ไดมอนด์ทาวเวอร์นั้น เจ้าของและผู้ดกำเนินการคือบริษัทสมชายโฮลดิ้งอินเตอร์เนชั่นแนลดีเวลลอปเม้นท์
ซึ่งสมชาย ฤทธิ์นพคุณ และภรรยาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
สมชายโฮลดิ้งฯ จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์เป็นนิตบุคคลประเภทบริษัทจำกัด
ทะเบียนเลขที่ 3374/2525 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2525 ด้วยทุนจดทะเบียน 1
ล้านบาท วัตถุประสงค์ขณะนั้นก็เพื่อดำเนินโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์ที่มูลค่าการก่อสร้างเป็นร้อยล้านบาทซึ่งนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
ฯ จวบจนขณะนี้ก็ไม่เคยมีการเพื่มทุนเลย
บริษัทสมชายโฮลดิ้งฯ นั้น กรรมการประกอบด้วย 4 คน
สมชาย ฤทธิ์นพคุณ
ดวงตา ฤทธิ์นพคุณ
สมศักดิ์ ภูวัฒนานุสรณ์
วิชัย ทวินววิช
โดยที่สองคนหลังทำงานเป็นลูกจ้างสมชาย ฤทธิ์นพคุณ
สมชายโฮลดิ้งฯ มีข้อกำหนดหรือชื่อกรรมการบริษัทที่ลงชื่อผูกพันกับบริษัท
ฯ ได้คือ สมชาย ฤทธิ์นพคุณ ร่วมกับกรรมการอีกหนึ่งคนเป็นสอง และประทับตราสำคัญของบริษัทฯ
ซึ่งโดยมากของการทำนิติกรรมแล้วผู้ที่ลง๙อร่วมกับสมชายก็มากจะเป็นดวงตาภรรยาของสมชาย
ลายเซ็นทั้งของสมชายและดวงตา ตามปรกติแล้วจะเซ็นเป็นภาษาไทย เขียนหวัดพร้อมบรรจงพอจะอ่านได้ทั้งสองชื่อ
ส่วนตราสำคัญของบริษัทฯ มีลักษณะเป็นวงกลม ตรงกลางเป็นสัญญาลักษณ์คล้าย
ๆ กรงจักรขอบวงกลมเป็นชื่อบริษัทสมชายโฮลดิ้งอินเตอร์เนชั่นแนลดีเวลลอปเม้นท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ถ้าจะให้ถือเป็นการทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ของบริษัทสมชายโฮลดิ้งฯตามที่มจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์แล้ว
นิติกรรมนั้น ๆ ก็จะต้องลงนามโดยสมชายและดวงตาหรือสมชายกับกรรมการคนหนึ่งคนใดในจำนวนอีกสองคน
ที่เหลือแล้วก็ประทับตราบริษัทข้างต้น
แต่จะเป็นเพราะความหลงลืมหรือเพราะเจตนาใดก็ไม่ทราบ
สัญญาซื้อขายห้องในอาคารไดมอนด์ทาวเวอร์ระหว่างบริษัทสมชายโฮลดิ้งฯกับผู้ซื้อมากจะมีอะไรแปลกประหลาดต่าง
ๆ กันไป โดยเฉพาะการลงนามท้ายสัญญาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายมาก ๆ รายที่ล้วนแต่เป็นผู้ซื้อแต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
"ทั้ง ๆ ที่พวกนี้ก็บอกว่าจ่ายเงินไปหมดแล้ว " แหล่งข่าวระดับวงในคนหนึ่งบอกกับ"ผู้จัดการ"
อย่างเช่นสัญญาบางฉบับ ประทับตราสำคัญบริษัทถูกต้องแต่สมชายลงนามเพียงคนเดียว
บางฉบับก็ถูกต้องทุกอย่างเพียงแต่รายเซ็นของสมชาย แทนที่จะเป็นภาษาไทยกับเป็นภาษาอังกฤษ
และหลายฉบับแทนที่ตราบริษัท ฯ จะเป็นตราวงกลมก็กลายเป็นสี่เหลี่ยมตรงกลางเป็นรูปเพชร
ข้างล่างเขียนเป็นภาษาอังกฤษอ่านได้ว่า ไดมอนด์ทาวเวอร์ซึ่งก็เป็นเครื่องหมายที่มักประทับอยู่บนหัวจดหมายหรือโบชัวโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์
นักกฎหมายคนหนึ่งบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นความพลั้งเผลอหรืออะไรก็ตาม แต่ถ้าสัญญาซื้อขายเหล่านี้ถูกนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องเอาผิดเจ้าของโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์แล้ว
ก็คงจะต้องมีการพิสูจน์กันเหน็ดเหนื่อยเป็นพิเศษ