การต่อสู้ของราชาเครื่องจักรกล

โดย ศิริเพ็ญ กระตุฤกษ์
นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

"คนเราต้องใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งสองสิ่ง คือ ความทุกข์กับความสุข ถ้าใช้ความทุกข์เสียก่อนและความสุขให้ภายหลังเหมือนการเรียนรู้ยากเสียก่อนและเรียนความง่ายภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าทุกข์มาพอควรแล้ว จะเพิ่มหรือลดก็รับได้" ปรัชญาชีวิตของทองไทร บูรพชัยศรีที่ได้จากการต่อสู้มรสุมทางธุรกิจถึง 6 ตลบจากสิ้นเนื้อประดาตัวจนกลายเป็นเจ้าของธุรกิจหลายพันล้านบาท ถึงแม้ว่าวันนี้ เขาจะกอบกู้สถานการณ์ของเมโทรแมชีนเนอรี่ จนเป็นผลสำเร็จ แต่ความพอใจไม่ได้อยู่ตรงจุดนี้เพราะก้าวต่อไปที่เขาฝันอยากจะเป็น คือการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ใช่เป็นเพียงเทรดดิ้งคัมปานีอย่าง ที่ผ่าน ๆ มา

ทองไทร บุรพชัยศรี ผู้กุมบังเหียนของเมโทรแมนชีนเนอรี่ (เอ็มเอ็มซี.) ได้ใช้เวลาในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดในชีวิตธุรกิจของเขาถึง 4 ปีเต็ม จนทำให้เมโทรแมชีนเนอรี่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านการขายเครื่องจักรกลหนักของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบันด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่สูงถึง 40%

เมโทรแมนชีนเนอรี่เผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุดเมื่อรัฐบาลไทยประกาศลดค่าเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐลงจาก 23 บาทเป็น 27 บาทในปลายปี 2527 สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัทฯซึ่งซื้อด้วยเงินดอลลาร์เป็นหลักถูกกระทบกระเทือนอย่างหนัก กำไรสะสมตลอดระยะเวลา 8 ปีของการดำเนินงานกว่า 200 ล้านบาทหายไปในพริบตาเหลือแต่เงินทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาทนั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สิ้นปี 2527 เมโทรแมชีนเนอรี่ประสบกับตัวเลขการขาดทุนในงบการเงินเป็นครั้งแรกถึง 178.3 ล้านบาทและยังมีผลขาดทุนต่อเนื่องถึงปี 2528 อีก 2 ล้านบาท

รวมยอดขาดทุนสะสมสิ้นปี 2528 สูงถึงเกือบ 180 ล้านบาทขณะที่บริษัทมีเงินทุนเพียง 200 ล้านบาทนับว่าหมิ่นเหม่ต่อความมั่นคงมาก

ก่อนหน้านี้เมโทรแมชีนเนอรี่เคยเผชิญกับปัญหาเรื่องน้ำมันขึ้นราคาในปี 2522 และการลดค่าเงินบาทครั้งแรกในปี 2524 มาแล้ว

"สถานการณ์น้ำมันช่วงนั้นมีผลกระทบกับบริษัทฯเพียงแต่ยอดขายตกต่ำ และไม่มีกำไร เพราะลูกค้าที่จ่ายเงินปกติไม่สามารถจ่ายได้ เพราะต้นทุนสูงหนี้สินที่ติดกับแบงก์ยง ยังพูดให้แบงก์เข้าใจได้ ยังไม่อันตราย ส่วนการลดค่าเงินบาทในครั้งแรกก็ยังไม่มีผลกระทบมากนัเพียงแต่ยอดขายลดลงจาก 991 ล้านบาทในปี 2524 เหลือ 853 ล้านบาทในปี 2525 และกำไรลดลงจาก 13 ล้านบาทเหลือ 8.4 ล้านบาทเป็นการขาดทุนกำไรเท่านั้น แต่การปรับค่าเงินบาทครั้งหลังสุดนี่มันหมดเลย เศรษฐกิจหยุดยอดขายตกต่ำ ค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ แบงก์ก็เริ่มบีบลูกหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงิน ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องเงินหมุนเวียนไม่มีเลยเป็นสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนั้น" ทองไทรอธิบายถึงวิฤตการณ์ที่เกิดขึ้น

ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งอธิบายเพิ่มเติมว่า "ในขณะนั้น (ก่อนหน้าปี 2527ป เอ็มเอ็มซี. มีหนี้ทีกู้มา เพื่อซื้อสินค้าอยู่ประมาณ 1,200 ล้านบาทขณะที่มีเงินกองทุน (จากเงินทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาทบวกกับกำไรสะสมอีก 200 ล้านบาท) จำนวน 400 ล้านบาท ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อเงินกองทุนเท่ากับ 3:1 แต่หลังจากรัฐบาลประกาศ ลดค่าเงินบาททำให้เงินกำไรสะสมหายไป 200 ล้านบาทอัตราส่วนหนี้สินต่อเงินกองทุนจึงกลายเป็น 6:1 เมื่อเป็นเช่นนี้สถาบันกาเรงินในต่างประเทศที่เป็นเจ้าหนี้เริ่มองแล้วว่าเอ็มเอ็มซี. กำลังจะแย่ก็จะขอถอนเงินคืน ทำให้สถานการณ์ช่วงนั้นยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก"

การแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินขณะนั้นคือ การขายทรัพย์สินที่เกินความจำเป็นหรือไม่ก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนเช่นพวกที่ดินยานพาหนะ ว่ากันว่าช่วงนั้นทองไทรขายที่ดินออกไปมากพอสมควร (ประมาณร้อนกว่าล้าน) เพื่อนำเงินมาเป็นทุนหมุนเวียน นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่ายของบริษัทลงด้วยการลดคนงานอกจำนวนหนึ่งประมาณ 150 คนจากทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 750 คนคนโดยการหาอสาสาสมัครซึ่งบริษัทจะจะจ่ายเงินสะสมให้จำนวนหนึ่งพร้อมกับจ่ายเงินชดเชยให้อีก 6 เดือนให้ความหวังในการรับกลับเข้าทำงานใหม่เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น พร้อมกันนี้ก็ได้ประกาศลดเบี้ยเลี้ยงพนักงานเดินทางลงถึง 40% เป็นการลดค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของบริษัทฯ ลง

"ผมใช้เวลาพิจารณาเรื่องการปลดคนออกอยู่ถึง 6 เดือน ซึ่งสภาพจิตใจตอนนั้นมันแย่พอสมควรเพราะในสภาพที่เศรษฐกิจตกต่ำทุกคนก็ต้องการทำานแต่ต้องถูกปลดออก ผมทำอยู่ 6 เดือนก็หยุดปลดซึ่งจริง ๆ แล้วจะต้องปลดออกถึง 300 คน ผมลงไปอธิบายให้พนักงานทุกแผนกฟังว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นพยายามให้กำลังใจโดยให้สัตยาบันกับพนักงานทุกคนว่าถ้าบริษัทฯฟื้นกลับขึ้นมา เราจะคืนสิ่งที่หายไปกลับคืนให้" ทองไทรพูดถึงการแก้ปัญหาในช่วงนั้นด้วยสีหน้าที่บ่งบอกถึงความไม่สบายใจนัก

และบทเรียนจากการลดค่าเงินบาทในครั้งนี้ทำให้ทองไทรต้องหันมาพึ่งพิงแหล่งเงินกู้ภายในประเทศมากขึ้น

"การทำสัญญาซื้อขายสินค้าจากแคตเตอร์พิลล่าร์นั้นทางเอ็มเอ็มซี. ต้องจ่ายเป็นเงินสกุลดอลลาร์และจ่ายสด ไม่ว่าสินค้าจะสั่งมาจากอเมริกาซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางถึงประเทศไทย 40 วันหรือสั่งจากญี่ปุ่นซึ่งใช้เวลาเดินทาง 25 วันก็ตาม นับจากวันที่สินค้าออกจากโรงงาน 17 วันทางเมโทรต้องจ่ายเงินให้กับทางแคตเตอร์พิลล่าร์ทันที นั่นคือข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายที่มีมานานแล้ว เพราะฉะนั้นในส่วนหนี้สินของเอ็มเอ็มซี.ที่มีต่อบริษัทแคตเตอร์พิลล่าร์จึงไม่มกนักนอจกาในบางกรณีที่สินค้าเข้ามามากหรือเป็นกรณีพิเศษ ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากแคตเตอร์พิลล่าร์ในเรื่องเครดิตเป็นครั้งเป็นคราวไป" อนุกูล ศาสตวรรณ ผู้จัดการทั่วไปอธิบายให้ฟังถึงสถานะการเป็นคู่ค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์

ดังนั้นความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำสัญญากับแคตเตอร์พิลล่าร์โดยตรง แต่เกิดจากสัญญาเงินกู้ระหว่างเอ็มเอ็มซี.กับธนาคารเจ้าหนี้ในต่างประเทศเป็นหลัก

หลังจากการประกาศลดค่าเงินบาทผ่านพ้นไปเพียงปีเศษ สภาพคล่องทางการเงินก็เริ่มดีขึ้นเมื่อยอดขายกระเตื้องขึ้นเนื่องจากนโยบายในการพัฒนาประเทศของรัฐบาลมีมากขึ้น งบประมาณที่ใช้ก็มากขึ้นอย่างเช่นการสร้างถนน หรือการเกิดครงการอีสเทิร์น ซีบอร์ด ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเมโทรแมชีนเนอรี่ทั้งสิ้น

จากยอดขายในปี 2529 จำนวน 740 ล้านบาทบริษัทฯมีกำไร 7 ล้านบาทต่อมาในปี 2530 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 1,003 ล้านบาทในขณะที่กำไรเพิ่มขึ้นเป็น 58 ล้านบาท ในปี 2531 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 1,588 ล้านบาทมีกำไร 96 ล้านบาท และเมื่อปีที่แล้วยอดขายได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 2,598 ล้านบาททำให้บริษัทฯมีกำไรสุทธิถึง 136 ล้านบาทซึ่งเมื่อรวมกับกำไรสะสมในปีที่ผ่านมารวมเป็นเงินจำนวน 296 ล้านบาท

และในปี 2533 นี้จากการประมาณการของฝ่ายการบริหารของเมโทรแมชีนเนอรี่คาดว่ายอดขายจะสูงถึง 4,000 ล้านบาทและจะมีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 270 ล้านบาท

จากยอดการขายโดยรวมทั้งหมดใน 100 ส่วนของเมโทรเมนชีนเนอรี่สามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ดังนี้คือยอดขายส่วนหนึ่งที่มาจากเครื่องจักรซึ่งได้แก่ รถแทรกเตอร์, รถขุด, รถตัก, รถเกรด ฯลฯ จะอยู่ในราว 65% ในขณะที่ยอดขายจากเครื่องยนต์เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล. เครื่องยนต์เรือ, เครื่องยนต์แก๊สธรรมชาติจะประมาณ 13% ที่เหลือจะเป็นยอดขายจากอะไหล่ประมาณ 20% และบริการอีก 2%

เพียงชั่วเวลา 4 ปีจากปี 2528 บริษัทเมโทรแมชีนเนอรี่สามารถพลิกฟื้นจากการขาดทุนต่อเนื่องแทบล้มทั้งยืนมาเป็นกำไรและมีกำไรสะสมสูงถึงเกือบ 300 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2532 และคงจะเพิ่งสูงขึ้นไปกว่า 500 ล้านบาทในสิ้นปีนี้

การพลิกฟื้นของเมโทรแมชีนเนอรี่หากพิจารณาจากพื้นฐานของธุรกิจแล้วปัจจัยหลักทีเอื้อำนวยให้คือสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาประเทศซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลหนักเป็นหลัก

โดยปกติแล้วตลาดสินค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์ในประเทศไทยจะถูกกำหนดโดยตลาดของภาคเอกชนจากยอดขายที่สูงถึง 95-96% ส่วนยอดขายที่เหลือจะเป็นตลาดของหน่วยงานราชการเพียง 4-5% ด้วยเหตุผลทางด้านราคาซึ่งสินค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์จะสูงกว่าของคู่แข่งในตลาดประมาณ 8-10% และบางประเภทอาจสูงกว่า 20% ดังนั้นเครื่องจักรของแคตฯมักจะเสียเปรียบในการประมูลงานของหน่วยงานราชการเสมอด้วยสเป็กสินค้าที่เหมือนกันแต่ผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ทีได้ไป

มีบ้างเหมือนกันที่เอ็มเอ็มซี.สามารถประมูลในลักษณะเป็นร้อยคันมูลค่ากว่าร้อยล้านบาทจากหน่วยงานราชการได้ อย่างเช่น ในปี 2524 และปี 2526 ทำให้จำนวนยอดขายเครื่องจักรกลหนักของบริษัทฯสูงขึ้นกว่ายอดขายตามปกติ เช่นเดียวกับในปีนี้ที่ทางเอ็มเอ็มซี.สามารถประมูลงานของหน่วยงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ได้จำนวน 100 คันมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาทซึ่งจะมีการส่งมอบสินค้ากันในปีหน้าและจะส่งผลถึงยอดขายในปีเดียวกันด้วย

ในตลาดปกติคำว่าล็อตใหญ่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ตลาดคือ หนึ่งตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่อย่างเช่นโรงปูนกลุ่มนี้จะซื้อครั้งหนึ่งมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาท และสองตลาดภาคเอกชนธรรมดาการซื้อล้อตละ 20 ล้านบาทก็ถือว่าเป็นล็อตใหญ่ แต่มีลูกค้าใหญ่บางรายที่ซื้อไปทำสนามกอล์ฟมีมูลค่าถึง 40 ล้านาบาท หรืออย่างเช่นการซื้อไปทำสวนป่าซึ่งมีมูลค่าถึง 50 ล้านบาท

ดังนั้นการได้มาซึ่งงานประมูลของหน่วยงานราชการในลักษณะล็อตใหญ่ที่มีมูลค่าหลายร้อยล้านบาทจึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาและนาน ๆ จะมีสักครั้งหนึ่ง

อนุกูล ศาตวรรณ ผู้จัดการทั่วไปเอ็มเอ็มซี.อธิบายถึงการได้มาของงานล็อตใหญ่จากหน่วยงานราชการว่า "นั่นหมายถึงการยอมขาดทุนของบริษัทแม่แคตเตอร์พิลล่าร์ในล็อตนั้นเพื่อให้ราคาสามารถสู้กับคู่แข่งในการประมูลครั้งนั้นได้ ขณะที่การของเมโทรแมชีนเนอรี่จะเท่ากับศูนย์ เรียกได้ว่าเป็นการต่อสู้ของบริษัทแม่เพื่อช่วงชิงตลาดในเมืองไทยโดยการร้องขอจากเมโทร เนื่องจากเห็นว่าลูกค้ารายนี้ชื่อเสียงดีจะเป็นตัวอย่างของหน่วยงานภาคเอกชนได้ดี"

การที่บริษัทแม่แคตเตอร์พิลล่าร์ยอมขาดทุนหรือยอมสู้ให้กับเมโทรแมชีนเนอรี่นั่นหมายความถึงการหวังผลทางธุรกิจในวันข้างหน้า ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ตลาดระยะยาวไปประเทศไทยเป็นของแคตฯ และในส่วนของเมโทรเองก็หวังที่จะได้ขายอะไหล่ในอีก 2 ปีข้างหน้าเมื่อเครื่องจักรถึงคราวต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ ซึ่งในส่วนนี้ก็หวังไว้เพียง 70% เท่านั้นเนื่องจากหน่วยงานราชการบางหน่วยเปิดให้มีการประมูลอะไหล่ขึ้น ดังนั้นจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้นระหว่างอะไหล่แท้ของแคตฯกับอะไหล่เทียมจากออสเตรีเลียหรืออิตาลีซึ่งทำขึ้นมาให้ใช้กับเครื่องของแคตฯไดและมีราคาถูกกว่า ถึงแม้ว่าเครื่องจักรจะเป็นของแคตฯก็ตามแต่ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานนั้นจะลเอกใช้อะไหล่ของใคร ดังนั้นโอกาสที่เมโทรจะพลาดการขายอะไหล่ในอีก 2 ปีข้างหน้าก็มีทางเป็นไปได้ ซึ่งก็เท่ากับว่าที่เมโทรร่วมกับแคตฯทำมาทั้งเป็นอันว่าหมดกันไป

อีกสิ่งหนึ่งที่เมโทรได้คือการใช้เป็นตัวอย่างและหลักฐานอ้างอิงสำหรับการขายให้กับหน่วยงานภาคเอกชนต่อไป

ดังนั้นการต่อสู้ของเอ็มเอ็มซี. ในตลาดที่ผ่านมาจึงค่อนข้างจะเข้มข้นเพราะจะต้องเจอกับคู่แข่งในตลาดอีก 6 รายคือ KOMU ที่มีบางกอกมอเตอร์เวิร์คเป็น ตัวแทนจำหน่ายและมีส่วนแบ่งตลาดรองลงมาคือ 25% ที่เหลือมียี่ห้อ KOBELCO ของอริยะอีควิปเม้นท์. HITASHI ของแพนซัพพลาย. SUMITOMO ของกรุงไทยแทรดเตอร์, KATO ของพรชัยอีควิปเม้นท์และ DAEWOO ของค่ายเมโทรเอ็นยิเนียริง ซึ่งทุกค่ายมักจะใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมือน ๆ กันคือการวิ่งเข้าหากลูกค้าโดยตรง

แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เอ็มเอ็มซี.ถือเป็นจุดยืนที่สำคัญในการขายและทำให้สินค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์กลายเป็นผู้นำในตลาดคือการให้บริการหลังการขายรวมถึงความพร้อมในเรื่องของอะไหล่

การที่เอ็มเอ็มซี. กระจายสาขาที่เรียกว่าศูนย์ฯออกไปยังต่างจังหวัดทั่วประเทศถึง 24 แห่งในปัจจุบันเพื่อเป้นการรองรับการให้บริการแก่ลูกค้าของแคตฯอย่างทั่วถึงซึ่งศูนย์ฯแต่ละแห่งจะทำหน้าที่ตั้งแต่การขาย การบริการ หลังการขายรวมถึงเป็นคลังอะไหล่ ในตัวซึ่งจะมีอะไหล่บริการอยู่ ประมาณ 3-5 พันรายการต่อหนึ่งศูนย์ฯในขณะที่คลังอะไหล่ของบริษัทฯในกรุงเทพมีถึง 4 หมื่นรายการมูลค่ากว่า 350 ล้านบาทและในกรณีที่หาอะไหล่ชิ้นนั้นไม่ได้ในประเทศไทยก็ยังมีคลังอะไหล่ใหญ่ที่สิงคโปร์เพื่อป้อนให้กับ 14 ประเทศทั่วเอเยนอีกว่า 1 แสนรายการและจะจัดส่งให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง

ความพร้อมในจุดนี้คือความแข็งแกร่งที่สนับสนุนการขายของแคตเตอร์พิลล่าร์ให้เหนือกว่าคู่แข่ง

เมื่อการจัดระบบการบริหารภายในบริษัทนเป็นไปอย่างเหมาะสมประกอบกับสภาพเศรษฐกิจเอื้ออำนวย รวมทั้งชื่อเสียงในสินค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์เป็นที่รู้จักดีในตลาดเมืองไทย ทำให้วิกฤตการณ์ของเมโทรแมชีนเนอรี่ในครั้งนั้นผ่านพ้นมาได้เป็นอย่างดี

ทองไทร บูรพชัยศรี เกิดจากครอบครัวคนจีนโนทะเลที่อพยพมาตั้งรากรากทำมาหากินในประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2477 ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 5 คน

ทองไทรจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรีใช้เวลาเรียนอยู่ 3 ปีครึ่ง หลังจากนั้นได้เรียนหนังสือจีนควบคู่กันไปด้วยจนจบหลักสูตรมัธยมศึกษาระหว่างปี 2485-2492

เนื่องจากเกิดในครอบครัวที่ยากจนค่อนข้างมากในระหว่างที่เรียนก็ต้องช่วยพ่อแม่ขายของและเลี้ยงดูน้อง ๆ เพราะเป็นพี่ชายคนโต จากปัญหาความยากจนบวกกับความทะเยอทะยานที่จะต่อสู้ชีวิต รวมทั้งมีความคิดที่จะยกระดับฐานะของตนเองให้ได้ จึงตัดสินใจเดินทางเกาะท้ายรถบรรทุกเข้าผจญภัยในเมืองหลวงเมื่ออายุ 16 ปี โดยขออาศัยอยู่กับครูที่เคยสอนด้วยการทำงานบ้านเป็นการตอบแทน

และชีวิตธุรกิจก็เริ่มต้นตั้งแต่นั้นมาจากปี 2493 เป็นช่างเรียนพิมพ์วรจักรการพิมพ์ ได้รับค่าจ้างวันละ 1 บาททำอยู่ 1 ปีก็ไปเป็นลูกจ้างโรงงานทำน็อตสกรูที่ตลาดน้อยเพียงปีเดียวก็หันไปเป็นช่างซ่อมรถที่ยานนาวา เนื่องจากดูแล้วว่าอาชีพทำน็อตสกูรไม่มีความก้าวหน้า

ในปี 2498-2503 ได้เปลี่ยนอาชีพไปเป็นช่างซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เวิ้งนาคารเขษมรวมเวลาประมาณ 5 ปีจนสามารถเป็นช่างมือหนึ่งในการทำหม้อแปลงจาก 220 โวลท์เป็น 110 โวลท์ หลังจากนั้นไปเป็นพนักงานขายเครื่องสำอางที่บางลำภูอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงตัดสินใจอำลาชีวิตลูกจ้างเข้าสู่การเป็นเจ้าของกิจการอย่างเต็มตัว

ในช่วงนี้เองที่ชีวิตการต่อสู้ได้เริ่มต้นอย่างแท้จริงเริ่มด้วยการรวบรวมเงินที่เก็บหอมรอบริบไว้ทั้งหมดมาร่วมทุนกบเพื่อนอีกสองคนซื้อรถบรรทุกเล็กมารับซื้อผลไม้ ส่งน้ำอัดลมและสินค้าอื่นๆ เป็นเวลา 2 ปีจึงขายรถบรรทุกหันมาลงทุนซื้อเครื่องกลึงและเตาหลอมที่บางขุนเทียนเป็นเวลาเกือบ 2 ปีและเริ่มใช้ชีวิตการทำงานหนักวันละ 20 ชั่วโมงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เนื่องจากขาดประสบการณ์และเทคนิคในการประกอบสินค้าทำให้สินค้าขายไม่ได้ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักและเป็นหนี้ สิ้นเนื้อประดาตัวเป็นครั้งแรกในชีวิตเป็นเงินในสมัยนั้นถึง 40,000 บาทหลังจากขายทรัพย์สินหมดแล้วในขณะที่ชีวิตเริ่มเข้าวัย 26 ปี

ในปี 2506 สามารถกู้ยืมเงินมาลงทุนซื้อสามล้อเครื่องมูลค่า 50,000 บาท โดยใช้วิธีกู้เงิน 40,000 บาทและขึ้นแชร์อีก 10 มือๆ ละ 1,000 บาทมาทำธุรกิจให้เช่ารถสามล้อเครื่องโดยใช้สถานที่ที่ยศเสเป็นแหล่งดำเนินการ และใช้เวลาหาเงินพิเศษขับรถสามล้อเครื่องในเวลากลางคืนหรือวันที่ไม่มีคนเช่ารถจากความพยามดังกล่าวทำให้เรียนรู้ทำมาหากินการก้ไขปัญหา การซ่อมรถและอื่น ๆ ธุรกิจดำเนินไปด้วยดีจนสามารถขยายรถให้เช่าได้ประมาณ 100 คันชีวิตธุรกิจในช่วงนั้นดูเหมือนเริ่มจะมีอนาคตที่ดีขึ้น

สถานการณ์แปรผันเป็นครั้งที่สอง เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์สั่งยกเลิกสามล้อเครื่องทำให้ราคารถที่มีอยู่กลายเป็นเศษเหล็ก ผลคือขาดทุนย่อยยับเป็นครั้งที่สอง แต่ด้วยความวิริยะอุตสหะบวกกับความตั้งใจในการที่จะเอาชนะโชคชะตาให้ได้ทองไทรใช้เวลาในช่วงที่ไม่รู้จะทำอะไรนั้นตระเวนออกต่างจังหวัดเพื่อหาลู่ทางทำธุรกิจใหม่ วันหนึ่งผ่านไปที่แปดริ้ว ฉะเชิงเทราเห็นเรือหางยาวกำลังฮิตมากจอดรอเครื่องยนต์เก่าจากญี่ปุ่นซึ่งช่วงนั้นไม่มีของขาย

ทองไทรจึงได้จังหวะวิ่งเต้นกู้หนี้ยืมสินอีกครั้งหนึ่งได้เงินมา 70,000 บาทร่วมกับเพื่อนอีก 3 คนรวมเงินลงทุน 280,000 บาทตั้งบริษัทไทยแลนด์มอเตอร์เวอร์ค ขึ้นโดยสั่งเครื่องยนต์ใช้แล้วจากญี่ปุ่นเข้ามาขายยี่ห้อแรกคืออีซูซุทำอยู่ 2 ปีธุรกิจไปได้ดีพอสมควร แต่เนื่องจากแหล่งสินค้ามีน้อยและผู้ขายมีมากจึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพจากการขายเครื่องยนต์ใช้แล้วมาเป็นขายรถบรรทุกใช้แล้วจากญีปุ่นซึ่งประสบความสำเร็จได้ด้วยดี

แต่ดูเหมือนโชคจะไม่ช่วยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายนกรัฐมนตรีได้ออกคำสั่งห้ามนำเข้ารถบรรทุกใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ภายในประเทศ

หลังจากที่เตะฝุ่นอยู่พักหนึ่งทองไทรเกิดความคิดที่จะไปหาช่องทางการทำมาหากินจากต่างประเทศดูบ้าง จึงเดินทางไปญี่ปุ่น และที่นี่เองที่ทองไทรได้พบว่าการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลมาพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเครื่องทุ่นแรงจำนวนมาก เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ต้องพัฒนาอีกมาในเรื่องการทำถนน และอื่น ๆ จึงได้สั่งเครื่องจักรกลหนักใช้แล้วเข้ามาครั้งแรกในปี 2510 ปรากฏว่าในระยะแรกประสบกับการขาดทุนแบบยับเยิน เงินทุนหมุนเวียนเริ่มมีปัญหาแต่ก็กัดฟันสู้เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตลาดนี้ในอนาคตจะดีมาก

จึงได้เปลี่ยนแผนมานำเข้ารถแทรคเตอร์ใช้แล้วที่มีสภาพดีเข้ามาจำหน่ายแทนที่จะมาซ่อมเองซึ่งก็เห็นผลทันตา จึงได้ตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเมโทรมอเตอร์เวอร์คขึ้นในปี 2512 หลังจากที่ทองไทรถอนตัวจากไทยแลนด์มอเตอร์เวอร์คแล้ว และเป็นครั้งแรกที่ได้รวบรวมกลุ่มพี่น้องเข้ามาบริหารงานหลังจากนั้น เมโทรมอเตอร์เวอร์กลายเป็นยักษ์ใหญ่ผู้บุกเบกรถแทรคเตอร์ใช้แล้วเป็นรายแรกและมีส่วนแบ่งการตลาดรถแทรคเตอร์ใช้แล้วมากที่สุดในระยะปี 2513-2519

ต้นปี 2519 ในระหว่างที่เมโทรมอเตอร์เวอร์คกำลังรุ่งโรจน์อยู่ในธุรกิจเครื่องจักรกลหนักใช้แล้วเป็นช่วงเดียวกับที่บริษัท แคตเตอร์พิลล่าร์ของสหรัฐอเมริกาต้องการที่จะเปลี่ยนตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์แคตเตอร์พิลล่าร์ในประเทศไทยจากบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล เอนยิเนียริ่ง (ไออีซี) ของตระกูลกาญจนจารีซึ่งเป็นผู้บุกเบิกตลาดของแคตเตอร์พิลล่าร์ในประเทศไทยมากกว่า 40 ปีแล้ว

เมื่อแคตเตอร์พิลล่าร์ประกาศคัดเลือกคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นตัวแทน ทองไทรซึ่งเชื่อมั่นในประสบการณ์ในเรื่องรถเก่าที่ผ่านมาของตน รวมทั้งได้รู้ตลาดเครื่องจักในประเทศไทยเป็นอย่างดีและการได้รู้ได้เห็นตลาดของแคตฯในต่างประเทศว่าเขาเป็นอย่างไร ประกอบกับพิจารณาความสามารถองผู้บริหารที่อยู่ รวมถึงเงินลงทุนและการสนับสนุนของสถาบันการเงินจึงได้จดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ขึ้นโดยใช้ชื่อบริษัท เมโทรแมชีเนอรี่ จำกัดด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท และได้เสนอตัวขอเข้าเป็นตัวแทนในครั้งนั้นถึงกว่า 50 บริษัท

จากผลการคัดเลือกแบบละเอียดถี่ถ้วนของแคตเตอร์พิลล่าร์ โดยคัดจาก 50 รายเหลือ 20 ราย, 10 ราย, 5 ราย, 2 รายและในที่สุดบริษัท เมโทรแมชีนเนอรี่ จำกัดก็ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแคตฯแต่ผู้เดียวในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2520 เป็นต้นมา

และหลังจากที่ได้เป็นตัวแทนของแคตฯเพียงหนึ่งเดือนผ่านมาเมโทรแมนชีนเนอรี่ก้ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 10 ล้านเป็น 200 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุนอีกครั้งในปลายปี 2532 เป็น 300 ล้านบาท

"ธุรกิจของเราเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อใช้สร้างผลผลิตออกมา ไม่ใช่ซือ้ไปใช้โก้เก๋เหมือรถยนตืและธุรกิจนี้ก็เป็นแบบให้ก่อนผ่อนทีลหังคือลงทุนให้ลูกค้าก่อนซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้วงเงินมาก โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ซื้อมาจากเมืองนอกต้องใช้เงินสด ต้องอาศัยเครดิตจากแบงก์เพราะเราเป็นบริษัทเทรดดิ้งที่ซื้อมาขายไป เมื่อซื้อมาแล้วก็ให้ลูกค้า ผ่อนซึ่งจำเป็นที่จะต้องกู้เงินแบงก์มาลงทุนให้กับลูกค้า แล้วเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าเป็นเงินผ่อนจ่ายแบงกืหมุนเวียนอยู่อย่างนี้" ทองไทร อธิบายถึงธุรกิจที่เขาทำอยู่

ดังนั้นธุรกิจของทองไทรจึงต้องเกี่ยวพันกับเงินตราทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะเงินสกุลดอลลาร์อย่างหลักเลี่ยงไม่ได้

ถึงแม้ว่าสินค้าที่สั่งซื้อเข้ามาจะมาจากหลายประเทศก็ตามแต่การชำระเงินยังคงใช้เฉพาะเงินดอลลาร์เท่านั้น

เมโทรแมนชีนเนอรี่กู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศตั้งแต่เริ่มเป็นตัวแทนของแคตฯและกู้มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันอัตราส่วนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศอยู่ระหว่าง 50:50

ซึ่งทองไทรอธิบายว่าอัตราส่วนการกู้ในประเทศกับต่างประเทศขึ้นอยู่กับโอกาสและจังหวะของภาวะเงินบาทเป็นอย่างไร ถ้าภาวะเงินบาทค่อนข้างอ่อนมาก ๆก็จะใช้เงินบาทในนี้แต่ถ้าเงินบาทแข็งและค่อนข้างมั่นคงก็จะใช้เงินตราต่างประเทศแทน เวลานี้ (ประมาณสิ้นกันยายน) เฉพาะเมโทรแมนชีนเนอรี่มีหนี้อยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ในขณะที่มีลูกหนี้การค้าอยู่ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท

"โดยปกติแล้วลูกค้าของเอ็มเอ็มซี.จะเป็นลูกค้าเงินผ่อนถึง 90% อีก 10% ที่เหลือเป็นลูกค้าที่ซื้อเงินสด และในจำนวนลูกค้าทั้งหมด 70% เป็นลูกค้าที่อยู่ในวงการก่อสร้างส่วนที่เหลือเป็นลูกค้าอื่น ๆ ระบบการผ่อนนั้นลูกค้าสามารถผ่อนโดยตรงกับเอ็มเอ็มซี.หรือผ่อนกับสถาบันการเงินก็ได้โดยบริษัทฯเป็นผู้ค้ำประกันให้ และมีระยะเวลาการผ่อนเฉลี่ย 18-24 เดือน" เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของเอ็มเอ็มซี.ชี้แจงเพิ่มเติม

เมื่อพิจารณาจากงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2532 ปรากฏว่ามียอดหนี้รวม 1948 ล้านแบ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและหนี้สินหมุนเวียนอื่นจำนวน 1,580 ล้านบาทในขณะที่เงินกู้ยืมระยะยาวจำนวน 368 ล้านบาทซึ่งผ่านสถาบันการเงิน 5 แห่งคือธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ, ธนาคารซิคิวริตี้ แปซิฟิค เอเชี่ยน. CANAGDIAN IMPERIAL BANK OF COMMERCE, FIRST PACIFIC BANK และ CREDIT LYONNAIS โดยกู้ผ่านธนาคารสาขาที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ ในอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

เมื่อธุรกิจที่ทำอยู่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากธนาคารในวงเงินที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับธุรกิจการค้าเครื่องจักรกลหนักจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ในการเก็บสต็อกสินค้า รวมถึงอะไหล่ค่อนข้างมาก จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทองไทรตองหาซื้อที่ดินเก็บไว้ และจากผลพวงนี้เองที่ทำให้ทองไทรมีทรัพย์สินที่เป็นส่วนของที่ดินค่อนข้างมาก

จากคำบอกเล่าของทองไทรเกี่ยวกับที่ดินที่มีอยู่เวลานี้มีในเขตกรุงเทพฯที่ถนนบางนาตนราดกม. 3 จำนวน 17 ไร่, บางนาตราดกม. 7 จำนวน 17 ไร่,อุดมสุข 18 ไร่และที่สำนักงานใหญ่ขอเมโทรแมชีนเนอรี่อีก16 ไร่ ส่วนในต่างจังหวัดมีอยู่ด้วยกันหลายแห่งคือที่ภูเก็ต, สุราษฎร์ฯ, หาดใหญ่, เชียงใหม่, ขอนแก่น, อุบลฯ, โคราช, จันทบุรี, ชลบุรี, อุดรนและพิษณุโลก ซึ่งที่ดินเหล่านี้เป็นที่ดินที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาส่วนมากจะไว้เครื่องจักรของบริษัทฯ

นอกจากนี้มีที่ดนิบางแห่งที่ได้เริ่มโครงการไปบ้างแล้งและบางส่วนก็มีโครงการที่จะทำอต่อไปอย่างเช่นคอนโดมิเนียมที่หาดจอมเทียนสูง 42 ชั้น มี ห้องพักจำนวน 600 ห้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท,ที่ดินที่มาบตาพุดติดริมถนนสาย 36 จำนวน 370 ไร่ได้วางแผนที่จะสร้างเป็นโรงงานสร้างตู้คอนเทนเนอร์โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท, ที่ดินแถนบ้านค่ายห้างจากตัวเมืองระยอง 30 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 2,100 ไร่เตรียมสนามกอล์ฟ และที่ดินบริเวณห่างจากแหลมฉบัง 7 กิโลเมตรจำนวน 300 ไร่ซึ่งใช้เป็นโกดังเก็บสินค้า

ที่ดินอีกแห่งหนึ่งบนถนนบางนาตราดกม. 20 ในเนื้อที่ทั้งหมด 180 ไร่ซึ่งปัจจุบันได้ลงทุนสร้างเป็นโรงงานถึง 4 โรงในเนื้อที่ 50 ไร่ โดยใช้เงินลงทุนเฉพาะโครงสร้างประมาณ 100 ล้านบาท และเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ได้เริ่มประกอบรถเครน และเป็นโรงงานซ่อมเครื่องจักรไปแล้วหนึ่งโรง อีกหนึ่งโรงจะทำเป็นโรงงานชุบโครเมียม และอีกสองโรงที่เหลือเพื่อเตรียมรับกับโครงการที่จะขยายต่อไปในอนาคต

ที่ผ่านมามีคนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าการบริหารงานของเมโทรแมชีนเนอรี่อยู่ในมือของตระกูลบูรพชัยศรีซึ่งนำโดยทองไทร บูรพชัยศรีพี่ชายคนโต ซึ่งถ้าหากพิจารณาจากรายชื่อผู้ถือหุ้นก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะหุ้นเกือบ 100% เป็นของคนตระกูลนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วทองไทรยืนยันว่าพี่น้องหรือครอบครัว เข้ามามีส่วนในการบริหารงานในยุคเริ่มแรกเท่านั้น ต่อเมื่อกิจการขยายตัวออกไปบริษัทฯก็หันมาใช้มืออาชีพในการบริหงานทั้งหมด

"พี่นอ้งหรือครอบครัวที่เข้ามามีบทบาทในการบริหารงานของบริษัทฯมีเพียงคนเดียวคือไพรัช บูรพชัยศรี ในตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการใหญ่นอกนั้นเป็นมืออาชีพที่ส่วนหนึ่งไต่เต้าขึ้นมาจากการเป็นพนักงานของบริษัทและอีกส่วนหนึ่งได้มาจากคนข้างนอก ผมให้ความสำคัญกับมืออาชีพมาก คนที่จะขึ้นมาที่นี่ต้องไต่เต้าขึ้นค้นมา การบิหารแบบคอรบครัวมักจะเกิดการแย่งชิงสมบัตกันเมื่อเราเป็นอะไรไปไมเหมือนกับมืออาชีพซึ่งเขายังต้องดำเนินงานต่อไปใหดี้ถึงแม้ไม่มรีเรา ถ้าเขาทำไม่ดีชามข้าวเขาก็ต้องหายไปเหมือนกัน"

ที่จริงทองไทรมีน้องชายอีกคนหนึ่งคือเอกชัย บูรพชัยศรี ซึ่งช่วยกิจการของเมโทรแมชีนเนอรี่มากตั้งแต่สมัยเริ่มแรกในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป แต่ต่อมาในปี 2527 ได้ขอแยกตัวออกมาตั้งบริษัทของตัวเองโดยใช้ชื่อเมโทรเอ็นยิเนียริงขายเครื่องจักรกลเก่าของญี่ปุ่นพร้อมทั้งผลิตภัณฑ์รถอัด DYNAPAC โดยที่กิจการของทั้งสองบริษัทไม่เกี่ยวข้องกัน

การเป็นนักคิด นักปฏิบัติ นักติดตามผล พร้อมมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาทำให้ทองไทรกลายเป็นนักบริหารที่หลายต่อหลายคนยอมรับในฝีไม้ลายมือ

กับบริษัทในเครือข่ายมากกว่า 30 บริษัทในปัจจุบัน ทองไทรมองว่าเขาจำเป็นที่จะต้องทดสอบธุรกิจที่เขาจะลงทุนทำต่อไปด้วยการตั้งบริษัทใหม่ขั้นมาแล้วมอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบ เพื่อจะดูว่ากิจการนั้นเป็นอย่างไร มีผลกำไรหรือขาดทุนมีค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง ซึ่งวิธีนี้จะชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดและถ้าหากกิจการไหนไปได้ดีก็จะมีการรวมธุรกิจขึ้นเป็นการเริ่มจากเล็กมาหาใหญ่ แต่มีบางบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อที่ดินทำโครงการหนึ่งแล้วก็จบกันไป

เช่นเดียวกับการนำกิจการในเครือข่ายที่มีอยู่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนนั้น เขากลับมองตรงข้าม เพราะไม่แน่ใจในสถานการณ์ปัจจุบันว่าคนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีความเข้าใจวิธีการลงทุนอย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงปัจจุบนนั้นเป็นเรื่องของการลงุทนจริงหรอืไม่ และไม่มั่นใจนักว่ามือาชีพของบริษัทฯจะบริหารงานได้ดีพอหรือไม่เพราะถ้าบริหารไม่ดีเท่ากับเป็นการโยนความรับผิดชอบให้กับประชาชน เขาจึงยังไม่คิดเรื่องนี้มากนัก

และสำหรับเมโทรแมชีนเนอรี่ซึ่งขายผลิตภัณฑ์ของแคตฯดูเหมือนจะเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรืออาจเรียได้ว่าเป็นข้อบังคับของแคตฯในทุกประเทศเลยก้ได้เพราะด้วยเหตุผลที่ว่าการเป็นบริษัทมหาชนทำให้การบริหารงานค่อนข้างช้าต้องเป็นไปตามขั้นตอน และอีกประการหนึ่งเป็นการป้องกันเจ้าของกิจการฉวยโอกาสนำหุ้นไปขายให้กับหุ้นอื่นเมื่อหุ้นมีราคาดี เป็นการสร้างความไม่มันใจให้กับตลาดของแคตฯในอนาคต

แต่กับการขยายเครือข่ายของบริษัททองไทรได้กำเนิดทิศทางไว้อย่างแน่วแน่นั่นก็คือธุรกิจที่ทำต้องเป็นธุรกิจที่ต่อเนื่องและโยงสายใยถึงกันและกันต้องเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนปาระเทศ และต้องเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับเหล็กที่ยิ่งทุบยิ่งแกร่งด้วย

บริษัท เมโทรแทรคเตอร์ จำกัดที่เปรียบเสมือนดีพาร์ทเมนท์สโตร์เครื่องจักรกลและรถเกาใช้แล้วก็เป็นกิจการหนึ่งที่ทำควบคู้ไปด้วยกันหลังจากทีเมโทรแมชีนเนอรี่ ได้ผลิตภัณฑ์ของแคตฯมาแล้วโดยข้อตกลนั้นเมโทรแมชีนเนอรี่จะต้องขายสินค้าขอแงคตฯเพียงยี่ห้อเดียวยกเว้นในกรณีที่สินค้าบางอย่างที่ทางแคตฯไม่ได้ทำขึ้นมาขาย ทางบริษัทฯก็สามารถนำมาขายได้ ดังนั้นทางออกของทองไทรสำหรับตลาดเครื่องจักรกลเก่าใช้แล้วคือการตั้งบริษัทเมโทรแทรคเตอร์ขึ้นในปี 2523 โดยยุบห้างหุ้นส่วนจำกัดเมโทรมอเตอร์เวิร์คเดิมลง

"มีตลาดของผู้ใช้อยู่ส่วนหนึ่งที่ยังต้องการเครื่องจักรเก่ามาใช้งาน ส่วนมากเป็นการใช้งานระยะสั้นๆ หรือเป็นพวกที่มีทุนค่อนข้างยาก เพราะเครื่องจักรเก่ามีอายุการใช้งานมาแล้วถัวเฉลี่ยประมาณ 10 ปีดังนั้นราคาจะต่างจากเครื่องจักรใหม่ประมาณ 50% แต่สามารถใช้งานได้ต่อไปอีก 10-20 ปีขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษา ส่วนการคาดการณ์ความต้องการในปีหนึ่งๆ นั้นค่อนข้างยาก บริษัทฯจะประเมินสถานการณ์จากงานพัฒนาของภาครัฐบาลเป็นหลัก โดยดูว่างบประมาณในปีนั้นเกี่ยวกับแหล่งน้ำหรือเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม อัตราส่วนเครื่องจักรกลที่ใช้ระหว่างใหม่และเก่าจะเท่ากับ 50:50 แต่ถ้าเป็นการสร้างท่าเรือ สร้างถนนใหญ่ ๆ หรือสร้างเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่อัตราส่วนเครื่องจักรใหม่และเก่าจะเป็น 70:30 เพราะเป็นการทำงานแบบต่อเนื่องและเป็นการลงทุนระยะยาว ในส่วนของเครื่องจักรเก่าเราก็มาคำนวณอีกทีหนึ่งว่าเราจะขอส่วนแบ่งตลาดเท่าไหร่ เพียงแค่ 10% ปีหนึ่งก็ขายได้หลายร้อยคันแล้ว "ทองไทรอธิบายถึงช่องว่างของตลาดเครื่องจักรกลเก่าใช้แล้ว

"เมื่อก่อนเราขายเครื่องจักรใช้แล้วทุกยี่ห้อแต่พอมาตอนหลังที่เอ็มเอ็มซี.เป็นดีลเลอร์ให้กับแคตนทางเราก็พยายามลดสินค้ายี่ห้ออื่นลง และพยายามทำตลาดเครื่องจักรเก่าใช้แล้วของตนให้มากขึ้น ส่วนสินค้ายี่ห้ออื่นที่มีอยู่เราก็พยายามระบายออกไปไม่สั่งเข้ามาเพิ่ม" ผู้บริหารของเอ็มเอ็มวี.คนหนึ่งชี้แจงเพิ่มเติมถึงการเปลี่ยนแปลงของเมโทรแทรคเตอร์ในปัจจุบัน

ในปี 2527 ก็เกิดบริษัทเครือข่ายขึ้นอีกแห่งโดยใช้ชื่อว่าบริษัท บูรพาอิควิปเม้นท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์ของ SNAP-ON และเครื่องโม่หิน NORDBERG ซึ่งในปีที่ผ่านมาสมารถทำยอดขายได้ประมาณ 35 ล้านบาท

บริษัท เมโทรจอมเทียน คอนโดเทล จำกัด ที่ตั้งขึ้นในปี 2531 ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งในเครือธุรกิจของทองไทรที่เข้าไปจับธุรกิจด้านเรียลเอสเตทเป็นโครงการแรกที่หาดจอมเทียน

และในปี 2533 นี้นับเป็นปีที่ทองไทรวางเครือข่ายธุรกิจออกไปมากที่สุด จะสังเกตได้จากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นเพื่อรองรับการรขยายตัวสำหรับธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาถึง 5 บริษัท

บริษัท ไทยเครนออเปอเรชั่น จำกัดมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทตั้งขึ้นเพื่อขายรถเครนเก่าใช้แล้ว

บริษัท โคลัมเบีย โครม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับชาวแคนาดาในอัตราส่วน 70:30 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ตั้งข้นเพื่อเป็นโรงงานชุมโครเมียมเครื่องจักร ซึ่งจะตั้งในโรงงานที่ถนนบางนาตราดกม.20 ที่ได้จัดสร้างไว้แล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจเรจาตกลงในรายละเอียดกับทางแคนาดา

บริษัท เมโทรเครน จำกัดจัดตั้งขึ้นเพื่อนำเข้าและขายรถเครนใหม่ มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท

บริษัท เอ็ม.ที.เอส.เครน จำกัด มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาทเป็นบริษัทให้เช่ารถเครนโดยการว่าทุนกับบริษัท SORYU ของญี่ปุ่นและบริษัท TATHONG ของสิงคโปร์ซึ่งทั้งสองบริษัทนั้นประกอบธุรกิจให้เขารถเครนภายในประเทศของตนมานานมากแล้ว และในปัจจุบันบริษัทเอ็ม.ที.เอส.เครนมีรถเครนให้เช่าแล้วถึง 100 คันโดยใช้เงินลงทุนในการซื้อรถมาให้เช่าถึง 400 ล้านบาท

อีกบริษัทหนึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างเมโทรแมชีนเนอรี่กับ FURNESS WITHY TERMINAL LTD. ของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นบริษัทเอชนที่ทำธุรกิจรับจ้างบริหารกิจการท่าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่เป็อันดับ 4 ของโลก โดยใช้ชื่อว่า FERNESS MATRO TERMINALLTD. เพื่อยื่นข้อเสนอเข้าประมูลประกอบการท่าคอนเทนเนอร์หมายเลข 3 และ 4 ที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ซึ่งจะมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายหลังจากที่ได้รับคัดเลือกจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) แล้ว

แต่จากผลการพิจารณาของบอร์ดกทท.ล่าสุดที่ออกมาปรากฏว่ากลุ่มบริษัทเมโทรแมชีนเนอรี่ไม่ได้รับการคัดเลือกด้วยเหตุผลที่ว่า กลุ่มเมโทรฯมีข้อเสนออยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า จะต้องได้รับการส่งเสริมการลงุทนจากคณกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วยหากไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว จะไม่สามารถประกอบการท่าเรือและแบ่งผลประโยชน์ให้กทท.ตามที่เสนอได้ ซึ่งคณะกรรมการของกททมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าข้อเสนอของกลุ่มเมโทรฯ ไม่สามารถยอมรับได้

และกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกเข้าประกอบการท่าคอนเทนเนอร์หมายเลข 3 คือกลุ่มไทยเครนด้วยข้อเสนอส่วนแบ่งที่ให้กับกทท.31% และท่าคอนเทนเนอร์หมายเลข 4 เป็นของกลุ่มโหวงฮกซึ่งเสนอส่วนแบ่งให้กทม.มาเป็นอันดับหนึ่งคือ 32.5%

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ทองไทรขยายบาทบาททางธุรกิจในปีนี้ค่อนข้างมากเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย (ก่อนหน้าที่จะเกิดกรณีอิรักคูเวต) เติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งมีส่วนเกี่ยพันกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทของทองไทรอย่างมาก จากยอดขายที่ขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจและภาวะการลงทุนของประเทศ หากพิจารณาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นกว่า 50% ของเมโทรแมนชีนเนอรี่ในปีนี้ก็น่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ดี

แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ในตะวันออกกลางขึ้น และส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลพวงจากเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย

หลายคนเชื่อว่าวิกฤตการณ์ในครั้งนี้จะสงผลกระทบถึงระบบเศรษฐกิจในปีหน้าด้วย นั่นหมายถึงการเตรียมตัวเพื่อรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งในความคิดของทองไทรเขามองว่าสถานการณ์ในปีหน้าจะไม่วิกฤตเท่าไหร่นัก แต่การเติบโตคงจะไม่เร็วอย่างที่ผ่านมา เพราะการพัฒนาของประเทศยังคงมีต่อเนื่องไป คงที่ลงทุนไปแล้วก็ต้องทำต่อเนื่อง ผู้ที่จะลงทุนใหม่เท่านั้นจะหยุดไปแต่ก็ยอมรับว่าตลาดเครื่องจักรโดยรวมอาจจะลดลงประมาณ 20% ในขณะที่ความต้องการไม่ลด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังเงินถ้าเงินไม่มีการใช้เครื่องจักรมีเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น งานช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร หรืออาจจะใช้เครื่องเก่าช่วยไปแทนที่จะซื้อเครื่องใหม่

ในส่วนของยอดขายของเมโทรแมชีนเนอรี่ในปีหน้าอาจจะลดลงเหลือ 3,00 กว่าล้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายสินเชื่อของแบงก์และนโยบายรัฐบาลว่าจะปล่อย สินเชื่อได้มากแค่ไหน

"เนื่องจากสินค้าที่บริษัทขายเป็นเครื่องจักรกลหนักในการพัฒนาประเทศและมีราคาแพง ซึ่งต้องอาศัยทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงและกำลังเงินสูงในการซื้อขายสินค้า ฉะนั้นปัญหาที่บริษัทฯต้องเผชิญจึงมีอยู่ด้วยกัน 3 กรณีคือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตักวำหนดปัจจัยของค่าใช้จ่ายของผู้ดำเนินงาน ต้นทุนการเงินคือความคล่องตัวของเงิน อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยของการซื้อขาย ค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจุบันปัญหาทั้ง 3 กรณีนี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการขายสินค้า ดังนั้นนโยบายของบริษัทที่จะต้องพิจารณาคือการเพิ่มยอดขายสินค้าหลักอย่างมีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม พิจารณาสินเชื่อและคุณภาพของการชำระหนี้ของลูกค้า เลือกขายสินค้าที่เหมาะสมกับงาน กำลังเงินและประหยัดให้ลูกค้า เน้นนโยบายการขายอะหล่และบริการแทนในกรณีที่ลูกค้าขาดทุนทรัพย์ในการซื้อสินค้าใหม่ เก็บสินค้าที่ราคาแพง ขายยากไว้ให้เช่าและประหยัดค่าใช้จ่าย ในปีหน้าจะไม่มีการรับพนักงานเพิ่ม ทุกคนต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้ต้นทุนต่ำ" ทองไทรกล่าวถึงปัญหาที่บริษัทฯจะต้องเผชิ่ญและแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

ก่อนหน้านี้จะเกิดวิกฤตการร์ในอ่าวเปอร์เซียซึ่งส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจอยู่ในปัจจุบัน ธุรกิจหนึ่งที่เป็นความฝันของทองไทรคือการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมที่สนใจอยากจะทำก็คือการผลิตรถจักรยาน เขามองว่าในชีวิตประจำวันจำเป็นต้องใช้ และตลาดในประเทศก็ยังมีความต้อกงารอีกมากพอไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาตลาอต่างประเทศมากนัก โครงการนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ในภาวะดอกเบี้ยอย่างในปัจจุบันนี้ ทองไทรยืนยันอย่างหนักแน่นเลยว่ายังลงทุนไม่ได้

กับแนวความคิดดังกล่าวข้างต้นอาจจะเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจที่เคยเป็นแต่เพียงเทรดดิ้งเฟิร์มถึงจุดหักเหเข้าสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิต และการต่อสู้ในวัย 56 ปีของทองไทรก็ยังคงต้องเหนื่อยหนักต่อไปอีก ตราบใดที่ฝันของเขายังไม่เป็นจริง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.