมัยที่เชิดชูเป็นพนักงานแบงก์ชาติที่ส่งผลตอบแทบกับมาอย่างน่าชื่นใจ
และผลของการเป็นผู้จัดการกองทุน ฯ ก็ทำให้บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากหลายบริษัทฯ
หลายห้างร้านเป็นผู้แนะนำจัดตั้งกองทุน
ถึงตรงนี้คงหายคลางแคลงใจแล้วว่าผิดไหม ? ที่เชิดชูเสียเวลาส่วนหนึ่งไปกับการรับราชการ
!!
ชินเคยพลาดมาครั้งหนึ่งในเกมการเมืองที่หา "ไม้กันหมา" ในยุคที่แบงก์กรุงเทพกำลังเติบโตสุดขีด
กระทั้งยุคแบงก์กรุงเทพลำพองกับความมหึมาของตน ชินก็ต้องพลบาดในเรื่องนี้อีก
ก็จำกันได้ว่าสมัย 2519 ช่วงนั้นวิกฤติการณ์ทางการเมืองอึมครึมและน่ากลัวมาก
ความรู้สึกที่ประเทศไทยจะกลายเป็นโดมิโนพากันหวั่นไหวขายทรัพย์สินเตรียมตัวหนีไปอยู่ต่างประเทศกันจ้าละหวั่น
ระยะนั้นเป็นยุคที่ราคาหุ้นเซ็งสุดขีด การเคลื่อนไหวซื้อขายเงียบหงอยซึมเซาตอนนั้นหุ้นแบงก์กรุงเทพตกลงมาเหลือเพียง
219 บาท ก็แทบจะหาคนมาซื้อแทบไม่ได้แม้แต่คนแบงก์เอง จะมีก็แต่เสรี ทรัพย์เจริญ
แห่งราชาเงินทุนที่ต่อมาต้องเป็นขมิ้นกับปูนกับแบงก์กรุงเทพ เท่านั้นที่กว้านซื้อหุ้นเก็บไว้ถึง
300,000 หุ้น จนเป็นผู้ที่ถือหุ้นใหญ่โดยปริยาย
ปรากฏว่าสถานการณ์ทางการเมืองไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด กอปรกับรัฐบาล ได้รับมาตราการภาษีโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทจดทะเบียนโดยเสียในอัตราร้อยละ
35 ทำให้การตื่นตัวลงทุนในตลาดหลักทรัพย์พื้นตัวอย่างรวดเร็ว
ยิ่งได้แรงจากภาระเศรษฐกิจทั่วไปที่เริ่มมาชีวิตชีวามากขึ้นในปี 2520 เยเป็นผลให้สถานการประกอบการของแบงก์กรุงเทพและแบงก์อื่น
ๆ ดีตามอย่างทันตาเห็น ราคาซื้อขายหุ้นในตลาดพุ่งสูงขึ้นราวกับหลังมือเป็นหน้ามือ
ครั้งนั้นเสรีโกยกำไรจาก การขายหุ้นได้ถึง 60 บาท ต่อหุ้น คำนวณดูเอาว่าเป็นเงินเท่าไร
?
เชิดชูเองก็เริ่มก้าวขึ้นสูงตลาดหุ้นเช่นเดียวกัน มันเป็นความผิดพลาดทั้งของตัวเขาและแบงก์กรุงเทพที่คาดคะเนข่าวสารการเมืองผิดไป
จากจุดนั้นเองที่ต้องทำให้เชิดชูสนใจข่าวการเมืองมากขึ้น จนถึงกับทำหนังสือการเมืองเศรษฐกิจชื่อ
"จุตรัส "
"มันรเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาต้องลงมาสนใจข่าวการเมืองอย่างใกล้ชิดซึ่งก็ไม่มาอะไรดีไปกว่าการทำหนังสือประเภทนี้ขึ้นมา
อาศัยความเป็นสื่อมวลชนเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารป้องให้กับการทำธุรกิจ"
แหล่งข่าวท่านหนึ่งกล่าวถึงความเป็นคนมองการไกลของเชิดชู ที่ได้พัฒนาบริโภคข่าวสารขึ้นมาอีกระดับคล้ายกับชินสมัยเล่นทองคำจะมีแหล่งข่าวคอยป้อนข้อมูลให้อย่างยุ่บยั่บ
และจากการที่ได้มาสัมผัสอาชีพสื่อมวลชน เลยเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เชิดชูเป็นคนแบบกันเองพูดจาเข้ากับใครได้ง่ายกว่าคนอื่น
ๆ ใน "โสภณพนิช"
อดีตผู้ร่วมงานที่ "จุตรัส " กล่าวถึงเชิดชูว่า สิ่งที่เขาสนใจมากที่สุดก็คือเรื่องการเมือง
ในการประชุมวางแผนงานข่าวเชิดชูจะเน้นเรื่องการเมืองเป็นพิเศษ ไม่ได้พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจมากนัก
ทั้งที่หนังสือเล่มนี้วางคอนเซปท์หนักไปทางด้านเศรษฐกิจอามจเป็นไปได้ว่าเชิดชูรู้เรื่องเศรษฐกิจดีอยู่แล้วก็เป็นได้
เขากล่าวถึงความสำเร็จของ "จุตรัส" ว่า "เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยลืมเลย
" !!!
"ผู้จัดการ" ได้เสนอความมุ่งหวังตั้งใจอย่างสูงสุดของชาตรีที่ต้องการเป็นหมายเลขหนึ่งไปแล้วว่า
ชาตรีกำลังมองความเป็นไปได้ทางธุรกิจนอกเหนือความมีคุณธรรมน้ำมิตรที่คนรุ้นพ่อได้ยืดถือ
ปฏิบัติ ชาตรีกำลังเดินแต้มคูอย่างรอบคอบเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นนักอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์แบบ
เชิดชูเองก็เชื่อมั่นว่า "พี่ชาตรีเขาคงทำได้นะ" !!!!
ส่วนเชิดชูมีรายงานข่าวว่า เขาเองสนใจธุรกิจอุตสาหกรรมไม่น้อยไปกว่าพี่ชาย
ทุกวันนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ กับอุตสาหกรรมส่งออกอยู่เงียบ
ๆ เช่นกัน ผลประกอบการและการบริหารงานภายในบริษัท ฯ 6 แห่งเหล่านี้ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
เขาพลิกคันปูมต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง
เชิดชูคิดว่าอุตสาหกรรมส่งออกและสิ่งทอของประเทศไทยจะไปได้สวยในอนาคต !!!
เขาพร้อมที่จะเข้าไปซื้อหุ้นบริษัท ฯ เหล่านั้นเก็บไว้ในกำมือ แม้ว่าในบางบริษัท
ฯ เขาจะไม่เชื่อมั่นในการบริหารก็เถอะ …
"ผมให้ความสนใจมากแต่ไม่ขอบอกชื่อนะ ว่ามีบริษัทไหนบ้าง ถ้าผมซื้อคิดว่าไม่พลาดแน่นอน"
เขาบอกกับ "ผู้จัดการ" สั้น ๆ เมื่อถูกถามถึงเรื่องนี้
"ผมซื้อเพื่อขายต่อเอากำไรเท่านั้น" คำตอบในลำดับถัดมาที่เขาต้องการจะบอก
แต่เชื่อไหม!? นักเล่นหุ้นมือฉมังทั้งในอดีตและปัจจุบันหลายคนบอกว่า เชิดชูคงไม่เล่นหุ้นเพื่อเก็งกำไรอย่างเดียวหลอก?
เขาเป็นคนมองไกลที่จะลุงทุนในระยะยาวอีกด้วย อายุ 40 กว่า ๆ คิดหรือว่าเชิดชูจะหยุดตัวเองไว้ที่ตลาดหุ้น
!?
เชิดชูมีเพียงแต่จะตามรอยเท้าพ่อ เขาอาจเป็น "โสภณพนิช" ที่มองอะไรไกลกว่าจุดที่เป็นอยู่โดยไม่ให้กระโตกกระตากเลยแม้แต่น้อย
เขาบอกว่า "พี่ชาตรีสนใจอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ในฐานะนายแบงก์แต่ผมสนใจแต่ตัวเก่า
ๆ ที่เห็นว่ามันไม่ดีและจะต้องทำให้ดีขึ้น"
เชิดชูมีความเชื่อมั่นในตัวเองมาก ขึ้น ช่วงแรก ๆ ที่ก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นดูเป็นคนเงียบขรึม
แต่ภายหลังถูกรถชนสลบไปถึง 2 อาทิตย์ ซึ่งหลายคนคิดว่าความทรงจำของเขาเสี่ยมถอยไปมาก
ไม่ฉลาดแหลมคมเหมือนที่เคยผ่านมา แต่ถ้าถามถึงข้อนี้เชิดชูจะตอบอย่างอารมณ์ดีว่า
…
"ผมว่าผมฉลาดขึ้นเสียอีก "
เชิดชูสูงต่ำไล่เลี่ยกับชิน เขาชอบเล่นกอล์ฟกับแบดมินตัน ทว่าในวัย 40
ยังดูแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า ยังมีงานที่ถ้าทำความฉลาดที่เพิ่มขึ้นของเขาอีกมากมายหลายเรื่อง
จึงทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬาที่ชอบได้อย่างที่เลย ระหว่างพูดคุยกับ "ผู้จัดการ"
ที่กินเวลาชั่วโมงเศษ ๆ นั้นไม่น้อยกว่า 35 นาที เชิดชูขอตัวออกไปรับโทรศัพท์ทางทางไกลจากต่างประเทศ
สิ่งที่พูดคุยกันไม่พ้นเรื่องหุ้น .. หุ้น ..และหุ้น..
ฮ่องกงเป็นฐานเล่นหุ้นสำคัญระดับโลก เชิดชูย นั่งบินไปดูเรื่องหุ้นที่นั้นเป็นประจำ
และมีข่าวคราวปรากฏเนื่อง ๆ ว่าเขาและโรบิล ชาน กว้านซื้อหุ้นเก็บไว้มากมาย
นอกจากนี้นักเล่นหุ้นต่างชาติที่เข้ามาสร้างความคึกคักในตลาดหุ้นบ้านเราส่วนใหญ่ก็มาจากฮ่องกงทั้งสิน
คนพวกนี้ว่ากันว่าเชิดชูรู้จักเป็นอย่างดี
กลุ่มลงทุนเหล่านี้นับว่ายิ่งขยายตัวใหญ่ในประเทศไทย ก้าวเดินของพวกเขาน่าให้ความสนใจไม่น้อย!?
นิวยอร์ค ตลาดหุ้นที่นั้นคึกคักมานานแล้ว เพื่อนนักเรียนอังกฤษของเชิดชูเป็นเซียนหุ้นมือฉมังอยู่ที่นั้นก็หลายสิบคน
และถ้าพูดถึงดาวโจนส์ทุกคนในตลาดหุ้นก็จะรู้จักดี ในตลาดหุ้นที่นิวยอร์นั้นว่ากันว่าดัชนีราคาหุ้นของดาวโจนส์เป็นที่เชื่อถือของนักเล่นหุ้นกันมาก
และมีเสียงพูดถึงกันมากว่า เชิดชูนั้นมาความสัมพันธ์กับคนกลุ่มดาวโจนส์ไม่น้อยนักเล่นหุ้น
ชาวไทยคนหนึ่งที่เคยไปดูเคาะกระดานยังตลาดหุ้นนิวยอร์บอกกับ "ผู้จัดการ"
ว่ามีนักเล่นหุ้นจากประเทศไทยกลุ่มหนึ่งกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันมากในหมุ่นักเล่นหุ้นที่นั้น
นักเล่นหุ้นที่นั้นเป็นใครกัน!! เป็นไปได้ไหม? ที่จะเป็นกลุ่มเชิดชู โสภณพนิช!!!
ก็นั้นนะสิ "ผู้จัดการ" เองก็อยากรู้เช่นกัน