แจ๊ค ฮู เขากำลังลงมาที่ MASS MARKET


นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

ชื่อของแจ๊ค มิน ชุนฮู ในวงการค้าคอมพิวเตอร์ไทย ต่างเป็นที่รู้กจักกันดีว่าชายรางเล็กชาวไต้หวันผู้มีอิริยาบถกระฉับกระเฉง และพูดไทยได้คล่องแคล่วคนนี้ร้ายกาจมกาแค่ไหนแจ็คได้เขย่าวงการค้าคอมพิวเตอร์ด้วยการวางคอนเซปต์ของการทำธุรกิจแบบครบวงจร SYSTEM INTREGRATION หรือ "SI" ให้เกิดขึ้นในลักษณะการประสานงานระหว่างฮาร์ดแวรื ซอฟท์แวรืและพีเพิลแวร์เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

หลังจาก แจ็คได้ประสบความสำเร็จด้านการตลาดที่บุกเบิกช่องทางการจัดจำหน่ายจากดีลเลอร์สู่ลักษณะเซนสโตร์ ภายใต้ชื่อว่า "สหวิริยา โอเอ เซ็นเตอร์" ที่เน้นบริการความสะดวกซื้อแบบ ONE STOP SHOPPING จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายขณะนี้

"ผมเป็นคนแรกที่ตั้งโอเอเซ็นเตอร์ในภูมิภาคเอเชียนี้ คุณไปดูที่สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซียไม่มีใครทำ แต่ที่ประเทศไทยนี้ เรามีเชนสโตร์แบบที่รู้จักในญี่ปุ่นและสหรัฐ และคนไทยก็เข้าใจคุณค่าอยู่แล้ว ผมถึงบอกว่าโอกาสเป็นของเราที่จะโตได้สบายมาก" แจ็ค มิน ชุน ฮู กรรมการบริการของสหวิริยากรุ๊ปเล่าให้ฟัง

ปัจจุบันสหวิริยา โอเอเซ็นเตอร์มี DISTRIBUTION WORK ที่แข็งแกร่งและครอบคุลมไปทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัดในลักษณะแฟรนไชส์ 22 แห่งที่ทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท แต่แผนการที่ผู้บริหารเคยคุยไว้ตั้งแต่ต้นปีว่าจะขยายโอเอ เซ็นเตอร์ให้ได้ครบ 40 แห่งภายในปี 2533 นี้ก็มีทีท่าว่าจะชะงักไปเนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

"การคัดเลือกคนที่จะมาร่วมกับเราต้องพิถีพิถันว่เขาพร้อมเรื่องคน ทำเลที่ตั้งหรือมั่นคงแค่ไหน จากนั้นเราก็จะฝึกอบรมแนวคิดด้านบริหารธุรกิจ บริหารคนและการเงินว่าจะทำอย่างไรให้ได้กำไร นอกจากนี้เรายังมีการอบรมด้านการตลาดที่จะให้เขารู้ว่ามีกี่วิธีที่จะขายในตลาดให้มีประโยชน์สูงสุด ใครที่ทำธุรกิจกับเราแล้วเราจะไม่มีความลับต่อเขา เพราะเราเชื่อว่าความสำเร็จของลูกค้าคือความสำเร็จของเรา" แจ็ค มิน ชุน ฮูเน้นถึงหลักการร่วมทำธุรกิจกับสหวิริยากรุ๊ปให้ฟัง

ทุกวันนี้แจ็คบริหารงานบริษัทที่มียอดขายรวมไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท ภายใต้สหวิริยากรุ๊ปที่เติบโตแตกเป็นบริษัทการค้าในเครืออีก บริษัทสหวิริยาโอเอกรุ๊ป บริษัทสหวิริยา อินเตอร์เนชั่นแนล คอมพิวเตอร์บริษัทสหวิริยา อินฟอร์เทคคอมพิวเตอร์ บริษัทสหวิริยาซิสเต็ม บริษัทสหวิริยา เทเลคอมบริษัทสหวิริยา แอดวานซ์โปรดักส์

ความเป็นผู้ค้าที่เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า ตลอดจนการสรรหาสินค้าหลากหลายคุณภาพและยี่ห้อให้ลูกค้าได้เลือกซื้อได้เหมาะสมกับขนาดของงานหรือธุรกิจ ทำให้สหวิริยากรุ๊ปเป็นแหล่งซื้อขายใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ตลอดจนซอฟท์แวร์และอุปกรณ์สำนักงานที่ครบครัน รวมทั้งมี CUSTOMER SUPPORT ด้านฝึกอบรมจากโรงเรียนไทยสารสนเทศเทคโนโลยี ซึ่งทางสหวิริยาฯร่วมลงทุนกับบริษัทแอดวานซ์ รีเสิร์ช่ของดร.ครรชิต มาลัยวงศ์

"ปีหนึ่ง ๆ เราเติบโตไม่ต่ำกว่า 80-100%" นี่คือความภูมิใจที่แจ็ง มิน ชุน ฮูกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำถึงการเติบโตของสหวิริยากรุ๊ปภายในระยะเวลา 8 ปีกว่า เขาพรอ้มทีมงานำงานกันอย่างเอาจริงเอาจังเรียกว่าขายสินค้าโอเอทุกอย่างที่ขวางหน้าจนสามารถทำยอดขายจากปีแรกใน พ.ศ. 2525 คือ 1.6 ล้านบาทขึ้นมาเป็น 34 ล้านบาท, 79 ล้านบาท, 135 ล้านบาท, 220 ล้านบาท, 427 ล้านบาท, 683 ล้านบาท, 1,000 ล้านบาทและทะยานสู่หลัก 1,500 ล้านบาทในปีนี้

จุดนี้เองที่แจ็ค มิน ชุน ฮูได้รับการยอมรับจากคู่ค้าต่างประเทศเช่น โอกิ ฮิตาชิ เด็ดแม้ระทั่งแอปเปิ้ลเองว่าเขามีความสามารถทำยอดขายทะลุเป้าด้วยอัตราการเติบโตของยอดขายดังกล่าว

"ในปีหน้าผมคาดการณ์ว่าตลาดของเราจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเป็น 25-30% โดยเฉพาะเราสบายใจมากสำหรับเป้าหมายที่บริษัทแอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์เขาตั้งให้เราโตใน VOLUME 60-70% และด้านเม็ดเงินคุยกันที่ 30-40% จากปัจจุบันที่เราทำได้ 150 ล้านบาทเป็น 200-300 กวาล้านบาท" แจ็คคุยให้ฟังราวกับว่าการเติบโตปีละ 80-90%สำหรับเขาเป็นเรื่องธรรมดาในช่วง 5 ปีที่เขาเป็นดิสทริบิวเตอร์ให้กับแอปเปิ้ล

ในตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ที่แข่งขันกันรุนแรงนี้ สหวิริยานับว่าเป็นผู้ค้าที่โดดเด่นมากเมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเข้ามาทำตลาดในไทยแต่เพียงผู้เดียวเมื่อ 5ปีที่แล้ว และเมื่อปีนี้เองนโยบายทั่วโลกของแอปเปิ้ลทีเน้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ราคาถูกลง เพื่อสู้กับคู่แข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศก็ทำให้คู่ค้าอย่างสหวิริยาวาดฝันจะวางตำแหน่งทางตลาดให้แมคอินทอชกลายเป็นสินค้าประเภท MASS PRODUCT เจาะทุกเซคเม้นท์ของตลาด

"ตลาดเราจะมีสองส่วนคือคอมพิวเตอร์แบบ CONSUMERR PRODUCTS กับ PROFESSIONAL PRODUCTS กับ PROFESSIONAL PRODUCT ที่ตอ้งการ VALUE ADDED เพราะฉะนั้นแอปเปิ้ลอยู่ตรงจุดที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและมีโปรดักส์ที่จะเล่น MASS MARKET ได้ ดังนั้นผมเชื่อมั่นวาเมื่อเขาให้เราเป็น FIRST TARGET ในกลุ่มประเทศเอเชีย 20 ประเทศเขาก็จะสนับสนุนส่งเสริมการขายในไทยนี้มาก ๆ" แจ็คเล่าให้ฟัง

ปัจจุบันสหวิริยา ซิสเต็มมีดีลเลอร์จำนวน 5 รายที่จัดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช และเมื่อเร็ว ๆ นี้ทางบริษัทแม่ก็ได้ให้งบประมาณนับแสนบาทจัดงาน "แอปเปิ้ลเวิร์ล" เป็นเวลาสองวัน โดยทุกอย่างในงานได้ถูกกำหนดมารฐานตั้งแต่บัตรเชิญ โปรแกรมการสัมมนา รวมถึงบูทแสดงการทำงานของเครื่องแมคอินทอชรุ่มต่าง ๆ ด้วย

"ตลาดเรามีสองส่วนคือตลาดปัจจุบันและตลาดอนาคตหรือตลาดธุรกิจอุตสหากรรมและตลาดการศึกษา ซึ่งเราตั้งเป้าไว้ว่าจะบุเข้าตลาดการศึกษาแบบ REALL AGRESSIVE เพราะลงทุนไปแล้วได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต ตอนนี้เรากำลังทำงานกับแอปเปิ้ลอย่างใกล้ชิดที่จะออกโปรแกรมซอฟท์แวร์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ" นี่คือเป้าหมายใหญ่ที่แจ็คบอกวามูลค่ามันมหาศาลในภาคหน่วยราชการและการศึกษา

แต่นโยบายภาษีในความเห็นของนักการค้าอย่างแจ็ค มินชุน ฮูกลับเป็นอุปสรคหนึ่งที่จะพัฒนาตลาดราชการและการศึกษาให้โตเต็มที่เพื่อก้าวสู่ความเป็นนิคส์ ปัจจุบันภาษีนำเข้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะต้องเสียไม่ต่ำกว่า 30%

"ผมคิดว่าดีที่สุดคือลดภาษีให้ถูกลงเพื่อให้ใช้กันได้แพร่หลาย แต่ถ้าไมได้ผมว่าน่าจะให้ PRIORITY กับหน่วยราชการและการศึกษา" แจ็คเสนอแนะ

ทุกครั้งที่แจ็คพูดถึงนโยบายด้านเทคโนโลยีแห่งชาติ แจ็คได้แสดงความเห็นว่า NCC หรอื NATIONAL COMPUTER COMMITTEE ควรจะกำหนดมาตรฐานเพื่อป้องกันซ้ำซ้อนการลงทุนเช่นการพัฒนาโปรแกรมภาษาไทย

"นโยบายของประเทศไทยในเรื่องเทคโนโลยีน่าจะเป็นเรื่องของ NCC ที่ต้องกำหนดว่าอนาคตเราจะไปทางไหนเพราะผมคิดว่าการทำธุรกิจที่น่ากลัวที่สุดคือไม่มี OBJECTIVE ทางรัฐบาลน่าจะแสดงบทบาท้านนี้มากกว่าเรื่องอนุมัติให้ซื้อหรือไม่ซื้อ" แจ็คย้ำอีกครั้งหนึ่งกับบทบาทของรัฐที่น่าจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้

ทางด้านซอฟท์แวร์ แจ็คไดวางแผนที่จะมุ่งเข้าสู่ความเป็น MASS MARKET โดยได้เป็นตัวแทนจำหน่ายกับสามบริษัทซอฟท์แวร์ชื่อดัง คือ บริษัทแอชตัน-เทจเจ้าของซอฟท์แวร์ "ดีเบส" บริษัทไมโครซอฟท์แห่งสหรัฐอมเริกาและบริษัทออโต้แคด

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการถูกลอกเลียนแบบแล้วขายในราคาต่ำกว่า ทำให้แจ็คเป็นเดือดเนื้อร้อนใจมาก เพราะปีหนึ่ง ๆเขาได้วางงบประมาณเพื่อพัฒนาซอฟท์แวร์ไว้ประมาณ 5-6% ของยอดขาย และหวังถึงการทำตลาดเป็นแบบ MASS MARKET

"ถ้าเราไม่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ใครจะไปคิดแล้วเราก็ต้องสั่งซื้อคนอื่นเขาตลอดชาติแต่ถ้าคนได้รับการคุ้มครอง ก็ทำให้ทุกคนอยากขยันคิดและร่ำรวยขึ้น" แจ็คระบายความอึดอัดใจต่อปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ยังไม่มีทีท่ายุติขณะนี้

ในปีนี้ เป้าหมายของสหวิริยากรุ๊ปเกี่ยวกับ "SYSTEM INTREGRATION" ที่วางฐานธุรกิจด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์และพีเพิลแวร์ได้สำเร็จลุล่วงไปได้ก้าวหนึ่งแล้ว

ต่อไปแผนการที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศเพื่อตั้งโรงงานประกอบคอมพิวเตอร์ในไทย รวมทั้งแผนการระดมทุนมหาชนด้วยการนำบริษัทในเครือสหวิริยากรุ๊ปเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะทำให้สหวิริยากรุ๊ปก้าวล้ำหน้าคู่แข่งไปหลายช่วงตัว

ถึงเวลาแล้วสำหรับแจ็ค มิน ชุน ฮู นักบริการการค้าผู้เขย่าวงการค้าคอมพิวเตอร์ผู้นี้จะสร้างตำนานความสำเร็จระดับโลกได้หรือไม่ภายในระยะเวลาอีก 4 ปีข้างหน้าเป็นเรื่องทีเขาบอกว่าไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับคนที่เอาจริงเอาจังเฉกเช่นแจ็คคนนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.