ไดมอนด์ ทาวเวอร์เจ้าของโครงการเจ้าหนี้ - ผู้ซื้อ


นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2530)



กลับสู่หน้าหลัก

โดยทั่วไปของเรื่องราวความขัดแย้ง เมื่อถึงที่สุดก็มักจะมาฝ่ายที่ได้กับฝ่ายที่เสีย

เรื่องไดมอนด์ทาวเวอร์นนั้นก็เป็นเรื่องราวความขัดแย้งเรื่องหนึ่ง เพียงแต่แทนที่จะเป็นความขัดแย้ง 2 ฝ่าย ไดมอนด์ทาวเวอร์กับเป็นความขัดแย้งสามเส้า เจ้าของโครงการ -สถาบันการเงิน ที่เป็นเจ้าหนี้ลูกค้าผู้ซื้อห้องชุด

เจ้าของโครงการขัดแย้งกับสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ในเรื่องนี้ที่ค้างชำระ

ขัดแย้งกับลูกค้าที่เป็นผู้ซื้อห้องชุดเพราะส่วนหนึ่งอ้างว่าซื้อแล้วแต่ยนังไม่ได้โอนให้เป็นที่เรียบร้อยและยนังมีปัญหาอื่น ๆ อีก

ส่วนสถาบันการเงินเจ้าหนี้กับลูกค้าที่เป็นผู้ซื้อต่างฝ่ายก็ต่างยืนคุมเชิงกัน ซึ่งถ้าหากมีการฟ้องร้องบังคับจำนองเมื่อไร เจ้าหนีและลูกหนี้จะปะทะกันแน่นอนที่สุด

และที่ประหลาดมากที่สุดคือ ความขัดแย้งนี้อาจจะลงเอยด้วยการเสียหายด้วยกันทุกฝ่าย

เจ้าของโครงการนั้นอาจจะหมดตัวพร้อม ๆ กับหมดอนาคต

เจ้าหนี้อาจจะได้เพียงอาคารกับที่ดินจริง ๆ แล้วก็ไม่ค่อยจะคุ้ม

ส่วนลูกค้าหลายสิบรายก็คงจะเสียเงินฟรีไม่ได้ห้องชุดสมใจ ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับความเมตตาปรานีของเจ้าหนี้ที่เข้ามายึด

ก็คงจะพอกล่าวได้ว่า ไดมอนด์ทาวเวอร์ เป็นกรณีที่มีความพิเษศพอสมควรและก็สำคัญยิ่งกว่าและในแง่ที่น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับทุกฝ่ายกรณีหนึ่ง

ไดมอนด์ทาวเวอร์เป็นคอนโดมิเนียมที่เริ่มโครงการเมื่อปี 2525 โดยมีบริษัทสมชายโฮลดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล ดีเวลลอปเม้นต์ เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งเจ้าของบริษัทสมชายโฮลดิ้ง ฯ ก็ชื่อสมชาย ฤทธิ์นพคุณ และภรรยาของเขาชื่อดวงตา ก่อนหน้าที่จะตัดสินใจทำโครงการใหญ่แห่งนี้ทั้งคู่โด่งดังมากกับความสำเร็จในการจัดทำโครงการก่อสร้างทาวน์เฮ็าส์ริมถนนวิทยุ

ซึ่งถ้าจะย้อนความหลัง ปี 2525 ที่สมชาย ฤทธิ์พคุณ เริ่มโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์นั้นก็คือช่วงปีที่ "คอนโดมิเนียม" กำลังบูมมาก ๆ นั้นเอง

เมื่อบวกกับกับทำเลที่ฃตั้งในย่านสีลมที่กำลังเป็นพื้นที่ทองด้วยแล้ว ใคร ๆ ต่างก็คิดว่าไดมอนด์ทาวเวอร์จะต้องไปได้สวยแน่ ๆ โดยเฉพาะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจของชาตรี โสภณพณิช ก็คงจะร่วมอยู่ในใคร ๆ นั้นด้วย

ร่วมเสริมกิจได้เป็นสถาบันการเงินที่ประกาศให้กับสนับสนุนโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์เต็มตัว

"วงเงิน 110 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี โดยใช้ที่ดินที่จะทำโครงการจดจำนองค่ำประกันร่วมกับเสริมกิจ " สมชาย ฤทธิ์พคุณ บอกกับ "ผู้จัดการ"

ไดมอนด์ทาวเวอร์นั้นตั้งอยู่บนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ 79 ตารางวา สุดซอยสิริจุลเสวกที่แยกจากถนนสิลมเลียบด้านข้างธนาคารไทยทุนสำนักงานใหญ่เข้าไปเพียงราว ๆ ร้อยเมตร ซอยสิริจุลเสวกเชี่ยมต่อเป็ทนรูปตัวยูกับซอยสุรเสนา ทื่อยู่ด้านข้างธนาคารกรุงเทพตลอดจนคนทำงานในย่านนั้นออกมาหาอาหารรับประทานหรือจับจ่ายซื้อของแล้ว ก็จะทราบถึงความยากลำบากในการเข้าออกได้อย่างซาบซึ่ง

บริเวณที่ดินตรงนี้เดิมเจ้าของคือญาติ พลตำรวจโทกฤช ปัจฉิมสวัสดิ์ ชื่อวัลภาปัจฉิมสวัสดิ์ ซึ่งได้จดจำนองไว้กับธนาคารกรุงเทพในวงเงิน 30 กว่าล้านบาท และใกล้หลุด จากการแนะนำของเพื่อนคนหนึ่งสมชาย ซึ่งขณะนั้นกำลังวางโครงการคอนโดมิเนียมอยู่ในหัวก็เลยตัดสินใจจับที่ดินผืนนี้หาเงินไถ่ถอนจำนองพร้อมกับเพิ่มเงิน ให้กับเจ้าของที่ไปจำนวนหนึ่งว่ากันว่าเงินจำนวนน้จ่ายเป็นห้องชุดของไดมอนด์ทาวเวอร์ยจำนวน 8 ยูนิตที่รวมราคาแล้วก็ประมาณ 16 ล้านบาท ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็มีข่าวออกมาว่าห้องชุดทั้ง 8 ยูนิตนี้ วัลภา ปัจฉิมสวัสดิ์ ยังไม่ได้รับโอนเป็นกรรมสิทธิ์ให้ถูกต้องเช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ราย

"สมชายช่วงปี 2525 - 2526 ดูจะมือขึ้นมา เครดิตก็ดี โดยเฉพาะเสริมกิจก็เชื่อฝีมือมากตอนที่โครงการการุณี (ใกล้ ๆ กับไดมอนด์ทาวเวอร์และสนับสนุนโครงการโดยร่วมกับเสริมกิจเช่นกัน ) มีปัญหาและร่วมเสริมกิจจะเลิกให้การสนับสนุนนั้น สมเคยคิดจะเข้าไปเทคโอเวอร์มาทำเหมือนกันคิดดูแล้วกันว่าตอนที่เริ่มจับไดมอนด์นั้นสมชายเชื่อมือตัวเองขนาดไหน " คนที่รู้จักกับสมชาย ฤทธิ์นพคุณ เล่าให้ฟัง

แต่ที่บอกว่าสมชายก้าวเร็วเกินไปก็มาไม่น้อย

ไดมอนด์ทาวเวอร์ขณะเริ่มโครงการนั้นประกาสตัวว่าาเป็นคอนโดมิเนียมสูง 23 ชั้น แบ่งเป็นห้องชุด 150 ยูนิต พื้นที่อาคารทั้งหมด 2,316 ตารางเมตร ที่จอดรถได้กว่า 200 คัน สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันพร้อมระบบป้องกันภัย รูปทรงอาคารก็ดูโดดเด่นสง่าแปลกตาจากฝีมือการออกแบบโดยหม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล

และตามเป้าหมายโครงการจะสำเร็จเสร็จสิ้นภายใน 2 ปี ขายหมดใน 1 ปี วงเงินก่อสร้างราว 135 ล้านบาท ซึ่งถ้าเป็นไปตามเป้าหมายป่านก็คงงมีความสุขกันไปแล้วทุกฝ่ายและสมชายก็คงเป็น "ราชาคอนโดมิเนียม" ไปแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย

"มันเป็นงานชิ้นแรกทีสมชายจะได้มีโอกาสเรียนรู้การบริหารโครงการก่อสร้างใหญ่ สมชายนั้นตลอด 10 กว่าปีที่ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของกิจการ เขาเติมโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาศัยทุนรอนส่วนตัว การหมุนเงินเพียงวงเงินไม่มาก อย่างทาวน์เฮ้าส์ที่ถนนวิทยุ กไม่ได้มีสภาบันการเงินมาให้การสนับสนุน เขาจังหวะดีและโชคก็ยืนอยู่กับเขา แต่ไดมอนด์ทาวเวอร์เข้าจะต้องเรียนรู้ถึงการ บริหารเงินรู้ทางด้านการตลาด เขาจะอาศัยเพียงความสามารถทางด้านการก่อสร้างเพียงอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแแล้ว .."

และดูเหมือนสภานการณ์จะท้าทายการเรียนรู้ของสมชายอย่างพอเหมาะพอเจาะเสียด้วย

ปี 2525 ตลอดไปถึงปี 2526 ตลลาดที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ที่เรียกกันว่า "คอนโดมิเนียม " กำลังคึกคัก หลายโครงการประกาศตัวสู้ศึกราวดอกเห็ด

แต่พ้นปี 2526 ไปแล้วสถานการณ์ก็กลับเป็นคนละด้าน

จำนวนพื้นที่ คอนโดมิเนียมเมื่อรวม ๆ กันรวมกันดูเหมือนจะมีอยู่เกินความต้องการภาวะเศรษฐกิจก็เริ่มจะบีบรัดก่อผลสะเทือนทั่วด้าน กำลังซื้อหดตัว

โครงการคอนโดมิเนียมหลายแห่งตัดสินใจระงับโครงการกันหน้าตาเฉย ไม่น้อยแห่งงสร้างไปครึ่งๆ กลาง ๆ ก็ชะงักซึ่งกรณีหลังนี้ก็รวมโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์ด้วย

ไดมอนด์ทาวเวอร์นั้นหยุดการก่องสร้างราว ๆ เดือนมิถุนายน 2527 ถายหลังที่ตัวอาคารขึ้นไปถึงชั้นที่ 10 แล้วใช้จ่ายเงินที่กู้จากเสริมกิจไปแล้วราว 60 ล้านบาท ยังไปไม่ถึงครึ่งทาง ด้วยซ้ำ ซึ่งสาเหตคุใหญ่ก็เพราะบรรยากาศรายรอบไม่เอื้ออำนวยส่งผลให้ยอดขายไม่เป็นไปตามแผน และโครงการต้องเผชิญปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก

ที่จริงก็ไม่ใช่เจ้าของโครงการหลอกที่ตัดสินใจหยุดการก่อสร้าง สมชายพยายามจะให้มีกี่ก่อสร้างต่อไปหัวชนฝา

เพียงแต่ร่วมเสริมกิจไม่เห็นด้วย

"ร่วมเสริมกิจบอกว่าบรรยากาศไม่ดีของให้รอไปก่อน ขืนดันทุรังไปก็ขายพื้นที่ไม่ได้ แต่ระหว่างที่ยอกดอกเบี้ยไม่ได้หยุดด้วย เขายังคิดเต็มไปที่ไม่มีลดเลย .. " สมชายบอกเช่นนั้น

แต่บางคนกับกล่าวว่า ร่วมเสริมกิจต้องการให้สมชายปรับแผนการตลาดและแผนการใฝช้จ่ายเงินสายใหม่ เนื่องจากยอดขายเป็นไปไม่ตามเป้าจะทำให้โครงการมีปัญหาหากดำเนินไปเรื่อย ๆ โดยไม่ปรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

ซึ่งความของแห่งเงินก็คงต้องชนะอย่างไม่ต้องงสงสัย

ซึ่งร่วกิจได้เข้ามาทำหน้าที่ช่วยขายห้องชุดของไดมอนด์ทาวเวอร์ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2527 พร้อม ๆ กับการ "พักรบ" ของไดมอนด์ทาวเวอร์ "ผู้ใหญ่ของร่วมเสริมกิจเขาขอเอาไปขายให้เขาบอกว่า ไม่มีปัญหา เพราะลูกค้าเขามาก ให้ช่วยซื้อไปรายละห้องสองห้องเดี๋ยวก็หมด " คนที่ทำงานอยู่กับสมชาย ฤทธิ์นพคุณ บอกกับ "ผู้จักการ"

ก็นับว่าเสริมกิจนี้หายนอกจากจากจะช่วยให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแล้ว ยามประสบปัญหาก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือโดยไม่ทอดทิ้งเสียอีก แม้ว่าจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงก็เถอะ

สมชายนั้นก็ต้องซาบซึ้งในน้ำใจไมตรีของเสริมกิจ

ซึ่งจริง ๆ แล้วสมชายในขนาดนั้นเองก็รู้สึกตื้นตันใจมาก

ตรงกันข้ามกับขณะนี้ที่เข้าแค้นความมีน้ำใจเอื้ออารีของเสริมกิจแทบกระอักโลหิต สมชายยคิดว่าถ้าตอนนั้นเขายื่นยันสร้างไดมอนด์ทาวเวอร์ต่อไปไม่หยุดและไม่ต้องฝากความหวังเรื่องการขายพื้นที่ของเจ้าของหนี้ของเขา

บางที่ตอนเขาอาจจะสบายตัวไปแล้วก็ได้

"ร่วมเสริมกิจดึงงานขายไปพร้อมกับให้หยุดการก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2527 กระทั่งสิ้นปีจะขึ้นไป 2528 เขาขายไม่ได้สักห้อง.." สมชาย ยืนยันและเขาคิว่ามันเป็นความคิดที่สมเหตุสมผลเนื่องจากโครงการนี้ยังใช้เงินไม่เต็มวงเงินที่เสริมกิจอนุมัติ

ก็คงเป็นเรื่องที่บอกว่าใครผิดใครถูกนั้นคงยาก เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่สถานะการณ์เศรษฐกิจผันผวน ที่ต่างฝ่ายก็ต่างที่จะพยายามมองออกไปข้างหน้าว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร และสภานะการณ์จะเลวร้ายหรือจะกระเตื้ยงขึ้นหรือไม่ ร่วมเสริมกิจก็น่าจะคิดถูกในฐานะที่เป็นสถาบันการเงินที่ต้องมาความระมัดระวังมาก ๆ ส่วนสมชายก็เป็นธรรมดาสำหรับผู้ประกอบการที่เมื่อลงทุนลงแรงไปแล้วก็อยากจะเสี่ยงต่อไปให้ถึงที่สุด

ไดมอนด์ทาวเวอร์อยู่ในฐานะที่ยากลำบาก ตรงที่เริ่มโครงการไปแล้วเกือบครึ่งถึงประสบความผันผวน หยุดไปเลยก็ไม่ได้ แต่จะเดินต่อไปค่อนข้างลำบาก หลายคนเชื่อว่า โครงการนี้ถ้าจะให้ฟังฝ่าไปถึง ต้องพลิกฟื้น ประการสำคัญทั้งเจ้าของโครงการและแหล่งเงินจะต้องกอดคอร่วทเดินทางอย่างจริงใจ ต่อกันจริง ๆ

ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างพยายามเอาตัวรอดหรือคิดหาช่องทางที่ไม่ยอมเจ็บตัวหรือเจ็บให้น้อยที่สุด

ไดมอนทาวเวอร์นั้นขณะนี้ขณะมีหนี้ค้างชำระกับร่วมเสริมกิจประมาณ 211 ล้านบาท ตัวอาคารสร้างเสร็จสมบูณร์แล้วสร้างจากฝายนอก ส่วนภายในยังมสีจำนวนห้องชุดที่ขายกว่าครึ่งที่ขายไม่ออกและยังไม่ตกแต่งซึ่งถ้าคิดจะตกแต่งก็ต้องใส่เงินเข้าไปอีกนับสิบล้านบาท

แต่ทุกอย่างหยุดชะงักอีกครั้งตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2529 พร้อม ๆ กับความขจัดแย้งระหว่างเจ้าของโครงการกับเจ้าหนี้ที่ค้างกันอยู่

เป็นไปได้หรือไม่ที่ปัญหาวันนี้เป็นปัญหาที่มามาจากเรื่อง "ความจริงใจต่อกัน" ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ คู่นี้ที่จุดหักเหลี่ยมก็อยู่ที่การตัดสินใจระงับโครงการไปกว่า 7 เดือนในช่วงปี 2527 และกลายเป็นความราวฉานที่ต่างฝ่ายก็ต่างโยนความผิดให้ใส่ฝ่ายตรงข้าม

ในช่วงต้นปี 2528 สมชายกัดฟันเจรจากับร่วมเสริมกิจและดำเนินการร่วมสร้างคอนโดมิเนียมของเขาต่อ เพราะความล่าช้าค่าวัสดุก่อสร้างที่โก่งราคาขึ้นนรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แพงหูฉี่ในช่วงดังกล่าวอันมีผลให้งบลงทุนปานปลายออกไป สมชายก็ตัดสินใใจทยอยนำทรัพย์สินส่วนตัวอื่นมาวางค่ำเพิ่มกับร่วมเสริมกิจ

ก็น่าชมเชยไม่น้อยที่ในที่สุดอาคารก็สร้างเสร็จไปถึงชั้นสุดท้าย

"เราก็พยายามช่วยเขามาก ถ้าไม่ช่วยจะเป็นอย่างที่เห็นนี้หรือ " ดร. ชัยยุทธ์ ปิลันธน์โอวาท กรรมการอำนวยการร่วมเสริมกิจที่ดูแลโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์ โดยตลอด พูดกับ "ผู้จัดการ"

เพียงแต่ถ้าถามสมชายเขาก็จะบอกว่าเป็นเพราะเขานำทาวเฮ้าส์ 6 ห้องรวมทั้งที่ดินบนถนนวิทยุอีกบางผืนมาวางค่ำเพิ่มเติมเสียมากกว่า

และก็รวมทั้งฝีมือในการนำพื้นที่ส่วนกลางของโครงการอย่างเช่นส่วนที่เป็นลิฟท์เป็นทางเดินหรือแม้กระทั่งห้องน้ำ รวมไปกรมที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ แล้วก็นำไปจำนองไว้กับร่วมเสริมกิจด้วย

"นี้ก็ยนังมีปัญหาถ้าเจ้าของโครงการกับกลุ่มร่วมเสริมกิจตกลงเรื่องหนี้กันไม่ได้ เจ้าหนี้ก็ต้องยึดแล้วพวกของส่วนกลางที่ติดจำนองอยู่ล่ะ จะทำอย่างไร หรือจะให้อยู่ลอย ๆ กลางอากาศลงฟท์ก็ไม่ได้เดินออกจากห้องเพราะเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่นเขา เขาอาจจะขอสงวนสิทธิ์ไม่ให้ส่วนกลางใช้ประโยชน์ก็เป็นได้ .. " ลูกค้าไดมอนด์ทางเวอร์รายหนึ่งแสดงความวิตก

ไม่ว่าจะเป็นดิ้นร้นเพื่อให้โครงการเดินหน้า ไม่สะดุดอย่างคนที่คนตรอกหรือเนื่องจากเจตนาใดก็แล้วแต่ ในฐานะเจ้าของโครงการแล้ว สมชายก็ดูเหมือนว่าต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างช่วยไม่ได้

สำหรับร่วมเสริมกิจ นั้นก็คงจะช่วยสมชายมากโดยเฉพาะผู้บริหารของร่วมเสริมกิจบางคนถึงกับแน่นำซัพพรายเออร์ให้หลายเจ้า

เดิมสมชายเซ็นสัญญากับค่าวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง แต่ก็เพราะแนะนำจึงต้องเปลี่ยนมาใช้บริการของรายอื่น

อย่างพวกเหล็กก็ใช้เหล็กของศรีกรุง ที่เจ้าของชื่อ ดร.พิชิต นิธิวาสิน ซึ่งเผชิญเป็นกรรมการของร่วมเสริมกิจ หรือแม้แต่หินอ่อนที่ใช้ปูนพื้นก็เป็นหินอ่อนที่ร่วมเสริมกิจจัดหามาให้หลายสิลคันรถสิบล้อและอีกหลายรายการ

สมชายบอกคล้าย ๆ กับว่าเขาไม่สู้ความพอใจกับความช่วยเหลือแบบนี้นัก

"คงเป็นเพราะมีช่วงหนึ่งที่ไดมอนด์มีปัญหาเรื่องการเงินกับซัพพรายเออร์มากร่วมเสริมกิจก็เลยต้องยื่นมือเข้ามาแก้ปัญหาไม่น่าจะเป็นเรื่องซิกเซกอย่างที่ว่ากัน" แหล่งข่าวคนหนึ่งพูดอย่างคนเข้าใจเรื่อง

สมชายนั้นก็ต้องดิ้นรนเกือบจะทุกทางว่าไปแล้วเค้าหน้าตักของเขาก็อยู่ที่ต้องทำโครงการให้เสร็จเพื่อจะได้ขายได้ หากไม่เสร็จคนที่จะเสร็จ คงไม่แคล้วเขาเนื่องจากผู้ซื้อเองลองถ้าจะคสักเงินล้านเศษ หรือเกือบสองล้าน เพื่อซื้อห้องชุดเพียงหนึ่งยูนิตแล้วก็คงต้องการเลือกซื้อโครงการที่ไม่มีปัญหาเป็นธรรมดา

แต่กระนั้นยอดขายก็ไม่ค่อยเป็น ไปตามเป้าเอามาก ๆ

ไดมอนด์ทาวเวอร์ขณะยังมีผู้ซื้อไปแล้วราว ๆ 60 ราย กว่ายูนิตที่โอนกรรมสิทธิ์กันเรียบร้อยและอีกประมาณ 30 ราย ที่บอกว่าจ่ายเงินซื้อจนครบถ้วนแต่ยังโอนไม่ได้ ใน 30 กว่ารายนี้จำนวนหนึ่งเป็นชาวต่างชาติที่กฎหมายอาคารชุดไม่เปิดโอกาสให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็เลยหาทางออกด้วยการทำเป็นสัญญาเช่าโดยที่จ่ายเงินกันเช่นการซื้อขาย ตัวสัญญาหลายฉบับก็ทำกันพิลึกพิลั่นเหมือนกับตั้งใจว่าถ้าเกิดปัญหาก็คงจะเอาผิดเจ้าของโครงการยาก

และก็เพราะลูกค้ากลุ่ม 30 รายนี้เองที่เป็นตัวสนวนจุดความขัดแย้ง สามเส้า

สมชายนั้นพยายามใช้สายสัมพันธ์ที่มี และแผนการตลบาดหลากหลายเพื่อที่จะขายพื้นที่ของไดมอนด์ ซึ่งโดยขั้นตอนแล้วถ้าขายออกไปก็ต้องตกแต่งห้องให้กับลูกค้าและถ้าจะต้องตกแต่งห้องก็ต้องไปเอาเงินกลุ่มเสริมกิจมาทำ จ่ายเงินงวดทาดท้ายกันเรียบร้อยเขาก็จะเอาเงินไปไถ่ถอนจำนองเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อ ก็หมุนเวียนเช่นนี้ กระทั่งถึงปี 2529 ทางร่วมเสริมกิจก็ระงับการปล่อยเงินให้กับไดมอนด์เนื่องจากพบว่าสมชายไม่ยอมนำเงินมาลดหนี้และเงินที่ลูกค้าจ่ายก็ไม่มาถึงร่วมเสริมกิจ โดยเฉพาะลูกค้าที่ทำสัญญาเช่า (แต่จ่ายเงินราคาซื้อ) หลายราย

เมื่อร่วมเสริมกิจหยุดปล่อยเงินการตกแต่งภายในก็เดินต่อไปไม่ได้ การขายตรงมีอันหยุดชะงักและก็รวมทั้งกลุ่มลูกค้า 30 รายก็โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ ยกเว้นแต่สมชายจะหาเงินมาไถ่ถอน จำนองให้ถูกต้อง

ก็คงไม่ต่างจากวัวที่วิ่งพันหลักนั้นแหละ

ปลายปี 2529 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าของ โครงการกับผู้ซื้อห้องชุดยังไม่ปะทุ ที่ปะทุคงมีปัญหาระหว่างเจ้าของโครงการกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของหนี้ที่จะต้องเจรจาเรื่องหนี้กันให้ตก

ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่แปลกแทนที่เจ้าหนี้และลูกหนี้จะคุยกันตรง ๆ กับเป็นว่าจะต้องหาคนกลางเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย

ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สมชายวิ่งเข้าหาผู้ใหญ่หลายคนเพื่อขอความช่วยเหลือ รวมทั้งคนหนึ่งที่ซื้อกำจร เชวรัตน์ อดีตผู้จัดการโรงงานน้ำแข็งราชบุรี ผู้ที่เคยลงสมัคร ส.ส ราชบุรีมาแล้ว

กำจร กำจรรู้จักสมชายและภรรยาเผอิญมาซื้อหุ้นห้องชุดของไดมอนด์เอาไว้ห้องหนึ่ง

สมชายเล่าความทุกยากที่เกี่ยวกับหนี้ ที่มากับร่วมเสริมกิจให้กำจรฟัง กำจรอาสาจะช่วยหาทางเจรจาประนีประนอมให้ เพราะความที่กำจรผู้รู้จักกับบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ และบุญเท่งก็สนิทสนมกับประสิทธิ์ กาญจนวัตน์ ประธานแบงก์กรุงเทพ

พูดง่าย ๆ สมชายขอความช่วยเหลือจากกำจร กำจรก็ไปขอความช่วยเหลือจากบุญเท่ง เพื่อให้บุญเท่งไปขอความช่วยเหลือจากประสิทธิ์ โดยให้ประสิทธิ์พูดกับชาตรี และให้ชาตรบอกต่อไปถึงผู้บริหารร่วมเสริมกิจให้ช่วยเห็นใใจสมชายหน่อย

ว่ากันว่าขั้นตอนการเจรจาที่มีโยงใยยาวเหยียดนยี้ ดำเนินไปเกือบจะได้ข้อสรุป ที่ฝ่ายสมชายจะต้องยิยยอมยกไดมอนด์ทาวเวอร์พร้อมกับทาวเฮ้าส์ริมถนนวิทยุให้กับร่วมเสริมกิจโดยสมชายเหลือไว้เพียง 3 ห้อง ที่เป็นภัตตาคารฟูหลิงเหมินกับที่อยู่อาศัย

"ซึ่งถ้าแบบนี้ก็คงพอจะคุยกับร่วมเสริมกิจได้ แต่พอมีการนัดพบที่ห้องอาหารโชกุนโดยฝ่ายร่วมเสริมกิจ ดร. ชัยยุทธ์เป็นคนไปคุยด้วย กับเป็นฝ่ายสมชายเป็นฝ่ายขอทาวน์เฮ้าส์ 6 ห้องที่ถนนวิทยุ ไว้หมด ยกให้เพียงไดมอนด์ทาวเวอร์ การเจรจาก็เลยล้ม จากนั้นก็ไม่มีการคุยกันอีกเลย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ร่วมเสริมกิจก็ได้ยื่นโนติ๊สไปแล้ว และก็คงจะมีการฟ้องร้องกันแน่ ๆ " กำจร เชาวรัตน์ เล่าให้ฟัง

กำจร เชาวรัตน์ ปัจจุบันมีฐานะเป็นประธานนิติบุคคล อาคารชุดของไดมอนด์ทาวเวอร์อยู่ด้วย เขาบอกว่าจากท่าที่ตกลงกันอย่างหนึ่ง กลับจะเอาอีกอย่างหนึ่งของสมชายทำให้เขารู้สึดไม่ค่อยพอใจเพราะทำให้เขาเสียหน้าผู้ใหญ่ที่ไปขอร้องให้ช่วย มันเป็นแรงผลักดันให้เขาต้องตรวจสอบพฤติการณ์ของสมชายอย่างละเอียด และเขสเชื่อว่าเขาได้พบกับตออันเบ้อเร่อจากฝีมือของเจ้าของโครงการเข้าให้แล้ว

- มีการนำพื้นที่ส่วนกลางของอาคารไปจดจำนอง

- มีการดัดแปลงชั้นจอดรถให้กลายเป็นห้องชุดเพื่อขายทำให้ที่จอดรถไม่พอเพียง ต้องไปหาที่จอดรถด้านข้างอาคารที่ไม่ใช่สมบัตรส่วนกลาง

- ติดค้างค่าโทรศัพท์จนต้องถูกตัดสายทั้งตึก

- สิ่งที่อำนวยความสะดวกและการรักษาความปรอดภัยไม่เป็นไปตามที่โฆษณาไว้

และที่หนักมากก็เห็นจะเป็นปัญหาผู้ซื้อกลุ่มหนึ่งที่บอกว่าซื้อแล้วแต่โอนไม่ได้

ดูเหมือนว่านับตั้งแต่ปี 2530 มานี้สมชายนอกจากจะรับมือกับร่วมเสริมกิจแล้วก็ต้องรับมือกับลูกค้ากลุ่มหนึ่งด้วยแล้ว

ไดมอนด์ทาวเวอร์ นั้นก็คงจะเป็นอื่มนไปได้ยาก นอกจากร่วมเสริมกิจจะเข้ามายึดไปพร้อม ๆ กับอนาคตที่มืดมิดของสมชายผู้เป็นเจ้าของโครงการ

ไม่มีใครทราบว่าสมชายจะยังสุขสบายดีหรือให้มาอันต้องขมขึ่นใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น

แน่นอน.. ผู้ที่จะต้องเจ็บปวดที่สุดก็คือผู้ที่ซื้อ โดยเฉพาะผู้ซื้อประเภทที่ยังโอนกรรมสิทธิ๋ไม่ได้ทางหลาย

ไดมอนด์ทาวเวอร์วันนี้ยังดูเด่นเป็นสง่าในย่านสีลม เพียงแต่ภายในนั้นร้อนรุ่มกระทั่งตึกแทบพังทลายทีเดียว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.