|
บจ.ตลาด mai โชว์กำไรรวมขยับเพิ่ม13%
ASTVผู้จัดการรายวัน(26 พฤษภาคม 2553)
กลับสู่หน้าหลัก
บจ.ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 60 บริษัท อวดกำไรรวมไตรมาสแรกปีนี้ 488 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 52 โดย แต่ละบริษัทสามารถสร้างยอดขายและรักษาอัตรากาไรขั้นต้นได้ ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้า โดยอยู่ที่ 12,685 ล้านบาทและ 21% ตามลำดับ
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยถึงภาพรวมผลการดาเนินงานของบริษัทจดทะเบียนใน mai ประจาไตรมาสที่ 1/2553 ว่ามีการฟื้นตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าเป็นกลุ่มที่แสดงการฟื้นตัวมากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ได้แก่ผู้ให้บริการเฉพาะกิจ และบริษัทรับเหมาต่างๆ ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากการเลื่อนของงานโครงการและต้องชะลอการรับรู้รายได้
"จาก 46 บริษัทที่มีกาไรสุทธิในไตรมาส 1/2553 พบว่า มี 9 บริษัทที่ผลการดาเนินงานฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งโดยมีกาไรสุทธิที่ไม่รวมกาไรจากการขายเงินลงทุน เติบโตขึ้นจากไตรมาสที่แล้วและจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และ EBITDA เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งได้แก่ บมจ. ธน มิตร แฟคตอริ่ง (DM) บมจ. ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ (JUBILE) บมจ. มาสเตอร์ แอด (MACO) บมจ. สาลี่อุตสาหกรรม(SALEE) บมจ. ไทยโพลีคอนส์ (TPOLY) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บมจ. เอเชีย กรีน เอนเนอจี (AGE) บมจ. เชอร์วู้ด เคมิคอล(SWC) บมจ. ธนาสิริ กรุ๊ป (THANA) และ บมจ. ยูบิส (เอเชีย) (UBIS) มียอดขายเติบโตขึ้นทั้งจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและจากไตรมาสที่ผ่านมา" นายชนิตรกล่าว
นอกจากนี้ จากข้อมูลเปรียบเทียบผลประกอบการรายไตรมาสยังพบว่า บริษัทจดทะเบียนใน mai ที่สามารถทำกำไรได้ต่อเนื่องทุกไตรมาสเป็นเวลา 10 ไตรมาสขึ้นไปนับตั้งแต่เข้ามาจดทะเบียน มีถึง 11 บริษัท ได้แก่ บมจ. บีจีที คอร์ปอเรชั่น (BGT) บมจ. บิซิเนส ออนไลน์ (BOL) บมจ. อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ (ETG) บมจ. โกลด์ไฟน์ แมนูแฟคเจอเรอส์ (GFM) บมจ. อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น (ILINK) บมจ. สตาร์ ซานิทารีแวร์ (STAR) บมจ. ไทย เอ็น ดี ที(TNDT) บมจ. โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH) บมจ. พลาสติคและหีบห่อไทย (TPAC) บมจ. ยูบิส (เอเชีย) (UBIS)และบมจ. ยูนิมิต เอ็นจิเนียริ่ง (UEC)
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|