การตั้งรับและรุกกลับ

โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ เอกรัตน์ บรรเลง
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( ตุลาคม 2552)



กลับสู่หน้าหลัก

ปี 2552 เป็นปีที่มีตัวแทนรัฐบาลไทยเดินทางไปจีนบ่อยครั้งเป็นพิเศษ

หากมองว่าการเดินทางเหล่านี้เป็นความพยายามดำเนินการตามยุทธศาสตร์ตั้งรับการแผ่อิทธิพลจากจีนเข้ามาในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และยุทธศาสตร์การรุกกลับ ก็คงต้องพิจารณาดูว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้ ดำเนินไปอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลัก มากน้อยแค่ไหน

ตัวอย่างการเดินทางไปจีนของตัวแทนรัฐบาลไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

- 2 เมษายน ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อเปิดสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ประจำกรุงปักกิ่ง

ถือเป็นสำนักงานบีโอไอแห่งที่ 2 ในจีน หลังจากเปิดสำนักงานแห่งแรกที่เมืองเซี่ยงไฮ้ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2546

- 19 เมษายน ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมประชุม BOAO Forum of Asia ที่จีน การประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอแผนในการกู้วิกฤติด้านการท่องเที่ยว ร่วมกับ Zao Qi Wei ประธานการท่องเที่ยวจีน

- 15 พฤษภาคม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เยือนเขตปกครองพิเศษฮ่องกง โดยได้พบกับโดนัลด์ จาง ผู้ว่าการเกาะฮ่องกง รวมถึงวิคเตอร์ ฟุง ประธานบริษัทลีแอนด์ฟุง กรุ๊ป ในฐานะประธานหอการค้าระหว่างประเทศของฮ่องกงด้วย

- 5-18 มิถุนายน วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำทีมผู้ประกอบการผลิตและส่งออกผลไม้สดและผลไม้แปรรูป ไปร่วมงานแสดงสินค้าเกษตรของไทย ใน 5 เมืองใหญ่ของจีน ประกอบด้วยเทียนจิน ปักกิ่ง เสิ่นหยาง ต้าเหลียน และซีอาน

- 24-28 มิถุนายน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการ

- 18-21 สิงหาคม ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางไปยังนครกวางโจว เพื่อเปิดสำนักงานส่งเสริมการลงทุนแห่งที่ 3 ในนครกวางโจว


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.