รีบ๊อก VS รีบ็อกแตกต่างกว่าที่คิด

โดย ขุนทอง ลอเสรีวานิช
นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

รองเท้ารีบ๊อกเข้าสู่ตลาดในไทยเป็นครั้งแรกเมื่อสองปีที่แล้ว โดยมีไทย อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่หลังจากนั้นเพียงหกเดือนสถานะการเป็นตัวแทนจำหน่าย ของไทย อินเตอร์ฯก็สิ้นสุดลงเมื่อรีบ๊อกตั้งตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ขึ้นมา เรื่องคงจะจบลงเพียงเท่านี้ ถ้าหากว่าไทย อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์จะไม่ไปจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาในชื่อเดียวกันจนเจ้าของที่แท้จริงต้อง ขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง

วันที่ 27 กันยายน 2532 บริษัท รีบ๊อกอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มอบอำนาจให้ธีรพล สุวรรณประทีป ทนายความแห่งสำนักกฎหมายเบเคอร์ แอนด์แมคเคนซี่ย์ (BAKER & McKENZIE) เป็นโจทย์ฟ้องบริษัทรีบ็อค (ประเทศไทย) จำกัด และรกรมการบริษัทอีกสองคนเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ในดีตดำที่ 18838/2532 ในข้อหาใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและละเมิด

ศาลแพ่งมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2533 ห้ามมิให้จำเลยใช้คำว่า REEBOK ทั้งภาษาไทยและอังกฤษอีกต่อไป ตามคำร้องขอของโจทย์

ตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศทไยในช่วงปีที่ผ่านมามูลค่าประมาณหนึ่งพันกว่าล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นสองตลาดคือ รองเท้ากีฬาที่เป็นยี่ห้อในประเทศซึ่งขับเคียวกันระหว่าง 4 ยี่ห้อ คือ แพน โอลิมปิค แอคทีฟ และบาจา

อีกตลาดหนึ่งคือรองเท้ายี่ห้อต่างประเทศซึ่งใหญ่กว่ามีมูลค่าประมาณ 700 กว่าล้านบาทต่อปีในตลาดนี้เจ้าตลาดคือไนกี้ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยเป็นรายแรกเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ถัดจากนั้นต่อมาคือรองเท้าคอนเวอร์ส อดิดาส พูม่า ดันลอปและรีบ๊อค

"ไนกี้มีส่วนแบ่งเป็นอันดับหนึ่งประมาณ 30% ขึ้นไป ตามมาด้วยรีบ๊อค 25% คอนเวอร์ส 20% และอดิดาสราว ๆ 10% ทีเหลือเป็นของยี่ห้ออื่น ๆ ที่ยอดขายไม่ค่อยสูงนักรวม ๆ กัน" วิทยา ธรรมจาธร กรรมการผู้จดัการ บริษัทอาร์ บี เค มาร์เก็ตติ้งเปิดเผยถึงภาวะตลาดรองเท้ากีฬาในประเทศไทยในส่วนที่เป็นตลาดบนในขณะนี้

อาร์ บี เค มาร์เก็ตติ้ง คือบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรองเท้ารีบ๊อกแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยขณะนี้ โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างทางรีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนล เจาของเครื่องหมายการค้า "REEBOK" กับทางบริษัทปิยะวัฒน์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างผลิตรองเท้ารีบ๊อกสำหรับส่งออกอยู่แล้ว

นอกจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายรองเท้ารีบ๊อคในไทยแล้ว อาร์ บี เค ยังมีฐานะเหนือตัวแทนธรรมดา ๆ ด้วยนั่นคือการเป็นผู้ถือสิทธิการผลิตรองเท้าและเสื้อผ้ากีฬา (LICENCEE) ภายใต้เครื่องหมาย REEBOK ด้วย

"เราเป็นรายเดียวในโลกที่ได้สิทธินี้" วิทยาพูดถึงสิทธิพิเศษของอาร์ บี เค ซึ่งมากกว่าตัวแทนจำหน่ายรายอื่น ๆ ในสามสิบกว่าประเทศทั่วโลก

รีบ๊อกเป็นรองเท้ากีฬาเชื้อชาติอังกฤษที่ไปเติบโตได้ดิบได้ดีในสหรัฐอเมริกา หลังจากปี 2523 เมืองพอล ไฟแมน นักการตลาดชาวอเมริกันเข้าไปซื้อสิทธิในการผลิตและจำหน่ายรองเท้ารีบ๊อกจากเจ้าของกิจการเดิมซึ่งเป็นชาวอังกฤษ

เดิมรีบ๊อกนั้คือรองเท้าสำหรับนักวิ่งโดยเฉพาะจุดขายคือคุณภาพซึ่งมีชัยชนะของนักกีฬาโอลิมปิดคหลายยุคหลายสมัยที่ใส่รองเท้าที่ใช้ชื่อสัตว์เล็ก ๆ ซึ่งวิ่งได้อย่างรวดเร็วบนพื้นทะเลทรายในอาฟริกามาเป็นชื่อยี่ห้อเป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพ

หลังจากที่ไฟแมนซื้อชื่อรีบ๊อคไปแล้เขาได้เปลี่ยนตำแหน่ง ภาพพจน์ของสินค้าใหม่ให้กว้างขึ้นจากเดิมที่เป็นรองเท้าเฉพาะนักวิ่งมาเป็นรองเท้าอเนกประสงค์สำหรับเล่นกีฬาที่เรียกกันว่า CROSS TRAININ เพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น โดยจ้างผู้ผลิตรองเท้าในเกาหลีใต้และไต้หวันเป็นผู้ผลิตส่งเข้าไปขายในสหรัฐฯ จนกลายเป็นรองเท้าสำหรับเต้นแอโรบิคที่ฮิตมากในสหรัฐฯ

ในระดับโลกแล้ว รองเท้ากีฬาที่เป็นเจ้าตลาดขับเคี่ยวผลัดกันครองตำแหน่งที่หนึ่ง

ละสองกันมาตลอดคือไนกี้กับรีบ๊อค โดยมียอดขายประมาณ 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีทั้งสองยี่ห้อทิ้งห่างจากอันดับสามคือแอลเอ เกียร์ อันดับสี่ คอนเวอร์สซึ่งมียอดขาย 500 และ 300 ล้านเหรียญตามลำดับ

ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา แหล่งผลิตรองเท้ากีฬาคุณภาพสูงซึ่งเกาหลี้ใต้และไต้หวันเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลกเริ่มโยกย้ายเข้ามาสู่ย่านเเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยปัจจัยทางด้านค่าของเงินที่แข็งขึ้นของสองประเทศข้างต้นและค่าแรงที่ถูกกว่าของประเทไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บวกกับทั้งเกาหลีใต้และไต้หวันเริ่มยกระดับอุตสหากรรมไปสู่การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น ปล่อยให้การทำรองเท้าเป็นหน้าที่ของประเทศที่เพิ่งเข้าสู่อุตสาหกรรม แหล่งผลิตใหม่คือ ไทยอินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีน ซึ่งไทยมีประสบการณ์มากที่สุด มีความสามารถผลิตรองเท้าที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก เพียงแต่ว่าเป็นการผลิตตามออร์เดอร์ของเจ้าของยี่ห้อเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ในปัจจุบันโรงงานผลิตรองเท้าในไทยที่รับจ้างผลิตให้รีบ๊อกเพื่อส่งออกไปขายมีอยู่ด้วยกัน 8 โรงงานคือ บางกอกรับเบอร์ ซึ่งผลิตรองเท้าให้ไนกี้ด้วย โรงงานของปิยะวัฒน์ วงศ์ไพฑูรย์ โอเรียลเต็ลฟุตแวร์ รังสิตฟุตแวร์ 1 และ 2 HSCORPORATION ของเกาหลี และ SAND DAY ของไต้หวัน

ทั้ง 8 โรงงานนี้ผลิตเพื่อส่งออกได้เดือนละ 1 ล้านคู่ ซึ่ง 50% ของกำลังการผลิตนี้มาจากโรงงานของปิยะวัฒน์

ส่วนตลาดภายในประเทศนั้น ยี่ห้อที่โดดเด่นและทำตาลาดมาเป็นรายแรกเป็นเวลาไม่ต่ำกว่าสิบปีคือไนกี้ ยี่ห้อที่พอจะนับเป็นคู่แข่งได้คือคอนเวอร์สซึ่งมีบริษัทแท็คติดคมาร์เก็ตติ้งที่เป็บริษัทในเครือปิยะวัมนือีกแห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่อาจถือเป็นคูแข่งขันกันโดยตรงได้ เพราะว่าคอนเวอร์สซึ่งเป็นรองเท้าบาสเกตบอลที่มีชื่อเสียงในสหรัฐฯ พอมาถึงเมืองไทยที่กีฬาบาสเกตบอลเล่นกันอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ จำเป็นต้องหาตำแหน่งของตัวเองในตลาดเชียงใหม่เป็นรองเท้าแฟชั่นในกลุ่มลูกค้าวัรุ่นไปเสียเลย

ตลาดรองเท้ากีฬาในระดับบนจึงมีเพียงไนกี้เพียงรายเดียว ในขณะที่ตลาดเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ ทั้งจากการบุกเบิกของไนกี้เอง และจากความตื่นตัวในเรื่องการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพของคนไทยที่วางในตลาดจึงมีอยู่อย่างเหลือเฟือสำหรับรองเท้ากีฬายี่ห้อใหม่ ๆ

ปี 2531 รีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนล เจาของรองเท้ารีบ๊อคที่ใช้เมือไงทยเป็นฐานในการผลิตอยู่แล้วจึงมีแผนการที่จะทำตลาดในประเทศไทยด้วยการติดต่อหาตัวแทนจำหน่ายในประเทศ มีผู้สนใจหลายายที่เสนอตัวเข้ราไปให้ทางรีบ๊อคพิจารณารวมทั้งทางกลุ่มปิยวัฒน์และบางกอกรับเบอร์ซึ่งเป็นผู้ผลิตรองเท้าอยู่แล้ว แต่นโยบายของรีบ๊อกในตอนนั้นคือ ตัวแทนจำหน่ายจะต้องไม่เป็นผู้ผลิต ทั้งสองรายจึงไม่ได้รับการพิจารณา

ไทยอินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์ หรือทีไอพีเป็นรายหนึ่งที่เสนอตัวด้วยและได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนจำหน่ายรีบ๊อคสำหรับแผนการบุกตลาดในไทยเป็นครั้งแรก แต่เป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงชั่วคราวเท่านั้นโดยมีสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ให้ทดลองเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลาหกเดือน หากเป็นที่พอใจทางรีบ๊อกอินเตอร์เนชั่นแนลจะแต่งตั้งให้ทีไอพีเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวต่อไป

ทีไอพีนั้น เจ้าของคือ ประภาส อดิสยเทพกุล ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการด้วย ทีไอพีทำธุรกิจทางด้านจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคมานาน เป็นยี่ปั๊วของลีเวอร์ บราเธอร์ ในการกระจายสินค้าให้กับร้านค้าปลีกในกรุงเทพ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอาหารของเจเนรัล ฟู้ดส์ และเป็นผู้ผลิตขาวรารักไทยออกจำหน่ายเองด้วย และยังเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องกีฬาของวิลสันมาก่อน

ทีไอพีตั้ง บริษัทมัลติ สปอร์ตติ้ง กู๊ดขึ้นมาเมื่อเดือนกันยายน 2531 เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายรีบ๊อกโดยตรง พร้อม ๆ กันนั้นก็ไปจดทะเบียนตั้งบริษัท รีบ็อก (ประเทศไทย) ขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยมีประภาส และรัชนี สุโขดมโชติซึ่งเป็นเลขาฯของประภาสเป็นกรรมการ

ในข้อตกลงที่ทำกับรีบ๊อค อินเตอร์เนชั้น่แนลนั้นรีบ๊อกจะยอมหใทีไอพีจดทะเบียนตั้งบริษัทมาใหม่โดยยอมให้นำคำว่า REEBOK ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทที่จะจัดตั้ง่ขึ้นใหม่ด้วย

แต่ข้อตกลงนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อรีบ๊อคแต่งตั้งทีไอพีให้เป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศไทยหลังจากพ้นระยะทดลอง 6 เดือนแล้วเท่านั้น

ปรากฏว่าหลังจากหกเดือนแล้วรีบ๊อคไม่ได้ตั้งทีไอพี เป็นตัวแทนจำหน่ายต่อไป ตีความกันตามสัญญาที่ทำกันไว้แต่แรกก็ต้องบอกว่า ผลงานของทีไอพีหรือ มัลติ สปอร์ตติ้ง นั้นไม่ได้เป็นที่พออกพอใจของ รีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนลเอาเสียเลย

"เราไม่ได้ทำผิดอะไร พอเราเริ่มก็มีปัญหาแล้วสินค้าที่สั่งไปเข้าก็ไม่ได้ส่งมา" ชูชัย มาไพศาลทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายของมัลติ สปอร์ตติ้ง กล่าวสั้น ๆ และการที่ไปตั้งบริษัทรีบ็อค (ประเทศไทย) ขึ้นมานั้นก็เป็นแผนการขั้นต่อไปที่จะทำตลาดรองเท้ารีบ๊อคนั่นเอง

รองเท้ารีบ็อคที่ มัลติ สปอร์ตติ้ง นำเข้ามาวางตลาดเป็นรองเท้าที่ต้องนำเข้ามาจากอเมริกา แม้วาจะมีการทำในไทย แต่ก็เป็นการผลิตในเงื่อนไขว่ารับจ้างบริษัทแม่ผลิต ทำแล้วก็ต้องส่งออกไปส่วนตัวแทนจำหน่ายในประเทศต้องติดต่อสั่งซื้อจากรีบ๊อค ที่สหรัฐฯ อีกทีหนึ่ง

การทำตลาดของ มัลติ สปอร์ตติ้ง นั้นเน้นที่ช่องทางการจำหน่ายอย่างเดียว โดยกระจายสินค้าไปตามห้างสรรพสินค้าเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในด้านกว้างเลย

"ทีไอพีไม่มีประสบการณ์และไม่มีความชำนาญในเรื่องตลาดรองเท้า" แหล่งขาวในวงการรองเท้ากีฬาแสดงความเห็นถึงจุดอ่อนของทีไอพี ซึ่งเคยช่ำชองกับการขายสินค้าอุปโภคบริโภค และอาหารเสียเป็นส่วนใหญ่

ใช่ว่าทีไอพีจะอ่อนหัดในเรื่องรองเท้าเสียทีเดียว เพราะถึงแม้จะไม่เคยทำมาก่อน แตก็ได้ซื้อตัวมือดีทางด้านนี้หลาย ๆ คนเพื่อเตรียมบุกตลาดประสิทธิศักดิ์ ศิลปชย ซึ่งเป็นคนรับผิดชอบก่อนหน้าชูชัยก็คือมือดีของเครือปิยะวัฒน์มกาอน ตัวชูชัยเองก่อนหน้าที่จะมาอยู่ที่นี่ เคยทำงานกับบางกอกแอทเลติคผู้แทนจำหน่ายรองเท้าแพนอยู่ถึง 6 ปี

"อาจจะเป็นไปได้ว่าสัญญาเป็นตัวแทนทดลองจำหน่ายแค่หกเดือนนั้นสั้นเกินไป และไม่แน่นอนใครละที่จะไปลงทุนทำตลาดโดยที่ยังไม่รู้ว่าจะได้ขายต่อหรือเปล่า" แหล่งข่าวในวงการรองเท้ากีฬาอีกรายหนึ่งกล่าว

หลังจากที่หันหลังให้กับทางทีไอพีแล้ว รีบ๊อคก็ต้องหาผู้แทนจำหน่ายใหม่ ๆ และในที่สุดก็ตกลงจับใอกับปิยะวัฒน์ร่วมลงทุนตั้งอาร์ บี เค มาร์ เก้ตติ้งขึ้นมาเป็นตัวแทนจำหน่ายเสียเอง

แต่เรื่องยังไม่จบลงเพียงนี้ เดือนตุลาคม 2531 รีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนลได้มอบอำนาจให้ตัวแทนไปจดทะเบียนเพื่อตั้งบริษัทในประเทศไทยชื่อว่าบริษัทรีบ๊อค จำกัด ปรากฏว่านายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนเพราะชื่อไปคล้ายกับชื่อบริษัทรีบ็อค (ประเทศไทย) ซึ่งทางทีไอพีได้ตั้งขึ้นมาก่อนแล้ว

ทางรีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนลจึงแจ้งให้รีบ็อค (ประเทศไทย) เลิกใช้ชื่อดังกล่าวเสียแต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบ นอกจากนั้นทางรีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนลยังอ้างว่าเมื่อเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนทีไอพียังได้ว่าจ้างให้บริษัทผู้ผลิตถุงเท้าแห่งหนึ่งผลิตถุงเท้าในชื่อยี่ห้อ รีบ๊อค อกมาวางขาย ทางรีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนล ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย เขต 1 และตำรวจได้จับกุมผู้ขายรองเท้า เสื้อกีฬาที่ใช้ชื่อว่ารีบ๊อคได้ที่ซอยจึงเจริญ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

รีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนล จึงตัดสินใจนำคดีขึ้นสู่ศาลขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งเมื่อเดียวกันยายนปีที่แล้ว

จำเลย ตามคำฟ้องในคดีนี้ คือ บริษัทรีบ็อค (ประเทศไทย) เป็นจำเลยที่ 1 นางสาวรัชนี สุโดมโชคมิและนายประภาส อดิสยเทพกุลเป็นจำเลยที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองคนนี้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1

ตามคำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้งสามได้นำเอาชื่อของบริษัทโจทก์คำว่า รีบ๊อค มาจดทะเบียนเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ทำให้ประชาชนเข้ใจว่าชื่อจำเลยที่ 1 เป็นสาขาของโจทก์เปิดกิจการในประเทศไทย หรือกิจการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการของโจทก์หรือมีความเกี่ยวพันกับโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสาามเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อบริษัทโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ขอศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามเลิกใช้คำว่า รีบ็อค (REEBOK) ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยกับชื่อบริษัทของจำเลยที่ 1 และธุรกิจทั้งปวงของจำเลยที่ 1 และห้ามไม่ให้จำเลยทั้งสามใช้ต่อไปอีก กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์

พูดกันด้วยภาษาชาวบ้านก็คือ จำเลยทั้งสามไปแอบอ้างใช้คำว่ารีบ๊อกซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

สุจินต์ ชัยมังคลานนท์ แห่งสำนักกฎหมายเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ย์ เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องกฎหมายธุรกิจดีที่สุดคนหนึ่ง สุจินต์เคยให้อรรถาธิบายความขัดแย้งในเรื่องสิทธิเครื่องหมายทางการค้าที่ต้องใช้ข้อกฎหมายหาข้อยุตจิพร้อมกับคดีตัวอย่างในหลาย ๆ กรณี คดีรีบ๊อกนี้พิจารณษได้โดยอ้างอิงคำอธิบายของเขาจากคอมลัมน์กฎหมายนักธุรกิจใน "ผู้จัดการรายสัปดาห์"

สิทธิในเครื่องหมายการค้า ชื่อในทางการค้าเป็นประเภทหนึ่งของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่กฎหมายให้การรับรอง และเป็นเรื่องที่เกิดเป็นคดีพิพาทกันมากที่สุดในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองโดยตรง

ข้อกฎหมายที่ใช้พิจารณาให้ความคุ้มครองสิทธิในชื่อยี่ห้อการค้าคือ มาตรา 18 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับการคุ้มครองชื่อบุคคลซึ่งเขียนไว้ว่า

"สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียงประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นมเดียวกันโดยมิได้รับอำาจให้ใช้ได้ก็ดี ท่านว่บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลอื่นนั้นระงับความสเยหายก้ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้"

การใช้นมอันชอบที่จะใช้ได้นั้นหมายความรวมถึงชื่อตัว นามสกุล นามปากกา รวมทั้งชื่อในทางธุรกิจด้วย และการใช้สิทธิเรียกร้องขอความคุ้มครองนั้นต้องประกอบด้วยเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งต่อไปนี้คือ 1. มีบุคคลอื่นโต้แย้ง หรือ 2. ผู้เป็นเจ้าอขงนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะมีบุคคลอื่นมาใช้นามเดียวกัน

จำเลยทั้งสามในคดีรีบ๊อกให้การต่อสู้คดีโดยมีเนื้อหาสาระที่สำคัญว่า ไม่ทราบว่ามีการจดทะเบียนชือ่รีบ๊อกเป็นชื่อบริษัทของดจทก์ในต่างประเทศหรือไม่ และจำเลยไม่เคยใช้ชื่อ รีบ๊อค (ไม้ตรี) ใช้แต่ชื่อ รีบ็อค (ไม้ไต่คู้) และชื่อบริษัทก็ใช้ว่า บริษัทรีบ็อค (ประเทศไทย) จำกัด โดยภาษาอังกฤษว่า REEBOK (THAILAND) CO., LIMITED ซึ่งแตกต่างกับชื่อของโจทก์ที่ว่า รีบ๊อค อินเตอร์เนชั่นแนล ซีโอ., แอลทีดี. (REEBOK INTERNATINAL CO., LTD.) จึงไม่ทำให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจผิด ไม่เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์หรือสร้างความเสียหายให้กับโจทก์

ในขันการสืบพยาน ทางรีบ็อค อินเตอร์เนชั่นแนลได้ท้าวความไปถึงการทำความตกลงกันที่ทางทีไอพีจะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับทางรีบ๊อก อินเตอร์เนชั่นแนล ในประเทศไทยซึ่งเป็นการยืนยันว่าจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่ารีบ๊อก อินเตอร์เนชั่นแนลและยี่ห้อรีบ๊อกนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนั้นทางรีบ๊อก อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเคยมีหนังสือแจ้งให้จำเลยเลิกใช้คำว่ารีบ็อคมาก่อนแล้ว

ส่วนในประเด็นความแตกต่างของชื่อนั้นศาลเห็น่าแม้จะเขียนต่างกันในภาษาไทยระหวางไม้ตรีกับ ไม่ไต่คู้ แต่การอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกัน และในภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า REEBOK เหมือนกัน

"การกระทำดังกล่าวเป็นการเลียนแบบใช้ชื่อของโจทก์ซึ่งมีมาก่อนแล้ว เพื่อให้คนทั่วไปหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1 เป็นสาขาของโจทย์ หรือมีความเกี่ยวพันกับโจทก์ หรือกิจการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการค้าของโจทก์ เป็นการจงใจใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเป็นการใช้นามอันมิชอบตามประมวลกฎฆมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันกระทำละเมินต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิขอห้ามมิให้จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดต่อไปได้

พิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสามใช้คำว่า REEBOK (รีบ็อคหรือบรีบ็อค) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกับชื่อของจำเลยที่ 1 และในธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.