1. บริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโล (2517) เป็นบริษัทเดียวในเครือมาบุญครองที่เป็นหลัก
ทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2521) ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 800 ล้านบาท
ถือได้ว่าเป็น บริษัทแกน ของเครือ โดยเฉพาะประกอบกิจการหลัก 2 ด้าน หนึ่ง-ให้บริการเก็บรักษาและขนถ่ายพืชผลทางการเกษตร
เจ้าของไซโลและท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าที่อ.ศรีราชา ชลบุรี เคยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ.
สอง-เจ้าของโครงการมาบุญครองเซ็นเตอร์
โรงสี-ค้าส่งออก
2. บริษัทโรงสีไฟจีนแสง (2498) ประกอบกิจการโรงสี ซื้อ-ขายข้าว (ขาดทุนสะสมสิ้นปี
2528 จำนวน 28 ล้านบาท)
3. บริษัทมาและบุญครอง (2516) ประกอบกิจการส่งข้าวออก รับช่วงต่อจากโรงสีไฟจีนแสง
4. บริษัทมาบุญครองพืชผล (2517) ประกอบกิจการรับอบพืชและไซโลทางการเกษตร
ได้ก่อสร้างไซโลขนาดบรรจุ 6 แสนตันโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ.
เปิดดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม 2525 ด้วยเงินลงทุน 350 ล้าน บริษัทมีทุนจดทะเบียน
150 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่อ.เมืองปทุมธานี
5. บริษัทมาบุญครองเทรดดิ้ง (2517) ประกอบกิจการสั่งเข้าและส่งออกสินค้าได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ.
ในประเภทบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
6. บริษัทมาบุญครองไร้ซมิลล์ (2522) ประกอบกิจการโรงสีข้าว ทุนจดทะเบียน
300 ล้านบาท เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ. เปิดดำเนินการเมื่อเดือนเมษายน
2525 ที่ปทุมธานี (ขาดทุนเฉพาะปี 2526 และ 2527 รวมกัน 73 ล้านบาท)
เดินเรือ
7. บริษัทมาบุญครองเดินเรือ (2521) ประกอบกิจการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ
ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ. ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
เกษตรและอุตสาหกรรม
การเกษตร
8. บริษัทมาบุญครองการเกษตร (2527)
9. บริษัทมาบุญครองอาร์เอฟเอ็ม (2527) ผลิตอาหารกระป๋องและอาหารแช่แข็งจากเนื้อสัตว์
ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ. ตามโครงการจะมีโรงฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์
ร่วมทุนกับกลุ่มอาร์เอฟเอ็มฟิลิปปินส์ ด้วยเงินลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเพิ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง
1 ล้านบาท
10. บริษัทกุ้งก้ามทอง (2524) ประกอบกิจการทำฟาร์มกุ้งปูปลา ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ.
เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2526 ที่ อ.หนองเสือ ปทุมธานี ด้วยเงินลงทุน
7 ล้านบาท
ก่อสร้าง-ที่ดิน
11. บริษัทมาบุญครองคอนสทรักชั่น (2517) แทบจะไม่ได้ดำเนินการเลย
12. บริษัทมาบุญครองคอนซัลติ้ง (2524) แทบจะไม่ได้ดำเนินการเลย
13. บริษัทมาบุญครองนิคมอุตสาหกรรมประกอบกิจการจัดและปรับปรุงที่ดินให้เป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม
ธุรกิจการค้าและที่อยู่อาศัย โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ. ทุนจดทะเบียน
50 ล้านบาท ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินกิจการ
14. บริษัทมาบุญครองหินอ่อน (2524) จำหน่ายหินอ่อน (โปรดอ่านล้อมกรอบ "มาบุญครองหินอ่อน
ปมเงื่อนศิริชัย บูลกุล)
มาบุญครองคอมเพล็กซ์
15. บริษัทมาบุญครองเซ็นเตอร์ (2529) ประกอบธุรกิจในการควบคุมดูแลกิจการและบริหารงานทั้งหมดของศูนย์การค้าร่วมกับมาบุญครองอบพืชและไซโลในฐานะเจ้าของกิจการ
16. บริษัทมาบุญครองเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ (2527) ดำเนินกิจการค้าขายอาหารและเครื่องดื่มใช้ชื่อว่าศูนย์อาหารเชลล์ชวนชิมอยู่ที่ชั้น
6 ของศูนย์การค้าทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
17. บริษัทมาบุญครองอมิวสเม้นต์แอนด์เบิร์ดพาร์ค (2527) ประกอบกิจการสวนสนุกในศูนย์การค้า
ชั้น 8 เงินทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท (สิ้นปี 2528 ขาดทุนสะสมไปแล้ว 8.5 ล้านบาท)
18. บริษัทมาบุญครองซุปเปอร์มาร์เก็ต (2528) ประกอบกิจการซุปเปอร์มาร์เก็ตจำหน่ายสรรพสินค้าต่างๆ
อยู่ที่ชั้น 4 ของศูนย์การค้า ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท
19. บริษัทมาบุญครองเอ็นเตอร์ไพร้ซ์ (2519) เจ้าของกิจการจำหน่ายเครื่องเล่นของใช้สำหรับเด็ก
"เฮลโล่คิด" ชั้น 3 ของศูนย์การค้า (สิ้นปี 2528 ขาดทุนสะสมแล้วประมาณ
44 ล้านบาท)
20. มาบุญครองฟ้าสฟู๊ด (2527)
อื่นๆ
21. บริษัทมาบุญครองมาร์เก็ตติ้ง (2527) ประกอบกิจการจำหน่ายข้าวสารตรา
"มาบุญครอง"
22. บริษัทโตคิวดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ (ประเทศไทย) เจ้าของห้าง "โตคิว"
ในศูนย์การค้า
23. บริษัทไทยออฟชอร์ปิโตรเลี่ยม ดำเนินการขุดเจาะน้ำมัน ผู้ถือหุ้นใหญ่คือพีเอสเอ.
24. บริษัทมาบุญครองอิเล็คโทรและอิมเมจ (2525)
25. บริษัทมาบุญครองโฮลดิ้ง (2525)
หมายเหตุ
มีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ ทั้งหมด 8 แห่ง (ไม่รวมมาบุญครองซีเมนต์ที่เลิกกิจการไปแล้ว)