บนชั้นสูงสุด ชั้นที่ 30 ของอาคารซีพีทาวเวอร์ โชคชัย อักษรนันท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส
บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เล่าให้ฟังถึงภารกิจใหม่ในฐานะประธานสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศอาเซียน
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ประธานอาเซียน-ซีซีโอ" ที่จะต้องทำงานหนักในวาระตำแหน่งนี้สองปีนับตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมคณะมนตรีอาเซียน-ซีซีโอ
ของหกประเทศคือบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เมื่อปลายปี
2534 นี้
"ผมต้องเตือนตัวเองตลอดเวลาว่า ต้องพูดในฐานะประธานหกประเทศ ไม่ได้พูดในนามประธานสภาอุตสาหกรรมไทยแล้วนะ"
โชคชัยย้ำกับตัวเอง
สองปีข้างหน้าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงหนึ่งในชีวิตการงานของโชคชัย ที่พลิกผันชีวิตจากวิศวกรเคมีที่เป็นอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาฯ สู่งานบริหารธุรกิจที่หลากหลาย นับตั้งแต่ร่วมงานบุกเบิกกับบริษัทเอ็ม.ไทย
อินดัสเทรียล จนถึงการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมรองเท้าของกลุ่มสหพัฒน์ และล่าสุดเมื่อสองปีที่แล้ว
ได้เข้าร่วมงานกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส
แต่ทุกวันนี้งานหลักที่กินเวลาส่วนใหญ่ของโชคชัยหมดไปกับกิจกรรมเพื่อส่วนรวม
อาทิ เช่น ประธานอาเซียน-ซีซีไอ ประธานสภาพอุตสาหกรรมไทย กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และสมาชิกสภานิติบัญญัติ โดยได้รับการสนับสนุนความเข้าใจจากซีพี
"ผมเป็น PUBLIC FIGURE ที่ไม่ค่อยมีเวลาเป็นของตัวเอง ต้องเดินทางตลอด"
โชคชัยเล่าให้ฟังถึงการทำงาน
จากประสบการณ์ไม่ต่ำกว่าสิบปีที่โชคชัยได้เคี่ยวกรำกับกิจกรรมอาเซียน-ซีซีไอ
ซึ่งเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน ในฐานะเลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมไทยระหว่างปี
2525-2530 โชคชัยได้สานต่อภารกิจยิ่งใหญ่ที่นายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน
ได้วางไว้เป็นแนวความคิดสำคัญเกี่ยวกับโครงการร่วมมือจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
(ASEAN FREE TRADE AREA หรือ "AFA")
ในอดีต ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไม่เป็นรูปธรรม แต่ละประเทศปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง
การขอลดสิทธิพิเศษภายใต้ ASEAN PTA มักเป็นรายการสินค้าที่ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่
แต่รายการที่สำคัญซื้อขายกันมากกลับไปไว้ใน EXCKYSUIB LIST ที่ห้ามแตะ ทำให้โครงการ
ASEAN PTA ไม่ประสบผลเท่าที่ควรจนกระทั่งท่านนายกฯ อานันท์ คิดว่าถึงเวลาแล้ว
จึงได้เสนอแนวความคิด AFTA ขึ้นในลักษณะกล้าลดภาษีโดยรัฐเป็นผู้นำ ก็มีการล็อบบี้จนโครงการนี้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มรัฐบาลอาเซียนอย่างเป็นทางการ"
โชคชัยเล่าให้ฟังถือที่มาของ AFTA
โครงการเขตการค้าเสรีอาเซียน "AFTA" เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขึ้นต้น
โดยมีเป้าหมายให้สมาชิกกลุ่มอาเซียนตกลงยกเลิกเพดานพิกัดอัตราภาษีศุลกากร
และข้อจำกัดอัตราภาษีศุลกากร และข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกัน ทำให้เกิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายในทศวรรษหน้า
"เมื่อโครงการ AFTA ได้เกิดขึ้น คุณผลิตที่ไหนก็เท่ากับขายได้ทั้ง
6 ประเทศ เพราะตลาดเดียวกัน และภาษีเท่ากัน ดังนั้นใครที่แข็งแรงกว่า บริหารงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าก็อยู่รอดได้
ใครที่อ่อนแอก็จะตกที่นั่งลำบาก" โชคชัยกล่าวถึงผลดีของ AFTA
แนวทางการพัฒนาเขตการค้าเสรีแห่งอาเซียนนี้ จะต้องใช้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน
(ASEAN PTA) ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าไม่ต่ำกว่า 15,725 รายการผนวกกับ CEPT (COMMON
EFFECTIVE PREFERENCE TAFIFFS) ซึ่งเป็นการกำหนดรายการสินค้าที่จะนำมาลดหย่อนภาษีระหว่างกัน
โดยขั้นแรกแต่ละประเทศจะต้องปรับพิกัดอัตราภาษีศุลกากรให้อยู่ระดับเดียวกันตามประเภทสินค้า
โดยแบ่งอัตราภาษีศุลกากรเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 0.5%, 5-10%, 10-15%, และ 15-20%
ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจะยกเลิกการจัดเก็บภาษีศุลกากรทั้งหมด
ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ระยะหนึ่ง
"ตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหกประเทศกว้างใหญ่ถึง 315 ล้านคน (ใกล้เคียงประชาคมยุโรป
320 ล้านคน) ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเกี่ยวกับ AFTA มากแต่แนวทาง
AFTA นี้ต้องใช้เวลาถึง 15 ปี ที่จะลดภาษีลงมาเหลือ 0-5 % นี่คือเป้าหมาย
ถ้าทำได้ก็ดีมาก" ประธานอาเซียน-ซีซีไอคนใหม่คาดหวังการบรรลุผลในอนาคต
ดังนั้น ในงานประชุมสุดยอดอาเซียนของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนทั้งหกประเทศครั้งที่
4 หรือ "อาเซียนซัมมิท" ซึ่งได้จัดในวันที่ 27-28 มกราคม 2535
ณ ประเทศสิงคโปร์ จึงมีเรื่องสำคัญข้างต้นที่ต้องพิจารณาแนวทางร่วมกันถึง
4 ประการ
- ความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี หรือ AFTA ที่มีประเทศไทยเป็นแกนนำ
-
- ความร่วมมือระหว่างประเทศเอเซียนตะวันออก (EAST ASIAN ECONOMIC GROUPING
หรือ GAEG
-
- การจัดระบบภาษีร่วมในกลุ่มประเทศอาเซียน (COMMON ERRECTIVE TARIFF SYSTEM
หรือCEPT) ซึ่งอินโดนีเซียเป็นผู้เสนอ
-
- การจัดให้มีสนธิสัญญาความร่วมมืออาเซียนขึ้น (ASEAN TREATY ON ECONOMIC
CO-OPEARTION หรือ ATEC
-
ถึงแม้จะหมดยุคนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ผมคิดว่าอาเซียนไม่ควรจะชะงักโครงการ
AFTA ผมหวังว่าเดือนมกราคม 2535 นี้จะมีการเซ็นข้อตกลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ
เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่มาเป็นหัวหน้ารัฐบาลของแต่ละประเทศอาเซียนจะต้องดำเนินนโยบายนี้ต่อไป
เพราะมันไม่มีเวลาแล้ว"
ความสำคัญของกิจกรรมอาเซียนนี้ ประธานอาเซียน-ซีซีไอคนใหม่ได้เรียกร้องภาคเอกชนให้ตื่นตัวรับรู้ข่าวสาร
AFTA ไม่นอนหลับทับสิทธิ์ ขณะเดียวกับองค์กรธุรกิจภาคเอกชนจะต้องร่วมมือทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล
เพื่อกำหนดทิศทางทางเดินได้ถูกต้อง
"ผมเข้าใจว่าหลังจากการประชุมอาเซียนซัมมิทเสร็จสิ้นลง ทางภาครัฐบาลทั้งหกประเทศคงจะบอกให้ภาคเอกชนไปทำการบ้านว่าควรทำอะไร
เช่นให้แจกแจงกลุ่มอุตสาหกรรมใดที่มีความพร้อมจะได้รับการลดภาษีตามโครงการ
AFTA อย่างประเทศไทย สาขาอุตสาหกรรมที่พร้อมก็มีสิ่งทอ อัญมณี ผลิตภัณฑ์หนัง
ปุ๋ย สินค้าไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษ ทั้งหมดนี้ ไทยเสนอให้ลดภาษีลงมา"
ประธานอาเซียน-ซีซีไอ ซึ่งยังสวมหมวกประธานสภาอุตสาหกรรมไทยอีกตำแหน่งหนึ่งกล่าว
ในระยะสองปีข้องหน้านี้ โชคชัยในฐานะประธานอาเซียน-ซีซีไอ จึงต้องทำงานหนักและเหนื่อยกับแนวทางที่เขาตั้งใจวางไว้
ระหว่างที่ครองตำแหน่งของขอบเขตของงานสามประการที่เขาต้องการผลักดันให้เป็นจริงคือ
หนึ่ง-เสริมสร้างความแข็งแกร่งและคล่องตัวในโครงการอาเซียน-ซีซีไอ ซึ่งประกอบด้วย
4 องค์กรคือ 1. คณะมนตรีอาเซียน-ซีซีไอที่ประธาน รองประธานหกประเทศและเลขาธิการ
2. หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศสมาชิก 3. คณะทำงาน 4 กลุ่มได้แก่ WGIC
WGT WGFAF WGTA และ 4. ชมรมสาขาอุตสาหกรรมแห่งอาเซียน โดยให้ความสำคัญต่อการบริหารและการจัดองค์กรรวมทั้งเน้นกลุ่มศึกษาข้อมูลร่วมกับองค์กรวิจัยของสมาชิกอาเซียนเช่นทีดีอาร์ไอของไทย
หรือ ISIS ของสิงคโปร์
"ผมได้ตั้งให้ชวรัตน์ ชาญวีรกุล เป็นรองประธานอาเซียน-ซีซีไอแห่งประเทศไทยแทนผม
หน้าที่ของชวรัตน์คือดูแลคณะทำงานต่าง ๆ (WORKING GROUP) เมื่อครบวาระสองปี
ชวรัตน์จะเป็นต่อหรือผมอาจจะกลับมาเป็นต่อไปก็ได้" โชคชัยเล่าให้ฟัง
สอง-สร้างกิจกรรมประสานความร่วมมือใกล้ชิดกับภาครัฐบาล ส่งเสริมการค้าเสรีและความเป็นธรรมระหว่างคู่ค้า
"ในกลุ่มอาเซียน การแลกเปลี่ยนข้อมูลมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โครงการระยะสองปีที่เราจะทำคือพัฒนาเรื่องศูนย์ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพไม่ซ้ำซ้อนกันในการใช้ทรัพยากรซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก"
โชคชัยกล่าวถึงเครือข่ายข้อมูลที่จะทำ
สาม-ส่งเสริมการค้า การลงทุนและความร่วมมือแลกเปลี่ยนทางอุตสาหกรรม เทคโนโลยการพัฒนาคนภายในกลุ่มอาเซียนเอง
และกลุ่มอาเซียนกับ NON-ASEAN เช่น อเมริกา ยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลี
เป็นต้น
นอกจากนี้โครงการความร่วมมือในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังตื่นตัวทั่วโลก
ประธานอาเซียน-ซีซีไฟคนใหม่ได้กล่าว่า อาเซียนมีความจำเป็นต้องทำโครงการสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรม
โดยร่วมมือกันทั้งหกประเทศเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนและให้โครงการมีประสทิะภาพ
งานนี้มาเลเซีย และฟิลิปปินส์รับผิดชอบ โครงการกำจักมลภาวะเช่นอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ภารกิจยิ่งใหญ่อีกประการหนึ่งที่โชคชัย ต้องผลักดันให้บรรลุผลภายในรัฐบาลยุคอานันท์
ปันยารชุนก็คือ โครงการรวมสภาหอการค้ากับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเข้าด้วยกัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกฯ อานันท์ดำริไว้เป็นแนวทางไว้
"โครงการนี้ผมอยากจะรวมเป็น CHAMBER OF COMMERCE AND INDUSTRY ตั้งสิบปีแล้ว
เพราะมันมีข้อดีคือเป็นองค์กรเดี่ยวในประเทศเหมือนเพื่อนบ้านทั่วโลกเขาเป็นกันแล้ว
และทำให้ใช้ทรัพยากรไม่ซ้ำซ้อนกัน นายกฯ อานันท์ ก็พูดทุกครั้งว่าควรจะรวมกันสักที
คนรุ่นใหม่เขารอพวกคุณไม่ได้แล้ว" โชคชัยเน้นถึงความตั้งใจจริงที่อยากให้เกิดองค์กรระดับชาตินี้เพื่อพัฒนาธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม
แต่กว่าโครงการจะบรรลุผล ก็ต้องผ่านขั้นตอนตั้งแต่ตั้งคณะทำงานร่วมกัน
แล้วร่างกฎหมายออกมาเพื่อให้ผ่านความเห็นขอบของคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ซึ่งโชคชัยก็เป็นสมาชิกสภาฯ อยู่คาดว่าโครงการนี้คงผ่านขั้นตอนต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี ให้การสนับสนุนโครงการนี้เต็มที่
ถึงขาดกระซิบบอกผู้ใกล้ชิดว่า "ถ้าไม่รวมตอนนี้ โอกาสจะไม่มีอีกแล้ว"
ผลงานชิ้นโบแดงข้างต้นในยุคโชคชัยเป็นประธานอาเซียน-ซีซีไอคนใหม่จะต้องประสบปัญหาและอุปสรรคบนหนทางข้างหน้าอย่างมากมาย
แต่ถ้าเกิดผลสำเร็จ โฉมหน้าเศรษฐกิจไทยและอาเซียนจะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอนในทศวรรษหน้านี้
!!