"เราเป็นชอปปิ้งโซลูชั่น"อีกแง่มุมหนึ่งในโลกของดอทคอม ร้านค้าออนไลน์ ที่เริ่มต้นมาจากแนวคิดที่ว่า
คนไทยชอบใช้สินค้ามียี่ห้อ รวีวรรณ ภูริเดช กรรมการผู้จัด การ บริษัทโปร-ลิ้งค์
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และเพื่อนๆ เริ่มคิดทำเว็บไซต์ที่เป็นร้านค้าออนไลน์
ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ใน ช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ และกลางปี 2542 sawasdeeshop.com
ก็เปิดตัวเป็น ร้านค้าออนไลน์อย่างจริงจัง
ก่อนจะผันตัวเองมาสู่โลกการค้า ออนไลน์ บริษัทโปรลิ้งค์ อินเตอร์เนชั่น
แนล จำกัด ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 ทำธุรกิจเกี่ยวกับการประมูลงานราชการ
เป็นระบบงานเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย
โมเดลในการทำร้านค้าออนไลน์ของ sawasdeeshop.com มาจากพฤติกรรมของคนไทย
ที่ชื่นชอบสินค้ามียี่ห้อ (brandname) และลูกค้าเหล่านี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ
เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงลูกค้าในต่างจังหวัด ที่มีกำลังซื้อแต่ขาดแหล่งในการซื้อสินค้า
"เราจะเริ่มจากการมองตัวเองเป็นหลักก่อน ว่าเราอยากได้บริการประเภทไหน
ทำไมคนไทยต้องซื้อของแพง ไปซื้อจากเมืองนอกมา ถูกกว่าตั้งเยอะ เรามีระบบนี้แล้วเราน่าจะได้ระบบที่ดีด้วย"
สินค้าเริ่มแรกที่วางจำหน่ายบน sawasdeeshop.com คือ น้ำหอม และเครื่องสำอาง
ซึ่งเธอมองว่า เป็นสินค้ามีราคาค่อนข้างสูงมากพอที่จะทำกำไร และการที่เธอสามารถติดต่อกับผู้นำเข้าซึ่งให้ส่วนลดถึง
50% ทำให้เธอสามารถนำมาวางขายบนร้านค้าออนไลน์แห่งนี้ ได้ในราคาลดลง 30%
ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าราคาท้องตลาด ทำให้การตอบรับเป็น ไปได้ค่อนข้างดี
รวีวรรณเล่าว่า จำนวนยอดผู้เข้าชม หรือ hit rate ในช่วงแรกสูงมาก เป็นเด็กนักเรียน
แต่หลังจากผ่านไปพักใหญ่ ปรากฏว่ายอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ลดลง แต่กลับมียอดสั่งซื้อจากลูกค้าตัวจริง
ซึ่งเป็นคนวัยทำงาน เช่น กลุ่มหมอ วิศวกร ที่ปรึกษา และกลุ่มคนไทย ที่อยู่
ต่างประเทศ และต้องการสั่งของให้ พ่อแม่หรือแฟนในไทย
การตลาดในช่วงแรกของ sawasdeeshop.comd จะใช้วิธีแจกปฏิทิน มุ่งไปยังกลุ่มเป้าหมายประเภทคนทำงานที่มีกำลังซื้อ
แต่อาจไม่ได้เล่นอินเทอร์เน็ต ปรากฏว่า สิ่งที่ได้รับกลับมา นอกเหนือจากกลุ่มลูกค้าแล้ว
ก็คือ บรรดาร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ ที่สนใจนำสินค้ามาจำหน่ายบนเว็บไซต์
เช่น กรณีของ จีอี ไลท์ติ้ง ที่วางขายเครื่องใช้ไฟฟ้าบนเว็บไซต์แห่งนี้
ความแตกต่างระหว่าง sawasdeeshop.com และเว็บไซต์อื่นๆ อยู่ที่เว็บไซต์นี้ไม่ได้ทุ่มเงินโปรโมตเหมือนกับเว็บไซต์
อื่นๆ แต่สิ่งที่พวกเขาทำ ก็คือ พยายามสร้างเว็บไซต์นี้ จากความเชื่อถือ
มีสินค้าขายจริง มีลูกค้าจริง
"ทำไมจีอีไลท์ติ้งโทรมาหาเราเอง เพราะเวลาเราดีล เราจะทำแบบ win win ทั้งคู่"
เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์นี้มีพันธมิตรที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์มียี่ห้อเพิ่มขึ้น
อันเป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจ
รวีวรรณเชื่อว่า ความสำเร็จของการทำเว็บไซต์ จะต้องอยู่ที่การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค
ที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามความต้อง การของลูกค้าตลอดเวลา ตัวอย่างที่แล้วมาก็คือ
การรับชำระเงินค่าสินค้า ในช่วงแรกใช้วิธีบัตรเครดิต ใช้บริการเปย์เมนต์เกตเวย์ของธนาคาร
ไทยพาณิชย์ แต่มาช่วงหลังรู้สึกว่า คนไทยยังไม่คุ้นเคยกับการชำระค่าสินค้าทางอินเทอร์เน็ต
และต้องการเห็นสินค้าก่อน จึงเปลี่ยนมาเป็นชำระ ค่าสินค้าเมื่อได้รับสินค้า
"ทุกครั้งที่มีสื่อใหม่ๆ ในการเก็บเงิน เราจะมีให้หมด เราจะทำทุกอย่างให้ลูกค้าสะดวกที่สุด"
ปัจจุบัน sawasdeeshop. com มีผู้เข้าเยี่ยมชมน้อยลง แต่จำนวนซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น
อยู่ในประมาณห้าแสนบาทต่อเดือน สินค้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นน้ำหอม เครื่องสำอาง
ของเล่น และอุปกรณ์กีฬา แต่ถ้าเป็นช่วงเทศกาลจะเป็นเครื่องดื่ม สุรา
"เราอาจจะมาก่อนเวลาสำหรับผู้ใช้ทั่วไป แต่ว่าเรามาก่อนเวลาสำหรับเจ้าของกิจการที่มีเว็บ
ไซต์อยู่แล้ว ซึ่งเขาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเอง ใช้จ่าย
เงินในการโฆษณาเว็บไซต์"
จากจุดนี้เอง จึงนำไปสู่แนว คิดของการขยับขยายไปเป็น mar-ket place เป็นแหล่งที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน
มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งจะเป็นการลงทุน
"การทำ market place มันต้องมีคอนเนกชั่นพอ เราคงจะนึกภาพออกว่า ร้านขายส่งจะเกิดจากร้านขายปลีกก่อน
เมื่อร้านขายปลีกมีกำไรเยอะ เอาของมาขายเยอะ ก็เริ่มเป็นร้านขายส่ง จากนั้นเป็น
shopping center จะเริ่มเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"
การตัดสินใจก้าวไปสู่การเป็น market place มาจาก 2 สาเหตุ คือ การที่เป็นเจ้าของสินค้า
เป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือ ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีโอกาสที่จะเป็น ได้ทั้งผู้ขาย
และผู้ซื้อ ส่วนที่สอง คือ มีความเป็นกลาง เนื่องจากบริษัทไม่ใช่ผู้ผลิตสินค้า
หรือนำเข้าสินค้า
"สมมติ ถ้าผมทำสินค้าเกษตร และผมมาทำ market place คู่แข่งผม จะไม่เข้ามาทำกับเราหรอก
เขาก็ไปทำของเขาเอง"
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พวกเขาต้องทำ ก็คือ การลงทุนเพิ่มระบบการให้บริการเพิ่มขึ้น
เช่น ระบบการจัดการลูก ค้าสัมพันธ์ crm (customer relation management) ในการดูแลลูกค้าระบบ
ดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบ call center
"การลงทุน เราจะโตไปตามทราน แซกชั่น ไม่ลงทุนตูมเดียว เราจะค่อยๆ ลงทุน
การลงทุนทั้งหมดนี้ เพื่อรองรับกับ บริการที่ดีขึ้น ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ตรงกับลูกค้าประเทศไทยมากที่สุด
การลงรายละเอียดของข้อมูล และการอัพเดทข้อมูล"
ผลที่ตามมา ก็คือ รายได้ที่จะมา ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่จะเก็บจากเจ้าของ
ผลิตภัณฑ์ จากบริการที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าจำนวน 8,000 บาท
จะครอบคลุมบริการจัดส่งสินค้า การชำระเงิน และค่าธรรมเนียม ในกรณีการฝากขายสินค้า
100 บาทต่อชิ้นต่อเดือน
"เราเป็นชอปปิ้งโซลูชั่น เป็นชุมชน ที่สร้างประสิทธิภาพ และสร้างกำไร ให้กับผู้ที่มาอยู่ในชุมชนนี้
ให้ลูกค้าใช้ได้ ที่สำคัญ เรามีประสบการณ์จริง และราย ได้จริง ไม่ทำจากทฤษฎีใดๆ
ทั้งสิ้น"
เป้าหมายในอนาคตของพวกเขา เว็บไซต์ประเภทเดียวกันที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อให้เขานำสินค้ามาขายบนเว็บไซต์ของ
sawasdeeshop.com ขณะเดียวกัน ก็นำสินค้าไปขายต่างประเทศ
สำหรับจุดคุ้มทุน มันเป็นเรื่องของชื่อมากกว่าเรื่องของตัวเงิน "หากคุณนึกถึง
sawasdeeshop.com เป็นเว็บแรกที่นึกถึง นั่นคือ การถึงจุดคุ้มทุนแล้ว"
และนี่ก็เป็นอีกแง่มุมหนึ่งในโลกของดอทคอม ที่บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทฤษฎี