เส้นทางโอลิมเปียแอนด์ยอร์กในมือตระกูลรีชแมนด์


นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

ปลายเดือนพฤษภาคมปีนี้ อัลเบิร์ต รีชแมนน์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทโอลิมเปีย แอนด์ยอร์ก ได้รับเกียรติครั้งยิ่งใหญ่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เมื่อประธานาธิบดีมิคาฮิลกอร์บาชอฟแห่งสหภาพโซเยนตอนุมัติแผนการก่อสร้างอาหาคารสำนักงาน,บ้านเรือนและโรงแรมในกรุงมอสโก ตามข้อเสนอของโอลิมเปีย แอนด์ ยอร์ก มูลค่าโครงการนี้สูงถึง 256 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในเมืองหลวงแห่งนี้ด้วย

แต่นี่ก็หาใช่ธุรกิจทั้งหมดของรีชแมนน์ในดินแดนหลังม่านเหล็ก เพราะรีชแมนน์ยังเป็นเจ้าของบริษัทการค้า "อะไซมุท" ที่มีสาขาอยู่ใบูดาเปาท์, บราทิสลาวาและมอสโก ถือหุ้นอยู่ในห้างสรรพสินค้า "สกาลา" ซึ่งเป็นแชนห้างขนาดใหญ่ที่สุดในฮังการีที่มีสาขาอยู่ 500 แห่งกับพนักงานอีกหลายพันคน

ตัวอัลเบิร์ตเองยังเป็นประธานสภาการค้าแคนาดา-สหภาพโซเวียตอีกด้วย และเข้าร่วมในแผนการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจเพื่อนำผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากยุโรปตะวันออกไปฝึกอบรมทางะรำกจิที่แคนาดา ขณะที่พี่น้องตระกูลรีชแมนน์อีก 2 คนคือราล์ฟและพอลซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ต่างร่วมมือกันพลักดันธุรกิจให้รุกคืบเติบโตอย่างไม่ถูกจำกัดโดยพรมแดนทางการเมืองเช่นแต่ก่อนอีก

ทุกวันนี้รีชแมนน์ได้ชื่อว่าเป็นตระกูลนักธุรกิจทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีสินทรัพย์ถึง 8,000 ล้านดอลลาร์ จนติดอันดับตระกูลที่ร่ำรวยหนึ่งในสิบของโลกด้วย

รากเหง้าของรีชแมนน์นั้นมาจากครอบครัวชาวยิวที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดาตั้งแต่ปี 1954 ครั้นกลางทศวรรษ 1960 ก็เริ่มชิมลางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการเข้าซื้ออาคารราคารถูกหลายแห่งในโตรอนโตจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังจะล้มละลาย แต่รีชแมนน์เริ่มีชื่อเสียงในธุรกิจแนงนี้จากการสร้างคอมเพล็กซ์ขนาดพื้นที่ 5 ล้านตารางฟุตชื่อ "เฟิร์สท์ แคนาเดียน เพลส" ในโตรอนโตเมื่อปี 1975 ทั้งที่ในช่วงนั้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อสูงมาก

ปลายทศวรรษ 1970 รีชแมนน์ขยายธุรกิจเข้าไปในนิวยอร์ก โดยชื่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ "ยูริส" เป็นมูลค่า 320 ล้านดอลลาร์ ซึ่งต่อมาราคาได้ขยับขึ้นถึง 10 เท่าในช่วงทศวรรษ 1980 หลังจากนั้นรีชแมนน์ก็กว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้อีกหลายแห่ง โดยเลือกโครงการที่ให้ผลตอบแทนสุงหรือเป็นโครการที่สามารถพัฒนาเพื่อขายต่อได้

แต่โครงการที่สร้างชื่อเสียงให้กับรีชแมนน์อย่างมากก็คือ "เวิร์ลด์ ไฟแนนเชียล เซ็นเตอร์" ในนิวยอร์กที่แล้วเสร็จเมื่อปี 1986 จนทุกวันนี้โอลิมเปียแอนด์ ยอร์กได้กลายเป็นบริษัทเจ้าที่ดินรายใหญ่ที่สุดในนิวยอร์ก มีพื้นที่อาคารสำนักงานในมือราว 24 ล้านตารางฟุต

นอกจากนั้น รีชแมนน์ยังได้จับโครงการ "แบตเตอรี ปาร์ค ซิตี้" ในย่านธุรกิจทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ และใช้วิธีขายโครงการโดยมีทั้งรูปแบบการขายขาดและให้เช่า เพื่อระดมทุนสำหรับทำโครงการต่อไป นักวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องต่างเชื่อว่ารีชแมนน์จะใชิ้วธีการเดียวกันนี้ในการขายโครงการ "คานารี วอร์ฟ" อันเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป และเป็นโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างในปัจจุบัน

ความโดดเด่นของรีชแมนน์นั้นอยู่ที่ความริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านแนวคิดและการออกแบบประกอบกับ ประสบการณ์ในการซื้อที่ดินราคาถูกและมีระบบการจัดการด้านการเงินอย่างดี ที่สำคัญรีชแมนน์ได้สร้างภาพพจน์ของการให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาว และมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจแขนงนี้อย่างชนิดที่คู่แข่งคาดไม่ถึงทีเดียว

ที่รีชแมนน์เลือกใช้ยุทธศาสตร์นี้ด้ก็เพราะว่ามีสายป่านเงินทุนที่ยาวมากพอ อีกทั้งสถานภาพของการที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน ได้ช่วยลดภาระความกังวลใจในเรื่องการจัดสรรเงินปันผลระยะสั้นให้กับนักลงทุน และยังเก็บงำข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และการดำเนินธุรกิจของตนให้เป็นความลับได้อีกด้วย

ด้วยยุทธศาสตร์การให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาว กับความเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถคาดการณ์ในเรื่องเวลาได้นี่เองที่ทำให้รีชแมนน์รุกคืบสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอังกฤษในปี 1979 โดยเริ่มจากการซื้อ "อิงลิช พร็อพเพอร์ตี้ คอมปะนี" เป็นมูลค่า 58 ล้านปอนด์ และขายออกไปในอีก 6 ปีถัดมาโดยได้ราคาสูงกว่าเดิมถึง 2 เท่า และในปี 1987 ก็ได้ซื้อโครงการ "คานารี วอร์ฟ" จากนายธนาคารอเมริกัน จี.แวร์ แทรดเวลสเตด

โครงการ "คานารี วอร์ฟ" นี้เป็นคอมเพล็กซ์ขนาด 10 ล้านตารางฟุต ประกอบด้วยสำนักงาน, ร้านค้าปลีกและสถานพักผ่อนหย่อนใจโดยออกแบบด้วยระบบไฮ-เทค ตั้งอยู่ริมฝังแม่น้ำเทมส์ ในด๊อคแลนด์ ห่างากลอนดอนไปทางตะวันออกราว 6 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการสูงถึง 6,392 ล้านดอลลาร์ และมุ่งหมายให้เป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ในลอนดอน โดยหวังลูกค้าชั้นดีอย่างเช่นบริษัทการเงินต่าง ๆ ขณะนี้อเมริกา เอ็กซ์เพรส, เครดิต สวิสเฟิร์ส บอสตันและเท็กซาโก ได้ตอบตกลงที่จะเข้าจับจองพื้นที่สำนักงานในโครงการนี้แล้ว

แต่ปัจจัย 2 ประการที่ทำให้นักวิเคราะห์ไม่มั่นใจในโครงการ "คานารี วอร์ฟ" ก็คือตลาดสำนักงานในลอนดอนขณะนี้กำลังตกอยู่ในภาวะซัพพลายล้นและระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่งในด๊อคแลนด์ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ยิ่งกว่านั้นรีชแมนน์ได้ริเริ่มจับโครงการคานารีวอร์ฟนี้ตั้งแต่ปี 1987 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดภาวะตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินในด๊อคแลนด์ถีบทะยานขึ้นอย่างไม่คาดคิด และโครงการดังกล่าวก็ได้เลื่อนกำหนดวันแล้วเสร็จโครงการมา 6 เดือนแล้ว นี่ยังไม่นับรวมปัจจัยปลีกย่อยอย่างการขาดแคลนเหล็กเส้นด้วย

นอกจากโครงการ "คานารี วอร์ฟ" แล้ว รีชแมนน์ยังเข้าซื้อกิจการราว 1 ใน 3 ของ "สโตนโฮป พร็อพเพอร์ตี้" เป็นมูลค่า 137 ล้านปอนด์เมื่อราว 2 ปีก่อน และซื้อหุ้นราว 8.25% ใน "โรสเฮาก์" จากก๊อดเฟรย์ แบรดแมน ซึ่งล้วนเป็นฐานอันสำคัญต่อการจับโรงการคอมเพล็กซ์ "รอดเกท" บริเวณสถานีรถไฟ "ลิเวอร์พลู สตรีท" และโครงการอื่น ๆ ที่จะขึ้นในทศวรรษ 1990

ส่วนธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ในมือรีชแมนน์นั้นมีมูลค่าตกราว 9,000 ล้านดอลลาร์ แคนาดา โดยเป็นผู้ถือหุ้น 74% ใน "กัลฟ์แคนาดา รีซอร์ส" และเป็นเจ้าของหุ้นอีก 82% ในกิจการผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ "อาบิทิบิ ไพร้ส์"

ครั้นปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา รีชแมนน์ก็ประกาศว่าทิศทางของโอลิมเปีย แอนด์ ยอร์กในอนาคตนั้นจะมุ่งไปที่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพยบ์เป็นหลัก และกำลังเตรียมขายกิจการผลิตก๊าซและน้ำมัน "คอนซูเมอร์ส แก๊ส" ให้กับ "บริติช แก๊ส" เป็นมูลค่า 1,100 ล้านดอลลาร์ วนกิจการผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ "อาบิทิบิ ไพร้ส์" ในแคนาดาอาจถูกผวนกรวมกับธุรกิจด้านป่าไม้ในเครือและโอลิมเปีย แอนด์ ยอร์กจะขายหุ้นในธุรกิจส่วนนี้ออกไปบางส่วนจากที่ถือครองอยู่ 83% ในปัจจุบัน

นอกจากั้น รีชแมนนน์ยังเล็งขายหุ้นในธุรกิจส่วนนี้ออกไปบางส่วน ซึ่งคาดกันว่าจะมีมูลค่าสูงระหว่าง 200-800 ล้านดอลลาร์ โดยโครงการที่เข้าข่ายถูกโละออกไปก็มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพาณิชย์ในนิวยอร์ก บอสตัน ซานฟราน ซิสโกและเมืองใหญ่อื่นๆ อีกหลายแห่ง ในขณะที่กรรมการผู้จดัการใหญ่ของโอลิมเปียแอนด์ ยอร์ก สหรัฐฯ ปฏิเสธข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า บริษัทกำลังประสบปัญหาการขาดเงินสดหมุนเวียน

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริาทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับแนวหน้าของโลกอย่างโอลิมเปีย แอนด์ ยอร์กนี้เป็นหนึ่งในภาพสะท้อนถึงภาวะตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในทั่วโลกได้อย่างดี ทั้งสอดรับกับการที่อาคารสำนักงานนับร้อยแห่งในตลดาอังกฤษและสหรัฐฯต่างถูกปล่อยทิ้งร้าง โครงการใหม่หยุดชะงักลงอย่างทั่วหน้า ธุรกิจเช่าสำนักงานซบเซา อัตราการค้างชำระค่าเช่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

"การพัททลายลงของการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นครอบคลุมธุรกิจแขนงนี้โดยรวมและเกิดขึ้นในทุกตลาด แต่เราก็ยังไม่ตกต่ำลงถึงระดับที่แย่ที่สุด" นักวิเคราะห์ในธุรกิจวาณิชธนกิจรายหนึ่งให้ความเห็น และผู้เชี่ยวชาญบางรายยังคาดอีกว่า กว่าที่โครงการต่าง ๆ ในสหรัฐฯจะอิ่มตัวได้จะต้องใช้เวลาอีกถึง 8 ปีทีเดียว นี่อาจหมายความว่าทศวรรษ 1980 อันรุ่งโรจน์สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จบสิ้นลงแล้ว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.