ประเพณีเข้าสปอร์ตคลับกว่าจะเป็นไฮโซไซตี้ต้องรอ

โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

เป็นธรรมดาที่แวดวงสังคมชั้นสูงหรือไฮโซไซตี้ในทุกสมัยของสปอร์ตสคลับจะประกอบไปด้วยบุคคล 4 ประเภทคือ

หนึ่ง บุคคลที่มั่งคั่งร่ำรวยและอยู่ในแวดวงข้าราชสำนัก

สอง บุคคลที่ไม่ร่ำรวย แต่โดยชาติกำเนิดดีและได้รับการศึกษาอบรมระดับสูง

สาม พ่อค้านักธุรกิจที่ร่ำรวยและพยายามชักนำตวเองให้เข้าไปใกล้ชิดในแวดวงไฮไซไซตี้

สี่ บุคคลที่ไม่ร่ำรวยและไม่ใช่ข้าราชสำนัก แต่กระหายที่จะชักนำตัวเองให้ใกล้ชิดในแวดวงพวกที่ร่ำรวยและข้าราชสำนัก

พงส์ สารสินประธานสปอร์ตสคลับจัดเป็นบุคคลในประเภทแรก เพราะต้นสกุลสารสินคือพระยาสารสินสวามิภักดิ์หรือเทียนฮี้ สารสินแพทย์ทางด้านศัลยกรรมคนแรกของไทย พงส์ สารสิน ได้รับการรับรองอย่างดีในทามกลางบุคคลสามประเภทหลัง เมื่อเขาเข้าไปสู่การเป็นประธานราชกรีฑาสโมสร จึงเสมือนเขาได้บรรลุเป้าหมายรวดเร็วกว่าที่เขาคิดเสียอีกบนเส้นทางธุรกิจและการเมือง

แต่สำหรับสมาชิกคนอื่น ๆ ที่ขณะนี้สปอร์ตสคลับมีอยู่ถึงจำนวน 9,312 คน ต่างก็เป็นบุคคลที่จัดว่าส่วนใหญ่มีชาติตระกูลและความร่ำรวย

สมาชิกคนหนึ่งสามารถให้ภรรยาและลูกเข้ามาใช้สิทธิ์ได้จนกว่าลูกจะมีอายุเต็ม 20 ปีจึงจะต้องสมัครเป็นสมาชิกเต็มตัวโดยอัตโนมัติ โดยจ่ายค่าบำรุงเดือนละ 250 บาทสำหรับคนโสดถ้มีภรรยาก็เพิ่มอีก 50 บาท และลูกเล็กก็เพิ่มอีกคนละ 25 บาท

"กรรมการกำลังจะพิจารณาว่าลูกของสมาชิกที่เป็นก่อนปี พ.ศ. 2523 ได้เป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับลูกของสมาชิกที่เป็นหลักจากปี 2523 เราก็จะจัด CATAGORIES ให้เขาใหม่" แหล่งข่าวเลาให้ฟัง

ส่วนหนึ่งในสปอร์ตสคลับที่ยังสะทอ้นจากตรีประเพณีโบราณสมัยขุนนางศักดินาอยู่มาก ๆ ก็คือสุภาพสตรีโสดผู้เป็นสมาชิกประเภท LADIES PRIVILEGES จะถูกกำหนดไม่ให้มีสิทธิ์มีเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น

ถึงกระนั้นสปอร์ตสคลับก็เป็นคนระดับไฮโซไซตี้ ที่อาศัยการพบปะสังสรรค์ส่วนตัวเป็นสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงไปสู่ผลประโยชน์ทางธุรกิจและตำแหน่งหน้าที่ทางการงานไปด้วย

ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจกับค่านิยมที่เศรษฐีใหม่หลายคนพยายามจะมีหรือเป็นบุคคลในวงสังคมชั้นสูงนี้ จนกระทั่งมี WAITING LIST ยาวเหยียดเป็นผู้ยอมอดทนรอนานนับเป็นเวลา 5-10 ปีเพื่อจะมีสถานภาพสมาชิกในสปอร์ตสคลับ หรือบางคนก็ไม่ง้อด้วยฤทธิ์ร่ำรวยไปตั้งคลับตัวเองก็มี เช่นโครงการสนามกอล์ฟกรีนวัลเล่ย์ของชันต เรืองกฤตยา

ในปีที่แล้วสปอร์ตสคลับเพิ่งจะเปิดรับสมาชิกใหม่เพิ่มอีก 383 คนเท่านั้นเอง หลังจากปิดรับสมาชิกใหม่ในเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมาแต่ก็ยังเหลือ WAITING LIST อีกประมาณ 600 คน

กว่าจะเป็นสมาชิกได้ ต้องผ่านกฎเหล็กที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาลสมัยรัชกาลที่5 แล้ว ระบบกลั่นกรอง (SCREENING RROCESS) นี้กลายเป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือกันมานานถึงปัจจุบัน เพื่อเลือกเฟ้นบุคคลที่มี SOCIAL BACKGROUND ดี

ขั้นตอนแรกต้องหาสมาชิกสามัญสองคนซึ่งเป็นสมาชิกมาไม่ต่ำกว่าหนึ่งปี เป็นคน PURPOSER แนะนำประวัติชีวิตและการทำงานโดยย่อ ๆ ว่าสมควรเป็นสมาชิกเพราะเหตุใดเขียนยาวมากระดับวิทยานิพนธ์กลาย ๆ

เมื่อเสร็จขั้นแรกแล้วก็จะมีครับรองหรือที่เรียกว่า SECONDER เป็นผู้ค้ำประกันอีกคน

จกนั้นก็ส่งเอกสารเข้าไปทางคลับออฟฟิสเชียลก็จะรับและจัดตามลำดับก่อนหลังพอถึงคิวซึ่งต้องกินเวลาประมาณ 3-4 ปี ถ้าหากคิวยาวมากทางผู้บริหารสปอร์ตสคลับก็จะระบายไปให้ทางโปโลคลับ ซึ่งเข้ามาอยู่ในสังกัดเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว ดังนั้นโปโลจึงกลายเป็นคลับสำหรับเศรษฐีใหม่ส่วนใหญ่ ปัจจุบันโปโลคลับมีสมาชิก 1,380 คนและมีรายรับค่าสมาชิกใหม่เมื่อปีที่แล้ว 18.2 ล้านบาท

หลังจากอดทนรอนานนับปีจนกระทั่งถึงคิวตัวเองแล้วชื่อก็จะปรากฏขึ้นบน BOOK งานนี้ไม่จบง่าย ๆ เพียงเท่านั้น ภายในหนึ่งเดือนผู้สมัครจะต้องล่าลายเซ็นของสมาชิกให้ได้ 20 ชื่อหรือหาผู้รับรองเป็นสมาชิก 20 คน พร้อมกับกรรมการ 5 คนในกีฬาแต่ละประเภท ซึ่งขณะนี้สปอร์ตสคลับมีกีฬาอยู่ 21 ประเภท

ความหมายของการหาผู้รับรองมากมายเช่นนี้ก็เพื่อแสงดฐานะและชื่อเสียงตัวเองเป็นที่ยอมรับหรือรู้จักกันดีเพียงใด แต่ถ้าหาผู้รับรองไม่ได้ครบตามกำหนดก็เป็นอันวาต้องตกกระป๋องไป

หลังจากหาลายเซ็นได้ครบ ทางผู้จัดการสปอร์ตสคลับจะปิดสมุดแล้วเรียกผู้นั้นไปชำระค่าแรกเข้า (ENTRANCE FEE) ซึ่งเพิ่งขยับราคาเป็น 80,000 บาทจากเดิม 40,000 บาทเมื่อคราวประชมใหญ่เดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง จากนั้นก็ต้องเสียค่าบำรุงล่วงหน้า 6 เดือน

ค่าบำรุงหรือ MEMBERSHIP FEE ของสปอร์ตสคลับค่อนข้างต่ำ สำหรับพวกสมาชิกเก่าที่เป็นก่อนปี 2523 เสียอัตราเก่าเดือนละ 250 บาท แต่สมาชิกหลังจากปี 2523 เสียเดือนละ 1,000 บาท

พอเรียบร้อยในขั้นนี้แล้ว ทางสปอร์ตสคลับก็จะนัดวันสัมภาษณ์ ซึ่งจะจัดเดือนละสองครั้งคือต้นเดือนและปลายเดือนก็ต้องคิวรอกันอีกรอบ

พอถึงวันสัมภาษณ์ ผู้สมัครก็ต้องให้ผู้แนะนำ (PURPOSER) และผู้รับรอง (SECONDER) เข้าไปแนะนำตัวเองต่อคณะกรรมการอำนวยการทั้ง 12 คน

การสัมภาษณ์ทั้งหมดหรือกรอกข้อความในประวัติทั้งหมดจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐาน การใช้ภาษาอังกฤษจะปรากฏให้ได้ยินและได้เห็นทั่วไปตามป้ายห้ามนำสุนัขเข้า ห้ามใช้ผ้าเช็คตัวสองผืน หรือในการประชุมจะพูดและบันทึกการประชุมเป็นภาษาอังกฤษด้วย

ทั้งนี้เพราะในยุคแรกของสปอร์คสคลับ เป็นที่ชุมนุมของฝรั่งมังค่าส่วนใหญ่ที่มาค้าขายติดต่อกับไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่เหล่าพระราชบุตรหรือขุนนางไทยยังอยู่ระหว่างการศึกษาเล่าเรียนในต่างประเทศเพื่อกลับมาบริหารราชการแผ่นดินในเวลาต่อมา สโมสรนี้จึงเป็นที่สังสรรค์ระหว่างคนไทยและต่างประเทศตามพระบรมราโชบาย

หลังจากผ่านการสัมภาษณ์ฟุดฟิดฟอไฟแล้วคระกรรมการก็จะลงชื่อให้คะแนน่าผ่านหรือไม่ผ่านดดยการหยิบเอาลูกบอลซึ่งมีสีขาวและสีดำจำนวน 12 ลูกมาลงให้ ถ้าหากมีลุกบอกดำเพียงลูกเดียวก็แสดงว่า REJECT ไม่รับจะต้องได้รับคะแนนเป็นลูกบอลขาวล้วนทั้งหมดจึงจะถือว่าผ่านด่านสุดท้ายนี้ไป

เมื่อผ่านการกลั่นกรองเช่นนี้แล้ว ก็จะถูกจัดชั้นอีกครั้งหนึ่งว่ามีสิทธิ์เป้นสมาชิกประเภทที่ไม่มีสิทธิ์โหวตเสียง (NON-VOTING MEMBER) ที่ทางสปอร์ตสคลับได้อำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างประเทศระดับผู้บริหารสูงสุดขององอค์กรสำคัญ ๆ เช่นเชลล์ เอสโซ่หรือแบงก์ต่างประเทศที่ส่งผู้บริหารมาประจำไทย กลุ่มนี้จะจ่ายค่า ENTRANCE FEE ปีละ 80,000 ลาท

หรือเป็นสมาชิกอีกประเภทหนึ่งคือ FULL MEMBER ผู้มีสิทธิ์ในการโหวตเสียง ซึ่งสัดส่วนคนไทยมีถึง 4,490 คนหรือประมาณ 83% ของจำนวนสมาชิกสามัญที่อยู่กรุงเทพ 5,576 คน

แต่เหนือสิ่งอื่นใดความสำคัญของการจะเข้าสปอร์ตสคลับได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ำทำไห้เข้าตากรรมการได้มากน้อยแค่ไหนประกอบด้วย

เมื่อได้เข้าแวดวงไฮโซไซตี้ในสปอร์ตสคลับแบบยืดอกได้ความภาคภูมิใจแล้ว หลายคนคงร้องยี้ว่าไม่เห็นเป็นเหมือนคาดหวังไว้ หรือไม่ก็พอใจกับสุรา นารี พาชี กีฬาบัตรที่มีเพียบ

อย่างนี้ที่เขาเรียกว่ารสชาติของชีวิตไฮโซไซตี้จริง ๆ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.