เอเชียทรัสต์เข้าไปมีส่วนร่วมกับทีวีสีช่อง 3 เอเชียทรัสต์ในลักษณะของผู้ร่วมลงทุน
โดยใช้ตัวบุคคลและบริษัทเป็นผู้ร่วม โดยลักษณะของหุ้นแบ่งออกเป็นของกลุ่มเอเชียทรัสต์ถืออยู่ประมาณ
47% โดยแบ่งออกเป็นดังนี้ ; -
คุณหญิงลลิลทิพย์ ธารวณิชกุล 5.9 %
บริษัท ธารวณิช จำกัด 8.4 %
บริษัท ทิพวัล จำกัด 8.4 %
ทินกร ธารวณิชกุล 2.1 %
สุสุทธิ์ วิจิตรานนท์ 1.67 %
สุกิจ วิจิตรานนท์ 8.4 %
นิรันดร์ วิจิตรานนท์ 1.67 %
บริษัท ไทยเจนเนอราล อีควิปเม้นท์ 8.4 %
(โดยนิรันดร์ วิจิตรานนท์ เป็นตัวแทน )
ส่วนด้านมาลีนนท์นั้นเดิมทีมี วิชัย มาลีนนท์ ถือหุ้นอยู่คนเดียวจำนวน
37.5% แต่ภายหลังวิชัย มาลีนนท์ ได้กระจายหุ้นออกไปให้สมาชิกในครอบครัวดังนี้
วิชัย มาลีนนท์ 0.86%
ประสาร มาลีนนท์ 5.83%
ประวิทย์ มาลีนนท์ 5.83%
ประชา มาลีนนท์ 5.83%
ประชุม มาลีนนท์ 5.83%
รัตนา มาลีนนท์ 3.33%
นิภา มาลีนนท์ 3.33%
อัมพร มาลีนนท์ 3.33%
รัชนี มาลีนนท์ 3.33%
รวม 3.750%
หุ้นส่วนที่เหลือนั้นมี :-
พล.ท.ประชุม ประสิทธิ์สรจักร์ 0.9%
พล.ท.ม.ร.ว.ลาภ หัสดินทร 0.9%
นรา คุณวัฒน์ 5%
บริษัท สหมิตรเอ็นเตอร์ไพร์ จำกัด 8.7%
รวม 15.5%
ทุนจดทะเบียนของทีวีช่อง 3 หรือบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด มีเพียง
12 ล้านบาท (120,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท) แต่ยอดสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อปี
2526 มีประมาณ 300 กว่าล้านบาท ซึ่งถ้ามองในแง่ของ DEBT-EQUITY RATIO แล้วก็จะตกประมาณ
1 : 30
ฉะนั้นเงินหมุนเวียนจะมาในรูปของ OD หรือเป็น TEAM LOAN ก็จะเป็นการพึ่งพาธนาคารเอเชียทรัสต์เสียส่วนใหญ่
ซึ่งจากการคิดดอกเบี้ยประมาณ 40 ล้านบาท ที่ต้องจ่ายต่อปี แสดงว่าช่อง 3 ต้องใช้เงินกู้ประมาณ
250 ล้านบาทต่อปี
แต่นี่ก็ไม่ได้แสดงว่าช่อง 3 จะขาดทุน เพราะในลักษณะที่เงินทุนต่ำแต่ผลตอบแทนสูง การขยายฐานของทุนสำหรับช่อง
3 นั้นไม่เหมาะสมเพราะ
1. ช่อง 3 เป็นธุรกิจที่มีสัญญาหมดสิ้น เป็นระยะที่ต้องใช้ในการวิ่งเพื่อต่อสัญญา
การขยายทุนเพื่อเพิ่มทรัพย์สิน จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าทำ
2. การกู้มากไม่เสียหาย ในเมื่อผู้ถือหุ้นใหญ่คือ ธนาคาร ซึ่งช่อง 3 สามารถเอาเงินมาใช้ได้เต็มที่
โดยไม่คำนึงถึง DEBT-EQUITY RATIO เพราะธนาคารเองก็เห็นตัวเลขว่า ช่อง
3 มีเงินเข้ามาตลอด เงินที่เอาไปใช้ส่วนใหญ่จะเป็นการเอาไปสต๊อกซื้อหนังไว้ล่วงหน้า
3. แทนที่จะขยายฐานก็เอาเงินปันผลให้สูงเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์เต็มที่
แล้วผลักภาระการกู้ให้กับธนาคารซึ่งเป็นเครือเดียวกันอยู่แล้ว ก็จะไม่เรียกร้องการค้ำประกันอะไรมากมายนัก
ถึงแม้การแสดงบัญชีงบดุลจะมีกำไรเพียง 5.20 บาทต่อหุ้น หรือประมาณ 624,000
บาทเท่านั้น แต่วงการภายในเชื่อว่ารายรับจริงของช่อง 3 จะตกประมาณ 2.5-
3 ล้านบาทต่อวัน หรือประมาณ 912-1,095 ล้านบาทต่อปี และสามารถทำกำไรได้ไม่ต่ำกว่า
100 - 150 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 833 -1,250 บาทต่อหุ้น
จึงพอพูดได้ว่า ช่อง 3 คือช่องทำเงินให้กับบรรดาผู้ถือหุ้นจริงๆ