สปอร์ตสคลับ ฤาเป็นสารสินสโมสร

โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

นับตั้งแต่พงส์ สารสินเป็นประธานราชกรีฑาสโมสรณ์ที่เป็นเอ็กซ์คลูซีฟคลับเก่าแก่แห่งแรกของเมืองไทยมา 13 ปี ปีนี้นับเป็นปีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าพงส์ผิดพลาดในหลักการมากที่สุดดด้วยการนำเสนอมติของสมาชิกชาวต่างประเทศ ที่เสนอให้ขายสิทธิ์สมาชิกได้ 4.5 ล้านบาทเข้าที่ประชุมใหญ่ประจำปี 2533

นี้ ซึ่งจุดชนวนความตื่นัวในหมู่ผู้ดีเลือดสีน้ำเงินที่อ้างถึงว่าการกระทำเช่นนี้ขัดพระบรมราชโองการอย่างรุนแรง

ขณะที่สังคมภายนอก "สปอร์ตสคลับ" กำลังหมุนไปอย่างเร็วตามความตื่นตัวของตลาด ความต้องการเป็นสมาชิกกอล์ฟคลับราคาเรือนแสนในระยะ 1-2 ปีที่ผานมาความเป้นไปในเชิงพาริชย์เช่นว่านี้ไม่ได้บังเกิดขึ้นในสมโมสนอันทรงเกียรติภายใต้ชื่อว่าราชกรีฑา สโมสรณ์ (THE ROYAL BANGKOK SPORTS CLUB) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "สปอร์ตสคลับ" นี้เลย

ความพยายามเปลี่ยนแปลงเฉกเช่นสโมสรการค้านี้พงส์ สารสินในฐานะประธานของ สปอร์ตสคลับแห่งนี้ต้องประสบความล้มเหลว

ทั้งนี้เพราะการก่อกำเนิดของสปอร์ตสคลับแห่งนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา

สปอร์ตสคลับแห่งนี้เป็นเป็นเอ็กซ์คลูซีฟคลับเก่าแก่ที่สุดของไทย ที่ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ระหว่างถนนสองสายคือ ถนนราชดำริกับถนนอังรีดูนังต์ มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลถึง 80 ไร่นับว่าเป็นเนื้อที่แปลงใหญ่ที่สุดเพียงผืนเดียวขณะนี้ในเมือง เมื่อครั้งดบราณากาลครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มร. OLAROFFSKY ร่วมกับคนไทยกลุ่มหนึ่งได้ขอพระบรมราชานุญาตที่จะตั้งสโมสารสถานขึ้นในกรุงเทพ เพื่อพักผ่อนและบำรุงผสมพันธุ์ม้าให้เจริญยิ่งขึ้น

รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชดำริว่าเป็นการเกื้อกูลความเจริญแก่กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 125,000 บาทเพื่อเป็นทุนเริ่มแรกและพระราชทานที่ดินบริเวณสระปทุมวัน ที่ซึ่งเป็นสนามแข่งม้าหลวงหรือที่เรียกว่ายิมคานาคลับ (GYMKHANA CLUB) เป็นที่ตั้งสโมสรสถาน โดยพระราชทานนามให้ว่า "ราชกรีฑาสโมสรณ์กรุงเทพฯ" หรือ "รอยัล บางกอก สปอร์ตสคลับ"

ด้วยเหตุนี้ราชกรีฑาสมโมสรณ์แห่งนี้ จึงกำเนิดจากพระบรมราชานุญาต (ROYAL CHARTER) ที่ลงไว้เป็นลายพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 6 กันยายน ปีพ.ศ. 2445 (ร.ศ. 120)

เป็นเวลา 88 ปีที่รอยัล ชาร์เตอร์นี้ถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่เปรียเสมือนพระธรรมนูญการปกครองของราชกรีฑาสโมสรณ์แห่งนี้ และพรบรมราชโองการนี้ก็นำมาบรรจุใส่กรอบตั้งไว้ในห้องประชุมของสโมสรเพื่อใช้เป็นหลักการบริหารของกรรมการทุกยุคทุกสมัย

การบริหารสปอร์ตสคลับแห่งนี้ในยุคเริ่มแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2448 มีประธานคณะกรรมการอำนวยการทั่วไปราชกรีฑาสโมสรณ์ (CHAIRMAN OF R.S.B.C.) คนแรกชื่อ J.CAULFIELD JAMES ซึ่งทำงานให้สโมสรนี้นานถึง 7 ปีและได้รับเลือกเป็นวาระที่สองอีกครั้งในปี 2457-2460

ประธานของสปอร์ตสคลับในอดีตที่ผ่านมา 88 ปีเป็นชาวตางประเทศส่วนใหญ่ถึง 19 คน โดยมีคนไทยเพียง 3 คนเท่านั้น และกว่าจะถึงเวลานี้ คนไทยต้องใช้เวลานานถึง 36 ปี ถึงได้มีหม่อมเจ้ารัชดาภิเษกเป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานระหว่างปี 2484

ทิ้งช่วงห่างจากคนไทยคนแรกมาอีก 23 ปีประธานคนไทยคนที่สองคือ พล.ต.ท.จำรัส มัณฑุกานนท์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจสมัยพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์และสมัยพล.ต.อ.ประจวบ สุนทรางกูรเป็นอธิบดีฯ พล.ต.ท.จำรัสมีชื่อเสียงมาจากสายสันติบาลและเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศมากในยุคนั้น

สืบต่อจากพล.ต.ท.จำรัส มัณฑุกานนท์ คนไทยต่อมาที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานก็ตั้งพงส์ สารสินบุตรชายคนโตของพจน์ สารสินผู้ที่มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจและการเมืองไทย

ปัจจุบันโครงสร้างการบริหารในสปอร์ตสคลับโดยทั่วไปจะแบ่งเป็นคณะกรรมการอำนวยการ 12 คนโดยมีพงส์ สารสินเป็นประธาน และมีรองประธานเป็นคนไทยสองคนคือ ประทีป จีระกิติเจ้าของสีลมคอนโดมิเนียม พ.ต.อ.วิรัช วาณิชยการผู้จบการสึกษาระดับปวส. แต่สามารถไต่เต้าขึ้นสู่รองผู้บังคับการต่างประเทศ กรมตำรวจได้ พ.ต.อ.วิรัชถูกยืมตัวมาสมัยเมื่อพล.ต.อ.เภา สารสินเป็นอธิบดีกรมตำรวจ

นอกจากนี้กรรมการคนไทยยังมี มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม จุฬาฯร่วมอยู่ด้วย

ส่วนกรรมการชาวต่างประเทศ 8 คนที่ร่วมทีมของพงส์ได้แก่ C.J.P.BOHREN ปัจจุบันเป็ปนระธานของบริษัทเนสท์เล่ (ประเทศไทย), K.C.GILSON, J.P.ROONEY เจ้าของกิจการคอนซัลแตนท์ JP ROONEY& ASSOCIATES LTD., I.M.GIBSON เจ้าของกิจการด้านเอ็นจิเนียริ่งโปรดักส์, LT.COL.D.S.KARUKIN อดีตนายทหารอเมริกัน, E.H.MORRIS O.B.E. ในอดีตเคยทำงานกับบริษัทดันลอป ปัจจุบันเกษียนออกมาแล้ว B.VAN DER LINDEN กรรมการชาวดัทช์และที่ปรึกษาบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอ็ม.ซี.ซี และ S.SEAL เจ้าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ชาวอินเดีย

"ผมเห็นว่าสัดส่วนกรมการล้าสมัย คนบริหารควรจะเป็นเสียงส่วนใหญ่เพราะขณะนี้สมาชิกเรามีคนไทยถึง 87% ฝรั่ง 13% ผมก็ไปซาวเสียงคุณพงส์ ถึงเวลาน่าจะแก้แล้วนะ ผมอยากให้กรรมการไทย 6 คนและฝรั่ง 6 คน คุณพงส์ก็บอกว่าเอาเลยน้องพี่จะนัดให้" พล.อ.เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวาซึ่งเป็นสมาชิกสปอร์ตสคลับมานาน 40 ปีเล่าให้ฟังถึงการคุยกับพงส์ส่วนตัวก่อนเสนอมตินี้เข้าที่ประชุมในวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมานี้

มตินี้ ได้รับเสียงสนับสนุนจาก GEORGEANTONPERERA บรรณาธิการข่าวกีฬาของ น.ส.พ.เดอะเนชั่นและจากศจ.นิคม จันทรวิทูร ที่มองเห็นว่าควรเสริมทีมคนหนุ่มเข้ามาช่วยงานเพิ่มขึ้น

"ผมเคยเสนอญัตติที่จะให้มีการแก้ไขว่า วาระการเป็นกรรมการควรจะไม่เกิน 4 ปีติดต่อกัน เพื่อจะได้ให้โอกาสคนใหม่เข้ามาทำงาน คุณพงส์ก็เห็นด้วยตั้งผมเป็นคณะทำงานแก้ไขข้อบังคับสโมสร" ศจ.นิคมเล่าให้ฟัง

กรรมการอำนวยการในชุดของพงส์นี้ เป็นกรรมการกันมาไม่ต่ำกว่า 4 ปี บางคนเป็นกรรมการนานถึง 30 ปีติดต่อกันเช่น มร.มอริสที่คิดถึงสปอร์ตคลับเหมือนบ้านที่สอง ทุกวันตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็นจะเห็นมอริสเดินเตร็ดเตร่ดูแลไปทั่วบริเวณ

หน้าที่กรรมการเหล่านี้จะสวมหมวกอีกใบในฐานะอนุกรรมการด้านต่างๆ เช่นแชริตี้ ไฟแนนซ์เมมเมอร์ชิพ แพลนนิ่ง เอฟแอนด์บี สปอร์ต เฮาส์แอนด์กราวน์ โดยแต่ละกรรมการจะมี CONVENOR และ VICE กับกรรมการอีก 4-6 คน

"ผมขอยืนยันว่าคลับของเราอยู่กันอย่างพี่น้องจริง ๆ และในข้อขังคับเราไม่ได้ใช้คำว่าไทยหรือฝรั่ง สมาชิกก็คือสมาชิก ดังนั้นกฎเขาวางไว้ว่ากรรมการเกินชาติละ 4 คนไม่ได้ เพราะต้องการกระจายไปหลาย ๆ เชื้อชาติ" สาธิต เซกัล (S.SEGAL) หนึ่งในกรรมการชี้แจง

ในที่สุดมติการเปลี่ยแปลงสัดส่วนกรรมการไทยกับฝรั่งนี้ก็ต้องเป็นอันพ่ายแพ้เสียงโหวตไป 38 ต่อ 156 คะแนน ท่ามกลางบรรยากาศฮาป่าที่พล.อ.เฟื่องเฉลยกล่าวว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าจะเจอบรรยากาศ เถื่อน ๆ ในสโมสรอันมีเกียรติแห่งนี้

"ผมทราบทีหลังว่าเขาบิดเบือนว่านายทหารจะมายึดที่นี่ และถ้าปล่อยให้ทหารเข้ามาบริหารก็จะเจ๊งเหมือนสนามม้าไทย ผมบอกว่าว่าไปลามปามเขาได้อย่างไรเพราะสนามม้าไทยเขาคนละคอนเซปท์และยุคสมัยกับเขา และการที่ผมกล้าจุดชนวนศักราชว่าคนไทยควรทัดเทียมฝรั่งได้แล้วหรือยัง นี่เป็นเรื่องหลักการ ไม่ใช่ส่วนตัว" พลงอ.เฟื่องเฉลยระบายความอึดัดใจที่มีผู้พยายามดึงเขาเข้าไปชนกับพงส์ เพราะเข้าใจว่าเขาจะเข้าเป็นแคนดิเดทในการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ในสิ้นเดือนตุลาคมนั้นเอง

นอกจากกรรมการกลางซึ่งเป็นผู้กุมนโยบายข้างต้นแล้ว สปอร์ตสคลับยังมี COMMITTEEOFSPORTS SECTIONS ที่จัดแบ่งตามประเภทกีฬาที่มีอยู่ทั้งหมด 21 ประเภท โดยจะมี CHAIRMAN เป็นผู้รับผิดชอบกำหนดแผนงานและงบประมาณในแต่ละปี

ดังนั้นอำนาจการบริหารจึงเป็นในรูปลักษณะการกระจาย (DECENTRALIZE) แต่การบริหารการเงินของสปอร์ตคลังจะถูกควบคุมด้วยลักษณะการรวมศูนย์ (CENTRALIZE)

สิ่งหนึ่งที่พงส์และกรรมการได้ทำให้เห็นในปีนี้ก็คือ นโยบายการบริหารรายได้เข้าสปอร์ตสคลับนั้นค่อนข้างจะ AGGRESSIVE

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้มีการขอเพิ่มอัตราค่าสมาชิก (MEMBERSHIP DUES) และค่าธรรมเนียมแรกเข้า (ENTRANCE FEE) มากถึง 200-300% โดยอ้างเหตุผลว่าต้นทุนต่อหัวสมาชิกสูงขึ้น

เดิมค่าแรงเข้าสมาชิกเก่าจะเสียเพียง 3 พันกว่าบาท และสมาชิกใหม่จะเสีย 4 หมื่นบาท และปีนี้กรรมการได้เสนอขึ้นอัตราสมาชิกใหม่เป็น 8 หมื่นบาท

"เรื่องที่บอกว่าขึ้นมากถึง 200-300% ผมก็ตอบไปแล้วว่าไม่ได้ขึ้นมาถึง 16 ปีแล้ว มันก็เลยมีความจำเป็น ถ้ายิ่งอ้นเอาไว้อีก มันก็ยิ่งจะหนักหนายิ่งขึ้นไปอีก" พงส์แถลงเหตุผลเพื่อขอเสียงเห็นชอบหรือไม่จากสมาชิก

สปอร์ตสคลับถึงกับประสบปัญหาถึงแตกแล้วหรือ

"ปัญหารายได้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของเรา แต่ละปีรายได้เรามากกว่ารายจ่าย และเนื่องจากเราไม่เคยเพิ่มค่าเมมเมอร์ชิพมาสิบกว่าปีแล้ว เราจึงเสนอเพิ่ม 200-300% แต่ปรากฏว่าสมาชิกไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่ามากเกินไป กรรมการก็เลยต้องถือตามเดิม" สาธิตเซกัล CONVENOR ของนุกรรมการฝ่ายสมาชิกเล่าให้ฟัง

ปัจจุบันสปอร์ตสคลับมีรายได้ทั้งหมด76.6 ล้านบาท แยกเป็นรายรับหลักสี่ทางคือ หนึ่งรายได้หลักจากการแข่งม้า โดยเฉลี่ยจะได้รับวันละ 60.6 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายลูกม้าที่ฟาร์มอีก 1.7 ล้านบาท

"การแข่งม้าในปีที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ยอดขายตั๋วม้าแข่งเพิ่มขึ้นเป็น 1,616 ล้านบาท จาก 1,605 ล้านบาทในปีที่แล้ว โดยเงินตายส่วนแบ่งเพิ่มจาก 1,260 ล้านบาทเป็น 1,267 ล้านบาท คณะกรรมการฯ หวังว่ารายได้จากการแข่งม้าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ" พงส์ได้รายงานไว้ในการประชุมใหญ่ประจำปี 2533 ของสปอร์ตสคลับที่จะจัดทุกสิ้นเดือนตุลาคมของทุกปี

ในงบดุลที่สิ้นสุดเดือน ก.ค. 2533 นี้แจ้งว่ามีรายรับ 192 ล้านบาทเมื่อหักค่าใช้จ่ายจะเหลือ 42.4 ล้านบาทจากการแข่งม้า 25 วันอาทิตย์

ถึงกระนั้นในการประชุมเมื่อคราวขอเพิ่มค่าสมาชิก 200-300% ก็ได้อ้างถึงรายได้ที่ลดลงเนื่องจาก ถูกคุมกำเนิดจากนโยบายรัฐจากสองวันเหลือเพียงวันเดียว

"นี่เป็นเรื่องโบราณแล้ว สมัยก่อนคนแทงม้าเต็ง 100 บาทม้ารอง 100 บาทเพราะมันมีตั้ง 30 เที่ยวต้องขยักไว้ แบบวันนี้เสียพรุ่งนี้อาจได้ แต่เวลานี้เหลือวันอาทิตย์วันเดียว โอกาสจะผิดถูกมีน้อยคนเล่นก็อัดเงินเข้าไปมาก กลายเป็นเล่นทีละ 500 บาทสนามม้าก็มีรายได้มากขึ้น โดยทุนค่าโสหุ้ยต่างๆ เยอะเพราะแข่งวันเดียว ดังนั้นอย่าโกหกคำโตให้เราเขว" พล.อ.เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวพูดในฐานะนายทหารม้ารักษาพระองค์กับเจ้าของคอกม้า "รามราฆพ" เล่าให้ฟัง

ผลประโยชน์มหาศาลนับพันกว่าล้านนี้อยู่ภายใต้การบริหารงานกรรมการ 12 คนจากเดิมแค่ 10 คน (RACING COMMITTEE)

รูโหว่ของรายได้สนามม้าส่วนหนึ่งมาจากปัญหาโต๊ดเถื่อนที่มีไว้ให้เครดิตสำหรับคนเล่นม้าหนัก ๆ ที่ไม่นิยมถือเงินเป็นแสนไปที่สนามแถมยังได้ลด 10% และเวลาแทงเบอร์อื่นก็ยังสมารถยกเลิกหรือเปลี่ยนได้ในนาทีสุดท้าย

โต๊ดเถื่อนยังคงมีอยู่ให้เห็นเป็นธรรมดาเหมือนหวยใต้ดิน เรื่องนี้กล่าวกันผู้อยู่เบื้องหลังโต๊ดเถื่อนที่สนามม้าฝรั่งนี้เป็นบุรุษในเครื่องแบบที่มีนิสัยติดการเล่นการพนันมาก ๆ เคยหนีไปเมืองนอกเพราะจ่ายเช็คเด้ง 40 ล้านบาทแต่ก็กลับมาได้อีกเพราะบารมี "ผู้ใหญ่" คุ้มครอง

"เรามีนโยบายอยู่แล้วที่จะป้องกันโต๊ดเถื่อนแต่มันพิสูจน์กันยากวาใครเป็นโต๊ดหรือไม่ ต้องอาศัยกำลังตำรวจปราบ" กรรมการท่านหนึ่งเล่าให้ฟัง

สอง-รายได้จากค่าสมาชิกและกีฬา (MEMBER SHIP & SPORT) ซึ่งได้รับเงินถึง 35 ล้านบาทแต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายจะเหลือเพียง 12.6 ล้านบาท

สาม-รายรับจากค่าอาหารและเครื่องดื่ม 26.1 ล้านบาท แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายเช่นถ้วยแก้วแตกปีละ 3 แสนบาทและค่าน้ำยาซักล้างปีละ 5 แสนกว่าบาทก็จะเหลือรายได้เข้าส่วนกลางเพียง 7.6 หมื่นบาทเท่านั้น

"ค่าแก้วแตกปีละ 3 แสนไม่รู้ว่ากินแก้วกันอย่างไร และแฟ้บลางถ้วยชามปีละห้าแสนกวา ไม่รู้ล้างอะไรกันหนักหนา เพราะพรมและผ้าเช็ดปากก็ยังสกปรกอยู่ และที่นี่ เขาผูกขาดขายแต่น้ำอัดลม "โคล่า" เพราะเป็นสมาคมของสารสินหรือเปล่า" เสียงบ่นจากสมาชิกสโมสรท่านหนึ่งระบายให้ฟัง

รายรับทางที่สี่มาจากโปโลคลับซึ่งเป็นสโมสรสำหรับเศรษฐีใหม่ ในปีนี้โปโลคลับขาดทุน 4 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่มีรายรับจากค่าสมาชิกและกีฬา 22 ล้านบาท

เดิมโปโลคลับเป็นสโมสรสำหรับนักขี่ม้า แต่ต่อมาสปอร์ตสคลับได้เข้าไปเทคโอเวรอ์เมื่อ 10 ปีที่แล้วได้ปรับปรุงสร้างสระว่ายน้ำคลับเฮ้าส์ คอร์ทเทนนิส สควอทซ์ ฯลฯ ปัจจุบันสมาชิกโปโลคลับมีอยู่ 1,312 คนโดยต้องเสียค่าสมาชิกแรกเข้าคนละหมื่นแสนบาท

โดยแท้จริงแล้วพงส์แบบจะไม่ค่อยมีเวลาดูแลงานสปอร์ตสคลับ เพราะติดอยู่กับงานทางการเมืองและธุรกิจนับร้อยแห่ง ปล่อยให้กรรมการอื่น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบตัดสินใจบางเรื่องแทน และการปฏิบัติงานประจำวันจะมีคลับออฟฟิสเชียลที่จางมืออาชีพจากภายนอกเข้ามาเป็นผู้จัดการทั่วไป (GENERAL MANAGER) กับผู้ช่วยจี.เอ็ม.อีกคน รับผิดชอบทั้งสปอร์ตสคลับและโปโลคลับ

ปัจจุบันจี.เอ็ม.สปอร์ตสคลับชื่ออภิชัย บุรณศิริวึ่งเดิมเคยเป็นผู้จัดการที่โปโลคลับมาก่อนจะได้รับการโปรโมทเป็นจี.เอ็ม.ที่นี่

ก่อนหน้าที่อภิชัยจะเข้ามาเป็นจี.เอ็ม.นี้ สปอร์ตคลับเคยมีกรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตของจี.เอ็ม.คนก่อนที่รู้จักกันในนามชื่อเล่นว่า "ป้อม" พร้อมแคชเชียร์ผู้ต้องหาอีกสองรายในข้อหายักยอกเงินจำนวน 9,640,000 บาท เหตุการณ์นี้เกิดในราวเดือนมิถุนายน 2529 พร้อมกับข่าวลือว่าจีเอ็มคนนี้ได้หลบลี้หนีหน้าไปเมืองนอก

และหนึ่งในสามรายนี้เป็นหญิงสาวที่กลายเป็นแพะรับบาปที่ได้ชิงฆ่าตัวตายไปก่อน

"ขณะนี้เรื่องราวยังฟ้องร้องกันอยู่ที่ศาล เท่าที่ผมทราบในจำนวนผู้ถูกกล่าวหาเสียชีวิตไปก่อนและอีกสองคนอยู่ระหว่างอุทธรณ์ หลังจาก ศาลชั้นต้นได้ตัดสินไปแล้ว แต่อภิชาติ (ป้อม) เขาก็ยังอยู่ต่อสู้ ไม่ได้หนีไปไหน เราคงต้องวางมาตรการและหาวิธีการที่จะอุดรูโหว่ต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้น" กรรมการอำนวยการคนหนึ่งในสปอร์ตสคลับเล่าให้ฟัง

นอกจากนี้การบริหารที่โปโลคลับก็จะมีผู้จัดการคลับพร้อมทีมผู้บริหารอีก 5 คน ปัจจุบันมี AKALIT GUNA-TILAKA เป็นผู้จัดการที่นี่ด้วยโดยทั้งสองแห่งนี้จะอยู่ภายใต้จี.เอ็ม.อภิชัย

นับตั้งแต่พงส์ สารสินเป็นประธานของสปอร์ตสคลับอันทรงเกียรติมา 13 ปี ปีนี้นับเป็นปีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าพงส์ผิดพลาดในหลักการมากที่สุดด้วยการนำเสนอมติของสมาชิกชาวต่างประเทศที่เสนอให้ขายสิทธิ์สมาชิกได้ 4,500,000 ลานบาทเข้าที่ประชุมใหญ่ประจำปีได้

เรื่องราวนี้ใหญ่โตจนกระทั่งดร.รชฎ กาญจนวณิชย์ซึ่งเป็นสมาชิกมากว่า 30 ปีแล้วต้องเอ่ยปากคัดค้านว่า "เป็นการเสนอมติที่ขัดกับพระบรมราชดำรอย่างยิ่ง"

เหตุการณ์เกิดเมื่อ 31 ตุลาคม 2533 ในการประชุมใหญ่ประจำปี 2533 เพื่อเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ของสปอร์ตสคลับแห่งนี้ ซึ่งปรากฏผล่ากญังคงเป็นทีมผู้บริหารเก่าซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่มานานไม่ต่ำกว่า 4 ปี

หลังจากผ่านพ้นการเลือกตั้งไปแล้ว วาระการประชุมสุดท้ายคือมติที่ SENSITIVE ที่สุดที่ถูกเสนอโดยมร. A.F.EBERHARDT สมาชิกสโมสรคนหนึ่งว่าสิทธิ์สมาชิก น่าจะขายได้ในวงเงิน 4.5 ล้านบาทแล้วหัก 30% ของรายได้นี้เข้าสโมสร ทั้งนี้ได้ให้เหตุผลสองประการว่าในปัจจุบันค่าสมาชิกสโมสรภายนอกมีมูลค่าสูงมากนับล้านบาท และความจำเป็นตอ้หาเงินมาบำรุงการกีฬาในสปอร์ตคลับมีอยู่สูงมากดังนั้นจึงเสนอมติหารายได้เข้าสโมสรนี้

มตินี้สร้างความตระหนกตกใจและจุดชนวนความพิโรธให้แก่สมาชิกอาวุโสสโมสรนี้อย่างรุนแรง

"มันผิดหลักการทำแบบนี้เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ กรรมการปล่อยให้มตินี้เข้ามาได้อย่างไร"

"ถ้าคุณขายสิทธินี้ได้ ก็เหมือนคุณขายบัตรประชาชน"

"ต่อไปมีเงินอย่างเดียวก็เข้าได้"

"ฟังดูก็ไม่เลวนะ สำหรับคนแก่ที่ไปไม่ไหวแล้วเก็บทั้งชาติก็ยังไม่ได้เลย 4.5 ล้าน"

นานทัศนะที่ปรากฏแก่บรรยากาศในวันประชุมที่คอร์ทแบดมินันเย็นย่ำถึง่ำวันนั้นตึงเครียด และในที่สุดมตินี้ก็ถูกตีตกไป ด้วยเสียงคัดค้านอย่างหนักหน่วงที่อ้างถึงพระบรมราชานุญาตข้อที่ 5 ที่ว่าไว้ ดังต่อไปนี้

"สมบติแลเงินที่เกิดขึ้นแก่สโมสรณ์สถานโดยทางใด ๆ ก็ดี จะต้องใช้ฉะเพาะแต่ที่จะเกื้อกูลให้ความประสงค์ของสโมสรณ์สถาน อันมีข้อความแจ้งอยู่ในหนังสือสัญญาตั้งสโมสรณ์สถานนี้ให้สำเร็จตลอดไปอย่างเดียวเท่านั้น และจะเอาเงินนี้มากน้อยเท่าใด ๆ ก็ดี ไปใช้ฤายักย้ายส่งไปโดยทางตรงฤาทางอ้อมก็ดีเพื่อจะให้เป็นกำไร ฤาเป็นผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งแก่สมาชิกของสโมสรณ์สถานนั้นไม่ได้เป็นอันขาดเว้นไว้แต่ที่จะให้เป็นรางวัลฤาเป็นค่าจางแก่พนักงานฤาคนใช้ฤาสมาชิกผู้ใด ผู้หนึ่งในสดมสรณ์สถานฤาผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งได้กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่สโมสรณ์สถานโดยจริงแท้ จึงใช้ได้"

เรื่องราวเหล่านี้ยังคุกรุ่นอยู่ในใจสมาชิกสโมสรซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่มีผู้นับหน้าถือตาในวงสังคมระดับสูง เพราะแนวความคิดนี้ได้ผุดขึ้นมาได้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีการเกิดขึ้นของโครงการสนามกอล์ฟมากมายในระดับเอ็กซ์คลูซีฟ เพื่อตอบสนองความต้องการของเศรษฐีใหม่

"เวลานี้บ้านเมืองมีเงินจะทำอะไรก็ได้คลับคนรวย ๆ อย่างไพน์เฮิร์ท เฮอริเทจคลับหรือนวธานี เขาเสียค่าสมาชิกกันเป็นแสน ๆ ผมก็ทราบแต่สปอร์ตสคลับของเราไม่ใช่สโมสรการค้า มันผิดหลักการและเสียภาพพจน์ด้วย" พล.อ.เฟื่องเฉลยวิจารณ์

"ความจริงผมน่าสนับสนุนเพราะผมอายุ 65 ปีแล้ว แต่ผมไม่ต้องการเงินอย่างนี้ ผมเป็นห่วงลุกหลายชนชั้นกลางที่จะไม่มีโอกาสเข้า" ศจ.นิคม จันทรวิทูร วุฒิสมาชิกที่เป็นอดีตอธิบดีกรแรงงานพูดในฐานะคนธรรมดาที่ก้าวเข้ามาในสปอร์ตสคลับได้เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว

"ผมเสนอให้ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และเริ่มเก็บเงินค่าเล่น กีฬาต่าง ๆ หรือไม่กรรมกรก็เชิญคนที่มีฐานะดีพอจะบริจาคให้สโมสรได้เข้ามาเป็นสมาชิก แต่วิธีขายสิทธิ์สมาชิกผมไม่เห็นด้วย" ศจ.นิคมกล่าวในที่สุด

การบริหารสถาบันที่เก่าแก่ที่มีจารีตประเพณีและสมาชิกที่สืบทอดกันหลายชั่วอายุคนเช่นนี้ นับว่าเป็นบทเรียนรสอนให้ผู้บริหารสปอร์ตสคลับรวมทั้งสมาชิกที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปสู่สโมสรการค้าเฉกเช่นกอล์ฟคลับต่าง ๆต้องกลับไปศึกษาหลักการในพระบรมราชานุญาติหรือ "รอยัล ชาร์เตอร์" อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

เพียงแต่บนควมขัดแย้งระหว่างการบริหารรายได้กับการดำรงอยู่ในฐานะสโมสรทรงเกียรติมิใช่สโมสรการค้า อาจะต้องอาศัย ฝีมือการจัดการที่ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างแท้จริง

เพราะอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตของสมาชิกจะสูงขึ้น แม้จะมีการพยายามคุมโควต้าการรับสมาชิกเท่านั้นก็ตามและการวางแผนในระดับนโยบายต่อการขยับขยายสาขาใหม่ของสปอร์ตสคลบก็จะต้องเกิดขึ้น หลังจากการสิ้นสุดสัญญากับสำนักงานทรัพย์สินพระองค์ในอีก 8 ปีข้างหน้านี้

ถึงเวลานี้ การบริหารของพงส์ สารสินจะยืนอยู่ทางใดระหว่างการผลักดันนโยบายสร้างสรรค์รายได้แบบเป็นธรรมและถูกต้องหรือการอยู่เฉย ๆ โดยไม่วางแผนเพื่ออนาคตของสปอร์ตสคลับเพราะเบื่อต่อเสียงคัดค้านยามเสนอมติเปลี่ยนแปลง

ถ้าหากพงส์เลือกทางที่สอง สปอร์ตคลับอาจจะเป็นเพียงสิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์ หรือไม่ก็เป็นเพียงการปล่อยวางไปเรื่อย ๆ ในฐานะ "สารสินสโมสร" อีกแห่งหนึ่ง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.