SAS หรือสายการบิน SCANDINAVIAN AIRLINES SYSTEM ชื่อนี้เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี
แต่คงมีอีกหลายคนที่จะอดแปลกใจไม่ได้ สำหรับชื่อของ SAS เช่นเดียวกัน หากแต่เป็น
SOFTWARE PACKAGE ใช้ในบริษัทหรือองค์กรใหญ่ ๆ มากกว่า 10,000 แปลง หน่วยงานทั่วโลก
SAS เกิดจากห้องวิจัยของมหาวิทยาลัยใน NORTH CAROLINA โดยนักศึกษาที่เป็น
TECHNICAL GUY คนหนึ่งชื่อ JIM GOODNIGHT
JIM GOODNIGHT พัฒนาโปรแกรมที่ว่านี้ขึ้นขณะที่ยังเรียนหนังสืออยู่ แล้วนำมาให้คนทดลองใช้กันดู
ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ผู้ใช้ยอมรับว่าซอฟท์แวร์ตัวนี้มีประโยชน์มาก จึงตั้งเป็น
SAS USER GROUP และปีต่อมาก็ตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ SAS INSTITUTE INC.
ขึ้น
SAS เป็น SOFTWARE PACKAGE เป็นทั้ง DATA MANAGEMENT, DATA, ANALYSIS เป็น
DECISION SUPPORT หรือเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
และเป็น BUSINESS PLANNING BUSINESS FORECASTING ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
และพยากรณ์อนาคตในการดำเนินธุรกิจ
แต่ส่วนที่แตกต่างจากซอฟท์แวร์ชนิดอื่น ก็คือ SAS มี PACKAGE ด้าน CAPACITY
PLANNING ที่ใช้วัด COMPUTER PERFORMANCE เป็น PACKAGE ที่ใช้ในการประเมิน
หรือวัดค่าขีดความสามารถในการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
โปรแกรมนี้สามารถดึงข้อมูลจากซอฟท์แวร์ของไอบีเอ็มมาทำการวิเคราะห์ ด้วยวิธีการทางสถิติทำให้ประเมินขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ออกมาได้ชัด
เพื่อการวางแผนรองรับความสามารถในการขยายตัวในส่วนที่ต้องผูกพันกับคอมพิวเตอร์
"จุดเด่นของ SAS คือเป็นซอฟท์แวร์ที่สามารถอ่าน DATA FILE จาก DATA
BASE ต่าง ๆ ในระบบเดิมที่ผู้ใช้ ๆ อยู่แล้ว ได้ทุกรูปแบบทุกชนิด โดยไม่มีข้อจำกัดแล้วนำมาวิเคราะห์ได้เองโดยตรง"
ประวิน ฉิมตะวัน กรรมการผู้จัดการบริษัท THAI MANAGEMENT SCIENCE จำกัด (TMS)
ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยของ SAS INSTITUTE INC. USAบอกถึงจุดสำคัญที่ทำให้
SAS ประสบความสำเร็จอย่างมากในต่างประเทศ
THAI MANAGEMENT SCIENCE หรือ TMS ตั้งขึ้นในเดือนกันยายน 2530 มีทุนจดทะเบียน
5 ล้านบาท ประกาศตัวนำเข้าโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเครื่องอุปกรณ์อื่นๆ
ของคอมพิวเตอร์และบริการด้านที่ปรึกษา จัดวางระบบการใช้งาน รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
ประวินจบปริญญาตรีการตลาดจากวิทยาลัยกรุงเทพเป็นเซลส์แมนอยู่ประมาณหนึ่งปีแล้วไปศึกษาต่อ
MBA ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งแถว ๆ ซานฟรานซิสโก
ประวินเล็งเห็นว่าคอมพิวเตอร์จะมีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจ เขาจึงเขาไปเรียน
M.Sc.(MANAGEMENT INFORMATION SYSTEM) เพิ่มเติมใน UNITED STATE INTERNATIONAL
UNIVERSITY ซานดิเอโกสถาบันเดียวกับสมชัย ว่องอรุณ อดีต MARKETING DIRECTOR
ของอเมริกันสแตนดาร์ด หรือ ดร. พักตร์ผจง วัฒนศิลป์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาฯ
ถึงแม้สถาบันที่เขาเรียนจะไม่โด่งดังคับฟ้า แต่ประวินก็เป็นที่รู้จักของนักเรียนสหรัฐฯ
ในรุ่นใกล้ ๆ กันมาก เพราะเขาเป็นคนไทยคนแรกที่ได้เกรดเต็มทุกวิชาที่เรียน
และมีบทความเกี่ยวกับตัวเขาลงใน WHO'S WHO IN AMERICAN COLLEGE
ประวินกลับมาเมืองไทยได้สองสัปดาห์ ก็เข้าทำงานที่ชินวัตรคอมพิวเตอร์
"ผมเป็น MARKETING REPRESENTATIVE เหมือนเพื่อนร่วมงานเกือบทุกคนที่จบโทมาเหมือนกัน
ทุกคนเก่ง และมีศักยภาพในตัวเองสูง" ประวิน บอกกับ "ผู้จัดการ"
แบบถ่อมตัวนิด ๆ
ประวินทำงานได้ปีเดียวก็ออกจากชินวัตรฯ ช่วงนั้นเขาต้องไปสิงคโปร์ เพื่อติดต่องานด้าน
TEXTILE ที่ครอบครัวของเขาทำอยู่ ก็เผอิญได้พบเพื่อนเก่าที่เคยติดต่อกับชินวัตรฯ
คนหนึ่งและแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์กัน
ทั้งสองมีความคิดตรงกันว่าเมืองไทยมีคนขายฮาร์ดแวร์จำนวนมาก ส่วนคนขายซอฟท์แวร์มีน้อย
หรือถ้ามีก็ไม่ได้ทำเป็นหลัก ขณะที่ในต่างประเทศบริษัทส่วนใหญ่จะใช้ซอฟท์แวร์ของ
THIRD PARTY ที่เชี่ยวชาญทางด้านซอพท์แวร์โดยเฉพาะมากกว่า
ประกอบกับเมื่อครั้งที่ประวินเคยอยู่ชินวัตรฯ เขาคุ้นเคยกับ SAS มาบ้าง
และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับองค์กรต่าง ๆ ในเมืองไทย เขาจึงติดต่อกับ
REGIONAL OFFICE ของ SAS ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลตลาดเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด
และสามารถนำมาจำหน่ายในเมืองไทยได้ในที่สุด
"นโยบายของเราเน้นการบริการหลังการขาย (SERVICE AFTER SALE) นอกจากนั้นเรายังมีนโยบายหลักว่า
เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้ว่าเมื่อเขานำไปแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
ก็โดยการให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ซอฟท์แวร์ตัวนี้ด้วยตัวเอง" จนกว่าจะพอใจแล้วค่อยตัดสินใจซื้อก็ได้"
เลอพงศ์ ศรีรองเมือง มืออาชีพคนหนึ่งที่ประวินชวนมาร่วมงานเป็น MARKETING
MANAGER ของ TMS บอกถึงนโยบายการตลาดของซอฟท์แวร์ตัวนี้กับ "ผู้จัดการ"
เลอพงศ์จบชั้นมัธยมที่อำนวยศิลป์ แล้วไปต่อปริญญาตรีที่ฟิลิปปินส์ จากนั้นก็มาทำงานกับ
US AIR BASED ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าประจำฐานบินในค่าย FRIENDSHIP ที่โคราชอยู่หนึ่งปี
ต่อมาก็ไปเรียนต่อปริญญาโททาง COMPUTER SCIENCE ที่อเมริกา กลับเมืองไทยอีกครั้งโดยเริ่มงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแล้วไปทำงานด้านการตลาดที่นรฤทธิ์แอสโซซิเอทส์ก่อนที่จะมาทำงานเป็น
MARKETING MANAGER ที่แอคชั่นคอมพิวเตอร์อยู่สี่ปี
ถึงแม้จะเปิดดำเนินงานมาไม่ถึงหกเดือนดี TMS ก็มีลูกค้าที่เป็นผู้ใช้เดิมที่เคยใช้
SAS มาก่อนถึง 12 บริษัท ทั้งบริษัทน้ำมันใหญ่ ๆ อย่าง CALTEX, ESSO, UNOCAL
สถาบันต่าง ๆ เช่น AIT, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือแม้กระทั่งบริษัทการบินอย่างการบินไทย
ซึ่ง TMS คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 5-6 บริษัท
"ตอนนั้นเราคิดว่าจะใช้ชื่ออะไรดีสำหรับบริษัทเราก็มาคิดถึงตัวอักษรสำคัญ
2 ตัว คือ M กับ S" ประวินเล่าย้อนให้ "ผู้จัดการ" ถึงความคิดที่เขาใช้ในการตั้งชื่อบริษัทของเขา
M มาจากคำว่า "MONEY" และ "MANAGEMENT" ส่วน S มาจากคำว่า
"SERVICE" ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ถ้าธุรกิจของเขาจะประสบความสำเร็จคือ
MAKE MONEY ได้ ก็ต้องมี SERVICE ที่ดีเป็นพื้นฐาน
ต่อจากนั้นเขากับเพื่อน ๆ ก็มาคิดกันว่า ในเมื่อเป็นคนไทยทำไมไม่ใช้ชื่อประเทศนำหน้า
"เพราะฉะนั้น TMS ของเราก็คือ คนไทยซึ่งสามารถใช้ MANAGEMENT MAKE
MONEY ได้มาก ๆ จาก SERVICE ที่ดีมาก ๆ ของเรา" ประวินบอก "ผู้จัดการ"
ถึงความหมายของชื่อบริษัทในใจของเขา
ในปัจจุบันมีโปรแกรมหรือ SOFTWARE ที่ใช้งานอยู่ในศูนย์คอมพิวเตอร์ขององค์การหรือหน่วยงานขนาดใหญ่ทั้งเอกชนและรัฐบาลอยู่สองชนิด
ชนิดแรกคือโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเองจากภาษา COBOL, FORTRAN, PASCAL, PL/I
หรือใช้ DATA BASE MAMAGEMENT SYSTEM (DBMS) เป็นต้น
ซึ่งค่อนข้างจะยุ่งยากเสียเวลา และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดก็มีไม่น้อย
อีกชนิดหนึ่งที่นิยมเพราะข้อผิดพลาดน้อย ค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน แต่ใช้เวลาในการพัฒนาเพื่อใช้งานน้อยกว่ามาก
คือ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามการใช้โปรแกรมทั้ง 2 แบบก็ยังมีข้อยุ่งยากในการใช้งานมากโดยเฉพาะถ้าหากผู้ใช้ต้องการนำข้อมูลต่าง
ๆ มาใช้ในการทำ DATA MANAGEMENT, DATA ANALYSIS หรือการจัดทำระบบการป้อนข้อมูล
(DATA ENTRY) การออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรายงาน (REPORT) ต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือ
การนำข้อมูลจากโปรแกรม หรือระบบแฟ้มข้อมูลจากฝ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
มาจัดเป็นระบบข้อมูลรวมศูนย์ (MIS=MANAGEMENT INFORMATION SYSTEM) เพื่อประโยชน์ในการใช้งานของฝ่ายบริหาร
ซึ่งปัญหาจะเบาบางต่างกันมากเมื่อใช้ SOFTWARE SAS เข้าช่วยเหลือ
"ผมคิดว่า SAS SOFTWARE SYSTEM นี้จะต้องเป็น PACKAGE ที่จะได้รับความนิยมแพร่หลายในเมืองไทยอย่างแน่นอน"
ประวินบอกกับ "ผู้จัดการ" ด้วยความมั่นใจ หลังจากการจัด SAS SEMINAR
ขึ้นที่โรงแรมรีเจ้นท์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารจากศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่
ๆ สนใจและมาร่วมงานมากมาย
นอกจากนี้แล้วประวินยังร่วมลงทุนกับ INFOTECH ที่สิงคโปร์ตั้งบริษัท อินโฟเทค
ไทยแลนด์ จำกัดประมาณกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยจะเข้ามาทำตลาดสินค้าใหม่
เช่น VM SOFTWARE, CICS MONITERING ที่แตกต่างจากที่ TMS ทำอยู่
นโยบายของเราไม่ได้เน้นอยู่ที่ตัวนี้ตัวเดียว เราต้องการ TMS เป็นSOFTWARE
PACKAGE PRODUCT ไม่ได้เป็น SOFTWARE HOUSE ที่รับจ้างเขียน APPLICATION
PACKAGE เพียงอย่างเดียว" เลอพงศ์ เน้นถึงแนวทางในขั้นต่อไปของ TMS
กับ "ผู้จัดการ"
คงไม่มีใครบอกได้ว่า TMS จะก้าวไปได้ไกลแค่ไหน คงมีเพียงผู้ใช้ซอฟต์แวร์เท่านั้น
ที่จะเป็นผู้เลือกว่าซอฟท์แวร์อย่างไหนเหมาะกับกิจการของตนกว่ากัน