|
พลิกโฉม สถาบันภาษา...RSU สู่มหา' ลัยชั้นนำระดับอินเตอร์
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์(2 สิงหาคม 2553)
กลับสู่หน้าหลัก
ระยะเวลากว่าปีเศษที่ “ผศ.ดร.พนิตนาฏ ชูฤกษ์” ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษา (RELI) แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต นับเป็นการปรับโฉมครั้งแรกและครั้งใหญ่หลังจากที่สถาบันแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 3 ปีเศษที่ผ่านมาจากเดิมเป็นเพียงภาคภาษาอังกฤษในคณะศิลปศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อก้าวสู่วิชั่นของสถาบันการศึกษาแห่งนี้ในการก้าวสู่สถาบันชั้นนำในระดับอาเซียนและการเป็นอียูนิเวอร์ซิตี้ จึงเป็นการปรับตั้งแต่หลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก
รวมถึงอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่ไฮเทคโนโลยี และสิ่งสำคัญการพัฒนายกระดับองค์ความรู้บุคลากรและการรีคูสอาจารย์ผู้สอนไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่เข้มข้น สามารถเรียกได้ว่าเป็นการปรับทั้งกระบวนการ 360 องศา
อันดับแรกนั้นในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ได้ดีไซน์หลักสูตรเน้นที่ทักษะและกระบวนการ หรือเป็นการสอนเทคนิค และเป็นการดีไซน์คอร์สที่มีความจำเป็นสำหรับผู้เรียน เช่น ทักษะการฟัง ทักษะการเขียน ทักษะการอ่านและการพรีเซนต์ เพราะในระดับการศึกษาดังกล่าวต้องเจอกับเนื้อหาที่หลากหลายและต้องอ่านงานวิจัยและเขียนงานวิจัย ทักษะดังกล่าวนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ไม่ว่าผู้เรียนจะเรียบนในศาสตร์หรือสาขาใดก็ตาม
เพราะจากสถิติของผู้เรียนโดยเฉพาะในระดับปริญญาโท เมื่อเรียนจบมักจะทำงานข้ามสาขา ฉะนั้นทักษะภาษาอังกฤษที่สถาบันสอนจึงสามารถนำไปปรับใช้กับเนื้อหาต่างๆ ได้ เพราะหากต้องมีการดีไซน์หลักสูตรเฉพาะคณะหรือสาขาวิชาจะเป็นการตีกรอบการเรียนเรียนรู้ที่เฉพาะจนเกินไป
ส่วนเนื้อหาการสอนในระดับปริญญาตรีนั้น ได้มีการปรับใหม่เช่นกัน โดยมุ่งเน้นที่การสื่อสารเพื่อเน้นทักษะ การฟัง การพูด ให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน ผ่านรูปแบบกิจการทั้งในชั้นเรียนและกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ได้มีการระบุในการสอน เช่นการใช้ห้องแล็ปของสถาบัน การเรียนผ่านสมาร์ทบอร์ด และการเรียนอีเลิร์นนิ่ง เป็นต้น
ทั้งนี้ ผศ.ดร.พนิตนาฏ มองว่านอกจากการปรับเนื้อหาหลักสูตร วิธีการเรียน การสอนใหม่แล้ว ได้ให้ความสำคัญกับสื่อการสอนใหม่ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมดจากเดิมมีไม่ถึง 20 เครื่องและเป็นเครื่องรุ่นเก่าได้เปลี่ยนใหม่ทั้งหมดและเพิ่มเป็น 80 เครื่องสำหรับห้องแล็ปทั้ง 2 ห้อง และการเรียนผ่านสื่อสมัยใหม่คือสมาร์ทบอร์ดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้การเรียนการสอนมีความสนุกและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน รวมถึงการเรียนภาษาอังกฤษผ่านภาพยนต์ที่มีห้องมูฟวี่เธียเตอร์สำหรับชมภาพยนต์ ซึ่งจะมีการกำหนดการชมเป็นรอบตามช่วงเวลาที่กำหนด
จะเห็นว่านอกจากการให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และสื่อเทคโนโลยีแล้วการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงต้องมีเรื่องของ การสร้างสภาพแวดล้อม โดยพื้นที่ของอาคาร 11ชั้น 6 ที่เป็นที่ตั้งของสถาบันภาษาได้กำหนดให้เป็น English Speaking Zone หรือเป็นเขตการสื่อสารภาษาอังกฤษเท่านั้น และการบริการนอกห้องเรียนหรือ English Clinic ศูนย์รับให้คำปรึกษาภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาและบุคลากรในหน่วยงาน
ผศ.ดร.พนิตนาฏ ได้กล่าวว่า ยังได้เกิดการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ตามมา ล่าสุดอยู่ระหว่างการเตรียมคือ 1.โครงการฝึกฝนทักษะเพื่อการใช้จริง โดยให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการเป็นไกด์หรือผู้นำเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติในมหาวิทยาลัย และ 2.โครงการจัดแคมป์ต่างประเทศซึ่งมี 2 รูปแบบคือเรียนภาษาและท่องเที่ยว และ3. อยู่ระหว่างการประสานสถาบันการศึกษาในต่างประเทศเพื่อให้นักศึกษาเทคคอร์สระยะสั้นและสามารถถ่ายโอนหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยได้และระบุในทรานสคริปส์
นอกจาก 3 โครงการที่อยู่ระหว่างการเตรียมการนั้น ขณะเดียวกันสถาบันภาษาแห่งนี้ได้ยกระดับ RSU-TEST เพื่อเป็นชุดข้อสอบที่สามารถได้รับการยอมรับในหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้ในการสมัครงาน โดยจะกำหนดผลการสอบภาษาอังกฤษหรือ RSU-TEST ในใบจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยกำหนดระดับคะแนนตามระดับการศึกษา
ซึ่งปัจจุบันก่อนการศึกษาในระดับปริญญาโท ผู้สมัครสามารถเลือกสอบ RSU-TEST แทนการลงเรียนหน่วยกิตภาษาอังกฤษหากสอบผ่านตามคะแนนที่กำหนด หรือระดับปริญญาเอกให้แสดงผลสอบโทเฟล แต่ต่อไปก่อนจบการศึกษาจะให้สอบ RSU-TEST และเช่นเดียวกันในระดับปริญญาตรีนั้นเบื้องต้นจะเป็นการเชิญชวนให้นักศึกษาก่อนจบการศึกษาปีสุดท้ายให้สอบ RSU-TEST เพื่อระบุผลสอบในทรานสคิปต์เพื่อเป็นสิ่งการันตีถึงความรู้ด้านภาษาที่ได้รับการับรอง
นอกจากนี้จะขยายองค์ความรู้ของ RSU-TEST โดยประสานกับหน่วยงานรัฐ เอกชน สำหรับการสอบและคัดเลือกผู้เข้าสมัครงานในองค์กรนั้น หรือเป็นศูนย์สอบที่ใช้ข้อมสอบ RSU-TEST ซึ่งปัจจุบันได้ทำร่วมกับการประปานครหลวงที่ต้องสอบ RSU-TEST ด้วยเช่นกันเพื่อคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน
สำหรับบุคลากรหรืออาจารย์ผู้สอนนั้น ผศ.ดร.พนิตนาฏ กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวน 20 คนและต้องการรับเพิ่มอีก 5 คน ทั้งนี้ไม่ระบุว่าต้องเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ แต่ต้องสอบเพื่อวัดทักษะในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ เพื่อทราบถึงทักษะการพูดและทักษะการฟัง การสอบข้อเขียนวัดทักษะการเขียน การอ่าน และสอบทัศนคติต่อการสอนเป็นข้อสอบข้อเขียน และสอบการสอนจริงและการออกข้อสอบ ทั้งนี้เพื่อคัดอาจารย์ที่มีคุณภาพในงานวิชาการและมีหัวใจของความเป็นครู
ขณะเดียวกันยังได้ทำการพัฒนาอาจารย์เพื่อเป็นเทรนเนอร์ให้กับบุคลาการภายในมหาวิทยาลัย เพิ่มบทบาทของอาจารย์ในสถาบันภาษาที่สามารถเทรนนิ่งให้กับอาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัยและการช่วยเหลือชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาจะเห็นว่าภายในสถาบันภาษาเองนั้นได้ฝึกอบรมการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งกันเอง และยังจะขยายความรู้ที่อาจารย์มีสู่ระดับครู อาจารย์ ในสถาบันต่างๆ ในรูปแบบการฝึกอบรมเป็นการสื่อสารระหว่างครูด้วยกัน เพราะกลุ่มเป้าหมายของหมาวิทยาลัยก็เป็นโรงเรียนต่างๆ เท่ากับเป็นการพัฒนาภาษาก่อนที่นักเรียนจะจบและเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย
นอกจากการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนซึ่งเป็นภาระกิจหลัก ร่วมถึงพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแล้ว การบริการสาธารณะในรูปแบบของการสร้างรายได้นั้นสถาบันภาษาได้จัดหลักสูตรจำนวน 10 หลักสูตรตามความสนใจของผู้เรียนขึ้นอีกด้วย และการรับงานแปลเอกสารต่างๆ สำหรับบุคคลลภายนอก
ซึ่งกิจกรรม และงานบริการ ได้สร้างการรับรู้และเห็นถึงศักยภาพความรู้ของสถาบันภาษาล่าสุดยังได้จัดอบรมภาษาอังกฤษให้กับผู้สื่อข่าวเพื่อใช้ในการทำงานและเสริมสร้างทักษะด้านภาษาเพิ่มเติมอีกด้วย
“วิชั่นของมหาวิทยาลัยกสอดคล้องกับแนวทางการทำงานของสถาบันภาษาที่ต้องการพัฒนาคุณภาพภาษาอังกฤษของนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอก และเกิดการปรับเปลี่ยนการสอนของอาจารย์ไม่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่ต้องสอนวิธีคิดให้กับผู้เรียนเพื่อให้นำมาใช้ในชีวิตและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุคสมัย เพราะปัจจุบันโลกของภาษาต้องควบคู่ไปกับไอที การคิดกิจกรรมเพื่อเสริม อย่างการจัดประกวดต่างๆ ทั้งการพูด ร้องเพลง เล่านิทาน เรายังมีช่องทางอีกมากในการพัฒนา แม้ปัจจุบันการแข่งขันสูง แต่เราไม่มองที่การแข่งขันเป็นตัวตั้งแต่มองที่คุณภาพที่จะเกิดขึ้นที่นักศึกษาจะได้รับ โดยเฉพาะ การพัฒนาบุคลากรการที่ครูเก่งไม่ใช่สอนแต่หนังสือ แต่ต้องรู้วิธีการ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์และนำพาองค์กรไปได้” ผศ.ดร.พนิตนาฏ กล่าวในตอนท้าย
อัพเดดล่าสุด 7/30/2010 12:08:48 PM โดย Chaotip Kleekhaew
หมายเหตุ เส้นแบ่งข่าว หมายถึง ข่าวถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ
keyword :
Close
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|