คำพูดที่ว่า "เรแกนไม่ใช่คนที่ชอบรายละเอียด " ดูเหมือนจะเป็นคำพูดติดปากผู้ที่สนับสนุนประธานาธิบดีและเป็นคำพูดที่ให้ความหมายเป็นนัยว่าที่ท่านประธานาธิบดีสนใจแต่เฉพาะภาพรวม
เรแกนจะปล่อยจะปล่อยให้รายละเอียดเป็นเรื่องงของลูกน้องรอง ๆ…ท่านประธานาธิบดีมีสิ่งที่เป็นจุดแข็งขณะเดียวกัน
ก็เป็นจุดอ่อนด้วยเช่นกันเช่นกัน
ดูเหมือนว่า คำพูดที่ทำให้ประธานาธิบดีเรแกนต้องเสียหายมากที่สุดตลอด 2
สมัยของการครองตำแหน่ง เห็นจะได้แก่คำพูดสั้น ๆ เพียงห้าคำว่า I AM NOT FULLY
INFORMED " ซึ่งเป็นสิ่งที่ประธานาธบดีเรแกนกล่าวถึงสหรัฐลอบขายอาวุธสงครามให้อิหร่าน
เพื่อให้อิหร่านช่วยเหลือในการปล่อยตัวประกันและมีการค้นพบในภายหลังว่า เงินที่ได้จากการขายอาวุธนั้น
ถูกส่งไปสนับสนุนขบวนการ "คอนทรา" ในนิคารากัว กรณีนี้อาจจะเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่อื้อฉาวที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์วอเตอร์เกตเป็นต้นมาแล้ว
ก็ยังเป็นบทเรียนและข้อเตือนใจแก่นักบริหารที่มุ่งแต่จะฟังการบรรยาสรุป มองมองภาพรวมแต่ไม่สนใจกับรายละเอียด
จากคำพูดของประธาธิบดีเรแกนดังกล่าวเกี่ยวกับกรณีการขายอาวุธให้อิหร่านดูเหมือนกับท่านประธานาธิบดีกำลังจะบอกแก่ประชาชนอเมริกันว่า
เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นจาก นาวาโทโอลิเวอร์ นอร์ธ เจ้าหน้าที่สภาความมั่นคงของรัฐ
ซึ่งทำงานอยู่บนถนนฝั่งตรงข้ามทำเนียบขาวกระทำไปทั้งหมด โดยปราศจากความรู้เห็นของกระทรวงการต่างประเทศ,
กระทรวงกระลาโหม, หน่วยประมวลข่าวกลาง (CIA) คณะเสนาธิการทหาร และเจ้าหน้าที่ธรรมเนียบข่าว
ส่วนผู้ที่รู้เห็นเรื่องนี้มีเพียงคนเดียวคือ จอห์น พอยน์เด็กซเตอร์ ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาความมั่นคง
และเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของนาวาโทโอลิเวอร์ นอร์ธ และก็ไม่ได้หยุดยั้งการกระทำครั้งนี้ของลูกน้องเอาไว้
จากการให้สัมภาษณ์นิตยสารไทม์ ดูเหมือนว่า ประธานาธิบดีเรแกนจะไม่รู้เรื่องเงินไปช่วยเหลือขบวนการ
"คอนทรา" เอาจริง ๆ และมาทราบเรื่องในภายหลังเมื่อนายเอ็ดวิน มิส
นำข่าวมาแจ้งให้ทราบ แม้ว่าประธานาธิบดีเรแกนจะยอมรับว่า การส่งเงินไปช่วยเหลือขบวนการ
"คอนทรา" เป็นสิ่งที่ไม่ "เหมาะสม" แต่ประธานาธิบดีเรแกนก็ปฏิเสธอยู่ตลอดว่า
ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดส่อให้เห็นว่า ประธานาธิบดีเรแกนนั้นดำรงตนเหินห่างจากการทำงานของรัฐบาลเอามาก
ๆ นอกจากจะเป็นประธานาธิบดีที่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของรัฐบาลแล้ว
ดูเหมือนว่าปรีะธานาธิบดีเรแกนจะไม่ต้องการรู้ว่ารัฐบาลของตนเองทำอะไรอยู่ในนามของท่าน
นักวิเคราะห์ทางการเมืองหลายคนให้ทัศนะว่าไม่น่าประหลาดใจเลยที่สไตล์การทำงานของท่านประธานาธิบดีจะส่งผลให้ท่านเดือนร้อนอย่างทรุกวันนี้
สิ่งที่บรรดานักวิเคราะห์หลายพากันสงสัยก็คือ ท่านรอดตัวมาจนทุกวันนี้ได้อย่างไร
คำพูดที่ว่า " เรแกน ไม่ใช่คนที่ชอบรายละเอียด " ดูเหมือนจะเป็นคำพูดที่ติดปากผู้ที่สนับสนุนประธานาธิบดี
และเป็นคำพูดที่ให้ความหมายเป็นในว่า ท่านประธานาธิบดี สนใจแต่เฉพาะภาพรวม
และปล่อยให้รายละเอียดเป็นเรื่องขอลูกน้องรอง ๆ ลงไป อย่างไรก็ดี การไม่ใจในรายละเอียดอาจนำไปสู่อันตรายได้ดังจะเห็นได้ว่าการเจรจาลดอาวุธในไอซ์แลนด์
กับนายกอร์บาชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต ปรีะธานาธิบดีไม่ได้เสียเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์
และแนวความคิดของกลยุทธ์การจำกัดอาวุธของสหรัฐอเมริกา แต่ใช้เวลาไปกับการฝึกซ้อมการขายไอเดียให้กับกอร์บา
ชอฟ เรื่องโครงการสตาร์วอร์สหรือที่มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า SDI และใช้เวลาไปในการอ่านนวนิยายเรื่อง
RED STORMS RISING ของ TOM CLANCY ที่เป็นนิยายเกี่ยวกับสงครามที่ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์
ระหว่างกลุ่มประเทศสนธิสัญญา NATO และกลุ่มประเทศพันธมิตรของโซเวียต เพื่อเตรียมตัวประธานาธิบดีเกี่ยวกับการเจรจา
ประธานาธิบดีเรแกนเจรจาต่อรองกับกอร์บา ชอฟ ด้วยสัญชาตญาณซึ่งอาจจะนำไปสู่การก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในการทำความตกลงลดอาวุธนิวเคลียร์เมื่อผู้นำทั้งสองฝ่ายสนทนาประเด็นปัญหาหลัก
ๆ และประเด็นปริกย่อยทางไป แต่ดูเหมือนว่า ผลการเจรจาจะดับความหวังที่จะมีข้อตกลงเรื่องหัวรบนิวเคลียร์ในยุโรปและการใช้โครงการสตาร์วอร์สเป็นข้อต่อรองเสียมากกว่า
หมายกำหนดการทำงานของท่านประธานาธิบดีเริ่มจากการตื่นนอนเวลา 7.30 น. ดูรายการโซว์ตอนเช้าเล็กน้อยและอ่านหนังสือพิมพ์ไปในระหว่างการรับประทานอาหารเช้า
เมื่อถึงเวลาเก้าโมงเช้า ท่านประธานาธิบดีก็จะเดินจากที่พักไปยังที่ทำงาน
รูปไข่ (OVER OFFICE ) และรับฟังการบรรยายสรุปจากเจ้าหน้าอาวุโส ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือภาวะระกิจที่ท่านต้องทำในวันนั้น
การบรรยายสรุปจะกินเวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งท่านประธานาธิบดีจะนิ่งเงียบเสียเป็นส่วนใหญ่
หลังจากนั้นก็จะเป็นการบรรยายสรุปของเจ้าหน้าที่สภาความมั่นคง ซึ่งจะกินเวลาประมาณ
30 นาที หากว่าสภาความมั่นคงจะต้องบรรยายเต็มรูปแบบให้ท่านประธานาธิบดีฟังแลบ้ว
สิ่งที่ท่านจะถามโดยทั่วไปจะไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยายมาแต่ท่านมักจะถามว่า
"แล้วผมจะต้องพูดอะไรบ้าง?"
ภารกิจยามเช้าของท่านประธานาธิบดีเริ่มจากรายการโปรโมชั่นเล็ก ๆ น้อย ๆ
เช่นการพูดคุยกับสมาคมผลิตภัณฑ์นม แห่งสหรัฐอเมริกา ตามด้วยการร่วมถ่ายรูปกับทีมนักกีฬาที่ชนะเลิศการแข่งขัน
ท่านประธานาธิบดีจะรับประทานอาหารกลางวันกับรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาทิตย์ละครั้ง
ในช่วงบ่าย ท่านประธานาธิบดีจะรับฟังการบรรยายสรุปโดยกระทรวงการต่างประเทศ
หรือการชักซ้อมหัวข้อที่จะพูดคุยกับผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่มาเยือนและทุกบ่ายวันพุธ
ท่านประธานาธิบดีจะไม่ทำงานในช่วงบ่ายและทุกบ่าย 3 โมงของวันศุกร์ ท่านก็จะเก็บของเรียบร้อยเพื่อไปพักผ่อนสุดสัปดาห์ที่แคมป์เดวิด
วันธรรมดาประธานาธิบดีเรแกนจะทำงานถึง 5 โมงเย็น
ประธานาธิบดีเรแกนไม่ต้องอ่านหนังสือมากนัก เพราะทุกครั้งที่ต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย
ท่านจะได้รับงานบันทึกข้อดีข้อเสียจากนโยบายนั้น ๆ ยาวหนึ่งหรือสองหน้ากระดาษ
นโยบายต่างประเทศจะมีความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ สิ่งที่ท่านประธานาธิบดีจะให้ความสนใจอ่านเป็นพิเศษก็คือ
สุนทรพจน์ ของท่าน โดยผู้เขียนสุนทรพจน์จะแต่งเนื้อหาทั้งหมดให้ และท่านประธานาธิบดีจะเพิ่มเติมมุขต่าง
ๆ ของท่านเองลงไป ความสนใจในเรื่องสุนทรพจน์ของท่านประธานาธิบดีเรแกนแสดงให้เห็นว่า
ท่านประธานาธิบดีทำหน้าฝ่ายการตลาดของนโยบายรัฐบาลและขายความคิดมากกว่าผู้วางแผนหรือกำหนดตัวนโยบาย
ท่านประธานาธิบดีจะไม่ค่อยนั่งลงทำงานกับคณะที่ปรึกษา เพื่อตัดสินใจในเรื่องนโยบาย
และจะพอใจมากที่สนุก เมื่อคณะที่ปรึกษาสามารถหาแนวทางที่ยุติกันเองได้ และนำข้อยุตินั้นมานำเสนอต่อมติที่ประชุม
ซึ่งเป็นงานที่ยากเลยทีเดียวกับคณะที่ปรึกษาของท่านประธานาธิบดี
หลังจากการขายอาวุธให้แก่อิหร่านของรัฐบาลอเมริกันกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวประธานาธิบดีต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนขึ้นคณะหนึ่ง
ซึ่งมีนายจอห์น ทาวเวอร์ เป็นประธาน กรรมการชุดนี้ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คณะกรรมการทาวเวอร์
(TOWER COMMISSION ) ได้ทำการสอบสวน และได้ให้ข้อสรุปบทบาทของประธานาธิบดีเรแกนว่า
ท่านประธานาธิบดีไม่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการขายอาวุธให้แก่อิหร่านอย่างละเอียดรอบครอบ
และก็ไม่ได้ตระหนักถึงผลที่จะตามมารของการขายอาวุธดังกล่าวอย่างถ่องแท้ คณะกรรมการทาวเวอร์ได้กล่าวถึงการทำงานสไตล์ของประธานาธิบดีว่า
เป็นการมอบหมายความรับผิดชอบในการทบทวนนโยบายและปฎิบัติตามนโยบายให้แก่คณะที่ปรึกษาเกือบจะโดยสิ้นเชิง
ซึ่งปฏิบัติการที่ซับซ้อน และมีความเสี่ยงสูงเช่นนี้ ประธานาธิบดีได้ให้การแก่คณะกรรมการทางเวอร์ว่า
"ไม่เคยได้รับรายงานเลย ว่าแผนการแลกอาวุธกับตัวประกันดังกล่าวจะเป็นอย่างไร
" นอกจากนั้นแล้วท่านประธานาธิบดียังไม่ตระหนักการแลกอาวุธกับตัวประกัน
เป็นการกระทำที่ขัดต่อนโยบายเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายของท่านประธานาธิบดีเองโดยตรง
คณะกรรมการทาวเวอร์ได้ให้ความเห็นว่า สไตล์การบริหารงานของท่านประธานาธิบดีเรแกน
ซึ่งบางคนเรียกว่า เป็นความเกียจค้านที่จะใช้ความคิด ได้รับความประคับประคองมาด้วยดี
โดยคณะที่ปรึกษาในสมัยแรกของท่านประธานาธิบดี ซึ่งมีความสามารถสูง แต่นับจากที่ประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งกลับเข้าอีกครั้งหนึ่ง
ประธานาธิบดีเรแกนก็ถูกแวดล้อมด้วยคณะที่ปรึกษาซึ่งเข้ากันได้อย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ย
จนเกิดเรื่องราวใหญ่โตในที่สุด
เรื่องราวทั้งหมดของประธานาธิบดีเรแกน นี่ ซึ่งจะเป็นแง่คิดที่ใช้เตือนใจของผู้บริหารที่มุ่งจะมองแต่ภาพรวม
และปล่อยให้รายละเอียดเป็นความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ว่าควรจะพึงประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาเสียก่อนว่า
ว่าสามารถที่จะทำงานสำเร็จลุลวงตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และที่สำคัญที่สุดก็คือ
การมอบหมายงานให้ลูกน้องไปทำจำเป็นจะต้องมีระบบควบคุมและรายงานผล มิใช่จะเป็นการส่งงานมาทางเดียวจากผู้บริหารลงมาแล้วปล่อยให้ลูกน้องทำไปโดยที่ตนเองไม่สามารถยึดกุมจุดสำคัญ
ๆ ของปฏิบัติการไว้ได้ และพาให้งานทั้งหมดอยู่พ้นการควบคุมโดยสิ้นเชิง และกลับมาเป็นปัญหาใหญ่ตรงในภายหลังเหมือนกับที่ประธานาธิบดีเรแกนได้ประสบ