ใครจะนึกว่าสัตว์ป่าดึกกำบรรพ์ที่สามารถกัดคนตายได้อย่างจระเข้าจะกลายเป็นสัตว์ที่เพาะเลี้ยงได้
แต่อุทัย ยังประภากรทำสิ่งนี้มาตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีก่อนขณะนี้กรมป่าไม้กำลังผลักดันกฎหมาย
ซึ่งอาจเป็นคุณได้เท่า ๆ กับเป็นโทษสำหรับฟาร์มจระเข้ฯ การที่ผลได้-เสียทางธุรกิจตองไปขึ้นกับนโยบายรัฐย่อมไม่ใช่เรื่องสนุกนัก
โดยเฉพาะนโยบายรัฐเองก็ต้องพาดพิงอยู่กับกฎเกณฑ์สากล รุ่นที่สองของยังประภากรภายใต้การนำของจรูญคือผู้ที่จะต้องสร้างความลงตัวให้เกิดขึ้นให้ได้ท่ามกลางอุปสรรครูปแบบใหม่นี้
แสงตะวันสีส้มจางของยามเย็นส่งลอดช่องว่างใต้ซุ้มประตูทรงสามเหลี่ยม ประสดับลวดลายที่เน้นสีทองและสีแดงแบบจินเข้ามาจากทางเบื้องหลังทิ้งรอยเงาลงบนลานซีเมนต์กว้างที่รถยนต์คันเล็กใหญ่จอดเรียงรายอยู่
กลางลานนั้นมีเนินหญ้าปลุกอยู่ในวงล้อมของซีเมนต์ทรงกลมเป็นสัญลักษณืหยิน
หยางจากจุดนี้เดินผ่านประตูตรงไป อาณาจักรแห่งจระเข้และสัตว์อื่นอีกนานาพันธุ์ก็จะปรากฏให้เห็นในสายตา
ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการบนเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ในวันนี้มีสรรพชีวิตหลากหลายอาศัยอยู่รวมกันอันเป็นผลมาจากการเริ่มต้นรุ้งสรรค์ในวันก่อน
โดยในเวลายาวนานที่ผ่านมานั้น ก็มีเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวเป็นเสมือนตำนานการเดินทางของชีวิตมนุษย์อีกคนหนึ่ง
อุทัย ยังประภากร ชายอายุ 65 ปีผู้ที่ในวัยหนุ่มได้โลดแล่นชีวิต และสั่งสมประสบการณ์มาจนเต็มเปี่ยม
ณ วันนี้เมื่อความชราได้เข้าเยือนเรือนกายแล้วออกจะดูสูงวัยกว่าที่ควรเป็น
"ยังทำงานอยู่ทุกวัน ชี้แจงต้อนรับแขกตั้งแต่เช้าถึงเย็น แต่โดนมากกินข้าวมากกว่า"
อุทัยตอบคำถามที่ว่าขณะนี้ทำอะไรบ้างในแต่ละวัน
ในฐานะเจ้าของบริษัทฟาร์มจระเข้าและสวยสัตว์สมุทรปราการบริษัทฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์บางประกงบริษัทฟาร์มจระเข้าการเคหะและที่ดิน
ก.ส.น. ไทยมิตรพัฒนาเทรดดิ้ง และประธานกรรมการบริษัทยุคอินเตอร์เนชั่นแนล
อุทัย ยังประภากรเป็นเสมือนดังประมุของกิจการทั้งหมด ภาวะทางการบริหารจริง
ๆ ได้ผ่องถ่ายสู่ลูก ๆ หมดแล้วปกติของทุกวันเขาจะนั่งอยู่ที่ฟาร์มจระเข้าสมุทรปราการในตำบลห้วยบ้าน
จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดอันเป็นสถานที่เกิด
ฟาร์มจระเข้และสวยสัตว์สมุทรปราการได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 มีนาคม
2517 กับกระทรวงพาณิชย์ในรูปบริษัทจำกัด เนื่องจากเมืองไทยไม่มีกฎหมายด้านสวนสัวต์เอกชนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องสัตว์
เข้ามาเป็นผู้ดูแลกิจการที่มีรความแปลกและแตกต่างจากธุรกิจอื่นอย่างมากในทางการดำเนินงานสำหรับในทางกฎหมายแล้วกลับถือว่ามีสถานะเดียวกัน
"ตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายในเรื่องนี้ เอกชนเปิดก็จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์
ในแง่ของกรมป่าไม้ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับถึงแม้ไทยจะให้สัตยาบนกับทางไซเตสเป็นเวลา
10 (ประมาณ 8 ปีเศษ) แล้วก็ตาม" จรูญ ยังประภากร บุตรชายคนที่ 2 ของอุทัยผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักดูแลฟาร์มจระเข้ฯยุคนี้กล่าว
สิ่งที่กรมป่าไม้เข้ามาเกี่ยวกับทางฟาร์มก็มีเพียงแต่การส่งเจ้าหน้าที่จากกองอนุรักษ์สัตว์ป่ามาจรวจเยี่ยมเป็นบางครั้ง
หรือทางฟาร์มอาจจะเป็นผู้ติดต่อไปเองยามที่มีการผสมพันธุ์จระเข้ หรือได้ลูกจระเข้ใหม่
ๆ เกิดขึ้นมา
กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าของไทยที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้คือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ. 2503 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 228 พ.ศ. 2515 นั้นไม่เคยได้มีการพูดถึงสวนสัตว์สาธารณะหรือฟาร์มเพาะเลี้ยงเอาไว้เลย
ถ้าจะเรียกว่าล้าหลังก็เข้าขั้นล้าหลังตกขอบทีเดียวเพราะฟาร์มจระเข้สมุทรปราการเองก็ได้ถือกำเนิดมานานถึง
40 ปีแล้วด้วยการบุกเบิกของอุทัย
เมื่อ 40 ปีก่อนการเพาะเลี้ยงเป็นเรื่องใหม่ ส่วนทุกวันนี้แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป
แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ถูกกฎหมาย อาจเรียกได้ว่าไม่ถูกและไม่ผิดโดยตรงเนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมา
เรื่องของการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าไม่เคยมีกฎหมายใดดูแลครอบคลุมถึง แต่ พ.ร.บ.
สงวนและคุ้มคอรงสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ก็ได้กำหนดจำนวนสัตว์ป่าในครอบครองของเอกชนเอาไว้เฉพาะชนิดที่เป็นสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง
โดยเฉพาะสัตว์ป่าสงวนโดยทั่วไปไม่ยอมให้มีไว้ในครอบครองเลยซึ่งมีอยู่จำนวน
9 ชนิด
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ามีการขยายตัวเพิ่มอย่างเงียบ
ๆ เรื่อยมาทั้งจำนวนฟาร์มจำนวนสัตว์ ตลอดจนชนิดของสัตว์ ซึ่งกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ลงทุนเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนสัตว์นั้นย่อมตั้งเป้าไว้ที่การทำการค้า
ส่วนหนึ่งถือว่าผิดกฎหมายแต่ก็ไม่มีความชัดเจนอยางแท้จริงในเรื่องนี้
ต้องยอมรับว่าสัตว์ป่าหลายชนิดได้มีการทดลองเพาะเลี้ยงประสลผลสำเร็จแล้วจริง
ๆ นอกจากจระเข้แล้ว ที่เด่น ๆ ตัวอื่นได้แก่กวาง เสือ ที่ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการนั้นนอกจากทั้ง
2 ชนิดนี้แล้วยังได้เพาะงูเหลือมงูหลาม ละมั่ง เนื้อทราย เต่าบางชนิด และอื่น
ๆ อีกหลายประเภท
"งูเหลือมงูหลามเราเพาะมาเป็นสิบ ๆ ปีแล้วแต่ว่าไม่มีกฎหมายรองรับก็เลยไม่ได้ทำอย่างเอาจริงเอาจัง
กฎหมาไม่สนับสนุน ถ้าผมเพาะเยอะ ๆ แล้วจะให้ทำอย่างไร ลงทุนไปมากจนไปทำประโยชน์ก็ไม่ได้
เก้งกวางเดี๋ยวนี้ก็เต็มกรงแล้ว" จรูญ ยังประภากร กรรมการผู้จัดการหนุ่มโอดครวญ
ด้วยการถือกำเนิดมาเป็นบุตรของอุทัย สัตว์ป่าที่จรูญพบเห็นมาตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตล้วนอยู่ในบ้านจระเข้นั้นแน่นอนที่สุด
ทั้งยังมีเสือโคร่ง งู ลิง และอื่น ๆ อีกซึ่งในภายหลังอุทัยก็ได้ทดลองเพาะเลี้ยงสัตว์อื่น
ๆ ด้วย
"พอมีเนื้อที่คุณพ่อก็เริ่มสะสมสัตว์ชนิดอื่น บางคนก็เอามาให้เอามาขายอย่างเสือก็เพาะตกทอดกันมาจนทุกวันนี้
ที่นี่มีเสือโคร่งอยู่ 20 กว่าตัวแล้ว อย่างอื่น ๆ ก็เหมือนกัน พวกผมเองก็คุ้นเคยกับพวกนี้ตั้งแต่เด็ก
บางทีก็เอาเสือเข้าไปนอนด้วย" ร้อยเอกปัญญา ยังประภากรอดีตนายแทพย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัยกรรมเด็กประจำโรงพยาบาลเด็กผู้ซึ่งรับหน้าที่ช่วยเหลือพี่ชายในด้านการดูแลสัตว์ทั้งหมดเล่าให้ฟัง
ย้อนหลังไปในราว พ.ศ. 2478 เด็กชายอุทัยวัย 9 ปีเศษได้ละจากการเล่าเรียนหนังสืออกหางานทำเป็นครั้งแรก
"อาชีพ" ที่ได้เข้าไปสัมผัสก็ได้แก่ กรรมกร บ่อย เด็กรับใช้ ผู้ช่วยพ่อครัว
และช่างตีทอง
ทุกงานมีคุณสมบัติเหมือนกันอย่างหนึ่งคือล้วนแล้วแต่ไม่ต้องพึ่งพาความรู้จากโรงเรียน
เนื่องจากเขามีโอกาสใช้ชีวิตในสถานที่เช่นว่านั้นรวมเบ็ดเสร็จแล้วก็เพียง
1 ปีเศษเท่านั้นทั้ง ๆ ที่เข้าออกโรงเรียนอยู่ถึง 3 แห่ง อันนับเป็นผลพวงมาจกาความต้องการที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างตัวเขาเองกับแม่เจ้าตัวนั้นอยากเรียน
ขณะที่แม่อยากให้ออกมาช่วยหารายได้จุนเจือครอบครัว ชีวิตช่วงหนึ่งจึงวนเวียนอยูด้วยความลังเลระหว่างการตามใจแม่กับการตามใจตนเองสลับกันไปมา
จนที่สุดผู้ชนะเด็ดขาดก็คือ "ความจำเป็น"
พอถึงรุ่นลูกส่วนใหญ่ของทั้งหมด 15 คนจากแม่ 3 คนจึงจบถึงระดับปริญญา หลายคนจากต่างประเทศ
และโดยเฉพาะคนท้าย ๆ นั้นจะได้เรียนสูงกว่าปริญญาตรีทุกคน
กลับไปยังยุคอดีตอีกครั้งหนึ่งในช่วงแห่งการแสวงหาอาชีพ ซึ่งหลังจากร่นแร่ทำงานจิปาถะสารพันโดยได้ค่าตอบแทนเฉลี่ยเดือนละ
3 บาทอยู่ 3 ปีวัยรุ่นอุทัยก็ได้มีโอกาสไปทำงานในธนาารเนื่องจากพี่สาวคนหนึ่งทำงานเป็นคนรับจ้างเลี้ยงเด็กอยู่ที่บ้านของบักทง
แซ่เล้าผู้จดการธนาคารอินโดจีน
อุทัยเล่าถึงรายละเอียดในเวลานั้นว่า "ตอนนั้นเงินเดือนดี รวมแล้วได้
45 บาท เพราะผมรับหน้าที่ 3 ตำแหน่ง ตำแหน่งละ 15 บาท สมัยนั้นตำแหน่งอื่น
ๆ ได้ประมาณ 20 บาท ผมโชคดีไปรับใช้ผู้จัดการใหญ่ก็ได้เงินเดือนเป็นตำแหน่งหนึ่ง
เป็นการโรงก็ได้ตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าอะไรก็ได้เป็นเงินเดือนตำแหน่งหนึ่งเราเป็นเด็กได้อย่างนี้เรียกว่าดีมาก
เงินเดือนใช้ไม่หมดแงหใแม่ครึ่งหนึ่กง็ยังเหลือก็คิดว่าตอนนี้สบายดีแต่ถ้าตอ่ไปโตมีครอบครัวจะไปไม่ไหว
ไม่มีอะไรก้าวหน้าก็คิดวามาเป็นพ่อค้าดีกว่าจะได้มีโอกาสร่ำรวย"
ครบ 3 ปีอีกเช่นกันสำหรับการทำงานในแบ่งอินโดจีน ต้นทางของการเป็นพ่อค้ายังไม่ใช่สิ่งเดียวกับที่เป็นในวันนี้
ในครั้งนั้นอุทัยไม่เคยเกี่ยวข้องกับวงการสัตว์ป่ามาก่อน ไม่มีความรู้ใด
ๆ ในเรื่องธุรกิจจระเข้าแม้ว่าขณะนั้นมนุษย์ได้เริ่มรู้จักใช้หนังจระเข้ทำประโยชน์ประมาณ
100 ปีมาแล้วก็ตาม แต่กว่าอุทัยจะได้รับรู้ว่าผลิตภัณฑ์จากหนังสัวต์เลี้อยคลานชนิดนนีมีมูลค่าสุงเพียงใดก็เมื่อเขาได้เห็นกระเป๋าหนังใบหนึ่งวางขายอยู่ในร้านหรูย่านสุรวงศ์
ป้ายบอกราคาที่ติดไว้ด้วยกั้นนั้นทำให้คนหนุ่มอย่างเขาตกใจเอามาก ๆ
ออกจากงานเงินเดือนดีโดยมีทุนรอนประมาณ 300 กว่าบาทจากการสะสม ในช่วงทำงาน
เขาเริ่มกิจการขายเล็กน้อยสมฐานะประเภทสบู่ เทียนไข ไม้ขีดไฟ รับสินค้าจากร้านขายส่งปั่นจักรยานไปขายต่อให้ร้านค้าปลีก
ทำอยู่ 2 ปีไม่มีความก้าวหน้าจึงได้จับมือกับเพื่อนคนหนึ่งและน้องบุญธรรมอีกคนหนึ่งเปิดร้านค้าขึ้นเองแถวโรงพยาบาลหัวเฉียว
กิจการดำเนินไปไม่ค่อยได้ดีนักและสุดท้ายก็ต้องล้มพับลงไปอย่างราบคาบพร้อม
ๆ กับการยุติของสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะระเบิดของฝ่ายสัมพันธ์มิตรที่ทิ้งให้กับทหารญี่ปุ่นในไทยได้จุดเพลิงเผาผลาญร้านจนวอดวาย
ในปีที่ว่างงานปี 2489 นั้นเองที่อุทัยได้เฝ้าดินสำรวจร้านค้าต่าง ๆ ทบทวนถึงความสามารถ
สติปัญญาของตน ตลอดจนเสาะหาอาชีพแปลก ๆ ด้วยความเชื่อว่ายังมีอยู่อีกมากมายนักที่ไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาซึ่งเขาคาดจะต้องทำในลักษณะนั้นเพื่อจะไม่ต้องแข่งขันกับใคร
เมื่อได้เห็นกระเป๋าหนังใส่สตางค์ดูธรรมดา ๆ ใบหนึ่งติดราคาขายไว้ถึง 400
บาท เขาจึงเดินเข้าไปติงและสอบถามกับเจ้าของร้านว่าเหตุใดของเพียงแค่นี้ถึงมีราคาแพงนัก
เข้าใจว่าคงเขียนป้ายผิด ราคาจริงควรเป็น 40 บาทมากกว่า
คำอธิบายสั้น ๆ ที่ได้รับจากเจ้าของร้านว่ากระเป๋าใบนั้นราคาแพงเพราะทำจากหนังจระเข้แท้อาศัยอยู่ในป่ายากลำบากในกาล่ามานับว่าเป็นจุดเริ่มต้นจริง
ๆ สำหรับอุทัย ยังประภากร
แต่ก็เป็นเพียงการเริ่มต้นทางความคิดเท่านั้นในแง่ของการลงมือทำจริงนั้นมีอุปสรรคมากมายเหลือเกินที่จะต้องฝ่าฟัน
ความขึ้นชื่อลือชาของฟาร์มจระเข้ฯ ในแง่ของการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวดูจะเป็นส่วนที่เด่นชัดที่สุดอย่างน้อยสวนสัตว์แห่งนี้ก็อยู่ในความทรงจำของผู้คนจำนวนไม่น้อยเพราะสำหรับเด็ก
ๆ แล้วที่นี่ก็เป็นที่แห่งความใฝ่ฝันที่จะไปเยือนพอ ๆ กับเขาดินวนานั่นเอง
แต่กิจการอีก 2 อย่างที่ควบคู่ไปด้วยกันกับการเปิดให้เข้าชมไม่ค่อยจะมีผู้รู้เห็นและได้รับการนึกถึงมากนักทั้งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
นั้นก็คือกิจการการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์จระเข้ และกิจการการเพาะเลี้ยงจระเข้
โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงนั้นคือจุดที่ทำให้เกิดกิจการอื่น ๆ ถือเป็นส่วนที่เป็นหัวใจทีเดียว
ในจำนวนสัตว์ทั้งหมดประมาณ 50 ชนิด จระเข้จัดว่าเป็นพระเอก มีสมาชิกอยู่มากถึงประมาณ
40,000 ตัวและเพาะเพิ่มได้อีกในแต่ละปีราว 5,000 ตัว
จำนวนจระเข้มากมายเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นจุดขายสำหรับการท่องเที่ยวของฟาร์มฯ
ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพียงมีจระเข้มากขนาดนี้ก็เป็นที่น่าสนใจแล้ว ยิ่งมีการจัดแสงดโชว์ต่าง
ๆ เกี่ยวกับ จระเข้ก็ยิ่งเรียกร้องความสนใจได้มาก นอกจากนี้หนังจระเข้ก็ยังเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้หลักประมาณครึ่งหนึ่งให้แก่บริษัท
โดยการส่งออกนั้นเน้นหนักที่หนังดิบมากกว่าหนังฟอก อีกทั้งผลิตภัรฑ์สำเร็จรูปจากหนังสือก็ยังสร้างรายได้บางส่วนให้อีกด้วย
"หลักของจระเข้คือการใช้หนัง โดยทั่วไปจะถลกหนังเมื่ออายุ 4 ปี ขายเป็นผืน
ผืนหนึ่งประมาณ 6-7,000 บาท ใช้การวัดความกว้าง ความยาวไม่สนใจ แล้วแต่ประเทศด้วย
บางแห่งก็วัดเป็นตารางฟุต ร้อยเอกปัญญา ยังประภากร บุตรชายคนที่ 3 ของอุทัยผู้บริหารหลักอีกคนหนึ่งของฟาร์มจระเข้ฯอธิบายถึงกิจการด้านส่งออก
ญี่ปุ่นคือประเทศลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของทางฟาร์ม รับซื้อหนังประมาณกว่า
70% ของทั้งหมดที่เหลือขายให้แก่ตลาดทางยุโรป ประเทศเด่น ๆ คืออิตาลีและฝรั่งเศส
ก่อนที่จะได้รับผลกระทบการจากแผนของไชเตส (sites-convention on international
trade in endangerfo species of wild fauna and prora) องค์กรภาดีว่าด้วยการค้าสัตวื่ปาและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ที่บริหารโดยสหประชาชาติในโครงการสิ่งแวดล้อม
ฟาร์มจระเข้สามารถส่งออกหนังได้เป็นปกติ เคยมีรายได้โดยเฉลี่ยประมาณปีละกว่า
20 ล้านบาท
"ตอนนี้ส่งหนังจระเข้ออกไม่ได้เป็นเวลา 8-9 เดือน ไม่สามารถขายให้กับประเทศที่เป็นสมาชิกไซเตส
ถึงแม้ลูกค้าอาจต้องการซื้อกับเราก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีใบอนุญาต ทางการของประเทศเขาไม่ออกให้
รายได้สูญหายไปแล้วประมาณ 10 ล้านบาท ยังไม่นับรวมค่าอาหารที่ต้องเลี้ยงจระเข้เกิดแต่ไม่สามารถฆ่าเอาหนังได้"
ร้อยเอกปัญญา กรรมการรองผู้จัดการบริษัทพูดถึงความเสียหาย
การแบนประเทศไทยเกิดขึ้นตามมติของคณะกรรมการไซเตสเมื่อวันที่ 11 เมษายน
เนื่องจากไม่พอใจที่กฎหมายไทยไม่ได้ให้ความคุ้มครองกับสัตว์ป่าและพืชป่าอย่งเต็มที่และสอดคล้องกับหลักการไซเตสเป็นเหตุให้เกิดการลักลอบค้ามาโดยตลอด
ผลการแบบนั้นกระทบโดยตรงที่สุดกับธุรกิจ 2 ส่วนคือกล้วยไม้และจระเข้
ตามหลักไซเตสจระเข้ของประเทศไทยได้รับการจัดลำดับให้เป็นสัตว์คุ้มครองตามบัญชีหมายเลข
1 ห้ามทำการซื้อขาย ยกเว้นแต่เป็นการติดต่อกันระหว่างหน่วนงานรัฐเพื่อผลทางวิทยาศาสตร์หรือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้
หรือกีกรณีหนึ่งก็คือถ้าสัตว์ชนิดนั้นได้มาจากการเพาะเลี้ยงก็อนุโลมให้ค้าได้จระเข้ทุกชนิดในโลกได้รับการจัดยอู่ในรายชื่อสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ของไซเตสทั้หงมด
บางชนิดอาจอยู่ในบัญชีหมายเลข 1 และบางชนิดก็ได้รับการบรรจุในบัญชีหมายเลข
2
ข้อพิจารณาในการจัดประเภทสัตว์สงวนและคุ้มครองตามหลักการทั่วไปก็คือการดูสถานะของสัตว์ป่าในธรรมชาติว่าอยู่ในภาวะที่เป็นอันตรายเพียงใด
สำหรับสถานภาพของจระเข้ในเมืองไทยตามกฎหมายนั้น ยังคงไม่มีการให้หลักประกันความปลอดภัยใด
ๆ ทั้งสิ้น ใครก็ตามสามารถฑ่าจระเข้ได้ทั้งสิ้นตราบเท่าที่ไม่ได้อยู่ในเตอุทยานแห่งชาติ
ความแตกต่างตรงนี้หมายความว่า ตราบใดที่กิจกรรมการล่าและการค้าจระเข้กระทำภายในประเทศก็ไม่มีความผิด
แต่ถ้าพ้นจากนี้ก็เท่ากับละเมิดต่อไซเตส
สำหรับฟาร์มจระเข้สมุทรปราการแม้ดำเนินธุรกิจส่งออกด้านนี้มาก่อนจะมีองคืกรไซเตส
แต่เมื่อกฎเกณฑ์เกิดตามมาภายหลังก็ได้ดำเนินการตามอย่างถูกต้อง โดยยื่นขอผ่านกรมป่าไม้จดทะเบียนโดยตรงกับไซเตสตั้งแต่ยุคแรก
ๆ
"ที่ฟาร์มไม่เคยมีปัญหาอะไรตลอด 41 ปีที่ส่งออก เมื่อใดก็ตามที่มีกฎหมายไม่ว่าในประเทศหรือระหว่างประเทศเราก็ยินดีที่จะปฏิบัติตามคุณพ่อผมก็เป็นผู้รวมก่อตั้งสมาคมจระเข้โลกด้วย
ทางไซเตสและสมาคมจระเข้โลกต่างก็ยอมรับมาตลอด ถ้าพูดถึงกฎหมายในประเทศแล้วจระเข้ก็ไม่ได้เป็นสัตว์สงวนหรือคุ้มครองแต่ประการใดก็เลยไม่มีปัญหามาโดยตลอด"
จรูญ ยังประภากรกรรมการผู้จัดการบริษัทกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ทางออกที่ไซเตสได้วางไว้ให้กับประเทศไทยเพื่อหลุดพ้นจากการแบนมือยูวิถีทงเดียวเท่านั้นคือ
รัฐบาลไทยจะต้องแกไขกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติในการค้าให้สอดคล้องกับไซเตส
ให้ความคุ้มครองต่อสัตว์ป่าต่างประเทศด้วยเพื่อที่จะได้ม่มีการใช้เมืองไทยเป็นทงผ่านการค้าอีกต่อไป
นอกจากนี้ก็คือจะต้องกำหนดมาตรการทางด้านการค้าให้ชัดว่าจะค้าสัตว์ได้ภายในกรอบและขอบเขตแบบใด
องค์กรไซเตสไม่ใช่องคืกรอนุรักษ์ที่ปฏิเสธเรื่องการค้าโดยสิ้นเชิงแต่ขอเพียงให้ค้าอย่างคำนึงถึงความอยู่รอดและการดำรงเผ่าพันธุ์ของสัตว์ด้วย
"ตามที่เราได้พยายามจดหมายติดต่อไปทางเจ้าหน้าที่ไซเตสมห้เขาเห็นใจเพราะทางฟาร์มก็ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างถูกต้อง
เขาก็เห็นใจวาเราไม่ผิดแต่ได้ผลกระทบ ซึ่งเป็นความจำเป็นสำหรับเขาที่มองมองภาพรวม
เขาก็หวังว่าเราจะช่วยผลักดันให้กฎหมายใหม่เกิดขึ้น" ร้อยเอกปัญญากล่าว
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้านสัตว์ป่าของประเทศไทยได้เริ่มต้นกันนับแต่ปี
2525 อันเป็นปีที่ให้สัตยาบันต่อไซเตส มีการผลกดันร่างพ.ร.บ.ใหม่เข้าสู่สภาพหลายครั้งหลายสมัย
แต่ดูเหมือนเท่าที่เคยไปได้ไกลที่สุดก็เพียงผ่านวาระที่ 1 เท่านั้นการผลักดันครั้งนี้ถือได้วามีความคืบหน้ามากที่สุดแล้วและแนวโน้มการผ่านออกมาก็ค่อนข้างจะเป็นไปได้
ต่อจากนั้นก็คงต้องลุ้นกันอีกทีว่า ไซเตสจะตอบรับหรือไม่ กล่าวได้ว่าอนาคตของกิจการส่งออกหนังของฟาร์มฯ
นั้นอยู่ในกำมือของกำมหายใหม่ค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ในรายละเอียดของประเด็นที่มีการคุ้นกันมากในฝ่ายเอกชนก็คือเรื่อของกาเรพาะเลี้ยงซึ่งกฎหมายฉบับใหม่ได้เริ่มกล่าวถึง
รวมทั้งได้กล่าวถึงเรื่องสวนสัตว์สาธารณะด้วย
ในประเด็นการเพาะเลี้ยงนั้นมีแนวโน้มที่ให้การส่งเสริมอย่างค่อนข้างแน่ชัด
แต่จะมีสัตว์ใดได้รับอนุญาตบ้าง และจะถึงขั้นเปิดให้ค้าได้เพียงใดเป็นเรื่องการกำหนดรายละเอียดในภายหลัง
ซึ่งภาคเอกชนกำลังจับจ้องดูทิศทางในสวนนี้อย่างหมายมั่นปั้นมือวาตนอาจมีโอกาสได้บุกเบิกอาชีพใหม่
ๆ กับสัตว์ประเภทใหม่ ๆ บ้าง
"รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อที่จะช่วยกันสนับสนุนนโยบายด้านการอนุรักษ์
ทำอย่างไรที่จะหยุดการลักลอบค้าสัตว์ป่า และส่งเสริมการค้าสัตว์ที่เพาะเลี้ยได้
เราสามารถทำสองสิ่งนี้ในเวลาเดียวกันได้ ถ้าปล่อยให้ค้าอย่างเสรีก็เป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าที่มีอยู่
แต่สัตว์ก็เป็นสิ่งที่ทำเศรษฐกิจให้ประเทศได้อย่างมหาศาลในอนาคต ถ้นโยบายยังคลุมเครือหรือปิดกั้นอยู่ก็ทำให้ความเป็นไปได้นั้นยากขึ้น"
นี่คือทัศนะของจรูญยังประภากร
กฎหมายจะกำหนดทิศทางของทั้งอสงเรื่องนี้ออกมาอย่างไรย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับฟาร์มเจระเข้ฯ
อีกเช่นกัน
และความเปลี่ยนแปลงอย่างสุดท้ายที่มีความเป็นไปว่าจะเกิดขึ้นก็คือ การกำหนดให้จระเข้เป็นสัตว์ประเภทคุ้มครอง
ถ้าทั้งหมดนี้เกิดขึ้นย่อมหมายถึงว่าฟาร์มจระเข้คงจะเข้าสู่ยุคของการปรับโฉมอย่างขนานใหญ่โดยปริยาย
ยุคบุกเบิกของอุทัยเริ่มก่อนที่จะมีกฎหมายถึง 20 ปี ณ วันนั้นอุสปรรคในลักษระที่กำลังเกิดขึ้นนี้นับว่าไม่อยู่ในความคาดหมายเลย
สมัยนั้นการล่าการฆ่าถือเป็นเรื่องธรรมดา คำว่าอนุรักษ์ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงเป็นเรื่องใหญ่
"สมัย 40 ปีก่อนผมก็ไม่ทราบว่าทั่วโลกมีจระเข้มากน้อยอย่างไร ไม่มีความรู้เท่าที่เห็นเมืองไทยในธรรมชาติก็พอมี
แต่ก็เกรงว่าถ้าไม่จัดหาวิธีเพาะเลี้ยงปล่อยให้เขาจับ ล่า ฆ่าเอาหนังเนื้อไปใช้
ไม่ช้าก็ต้องสูญพันธ์ผมก็คิดว่าสมัยก่อน หมู เป็ด วัว ควายก็อยู่ในป่า อาจเป็นสัตว์ดุถรายก็ได้ก็ยังเพาะเลี้ยงได้"
ผู้เป็นเจ้าของฟาร์มจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเริ่มต้นเล่าเรื่องลำดับความเป็นมาขอบการริเริ่มการเพาะเลี้ยงจระเข้แต่หนหลัง
นับจากวันที่ได้เห็นกระเป๋า ใบนั้นอุทัยเฝ้าครุ่นคิดและหาทางที่จะเข้าสู่อาชีพการค้าหนังจระเข้
ถงกัเบดินทางออกไปต่างจังหวัดพยายามทำความรู้จักพรานจนกระทั่งมีโอกาสออกไปร่วมขบวนการล่าจระเข้
สิ่งที่ได้รับรู้ตามมาก็คือ การล่านั้นกระทำกันอย่างขนานใหญ่จริงๆ ทุกตัวที่พอเจอเป็นต้องถูกฆ่าคืนละหลายต่อหลายตัว
โดยที่ผู้เข้ามาเป็นต้องถูกฆ่าคืนละหลายต่อหลายตัว โดยที่ผู้เข้ามาเป็นพรานเองก็ทวีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ เพราะเป็นช่องทางที่มีรายได้ดี
ในวงการเครื่องหนังหลังจากที่จระเข้พันธุ์ไทยได้ก้าวขึ้นเป็นที่รู้จักของตลาดก็สามารถฉายความโดดเด่นเหนือกว่าพันธุ์ไคมานออเมริกาใต้ที่ครองตลาดอยู่ก่อนมาเป็นเวลานาน
จนถึงทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นที่ยอมรับกันว่า หนังคุณภาพดีที่สุดอันดับ 1 และ
2 นั้นต้องเป็นจระเข้น้ำเค็มและน้ำจืด
การที่ตลาดยิ่งเปิดมาก ย่อมเป็นผลดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ค่าแรงในการลำพลอยสูงราวทองคำไปด้วย
ราคาซื้อขายจระเข้เมื่อ 40 ปีก่อน ขนาดปกติเฉลี่ยตกตัวละ 150 -200 บาท แม้แต่ลูกตัวเล็ก
ๆ ก็มีราคาสูงถึงตัวละ 50-100 บาทเช่นเดียวกัน
ที่มาของความแพงนั้นแม้ส่วนหนึ่งจะเกิดจากความต้องการของตลาดมีมาก แต่อีกด้านหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้วากว่าจะได้สินค้ามานั้น
บรรดาผู้ล่าต่างต้องลำบากกันไม่น้อยและควมลำบากนั้นก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเมื่อเวลาผ่านไป
ปริมาณผู้ล่าเริ่มมีมากกว่าผู้ถูกล่า
อุทัยสัมผัสได้ถึงความจริงข้อนี้และผลที่จะเกิดตามมา เขาเล่าว่า
"ผมเริ่มคิดดัดแปลงที่จะเอาจระเข้ามาเลี้ยงโดยมีความเห็นวาเป็นการตัดปัญหาติดตามการออกล่าจระเข้ในป่าเพราะมีอันตราย
อีกประการหนึ่งไม่ต้องกังวลวิตกถึงเรื่องหนังจระเข้ไม่มีเป็นสินค้า ประการสุดท้ายถ้าขยายพันธุ์ให้เพิ่มขึ้นได้ประชาชนทั่วไปมีโอกาสใช้ผลิตภัณฑ์หังจระเข้มากขึ้น"
อุทัยเริ่มติดต่อกับพวกล่าสัตว์ซึ่งโดยปกติจะลาเอาแต่หนังมา เขาจึงเสนอให้เอาตัวเป็นมาถ้าหากเป็นตัวเล็ก
เขารับซื้อทั้งสองอย่าง ส่วนที่เป็นหนักก็นำไปทำกระเป๋าตามปกติ นอกนั้นก็เลี้ยงขึ้นมา
ปี 2489 ในซอยมหาพฤฒาราม สี่พระยา กรุงเทพฯ อุทัยเริ่มต้นสร้างบ่อเลี้ยงจระเข้ภายใต้ชายคาบ้านอาศัยนั่นเองระยะนั้นความสัมพันธ์กับบรรดานายพรายทั้งหลายมีความแนบแน่นต่อกันมากแล้ว
ทั้งซากหนังทั้งจระเข้มีชิวิตจึงได้รับการป้อนเข้ามาอย่างไม่ขาดแคลน
แต่พ่อค้าหนังผู้มีทุนน้อยอย่างอุทัยเมื่อต้องจ่ายค่าวัตถุดิบไปในอัตราสูงก็มักมีปัยหาขาดทุนรอนตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ยิ่งเมื่อเขาเสนอรับซื้อตัวเป็นก็ยิ่งต้องจ่ายให้แก่พรานในราคาที่สูงขึ้นอกีเพื่อชดเชยความยากลำบากของการล่าการขนย้ายและการดูแลที่เพิ่มขึ้น
ซ้ำร้ายเมื่อได้ตัวสำหรับนำมาเลี้ยงแล้วยังมีค่าจัดการ ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายจิปาถะสมทบเพิ่มขึ้นเงินขาดมือกับหนี้สินคือสองภาวะที่จู่โจมเข้ามาควบคู่กัน
ข้อจำกัดด้านทุนทำให้เขาต้องลงมือทำทุกขั้นตอนด้วยตนเองตั้งแต่เลี้ยงฆ่า
ชำแหละ ฟอก จนถึงขาย
อุทัยได้เล่าเอาไว้ว่าการฆ่าจระเข้ที่เลี้ยงขึ้นมาเองก่อให้เกิดผลดีกับคุณภาพหนัง
ต่างจากหนังที่พรานนำมา เนื่องจากในการฆ่าที่บ้านสามารถเลือกแทงไปยังจุดตายบริเวณรอยต่อหัวกับท้ายทอยซึ่งเป็นศูนย์รวมของประสาทต่าง
ๆ ได้โดยตรง
กรรมวิธีขั้นต่อก็คือการผ่าท้องหรือหลังเพื่อนแล่หนัง จะเลือกผ่าด้านใดก็ขึ้นกับว่าต้องการหนังด้านบนหรือด้านล่าง
แต่โดยทั่วไปหนังส่วนท้องจะเป็นที่นิยมมากกว่า มีราคาแพงกว่ามีดที่ใช้แล่หนังต้องคมและบาง
สำหรับวิธีการฟอกมีความยุ่งยากพอสมควรเริ่มจากที่จะต้งแช่น้ำเกลือไว้ก่อน
1 คืนตามด้วยการหมกกับเกลืออีกทีเพื่อกนเน่า แล้วจึงนำไปล้างแล้วแช่น้ำปูนขาวประมาณ
3-4 วันเกล็ดที่ห่อหุ้มหนังก็จะหลุดออก ในขั้นนี้ต้องใช้มีดช่วยตกแต่งให้ผืนหนังมีความหนาบางเหมาะสมอีกครั้งแล้วใช้น้ำยาที่มีรสเปรี้ยวเป็นตัวช่วยกัดเชื่อปูนขาว
ต่อมาจึงเริ่มฟอกหนังด้วยน้ำยาเคมีหลายชนิดซึ่งส่วนใหญ่ได้จากยางเปลือกต้นไม้
ปล่อยแช่ในน้ำยาประมาณ 1 อาทิตย์จนซึมเข้าไปทั่วทั้งผืนแล้วจึงนำขึ้นมาท่าน้ำมั้นที่เป็นตัวช่วยด้านความนุ่มนวลทนทานหลังจากนี้ตบให้นิ่ม
ตากให้แห้งเอาเข้าเครื่องขัดมันก็เป็นอันวาได้ผืนหนังคุณภาพ กระบวนการทั้งหมดนี้กินเวลาประมาณ
20 วัน - 1 เดือน
เลี้ยงและค้าหนังอยู่ประมาณ 4 ปี แล้วสภาพการณ์อย่างที่เคยหวาดหวั่นว่าจะเกิดก็เกิดขึ้นจริง
ๆ นักล่าจากป่าเริ่มไม่มีสินค้าติดมือกลับมา แม้วาจะทุ่มเทค้นหาจระเข้ไปทั่วเป็นเวลาแรมเดือนในแต่ละครั้งก็ได้แต่งละครั้งก็ได้แต่ต้องพบกับความว่างเปล่าให้ผิดหวัง
จระเข้เริ่มหมดไปแล้ว
"ปี 1950 (2493) เลยลงมือทำจริง ๆ คือสองสามปีก่อนผมก็ได้ทดสอบค้นคว้ามาเล็กน้อย
ศึกเกี่ยวกับการเพาะจระเข้เองทั้งหมด พอเขาวางไข่ก็เอาไข่มาฟักเป็นตัว ต้องอดทนมากทุกอย่างเริ่มแรกรู้เท่าไม่ถึงยาก
ถ้ารู้วิธีการแล้วก็กลายเป็นธรรมดาไปก็ได้ลูกขายไปบ้างเก็บเป็นพ่อพันธ์แม่พันธุ์บ้าง
เพราะถ้าไม่ขายก็ไม่มีเงินมาเลี้ยงเขา"
เมื่อประชากรจระเข้ที่บ้านสี่พระยาเริ่มหนาแน่นจำเป็นต้องหาที่แห่งใหม่
อุทัยก็ได้ไปเช่าที่ดินประมาณ 1 ไร่เศษที่หน้าวัดราฟาเอล จังหวัดสมุทรปราการโดยได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากผู้ใหญ่และมิตรที่นับถือกันมาตำวนหนึ่งลองผิดลองถูกทดลองเพาะเลี้ยงจระเข้าเรื่อยมา
จนในที่สุประสบความสำเร็จมากขึ้นและสถานที่เริ่มคับแคบเกินไปอีกครั้งจึงได้ย้ายมาจัดตั้งฟาร์มที่ถนนท้ายบ้านในซอยวัทองคงบนเนื้อที่เริมแรกประมาณ
20 ไร่ จากนั้นก็ขยายขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
"20 ปีก่อนต่างประเทศริเริ่มที่จะอนุรักษ์จระเข้มีการประชุมกันที่อเมริกาและก่อตั้งสมาคมจระเข้ขึ้น
ครั้งนั้นไม่มีใครเชื่อว่าฟาร์มของเราได้มีการเพาะเลี้ยงจระเข้ไว้แล้ว ในขณะที่ตาประเทศกำลังรวมตัวกันเพื่อมองว่าจะทำอย่างไรไม่ให้จระเข้สูญพันธุ์แต่เราได้เพาะเลี้ยงแล้ว
"ร้อยเอกปัญญาเล่าเหตุการณ์ที่เป็นการย้ำยืนยันว่าคุณพ่อของเขานั้นเป็นผู้บุกเบิกอย่างแท้จริง
ถ้าหากไม่เกิดเหตุการณ์ไซเตส ในเร็ววันนี้ธุรกิจของ "ยังประภากร"
ก็จะเริ่มก้าวเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมครบวงจร เพราะเมื่อปีที่แล้วโรงฟอกหนังในนิคมอุตสาหกรรมบางปูอันเกิดจากการร่วมทุนกับญีปุ่นภายใต้ชื่อบริษัทยูเค
จำกัด ซึ่งมาจากชื่อของอุทัยกับนายทุนญี่ปุ่นนั้นเพิ่งจะได้ก่อตั้งขึ้นมา
แต่ยังไม่ทันได้เริ่มต้นประกอบการ ตลาดหนังก็ถูกปิดเสียก่อน
ส่วนฟาร์มแห่งใหม่ที่กำลังจะดำเนินการก่อสร้างที่บางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ซึ่งตั้งงบประมาณการลงทุนไว้ประมาณ 300 ล้านบาท ตามแนวการนั้นก็ได้กำหนดว่าจะเสร็จอย่างช้าภายในปี
2536 นี้
การเตรียมการอีกประการหนึ่งที่ชี้ให้เห็นความมุ่งมาดที่จะพัฒนาธุรกิจการค้าหนังจระเข้ให้เจริญและขยายตัวขึ้นก็คือ
การที่บุคลากรของยังประภากร เช่นนิตยา บุตรสาวคนที่ 12 นั้นกำลังเลาเรียนด้านการออกแบบเครื่องหนังอยู่โดยรง
และต่อจากนี้ก็ได้วางแผนล่วงหน้าไว้แล้วว่าสถานที่ดูงานต้องเป็นที่อิตาลี
ขณะนี้บรรดาแผนการพัฒนากิจการหลาย ๆ โครงการที่ทางฟาร์มวางไว้ล้วนแขวนอยู่กับพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า