เป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มเจริญโภคภัณฑ์หรือ "ซีพี" หาญอาสากระโดดเข้าพลิกโฉมระบบสื่อสาร-โทรคมนาคมของไทยโดยลงทุนขยายเลขหมายโทรศัพท์ทั่วประเทศ
3 ล้านเลขหมายมูลค่าการลงทุน 150,000 ล้านบาท นับเป็นปรากฏการณ์ดานการบริการการเงินที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์การลงุทนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(INFRASTRUCTURE) ของประเทศไทย
นอกจากกลุ่ม ซีพี.แล้วเจ้าอขงโครกงารขยายเลขหมายโทรศัพท์ตัวจริงควรยกให้แก่บริษัทบริติชเทเลคอม
(บีที) จากประเทศอังกฤษซึ่งเข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทน เพื่อวิจัยตลาดและหาลู่ทางการลงทุนหรือร่วมทุนในกิจการโทรคมนาคมของไทย
ทั้งนี้มี มร.มาร์แชนท์ นั่งเป็นเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดโครงการโทรศัพท์
3 ล้านเลขหมายดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังการปฏิสนธิโครงการขยายโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย แท้จริงแล้วบูรพา
อัตถากร เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังครงการมูลค่าแสนล้านบาทนี้มาตั้งแต่ยังเป็นอณูของความคิด
แต่เก็บตัวเงียบ ๆ มาโดยตลอดและไม่เคยมีใครเคยกล่าวถึง หากจะเรียกหรือกล่าวถึงบูรพา
หากจะเรียกหรือกล่าวถึงบูรพา อัตถากรจากบทบาทในกรณีขยายหมายเลขโทรศัพท์ ควรที่จะเรียกเขาว่า
"MATCH-MAKER" น่าจะเหมาะสมที่สุด
ทำไมต้องเรียกขานกันเช่นนั้น แน่นอนคงต้องมีที่มาและที่ไป แต่ควรจะทำความรู้จักกันก่อนว่าบุคคลผู้นี้คือใครและมีความสามารถอย่างไรต่อการทำหน้าที่เนพ่อสื่อโครกงารมูลค่ามหาศาลดังกล่าว
จากประวัติของ บูรพา อัตถากร เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์และวิชิราวุธวิทยาลัยจากนั้นก็เดินทางไปศึกษาต่อที่
HAILEYBURY AND IMPERIAL SERVICE COLLEGE ประเทศอังกฤษและปริญญาโททางปรัชญาการเมือง
แต่เลือกเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาเอก
ส่วนประวัติการทำงานถูกบันทึกไว้ยาวเหยียด แต่สรุปได้ว่าอดีตเคยรับราชการมาก่อนซึ่งผ่านงานด้านส่วนกฎหมายกรมการค้าภายในปี
2510-2511 เลขาการกรมการขนส่งทางบกกระทรวงคมนาคม ปี 2512-2514 ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปี
2517 และกลับไปเป็นผู้ตรวจการประจำกระทรวงคมนาคมในปีถัดไป นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายทางด้านภาษีอากรและการคลังทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แต่ประวัติสำคัญที่ถูกบันทึกไว้ ส่วนหนึ่งที่มีความหมายต่อการซุ่มให้กำเนิดโครงการโทรศัพท์
3 ล้านเลขหมายคือ ครั้งหนึ่งบูรพาเคยอยู่ในคระกรรมการพิจารณาการปรับโครงสร้างองค์กร
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในปี 2525 ซึ่งวิเคราะห์กันแล้วประสบการณ์ดังที่กล่วามาตอนต้นล้วนเป็นความได้เปรียบทั้งในเชิงรับและเชิงรุกต่อกรณีการต่อสายผ่านขั้นตอนต่าง
ๆ ของโครงการขยายโทรศัพท์มูลค่ามหาศาลดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง
"โครงการนี้ไม่มีอะไรมากบังเอิญผมกับมร.มาร์แชนท์เป็นเพื่อนกันมาก่อน
และผมเป็นที่ปรึกษาบริษัทบริติชเทเลคอมในประเทศไทยอยู่ด้วย เราก็มาร่มกันคิดว่าควรจะสร้างสรรค์โครองการอะไรดี
ๆ ทางด้านการสื่อสารขึ้นมาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย"
"ความคิดโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายก็มาเกิดขึ้นในสนามกอล์ฟ เพราะเรามีความเห็ร่วมกันว่าความต้องการใช้โทรศัพท์กับการตอบสนองตามกันไม่ทัน
น่าที่จะมีองค์กรที่พร้อมด้าเนงินทุนและเทคโนโลยีเสนอตัวเข้ามาดำเนินการต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ
"บูรพาอัตถากรเล่าถึงที่มาโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายที่เกิดขึ้นบนแฟร์เวย์
บทบาทของการเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษํทบริติช เทเลคอม จำกัดประจำประเทศไทยนับว่าเป็นงานประจำของบูรพาเนื่องจากภายหลังได้เดินออกมาจากวงราชการ
เขาได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาขึ้นมาแห่งหนึ่งชื่อ บริษัทกวินธรคอนซัลแตนซี่
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยตัวเขานั่งเป็นประธานบริษัท ส่วนพนักงานทั้งบริษัทนับจำนวนกันหลายรอบมีไม่ถึง
6 คน สำนักงานแห่งนี้ตั้งอยู่บนอาคารสาธรธานี 2
บูรพาให้เหตุผลถึงการมีพนักงานจำนวนน้อยดังกล่าวว่า "งานที่ปรึกษาของเราไม่ได้ทำใหญ่โตเน้นการประชาสัมพันธ์อย่างใด
แต่เราจะรับงานที่คิดว่าพอจะช่วย ๆ กันได้ โดยอาศัยประสบการณ์ของตัวเองเป็นหลักและคอนเนคชั่นด้วยเพราะถ้าเราเข้าไม่ถึงที่จะไปอธิบายให้แก่ผู้ตัดสินใจหรือคนที่มีอำนาจฟัง
มันก็ไม่มีประโยชน์ แต่ก่อนอื่นผมต้องทำให้เกิดความเชื่อถือเสียก่อน ไม่เช่นนั้นเราไม่สามารถขายความคิดให้ใครได้
ผมก็ยังติดในระบบราชการอยู่ จึงพอจะรูว่าถ้าเป็นรัฐบาลต้องการอะไร งานโดยทั่วไปจะอยู่ที่ผม
จำนวนคนจึงมีค่อนข้างน้อย"
กระนั้นก็ตาม บริษัทที่จ้างกวินธรเป็นที่ปรึกษาล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่
อาทิเช่น เชลล์ รอยเตอร์ คลอไรด์ แอสเทิร์น และบีเอชพี.เอ็นจิเนียริ่ง เป็นต้น
ซึ่งบทบาทอันสำคัญของ กวินธร ก็สามารถฉายแงจากโครงการรังสรรค์การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า
150,000 ล้านบาท ร่วมกับสำนักงานตัวแทนบริษัทบริติช เทเลคอมดังกล่า
ภายหลังบทสรุปโครงการขยายเลขหมายโทรศัพท์ของบริษัท บริติช เทเลคอมลงตัวแล้ว
บูรพาเผยว่า มีกาแนะนำให้บริติช เทเลคอมหาผู้ร่วมทุนฝ่ายไทย เพื่อให้เกิดความเชื่อถือแก่รัฐบาล
ในฐานะยังเป็นโครงการของบริษัทคนไทยถือหุ้นอยู่ด้วยซึ่งทางมร.มาร์แชนท์ก็เห็นด้วย
จึงมองหากลุ่มธุรกิจของไทยที่คิดวา มีศักยภาพสามารถดำเนินการโครงการดังกล่าวได้
ผลสรุปจึงออกมาเป็นกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์
"กลุ่มนี้ทำธุรกิจข้ามชาติและยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านตลาดทุนทำงานร่วมอยู่ด้วยคือเฉลียง
สุวรรณกิตติ ผมจึงเป็นผู้อาสาติดต่อผ่านเพื่อเสนอโครงการให้แก่คุณธนินนท์ประธานของซีพีซึ่งเฉลียวสนใจพิจารณากันในรายละเอียดร่วมกันระยะเวลาหนึ่ง
จึงส่งเรื่องเสนอแจ้งให้คุณธนินท์ใช้เวลาตัดสินใจเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น"
บูรพาพูดถึงเบื้องหลังการเข้ามาของซีพี
หลังจากกระบวนการตัดสินใจผ่านพ้นไป บูรพาต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำโครงการดังกล่าวเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วน
ตั้งแต่องค์การโทรศัพท์ฯ กระทรวงคมนาคม แม้แต่นายรัฐมนตรี บูรพาอยู่ในฐานะผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษาให้แก่เจ้าของโครงการและเป็นพื่อสื่อติดต่อกลุ่มซีพี.ให้แก่บริติช
เทเลคอมได้มีโอกาสสังฆกรรมทางธุรกิจการสื่อสารต่อกัน
นอกจากบทบามทการเป็นพ่อสื่อแล้ว บูรพายอมรับว่าต้องทำหน้าที่นักล็อบบี้เพิ่มเติมจากบทบาทแรก
"ใช่เป็นการล็อบบี้กว่าครึ่ง แต่ไม่อยากให้ใช้คำนี้เพราะเมืองไทยยังเข้าใจคำนี้ผิดพลาดกันอยู่
ในเมื่อการล็อบบี้มันไม่มีอะไรเพียงแต่เราต้องเข้าถึงบุคคลที่สามารถนำเสนอโครงการนี้ให้พิจารณาได้ส่วนเรื่องการจ่ายใต้โต๊ะนั้นไม่มีต้องทำอย่างตรงไปตรงมา
การเข้าถึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด" บูรพาเปรย
ซีพี.เป็นกลุ่มธุรกิจที่ถูกกล่าวถึงในวงสังคมธุรกิจคอ่นข้างมากต่อกรณีโครงการขยายหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวทั้ง
ๆ ที่เจ้าของโครงการแท้จริงเป็นบริษัท บริติช เทเลคอม แต่ภายหลังบริษัทท้องถิ่งและต่างชาติสามารถตกลงร่วมสังฆกรรมทางธุรกิจต่อกันได้
การณ์กลับเปลี่ยนไปเมื่อผลสรุปออกมา บริษัท บริติช เทเลคอม เสมือนกับเป็นผู้สร้างสรรค์โครงการขึ้นมาและขายโครงการให้แก่กลุ่มพีซีไป
โดยมีข้อตกลงวาหากโครงการได้รับการอนุมติจากรัฐบาล และดำเนินการต่อเนื่องจนกระทั่งถึงขั้นตอนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบริษัท
บริติช เทเลคอมต้องเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นในราคาอันเดอร์ไรด์ เพราะถือว่าได้คิดค่าธรรมเนียมจากการขายโครงการให้ซีพี.ในขั้นต้นแล้ว
เหตุผลเหล่านั้น ซีพี.จึงถูกกล่าวถึงมากกว่า บริติช เทเลคอม ทั้งนี้คงจะไม่เกินเลยไปนัก
หากจะเรียกบูรพา อัตถากรว่า "พ่อสื่อแสนล้าน" เพราะเป็นผู้นำพาให้โครงการแสนล้านตกอยู่ในอุ้มมือของคนขายไก่อย่างธนินนท์
เจียรวนนท์ ผู้เป็นหัวหอกดำเนินการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐษนที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผลงานของบูรพาผู้อยู่หลังฉาก ซึ่งยอมรับว่าโครงการนี้ต้องล็อบบี้กันกว่าครึ่ง
คนในวงการต่างตั้งข้อสังเกตกันไปต่าง ๆ นานาว่าเขาทำได้อย่างไร และบูรพาก็ให้ข้อเท็จจริงผ่านมาว่า
"คนที่ทำอย่างผมได้ ต้องมีประสบการณ์ค่อนข้างมาก และต้องเป็นจุดที่มีประโยชน์
แต่คนที่สามารถทำได้เขาก็จะไม่ทำ เพราะคิดว่างานมันต่ำ เป็นขี้ข้าเขา แต่การเป็นขี้ข้างานเช่นนี้เราก็ต้องมีความสามารถเจรจากับระดับสูงได้ด้วย
ความสำเร็จจึงมีโอกาสสัมผัส"
โครงการขยายหมายเลขโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย ผลสรุปเป็นที่ทราบกันอยู่ว่า
ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยไปแล้ว เบื้องหลังก็ทราบกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร
แต่ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ บูรพา อัตถากร MATCH-MAKER แสนลานไม่ยอมเผยก็คือ
ดีลนี้คิดค่าเหนื่อยเขาไปเท่าไร