"สุขภาพ" ตลาดพันล้าน


นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2536)



กลับสู่หน้าหลัก

ความสุขของคนเราอย่างหนึ่งก็คือ การมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังประจำตัว โดยทั่วไปแล้ว ในยามที่ร่างกายปกติก็มักจะไม่ค่อยมีใครเห็นคุณค่าในเรื่องนี้เท่าไรนัก จนกว่าจะล้มป่วยลงนั่นแหละ จึงจะรู้ซึ้งถึงพุทธภาษิตที่ว่า "อโรคยา ปรมา ลาภา" หรือความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีโรคประจำตัว เจ็บออด ๆ แอด ๆ อยู่ตลอดเวลา จะเข้าใจดีเป็นที่สุดว่า การมีร่างกายแข็งแรงเป็นความสุขที่ล้นเหลืออย่างหนึ่ง

การให้ความสนใจดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง จะมากน้อยแค่ไหน บางทีก็ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจด้วยเหมือนกัน คนยากคนจน เวลาเป็นไข้ ปวดหัวตัวร้อน ส่วนใหญ่แล้วก็จะหันไปพึ่งหมอตี๋ ซื้อยากินเอง จนกว่ามีทีท่าว่าอาการจะทรุดหนักนั่นแหละ จึงจะไปขอความช่วยเหลือจากแพทย์ จะว่าไม่ใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะไม่อยู่ในสถานภาพที่จะซื้อบริการทางสุขภาพที่ดีได้ อีกประการหนึ่งคือ ความไม่รู้

สำหรับผู้ที่ฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางหรือดี ก็จะให้ความสนใจกับร่างกายของตัวเองมากขึ้น เพราะมีกำลังพอจะซื้อหาบริการสุขภาพได้ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นบริการที่มาพร้อมกับสะดวก สบาย ปัจจุบันคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้นทุกทีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และกลายเป็นตลาดที่มีขนาดพอสมควรสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ

ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีแนวโมว่ายังคงจะขยายตัวต่อไปอีกก็คือ โรงพยาบาลเอกชน

ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน

โรงพยาบาลเอกชนแต่ดั้งเดิมนั้น เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของรัฐ โดยองค์การกุศลหรือมูลนิธิต่าง ๆ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหากำไร เช่นในปัจจุบันแต่ด้วยความต้องการที่มีมากกว่าการตอบสนองของรัฐและเอกชนในรูปมูลนิธิทำให้นักธุรกิจเริ่มเข้ามาลงทุนมากขึ้น

โรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันมี 2 ลักษณะ คือ

1. ประเภทที่เริ่มจากคลินิกหรือโพลีคลีนิค แล้วขยายงานให้บริการที่ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น มีเตียงสำหรับผู้ป่วยเข้าพักรักษาตัว โรงพยาบาลประเภทนี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก มีเตียงประมาณ 60-100 เตียง

2. ประเภทที่ลงทุนก่อตั้งเป็นโรงพยาบาลตั้งแต่แรกเริ่ม พวกนี้มักมีขนาดใหญ่ มีการลงทุนสูง ทั้งด้านอาคารสถานที่บริการ มีจำนวนเตียงตั้งแต่ 100 เตียงขึ้นไป เช่น โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลสมิติเวช

คนที่เข้ามาลงทุนในกิจการโรงพยาบาลนั้นแน่นอนว่าต้องการกำไรเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ และสำหรับธุรกิจนี้อาจจะกล่าวได้ว่า มีความเสี่ยงค่อนข้างน้อยกว่าธุรกิจอื่น ๆ และสำหรับธุรกิจนี้อาจจะกล่าวได้ว่า มีความเสี่ยงค่อนข้างน้อยกว่าธุรกิจอื่น ๆ เพราะอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำหรือรุ่งโรจน์เมื่อไม่สบายขึ้นมา ทุกคนก็ต้องไปหาหมอ แต่ประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะยังมีปัจจัยกำหนดอื่น ๆ อีกเช่น การบริการ ราคาที่สามารถแข่งกับคู่แข่งได้การบริหารงาน เป็นต้น

ความพอเพียงกับความต้องการ

ปัจจุบันมีสถานพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นมาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลทั่วไป ในปี 2534 มีทั้งหมด 492 แห่ง ซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ 124 แห่ง จำนวนเตียงของโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมดประมาณ 19,787 เตียง อัตราการเจริญเติบโตของโรงพยาบาลเอกชนมีค่อนข้างสูงในช่วงปี 2531-2535 ส่วนมากเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีตั้งแต่ 100 เตียงขึ้นไป แม้จะมีโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจำนวนมากแต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบจำนวนเตียงต่อประชากรในปี 2533 เท่ากับ 1:740 ในขณะที่มาตรฐานสากลจะอยู่ที่ 1:300 ประเทศที่เจริญแล้วเช่น สหรัฐอเมริกา มีอัตราจำนวนเตียงต่อประชากรเท่ากับ 1:90

สาเหตุการเพิ่มขึ้นของโรงพยาบาลเอกชนนั้นเกิดจาก

1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยนับตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา ที่มีการขยายตัวในอัตราสูงมากทำให้ความต้องการบริการด้านนี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริการที่ใช้เวลารวดเร็ว สะดวกสบายแม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จะเป็นที่ต้องการมาก เนื่องจากประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น

การเติบโตของเศรษฐกิจยังทำให้นักธุรกิจเล็งหาช่องทางลงทุนใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย โรงพยาบาลเอกชนเป็นช่องทางหนึ่ง ซึ่งสอดรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นด้วย

2. นโยบายของรัฐเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น พรบ.ประกันสังคม สวัสดิการของข้าราชการที่สามารถเบิกจ่ายได้บางส่วนในการเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน เป็นสิ่งที่เพิ่มความต้องการในตลาดได้ส่วนหนึ่ง

3. การได้รับยกเว้นภาษีจาก BOI โดยที่โรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีศุลกากรนำเข้าเครื่องมือแพทย์เป็นเวลา 5 ปี ส่วนโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ จะได้รับยกเว้นในส่วนของภาษีการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ทำให้ต้นทุนในการลงทุนลดลง ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุน

4. โรงพยาบาลของรัฐไม่เพียงพอในการให้บริการแก่ประชาชน การไปรับการรักษา แต่ละครั้งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวันในสภาพที่การจราจรติดขัด ชีวิตประจำวันของคนในเมืองใหญ่รีบเร่ง โรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการอย่างรวดเร็วจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของชนชั้นกลาง แม้ว่าจะต้องจ่ายแพงขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

คือกลุ่มคนไข้ที่มีกำลังทรัพย์ค่อนข้างสูงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี ทั้งนี้เป็นผลจากการที่โรงพยาบาลเอกชนมีการลงทุนเป็นจำนวนเงินสูง จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแพงตามไปด้วย ทั้งยังต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดหลายรูปแบบ เพื่อชักจูงกลุ่มเป้าหมายที่มีเงินเพียงพอที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และต้องการหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกสบายต่าง ๆ จากโรงพยาบาลของรัฐให้มาใช้บริการของตน

ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของโรงพยาบาลเอกชนสามารถจำแนกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่

- ผู้ที่อยู่ในแหล่งชุมชนหรืออยู่ใกล้ทำเลที่ตั้งของโรงพยาบาล การไปมาสะดวกรวดเร็ว

- กลุ่มพนักงานในบริษัทใหญ่ ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินต่าง ๆ รัฐวิสาหกิจชั้นนำและบริษัทต่าง ๆ ฯลฯ โดยการรักษาพยาบาลในรูปของ CONTRACT มีสัญญาให้ส่วนลดพิเศษในการรักษาพยาบาล

- กลุ่มพนักงานของบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโรงพยาบาลเอง

- กลุ่มที่เป็นคนไข้ประจำของแพทย์หรือพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐที่มาทำงานนอกเวลาโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งได้รับชักชวน แนะนำ หรือถือส่งตัวเข้ามารับการรักษา

- กลุ่มเป้าหมายในอนาคต จะมีการเปิดคลินิกสาขาขยายออกไปจากโรงพยาบาลแม่ข่าย จับกลุ่มลูกค้าบ้านจัดสรรที่เกิดอยู่จำนวนมากตามย่านชานเมือง โดยคลินิกรับรักษาเฉพาะคนไข้นอก ส่วนคนไข้ในส่งโรงพยาบาลแม่ข่ายการลงทุน

การลงทุนสร้างโรงพยาบาลต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูงและใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 2-3 ปีการลงทุนเปิดโรงพยาบาลระดับ 5 ดาวต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 3 ล้านบาทต่อเตียง และโรงพยาบาลระดับ 3 ดาวใช้เงินลงทุนประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อเตียง

โครงสร้างของต้นทุนในการดำเนินงานประกอบด้วย

เงินเดือน 15-20 %

ค่าธรรมเนียมแพทย์ 35-40 %

ค่ายาและเวชภัณฑ์ 28-30 %

อื่น ๆ 10-22 %

โดยทั่วไปแล้วโรงพยาบาลจะมีรายได้หลักมาจากผู้ป่วยในประมาณ 70 % และผู้ป่วยนอกประมาณ 30 % ดังนั้นการอยู่รอดของโรงพยาบาลจึงขึ้นอยู่กับปริมาณคนไข้ในเป็นหลัก โดยมีคนไข้นอกเป็นส่วนเสริมอัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันประมาณ 58 % โดยเฉลี่ยแล้วต้องมีอัตราการครองเตียงไม่ต่ำกว่า 50 % จึงจะคุ้มทุน ทั้งนี้เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการลงทุนในทรัพย์สินรวมถึงอุปกรณ์การรักษามีมูลค่าสูงมาก

โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพ ฯ

ข้อมูลเมื่อปี 2534 โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมีจำนวน 79 แห่ง แหล่งที่ตั้งของโรงพยาบาลเอกชนโดยทั่วไปจะมีลักษณะที่เหมือนกันก็คือ เป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น (ในแต่ละเขตมีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 200,000 คนทั้งสิ้น) มีหมู่บ้านจัดสรรตั้งอยู่ และมีการคมนาคมสะดวก

เมื่อพิจารณาลักษณะการกระจายของแหล่งที่ตั้งของโรงพยาบาลเอกชนตามเขตการปกครองจะพบว่าเขตที่มีโรงพยาบาลของเอกชนตั้งอยู่มากที่สุดคือ เขตพระโขนงมีโรงพยาบาลเอกชนตั้งอยู่ถึง 14 แห่ง ส่วนใหญ่จะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ รองลงมาคือ เขตห้วยขวาง พญาไท ภาษีเจริญ และบางกะปิ โดยมีจำนวนอยู่ระหว่าง 5-8 แห่งตามลำดับ

เขตที่มีโรงพยาบาลเอกชนตั้งอยู่เพียงเขตละ 1 แห่งเท่านั้น ได้แก่เขตจอมทอง เขต หนองแขม เขตสัมพันธวงศ์ เขตราชเทวี เขตมีนบุรี เขตลาดกระบังและเขตบางกอกใหญ่ เมื่อพิจารณาจากจำนวนประชากรจะพบว่า เป็นเขตที่มีจำนวนประชากรไม่หนาแน่นคือต่ำกว่า 100,000 คน และเป็นเขตชานเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปมา ได้แก่ เขตลาดกระบัง และเขตหนองแขม

สำหรับเขตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตย่านการค้าที่สำคัญของชาวจีนและมีคนอาศัยอยู่เพียง 46,281 คนเท่านั้น และก็สามารถใช้บริการจากโรงพยาบาลหัวเฉียวซึ่งเป็นโรงพยาบาลใหญ่ ขนาด 750 เตียง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงได้

เขตราชเทวี เป็นเขตที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แม้จะมีเพียงโรงพยาบาลพญาไท 1 เพียงแห่งเดียว แต่ในละแวกนั้นก็มีโรงพยาบาลอื่นอีกหลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชนที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างพอเพียง โดยเฉพาะโรงพยาบาลในเขตพญาไท สำหรับเขตมีบุรี เขตบางกอกใหญ่ และเขตจอมทอง เป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 100,000 คน แต่กลับมีโรงพยาบาลเอกชนให้บริการเพียงแห่งเดียวแสดงให้เห็นว่า ประชากรใน 3 เขตดังกล่าวยังขาดแคลนบริการด้านสาธารณสุขอยู่มาก

เมื่อพิจารณาโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพฯ โดยแยกตามขนาด ซึ่งใช้เกณฑ์จำนวนเตียง ของโรงพยาบาลในการจำแนก ดังนี้ โรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงน้อยกว่า 50 เตียง จัดเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กโรงพยาลที่มีจำนวน 50-150 เตียง จัดเป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง และ โรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงมากกว่า 150 เตียง จัดเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ พบว่าประมาณ 45% ของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพฯ จะเป็นโรงพยาบาลขนาดกลางคือ มีจำนวน 35 แห่งรองลงมาจะ เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ประมาณ 32% และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีเพียง 23% เท่านั้น

โรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ในเขตพระโขนง เขตห้วยขวาง เขตพญาไท เขตภาษีเจริญ และบางกะปิจะประกอบด้วย โรงพยาบาลทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ยกเว้นขเตภาษีเจริญ จะมีเพียงโรงพยาบาลขนาดกลางและเล็กเท่านั้น

สำหรับเขตที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่เพียง 1 แห่งได้แก่เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตบางกอกใหญ่ เขตจอมทอง โรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตดังกล่าวจะเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ในเขตหนองแขม และสัมพันธ์วงศ์ จะเป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง ส่วนเขตราชเทวีจะเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ สำหรับโรงพยาบาลขนาดกลางจะมีการกระจายของแหล่งที่ตั้งไปยังเขตต่าง ๆ ที่มีชุมชนอาศัยอยู่หนาแน่น ยกเว้นบริเวณเขตชานเมืองที่อยู่ห่างไกล เช่น เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตบางกอกใหญ่ และเขตจอมทอง

ขนาดธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน

ภาพรวมของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน จากการรวบรวมข้อมูลทางการเงินของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 23 แห่งจากทั้งหมด 124 แห่งเป็นตัวแทนในการสะท้อนภาพลักษณ์ของธุรกิจ พบว่า ในปี 2534 สินทรัพย์รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 7,702 ล้านบาท โดยโรงพยาบาลที่มีสินทรัพย์รวมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลธนบุรี โรงพยาบาลพญาไท 1 และโรงพยาบาลรามคำแหง ตามลำดับ

ในส่วนของรายรับรวมเท่ากับ 5,895 ล้านบาทพบว่าโรงพยาบาลสมิติเวชมีรายรับรวมสูงเป็นอันดับ 1 ตามด้วยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลพญาไท 1 โรงพยาบาลพญาไท 2 และโรงพยาบาลกรุงเทพ

สำหรับโรงพยาบาลที่ดำเนินธุรกิจมีผลกำไร 5 อันดับแรกได้แก่ โรงพยาบาลพญาไท 1 โรงพยาบาลพญาไท 2 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยโรงพยาบาลที่กล่าวมามีกำไรอยู่ระหว่าง 80-135 ล้านบาทและโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จตักกันอย่างกว้งขวางทั้งสิ้น

จากตัวเลขสินทรัพย์รวม และรายรับรวมของกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน 28 แห่งซึ่งมีมูลค่ารวมเท่ากับ 7,702 ล้านบาทและ 5,895 ล้านบาท ตามลำดับ จึงคาดการณ์ได้ว่า ในธุรกิจ โรงพยาบาลเอกชนน่าจะมีขนาดธุรกิจมากกว่า 10,000 ล้านบาททั้งในด้านสินทรัพย์รวมและรายรับรวม

สู่การแข่งขัน

เมื่อมีการเปิดตัวโรงพยาบาลเอกชนใหม่ ๆ มากขึ้นรวมทั้งการขยายตัวของโรงพยาบาลที่มีอยู่เดิม ทำให้การแข่งขันค่อนข้างสูง เพื่อให้ธุรกิจของตนอยู่รอดมีกำไร ทำให้โรงพยาบาลเอกชนต้องแข่งขันกันโดยเฉพาะด้านบริการ เพราะการบริการเป็นปัจจัยหลักในการดึงดูดลูกค้า รวมทั้ประสิทธิภาพในด้านการรักษาพยาบาล และชื่อเสียงของแพทย์ที่มาประจำหากสิ่งเหล่านี้สามาถสร้างความประทับใจแก่ผู้บริโภคได้แล้วกิจการก็คงดำเนินไปได้ด้วยดี ดังนั้นสิ่งที่โรงพยาบาลเอกชนแข่งขันกันก็คือ

ด้านบริการ ทุกโรงพยาบาลจะเน้นการบริการเป็นอันดับแรก โดยจะพยายามให้บริการที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภค เช่น ในด้านความสะดวกรวดเร็ว ความสะอาดการเอาใจใส่ของแพทย์ และใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสของพยาบาลและพนักงาน

ด้านบรรยากาศภายในโรงพยาบาล ทุกโรงพยาบาลจะเน้นการสร้างบรรยากาศภายในให้ห่างจากความเป็นโรงพยาบาลมากที่สุด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการใจเสีย เพราะตามหลักจิตวิทยาผู้ที่มาโรงพยาบาลนั้นมาด้วยความจำเป็น เมื่อมาแล้วพบกันบรรยากาศที่หดหู่ก็จะยิ่งทำให้สภาพคนป่วยแย่ลงไปอีกดังนั้นโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่จึงสร้างบรรยากาศให้คล้ายโรงแรมมากกว่า

ประสิทธิภาพในการรักษาและชื่อเสียงของแพทย์สิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการของโรงพยาบาล ดังนั้นโรงพยาบาลเอกชนจึงต้องระดมแพทย์ที่มีความสามารถ มีชื่อเสียงเข้ามาประจำกับโรงพยาบาลของตน

ธุรกิจประเภทนี้ต่างจากธุรกิจด้านอื่น ๆ ด้วยขีดจำกัดด้านกฎหมายในการโฆษณาซึ่งไม่อาจกระทำได้ดังนั้นจุดใหญ่ของการโฆษณาโรงพยาบาลเอกชนก็คือการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ผู้บริโภคเป็นสื่อกลางด้วยการสร้างความประทับใจให้เกิดแก่ผู้บริโภค และผู้บริโภคนั้นก็จะบอกต่อ ๆ กันไปอีก หรือการที่แพทย์ประจำโรงพยาบาลเสนอความรู้แก่ประชาชนด้านสาธารณสุขทางโทรทัศน์ หรือการให้การสนับสนุนรายการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีของโรงพยาบาลให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนโรงพยาบาลยังมีวิธีหาลูกค้าโดยการทำสโมสรสุขภาพเปิดรับสมาชิกสุขภาพครอบครัว โดยเสียค่าสมาชิกเป็นรายปี หรือทำสัญญากับบริษัทให้พนักงานใช้บริการและทำสัญญากับบริษัทประกัน


กลยุทธ์ทางการตลาด

ในอดีตโรงพยาบาลเอกชนยังมีจำนวนน้อยทำให้ผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายง้อโรงพยาบาล แม้ว่าจะต้องเสียเงินทองค่ารักษาแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐหลายเท่าแต่กาลเวลาได้พลิกผันให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปเมื่อรัฐเปิดโอกาสให้นักธุรกิจกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนได้ ดังจะเห็นได้จากสถิติการเกิดของโรงพยาบาลเอกชนได้ ดังจะเห็นด้วยจากสถิติการเกิดของโรงพยาบาลเอกชนในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาดังนั้นโรงพยาบาลที่มีอยู่เดิม และโรงพยาบาลที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ต่างก็ต้องปรับกลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ อันหมายถึงรายได้อันเป็นสิ่งที่ทให้โรงพยาบาลสามารถดำรงอยูได้ในอนาคต "การตลาด" จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่มีผลต่อการอยูรอดของโรงพยาบาลเอกชน

กลยุทธ์ทางการตลาดที่ถูกนำมาใช้แบ่งออกได้หลายวิธีได้แก่

โรงพยาบาลกึ่งโรงแรม : HOSPITEL

โรงพยาบาลที่เปิดใหม่จะมีการใช้กลยุทธ์การตลาดที่ไม่แตกต่างกันโดยการเน้นการบริหารที่ให้ความสะดวกสบายมีบรรยากาศการตกแต่งรวมกับโรงแรมชั้นหนึ่งเกือบทุกโรงพยาบาล กล่าวคือมีลักษณะของโรงพยาบาลกึ่งโรงแรม(HOSPITEL) เช่น โรงพยาบาลปิยะเวท ซึ่งจะเปิดดำเนินงานในเดือน สค. 2536 ตั้งอยู่บนถนนพระราม 9 โรงพยาบาลเทพธารินทร์ บนถ.พระราม 4 โรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์ ตั้งอยู่แถบย่านบางบัวทอง นนทบุรี โรงพยาบาลพระราม 9 และโรงพยาบาลศิครินทร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถ.ศรีนครรินทร์ เป็นต้น

ใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเปิดศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง

หัวใจของโรงพยาบาลคือ การให้บริการรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการักษาที่ดีมีมาตรฐานจึงเป็นจุดขายพื้นฐานของโรงพยาบาลทั่วไปที่ต้องแสวงหาแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญมาประจำและเป็นแพทย์ที่ปรึกษา โรงพยาบาลบางแห่งก็มีการเปิดเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ในการรักษาโรคเฉพาะทาง เป็นการสร้างจุดเด่น และจุดขายของโรงพยาบาล ตัวอย่างของโรงพยาบาลเหล่านี้ได้แก่

โรงพยาบาลกรุงเทพ เน้นความเป็นศูนย์รักษาศูนย์โรคหัวใจและศูนย์สมอง ที่มีเครื่องมือครบวงจรและทันสมัยที่สุดในประเทศ และตามด้วยศูนย์จักษุที่กำลังจะเปิดบริการในไม่ช้านี้

โรงพยาบาลเทพธารินทร์ มีศูนย์โรคเบาหวานและธัยรอยด์

3. เปิดศูนย์สุขภาพ

ไม่เพียงแต่จะหยิกยกบริการการรักษาสำหรับคนที่ป่วยไข้แล้ว โรงพยาบาลหลายแห่งยัง

ขยายตลาดออกไปยังกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้ป่วยด้วยโรคปัจจุบัน แต่เป็นกลุ่มที่มีดรงคประจำตัว ซึ่งต้องอาศัยการดูแลรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ป่วย แต่ต้องการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กลยุทธ์ที่จะใช้กับตลาดนี้คือ การสร้างศูนย์สุขภาพ และโปรแกรมดูแลสุขภาพ เช่น โรงพยาบาลมิชชั่น และโรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลปิยะเวท เป็นต้น

4. บัตรสมาชิก ให้ส่วนลดหรือให้เครดิตค่ารักษาพยาบาล

การใช้บัตรสมาชิกเป็นวิธีการหนึ่งในการขยายฐานลูกค้าออกไป โดยผู้ถือบัตรจะได้รับ

ส่วนลด รวมทั้งสิทธิพิเศษในการได้รับบริการที่ดีกว่า และมีโรงพยาบาลบางแห่งที่จูงใจคนไข้ด้วยการให้เครดิต รักษาก่อน จ่ายเงินทีหลังได้ เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพออก "บัตรอภิสิทธิ์" บริการแก่ประชาชน ใช้ลดได้ 5% ยกเว้นค่าแพทย์ และการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ อีกทั้งยังใช้ลดพิเศษ 10-50% สำหรับค่าโรงแรม ห้องอาหารและ ภัตตาคารกว่า 50 แห่ง ที่ร่วมอยู่ในโปรแกรมส่งเสริมการขายนี้ด้วย

- โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ มอบบัตร "อายุมั่น-ขวัญยืน" ส่วนลด 10% ยกเว้นค่าแพทย์กายภาพบำบัด และทันตกรรม

- โรงพยาบาลสุขุมวิท มีส่วนลดในรูป "สมาชิกสุขภาพ" ลดได้ 10% ยกเว้นค่าทำการของแพทย์วิสัญญีแพทย์, ทันตกรรม และค่าอัลตราซาวด์

- โรงพยาบาลปิยะเวท มีโครงการ "บัตรสุขภาพ" ใช้ลดค่ายาได้ 10% ค่าบริการศูนย์สุขภาพ 15% ค่าห้องคลีนิกเชน 20%

- โรงพยาบาลเดชา ให้ส่วนลดในรูป "โครงการสมาชิกสุขภาพ" ลดได้ 10%

- โรงพยาบาลสมิติเวช ให้ส่วนลดแก่ผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลเป็นครั้งที่ 2 จะได้ลด 10% เฉพาะค่าห้องและค่าอาหาร

- โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล ตั้งอยู่ในย่านถ.พหลโยธิน ใกล้ห้างสรรพสินค้าโรบินสันดอนเมือง จะเจาะตลาดสถาบันเอกชนเช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัย บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ตลอด จนรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ให้เครดิตในการชำระเงิน รวมทั้งส่วนลดค่ายาและค่าห้องในอัตรา 10%

- โรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์ ร่วมมือกับหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ ในแถบย่านบางบัวทองจัดทำบัตรสมาชิกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้สิทธิประโยชน์คือสามารถรักษาพยาบาลได้ก่อนโดยไม่จำต้องจ่ายเงินสดในทันที

5. การขยายสาขาและสร้างเครือข่าย

การขยายสาขาและการสร้างเครือข่าย ความจริงแล้วเป็นการลงทุนเพิ่มเพื่อแสวงหาราย

ได้เข้ามาเพิ่มมากขึ้นแต่ก็เป็นกลยุทธ์ในการขยายตลาดไปในตัว ทั้งนี้เพราะปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลคือความสะดวกในการเดินทาง การขยายสาขาและเครือข่ายอกอไปให้ครอบคลุมชุมชนที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่จึงเป็นการลดข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางได้ โดยอาศัยชื่อเสียง และภาพพจน์โรงพยาบาลแม่เป็นพื้นฐานหลัก

ส่วนการขยายสาขาออกไปในต่างจังหวัด ก็เป็นการขยายฐานลูกค้าเข้าไปในส่วนภูมิภาค

- โรงพยาบาลเอกชนที่ขยายตลาดของตนด้วยการขยายสาขาเพิ่ม ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีแผนขยายเพิ่มอีก 2 สาขาในปี 2536 คือ โรงพยาบาลกรุงเทพ จ.ภูเก็ต และโรงพยาบาลกรุงเทพ จ.สระบุรี

- โรงพยาบาลธนบุรี มีแผนขยายสาขาคือ โรงพยาบาลธนบุรี จ.ราชบุรี โรงพยาบาลธนบุรี อ.หาดใหญ่ (สงขลา) โรงพยาบาลธนบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา

- โรงพยาบาลสมิติเวช มีโครงการขยายกิจการโรงพยาบาลแห่งที่ 2 ขนาด 400 เตียง ที่บริเวณถ.ศรีนครินทร์

นอกจากการขยายสาขาเพิ่มแล้ว โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งยังขยายเครือข่ายเพื่อให้

ครอบคลุมผู้ใช้บริการครบทุกระดับ โดยการลงุทนสร้างโรงพยาบาลในชื่อใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการที่สูงขึ้น เช่น บริษัทไวตาคอร (สำโรงการแพทย์) จำกัด เปิดโรงพยาบาลศิครินทร์ บนถ.ศรีนครินทร์ รองรับกลุ่มเป้าหมายระดับสูง ให้การบริการครบวงจรพรั่งพร้อมด้วยความทันสมัยของเครื่องมือแพทย์ ในขณะเดียวกันยังร่วมกับเอ็มไทย กรุ๊ป สร้างโรงพยาบาลเทพารักษ์เพื่อเจาะตลาดกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางพลีด้วย โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ลงทุนในโรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียงที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนในย่านบางบัวทอง มีการจ้างสถาบันจากต่างประเทศเป็นผู้ออกแบบโรงพยาบาล

โรงพยาบาลรามคำแหงร่วมทุนกับกลุ่มแพทย์ที่เชียงใหม่สร้างโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม

ขนาด 350 เตียงใกล้กับศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว จ.เชียงใหม่

โรงพยาบาลสมิติเวชมีการร่วมทุนกับโรงพยาบาลแพทย์ศรีราชา สร้างโรงพยาบาลขนาด

125 เตียงในจ.ชลบุรี เพื่อให้บริการกับประชาชนในแถบนั้นและรองรับการขยายตัวของโครงการอีสเทอร์นซีบอร์ด

การขยายตลาดของโรงพยาบาลเอกชนยังมีอีกรูปแบบหนึ่งด้วยการรับบริหารโรงพยาบาล

เอกชนในต่างจังหวัดที่ต้องการยกระดับมาตรฐานการบริการ เช่น โรงพยาบาลเปาโล ข้าร่วมบริการ โรงพยาบาลช้างเผือก จ.เชียงใหม่ โรงพยาบาลปิยะเวท เข้าบริการโรงพยาบาลศิริเวท จ.จันทบุรี เป็นต้น

6. แฟรนไชส์คลีนิค

เนื่องจากการลงทุนขยายสาขาในรูปของโรงพยาบาลต้องใช้เงินลงทุนระยะเวลาในการ

ดำเนินการสูงจึงมีการหาทางออกโดยการขยายสาขาในรูปของโพลีคลีนิกโดยใช้วิ.ธีขายแฟรนไชส์ เช่น กลุ่มโรงพยาบาลปิยะเวทร่วมมือกับกลุ่มสหแพทย์โพลีคลีนิเชน เป็นการลดต้นทุนในการขยายจุดขาย สามารถเพิ่มจุดขาย 1 แห่งด้วยเงินลงทุนเพียง 5-10 ล้านบาท โดยทางสหแพทย์มีโครงการที่จะเปิดสาขาให้ครบ 10 สาขาก่อน แล้วจึงค่อยทำการเปิดขายแฟรนไชส์ในช่วงต้นปี 2537 ทั้งนี้เนื่องจากการขายแฟรนไชส์คลีนิค และโรงพยาบาลในเมืองไทยต้องทำชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักเสียก่อน

แนวโน้มในอนาคต

ถึงแม้ว่าจะมีโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้นหลายแห่งในช่วงปี 2532-ปัจจุบันแต่ทว่าความ ต้องการบริการด้านสาธารณสุขของประชาชนยังไม่เพียงพอประกอบกับประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ทำให้หันมาสนใจและดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจึงเป็นธูรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีโอกาสขยายตัวต่อไปอีกมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการลงทุนในธุรกิจด้านนี้เพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ประมาณว่าอัตราการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชนจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1 เท่าตัว แต่โรงพยาบาลเอกชนส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ถึง 51% ของจำนวนเตียงทั้งหมด คาดว่าในอนาคตจะมีการกระจาบของโรงพยาบาลเอกชนไปยังจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมากขึ้น ในลักษณะของการบริหารในระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนต่างจากธุรกิจประเภทอื่นที่ลูกค้าเข้ามาซื้อบริการเพราะความไว้วางใจในบริการโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่กอ่นแล้วจะไม่มีปัญหาในด้านนี้ เพราะได้มีโอกาสสร้างความเชื่อมั่นในตัวผู้บริโภค แล้วแต่โรงพยาบาลที่เพิ่งสร้างใหม่ยังต้องพยายามหาลูกค้าให้กับกิจการของตน ในการนี้ต้องแข่งขันแย่งชิงกับโรงพยาบาลเก่าซึ่งมิใช่เป็นการง่ายเลย

อย่างไรก็ตามการที่มีโรงพยาบาลเอกชนเข้ามาในตลาดมากขึ้น แต่คาดว่าการแข่งขันโดยใช้ราคาเป็นสิ่งจูงใจคงไม่รุนแรงนักเนื่องจากตลาดบริการการแพทย์มีลักษณะกึ่งผูกขาด และอุปสงค์ที่มีต่อบริการทางการแพทย์ยังอีกมากมาย กล่าวได้ว่าโอกาสของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนที่สนใจและมีลู่ทางที่สดใสในระยะยาว

อาหารเสริมสุขภาพ

ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนเป็นธุรกิจที่เติบโตบนพื้นฐานความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของมนุษย์ ที่จะต้องได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยอาหารเสิรมสุขภาพก็เป็นสินค้าที่มีจุดขายอยู่ตรงที่การสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย เพื่อจะได้ไม่ต้องไปใช้บริการของโรงพยาบาล

ตลาดอาหารเสริมสุขภาพมีการขยายตัวสูงมากในกรุงเทพฯ เนื่องจากตลาดนี้มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีและยอมรับสินค้าประเภทนี้ง่ายกว่าตลาดในต่างจังหวัด ผู้ผลิตอาหารเสริมสุขภาพประเภทต่าง ๆ ดำเนินกลยุทธ์การแข่งขันกันเข้มข้น โดยส่วนใหญ่จะใช้กลยุทธ์การขายตรงเพราะราคาอาหารเสริมสุขภาพอยู่ในเกณฑ์สูง และเป็นธุรกิจที่ผู้บริโภคจะต้องมีความเชื่อถือในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ แต่บางผลิตภัณฑ์ก็ใช้การขายผ่านทางเคาน์เตอร์และประสบความสำเร็จอย่างมาก

เดิมกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของอาหารเสริมสุขภาพคือผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยหรือผู้อยู่ในระยะพักฟื้นคนสูงอายุ แต่ในปัจจุบันตลาดได้ขยายกว้างขึ้นสำหรับคนทุกเพศทุกวัยที่ปรารถนาจะมีสุขภาพสมบูรณืแข็งแรงและขยายอกอตลาดต่างจังหวัดด้วย โดยเริ่มจากจังหวัดใหญ่ ๆ ก่อน ด้วยการเพิ่มพนักงานขายให้สมาชิกรวมทั้งขยายการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในต่างจังหวัด

ตลาดของอาหารเสริมสุขภาพมีอัตราการเติบโตสูงถึง 20-30% ต่อปี และประเมินว่าตลาดทั้งระบบจะมีมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท อาหารเสริมสุขภาพแบ่งออกได้หลายชนิด ดังนี้

1. ประเภทซุปไก่สกัด

ตลาดอาหารเสริมสุขภาพประเภทซุปไก่สกัดมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี ผู้นำตลาดในปัจจุบันมีอยู่ 3 ยี่ห้อได้แก่ แบรนด์ ซึ่งผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทเซเรบรอส (ประเทศไทย) จำกัด สก๊อตจำหน่ายโดยบริษัทเอสแอนด์ซันส์ เทรดดิ้ง จำกัด และบอนแบค ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทไอ.เอ็ม.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด แต่ละบริษัทต่างก็พยายามขยายประเภทของสินค้าอาหารเสริม ชนิดอื่น ๆ ให้มีความหลากหลาย เช่น เพิ่มประเภทรังนก หูฉลามซุปไก่ซุปไก่สกัดผสมสมุนไพร ซุปนกเป็ดน้ำ เป็นต้นเพื่อกระจายกลุ่มผู้บริโภคให้กว้างขวางมากขึ้น จะไม่เน้นการพึ่งพาเฉพาะสินค้าหลักตัวเดิมของบริษัท

แบรนด์เป็นเจ้าของตลาดของอาหารเสริมสุขภาพประเภทซุปไก่สกัดในตอนนี้ โดยครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% สก๊อต เป็นอันดับ 2 ด้วยสัดส่วน 16-17% และบอนแบค 1-2% เมื่อมีที่การแข่งขันในตลาดสินค้าเสริมสุขภาพ ทั้งจากสินค้าประเภทเดียวกันและประเภทอื่น ๆ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหากลยุทธ์ใหม่ ๆ มาตอกย้ำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ของตน แบรนด์ซึ่งแม้จะเป็นผู้นำรายใหญ่และสร้างความภักดีในยี่ห้อ (BRAND LOYALTY) ให้กับผู้บริโภคมานานก็ยังใช้การโฆษณามาส่งเสริมการขายโดยใช้ครอบครัววรรธนะสินมาเป็นพรีเซนเตอร์ วาง CONCEPT อิงภาพพจน์ของครอบครัวให้ความทันสมัยและสื่อความเป็นคนรุ่นใหม่มากขึ้น มีกิจกรรมเพื่อสังคมเป็นการสร้างภาพพจน์ เช่น มอบทุนการศึกษาให้โอกาสไปเรียนภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อนที่ประเทศอังกฤษ จับมือกับนิตยสารรักลูกและโรงพยาบาลส่งเสริมโครงการตั้งครรภ์เพื่อสุขภาพให้กับหญิงมีครรภ์นอกจากนี้เมื่อมีการออกผลิตภัณฑ์รังนกก็ได้จัดรายการ "ดื่มแบรนด์รังนกแท้ มิสิทธิ์ได้เพชรแท้" มีมูลค่ารางวัลรวมมากกว่า 1 ล้านบาท

สำหรับซุปไก่สกัดและรังนกตราสก๊อตก็ต้องเผชิญกับ BRAND LOYALTY ของคู่แข่งที่ฝังรากลึกมานาน แต่บริษัทก็คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่คือ ซุปไก่สกัดผสมสมุนไพรและผลิตภัณฑ์รังนกซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงมาก หูฉลามซุปไก่เป็นสินค้าใหม่ที่ทางบริษัทนำออกสู่ตลาด เป็นสินค้าที่ยังไม่มีจำหน่ายในเมืองไทยจึงยังไม่มีคู่แข่งในช่วงแรกราคาจำหน่ายขวดละ 240 บาท โดยใช้แผนการส่งเสริมการขายเป็นภาพยนต์โฆษณา การกระจายสินค้าเน้นไปที่ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

บอนแบคเป็นสินค้าที่มีลักษณะพิเศษคือเป็นซุปไก่ดำสกัด มีการปรับปรุงรสชาติของซุปไก่ทั่วไปที่มีรสชาติค่อนข้างคาว ให้มีรสชาติกลมกล่อมขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงแพกเกจจิ้งให้ทันสมัย เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายจากเดิมที่เป็นผู้สูงอายุซึ่งมีขนาดค่อนข้างเล็กไปยังกลุ่มคนทำงาน

สำหรับการเติบโตของตลาดนี้ นางสาวลักขณา ลีละยุทธโยธิน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัท เซเราบรอส (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นว่า "อัตราการขยายตัวของตลาดอาหารเสริมทั้งระบบ ต่อจากนี้เชื่อว่าจะเป็นแบบอัตราก้าวหน้า เนื่องจากรูปแบการแข่งขันในตลาดตอนนี้จะมาเน้นด้านการขยายไลน์สินค้าออหารเสริมชนิดอื่น ๆ ที่มีเซ็กเม้นต์แตกต่างกันเข้ามามากขึ้นทุกค่ายจะไม่เน้นการพึ่งพา เฉพาะสินค้าหลักตัวเดิมที่มีอยู่"

2. นมผึ้ง (ROYAL JELLY)

นมผึ้งเป็นอาหารเสริมสุขภาพที่ประกอบด้วยโปรตีน วิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ใน

นมผึ้งมีกรดอะมิโนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายถึง 20 ชนิดจากรายงานการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์พบว่าประโยชน์ของนมผึ้งมีมากมาย เช่น เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายกระตุ้นเนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต มีผลตอการทำงานของกระตุ้นเนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต มีผลกต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อซึ่งมีหน้าที่ปรับสมดุลของร่างกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายฟื้นคืนสมรรถนะและสามารถทำงานได้อย่างปกติ เช่น สารเป็ปไทด์มีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน มีฤทธิ์กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สามารถรับไอโอดีนได้มากขึ้น ลดการแข็งตัวของหลอดเลือกจากไขมันและคอเรสเตอรอลสิ่งที่เป็นข้อด้วยคือ ถ้านำนมผึ้งมาเก็บไว้โดยการแช่แข็งจะทำให้สูญเสียคุณสมบัติไป แต่คุณค่านั้นจะทำให้กลับคืนมาได้โดยการเติมฟรุคโตสและกลูโคส (ซึ่งมีอยู่ในน้ำผึ้ง) เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าจะรับประทานนมผึ้งก็ควรรับประทาน ไปพร้อมกับน้ำผึ้ง

ปัจจุบันนมผึ้งถือเป็นอาหารและยาชนิดใหม่ที่มีคุณค่าและราคาแพง รูปแบบของนมผึ้งที่มี

จำหน่ายในท้องตลาดมีหลายรูปแบบได้แก่

1. ผสมน้ำผึ้งในหลอดยาฉีดสีชาบรรจุภายในก๊าซไนโตรเจน

2. บรรจุในแคปซูล ประกอบด้วยนมผึ้งที่นำมาทำเป็นผงแล้ว โดยใช้วิธี FREEZE DRIED แล้วผสมกับแลคโตส

3. รับประทานสด ๆ โดยเก็บในช่องแข็ง

ธุรกิจการค้านมผึ้งเริ่มตื่นตัวเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วเมื่อมีการนำนมผึ้งมาบรรจุในแคปซูลปรากฏว่าได้รับความนิยมสูง ตลาดมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วกลุ่มลูกค้าเป็นคนชั้นกลางค่อนข้างสูง ตลาดรวมของผลิตภัณฑ์นมผึ้งมีมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท มีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 15% ต่อปี มีการขยายฐานการตลาดให้กว้างขึ้นจากเดิมซึ่งเป็นคนในวัย 35 ปีขึ้นไป เข้ามาสู่กลุ่มเรียนและวัยรุ่น บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับนมผึ้งเช่น บริษัทควีนลีฟวิ่งโปรดักส์ จำกัด จำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผึ้งตรา "ควีน" ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี แอนด์ บี แอสโซซิเอท จำกัด ผลิตภัณฑ์นมผึ้งตรา "บีเนเจอรัล" เป็นต้น

3. กระเทียมสำเร็จรูป

คุณค่าทางอาหารและของกระเทียมเป็นที่ยอมรับกันมานานกว่า 5,000 ปีแล้ว คนไทยมี

การนำเอากระเทียมมาใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณบางตำรับ ประโยชน์ด้านสมุนไพรของกระเทียมได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเมื่อนักวิทยาศษสตร์ได้ศึกษาและมี หลักฐานต่าง ๆ มากมายที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การรับประทานกระเทียมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และมีฤทธิ์ในการลดและสลายปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเส้นเลือดและช่วยให้หลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น ป้องกันโรคคามดันโลหิตสูงได้

ผลิตภัณฑ์กระเทียมสำเร็จรูปที่มีวางจำหน่ายในตลาดพอจะจำแนกได้เป็น 2 ชนิดคือ

1. กระเทียบมแคปซูล ซึ่งแบ่งออกเป็นกระเทียมผงและน้ำมันกระเทียม

2. กระเทียมอัดเม็ด

กระเทียมสำเร็จรูปในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับ

อาหารเสริมประเภทอื่น ๆ กระเทียมสำเร็จรูปที่นิยมบริโภคคือกระเทียมผงบรรจุแคปซูลหรืออัดเม็ด บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงในท้องตลาด เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดขาวละออเภสัช เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารเสริมสกัดจากกระเทียมเข้มข้น 100% ใช้ยี่ห้อว่า "IMMUNITOR"

3. นมพร้อมดื่ม

ผลิตภัณฑ์นม่มีการแข่งขันในตลาดสูงมากและมีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาอยู่

เสมอ การที่มีคนสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มาก เนื่องจากการรณรงค์ให้ประชาชนดื่มนมของภาครัฐบาลและเอกชนที่ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีการขยายกลุ่มผู้บริโภคจากเด็กมาเป็นคนทุกเพศทุกวัย ผลิตภัณฑ์นม พร้อมดื่มมี 3 ประเภทคือ นมพาสเจอร์ไรซ์ นมสเตอริไรส์ และนมยูเอชที โดยเฉพาะตลาดนมยูเอชทีมี การขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีผู้ผลิตรายใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดอยู่เสมอยี่ห้อที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ไทย-เดนมาร์ค โฟร์โมสต์หนองโพ มะลิ เนสเล่ เมจิ สโนว์ เป็นต้นอนาคตของตลาดนมยูเอชทีนับ ว่าแจ่มใสมากและคิดว่าจะขยายตัวต่อไปได้ดี

4. โยเกิร์ต

นมเปรี้ยวเป็นอาหารทีมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่านมสด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

โปรตีนเคซีนในนมเปรี้ยวมีประโยชน์ต่อร่างกายมากเนื่องจากย่อยสลายง่ายกว่าทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้มาก นอกจากนี้นมเปรี้ยวยังมีแคลเซียมในปริมาณค่อนข้างสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง

นมเปรี้ยวที่มีจำหน่ายในท้องตลาด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. โยเกิร์ตชนิดครีม แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือโยเกิร์ตแบบธรรมดา โยเกิร์ตผลไม้
และโยเกิร์ตที่ผสมน้ำตาล ผู้ครองส่วนแบ่งตลาดคือ โฟร์โมสต์ยี่ห้ออื่น ๆ เช่น โยเพลท์ ดัชท์มิลล์ เป็นต้น
2. โยเกิร์ตพร้อมดื่ม เป็นโยเกิร์ตชนิดครีมผสมกับน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ การขยายตัว
ของตลาดอยู่ในเกณฑ์สูงมาก ทั้งการโฆษณาและการส่งเสริมการขายยาคูลท์ เป็นยี่ห้อที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ยี่ห้ออื่น ๆ ได้แก่ โยโมสต์ ดัชมิลท์ เมจิ บีทาเก้น อิมพีเรียล โยเก้น เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวประเภทโยเกิร์ต ที่มาบุกเบิกตลาดเมืองไทยเป็นเจ้าแรก คือ ยา

คูลท์ ปัจจุบันผู้ผลิตอาหารหลายรายได้เข้าสู่ธุรกิจนี้ ทำให้ตลาดนี้เติบโตมากและลผิตภัณฑ์นมเปรี้ยวในท้องตลาดมีหลากหลายสามารถเลือกบริโภคได้มากขึ้น การขยายตัวของตลาดนมเปรี้ยวยังมีโอกาสอีกมากในอนาคตเพราะคนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมาก ยาคูลท์ซึ่งเป็นผู้นำตลาดพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งการโฆษณาและเพิ่มพนักงานขายจำนวนมากรพ้อมกับการตั้งรางวัลให้พนักงานขายที่หาสมาชิกใหม่ได้

ตลาดของนมเปรี้ยวจะกระจุกตัวอยู่ในภาคกลางโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และ

ปริมณฑล แต่เริ่มมีการขยายไปในเขตจังหวัดใหญ่ ๆ จุดขายสำคัญของนมเปรี้ยวคือ ช่วยบำรุงร่างกายและช่วยในเรื่องระบบการขับถ่าย ทั้งยังไม่มีส่วนผสมของไขมันที่จะทำให้อ้วน จึงจับกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่นและคนสูงอายุปัจจุบันผู้ผลิตเริ่มขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้หญิงในวัยทำงานมากขึ้น ตลอดจนมีการปรับปรุงรสชาติให้เหมาะกับผู้บริโภค

6. นมถั่วเหลือง

นมถั่วเหลืองเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและราคาถูก สามารถทำได้ทั้งในระดับครัวเรือนจนถึงระดับอุตสาหกรรม นมถั่วเหลืองที่ทำเป็นอุตสาหกรรมมีขายทั้งในลักษณะบรรจุขวดและบรรจุกล่องยูเอชที ซึ่งมีการำนมผงและไขมันเนยมาเป็นวัตถุดิบผสมลงไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้มีกลิ่นหอมและรสชาติมันมากขึ้น นอกจากนี้ยังให้ความสะดวกแก่ผู้บริโภคในการเก็บไว้ได้นานอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการ

แม้ว่าน้ำนมถั่วเหลืองจะมีคุณภาพด้อยกว่านมสดแต่ก็เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก กล่าวกันว่าถ้าดื่มนมถั่วเหลือง 1 แก้ว จะได้โปรตีนประมาณ 6 กรัมซึ่งใกล้เคียงกับโปรตีนในไข่ 1 ฟอง การบริโภคนมถั่วเหลืองจะให้สารอาหารทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเตรต และวิตามินเหมาะกับวัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ เนื่องจากสามารถป้องกันโรคปากนกกระจอกในเด็ก และโรคเหน็บชาในคนสูงอายุ จึงควรดื่มนมถั่วเหลืองทุกวัน ๆ ละ 1-2 แก้ว

สภาพการตลาด

การแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์ประเภทนมถั่วเหลืองไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับอาหารเสริมสุขภาพประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายและราคาไม่แพง นมถั่วเหลืองที่จำหน่ายในท้องตลาดทั้งชนิดบรจุขวดและกล่องซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ไดแก่ไวตามิลค์ แลคตาซอย เป็นต้น สำหรับ ตลาดนมถั่วเหลืองชนิดผงที่มีวางจำหน่ายคือ ทวิน เป็นนมผงผสมระหว่างนมโคและนมถั่วเหลือง การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล ในการชักชวนให้คนดื่มนมถั่วเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกและหาได้ง่ายย่อมเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตหาทางปรับเปลี่ยนภาพพจน์ของสินค้าให้เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะกับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย

7. วิตามิน

วิตามิน วิตามินเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นและควบคุมการทำงานของร่างกายให้อวัยวะต่าง ๆทำงานได้เป็นปกติ ในวันหนึ่ง ๆ ร่างกายต้องการสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่แต่ละชนิดน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสารอาหารประเภทอื่น แต่การขาดวิตามินที่สำคัญก็ทำให้ร่างกายไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ดังนั้น วิตามินจึงเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมาก

การที่ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม จะสร้างความกระปรี้กระเปร่าให้แก่ร่างกายและทำให้ร่างกายแข็งแรงสดชื่น คุณค่าของวิตามินที่กล่าวมาทำให้ผลิตภัรฑ์วิตามินมากมายหลายประเภทซึ่งวางจำหน่ายในท้องตลาด เป็นที่นิยมของผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง แต่ทั้งนี้ ผู้บริโภคต้องคำนึงไว้ว่า การได้รับวิตามินในปริมาณที่มากเกินระดับที่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้

อื่น ๆ

เจิ้นหัว 851 เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซี.เอช.ไทย 851 แล็บบอราตอรี่ จำกัด จุดขายของผลิตภัณฑ์มีลักษณะแตกต่างจากอาหารเสริมสุขภาพท่วไปในท้องตลาด คือเป็นอาหารโปรตีนจากธรรมชาติที่ย่อยสลายแล้วในรูปกรดอะมิโนอิสระที่จำเป็นต่อร่างกายสินค้ามีวางจำหน่ยตามร้านขายยาชั้นนำมารวมทั้งห้างสรรพสินค้า และตัวแทนจำหน่ายในจังหวัดใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เจิ้นหัว 851 มี 2 สูตรคือ สูตรมาตรฐานสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงกำลังทั่วไป และสูตรเข้มข้นสำหรับผู้พักฟื้น สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย

นายธนา บุณโยภาส ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทกล่าวว่า "ในปัจจุบันนอกจากจำหน่ายในประเทศแล้ว บริษัทฯ ยังได้ขยายตลาดต่างประเทศซึ่งได้เริ่มส่งออกไปยังสิงคโปร์ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และจะส่งไปยังไต้หวัน มาเลเซียและอินโดนีเซียต่อไป ซึ่งก็เป็นไปตามเป้าหมายเดิมที่โรงงานผลิตในประเทศไทย จะเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกเจิ้นหัว 851 ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก"

โสมจินซาน่า จำหน่ายโดยบริษัท ซูมิตร จำกัด มี 2 ชนิดคือชนิดแคปซูลและชนิดน้ำ มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้บริหาร นักธุรกิจ และนักกีฬา ตลาดโสมในประเทศไทยยังไม่กว้างเท่าที่ควรลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มชาวจีนที่มีฐานะค่อนข้างดี โสมจินซาน่าจดทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบันทำให้ได้เปรียบคู่แข่งในการทำตลาดในโรงพยาบาล คลินิก และร้านขายยาทั่วไปแต่ก็มีข้อเสียที่ไม่สามารถโฆษณาสรรพคุณได้เมหือนอาหาร ปัจจุบันทางบริษัทมีการกระจายสินค้าผ่านช่องทางการแพทย์โดยตรง 30% และที่เหลือผ่านร้านขายยาถึง 70% ซึ่งเป็นกจุดที่บริษัทตอ้งการใช้คุณภาพทางการแพทย์เป็นสิ่งโน้มน้าวให้ประชาชนเชื่อมั่นในคุณภาพโดยแพทย์ และเภสัชกรเป็นผู้บอกสรรพคุณบริษัทจะเปิดตัวให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ด้วยการเข้าไปจดัรายการส่งเสริมการขายตามห้างสรรพสินค้า และการโฆษณาทางวิทยุและนิตยสาร มีการวางแคมเปญมุ่งเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ซื้อโสมเฉพาะฤดูหนาวให้หันมาซื้อโสมตลอดทั้งปี

สถานการณ์ทางด้านการแข่งขันในตลาดโสมเกาหลีถือว่า โสมจินซาน่าไม่มีคู่แข่งเพราะสกัดจากโสมเกาหลีไม่นำวิตามนอื่น ๆ เข้ามาผสม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดโสมในไทยคึกคักมาก อัตรากรขยายตัวของตลาดโสมเพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละ 30-40%

โอกาด้า อาโลเอะ เป็นอาหารเสริมทำจากว่านหางจระเข้บรรจุในแพกเกิจจิ้งเป็นกระป๋องที่มีสีสันสวยงามสะดุดตา ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทโอกาด้า อคร์ปอเรชั่น จำกัด หวังเจาะกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไปและกลุ่มผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อสูง ในอนาคตอันใกล้นี้ตลาดอาหรเสริมจะโตไปได้มากเพราะผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้นหันมาบริหโภคสินค้าที่มีคุณประโยชน์มากขึ้น จะสามารถทำให้ตลาดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นไปอีก

ซัสตาคาล เป็นอาหารทางการแพทย์ชนิดน้ำสำหรับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร หรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติมี 2 รสคือ รสช็อคโกแลต และรสวานิลา นำเข้าโดยบริษัทบริสตอล ไมเยอร์สควิบบ์ (ประเทศไทย) จำกัด ช่องทางการจัดจำหน่ายตามโรงพยาบาลและร้านขายยาก่อนหลังจากนั้นจะวางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า

มอลต์ ออร์คิด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางบริษัทอุตสาหกรรมนมไทยจำกัด นำออกวางตลาดโดยพิจารณาจากสภาพการจราจรที่แออัดของกรุงเทพฯ ในช่วงที่การจราจรติดขัดควรจะมีอาหารเสริมมารับประทานรองท้อง จึงวางกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ใช้รถใช้ถนนและนักเรียน โดยในปีนี้จะเน้นโรงเรียนที่มีรถรับส่งนักเรียนเพื่อเป็นอาหารว่างของนักเรียนในช่วงเย็นระหว่างกลับบ้าน

การดำเนินชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการทำงาน จึงมีเวลาเหลือที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองน้อยลง อาหารเสริมสุขภาพจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แนวโน้มของตลาดอาหารเสริมบำรุงสุขภาพทั้งระบบในปี 2536 คาดว่ามีอัตราการเจริญเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% ผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ต่างก็พยายามหาสินค้าที่แปลกใหม่และโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคได้รับรู้รวมทั้งมีการส่งเสริมการขายมากมาย ตลาดนี้ก็ยังเป็นที่ดึงดูดใจของนักลงทุนรายใหม่ซึ่งก็ย่อมเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคที่มีโอกาสเลือกได้มากขึ้น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.