การประกันภัยต่อ (RE-INSURANCE) เป็นวิธีการที่บริษัทประกันภัยกระจายความเสี่ยงภัยที่ตนได้รับจากผู้เอาประกันภัย
โดยการเอาประกันต่อบางส่วนกับบริษัทประกันภัยอื่น เพื่อลดความเสี่ยงภัยที่ตนได้รับประกันไว้
แม้การประกันภัยต่อเป็นการลดความเสี่ยงของบริษัทประกัน แต่ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้เงินตราออกนอกประเทศได้เช่นกันเพราะส่วนใหญ่มักทำประกันต่อกับบริษัทในต่างประเทศ
บริษัทประกันชีวิตไทยก็ทำประกันภัยต่อ เอไอเอ ก็ทำด้วยและทำมาตลอดและก่อนหลักเกณฑ์การส่งเงินออกนอกประเทศจะประกาศใช้
เอไอเอมีผลประกอบการงบกำไรขาดทุนจากการประกันเป็น-(ขาดทุน) ตลอดมา
เมื่อเปรียบเทียบการประกันต่อระหว่างบริษัทประกันชีวิตไทยทั้งหมดกับเอไอเอ
เมื่อปี 2511 แล้ว
บริษัทประกันชีวิตไทยมีเบี้ยประกันรวมทั้งปี 180,831,700 บาท
ส่งเบี้ยประกันภัยต่อ 3,073,400 บาท
คิดเป็นประมาณ 1.7%ของเบี้ยประกันภัยรวม
เอไอเอมีเบี้ยประกันรวมทั้งปี 131,883,800 บาท
ส่งเบี้ยประกันภัยต่อ 30,620,700 บาท
คิดเป็นประมาณ 23% ของเบี้ยประกันรวม
คิดแล้วเอไอเอส่งเบี้ยประกันต่ออกต่างประเทศมากกว่าบริษัทประกันชีวิตไทยหลายเท่า
"เงินออกนอกประเทศในรูปเบี้ยประกันต่อมากเพราะ บริษัทประกันต่างชาติจะเอาประกันต่อกับบริษัทในเครือนั่นเอง"
แหล่งข่าวที่คลุกคลีอยู่ในวงการประกันกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
สำหรับเอไอเอก็คงจะได้ประโยชน์จากการประกันต่อตามเจตนารมย์ของผู้บริหารบริษัท
ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นบริษัทอินเตอร์แนชชั่นแนลแอชชัวรันส์ ที่ยอมรวมกิจการเข้ากับอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป
ซึ่งมีเครือข่ายบริษัทประกันอยู่ทั่วโลกจนถึงปัจจุบันแล้วกว่า 135 ประเทศ
ซึ่งก็นับว่าคณะผู้บริหารอินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันส์ ขณะนั้นสายตายาวไกลทีเดียว
การประกันต่อมีส่วนที่ทำให้เอไอเอขาดทุนในส่วนของการดำเนินการรับประกันมาตลอดจนถึงปี
2511
ปี 2511 เมื่อกระทรวงพาณิชย์ออกหลักเกณฑ์การส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรของบริษัทประกันชีวิต
ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันต่อว่า
หนี้สินที่เกี่ยวกับการประกันต่อกับบริษัทรับประกันต่อต่างประเทศไม่ว่าจะโดยสัญญาประกันต่อแบบใด
ๆ จะส่งได้เฉพาะที่เป็นเงินประกันเสี่ยงภัย (Risk Premium ซึ่งเบี้ยประกันแต่ละรายจะน้อยลงทุกปี
ตามจำนวนทุนประกันเสี่ยงภัยที่ลดลง) โดยมีกฎเกณฑ์ดังนี้
ยอดยกมางวดก่อน (+) + +
เบี้ยประกันต่อสุทธิ + + + +
หัก ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นในงวดนี้ + +
เบี้ยประกันรับคืน + +
ส่วนแบ่งผลกำไร + + + +
ยอดคงเหลือ + +
"พูดง่าย ๆ ก็คือในส่วนของการดำเนินการรับประกันจะต้องไม่ขาดทุน จึงจะส่งเงินออกนอกประเทศในลักษณะนี้ต่อไปได้"
แหล่งข่าวคนหนึ่งกล่าว
เอไอเอขาดทุนจากการดำเนินงานรับประกันมาโดยตลอด แต่เมื่อหลักเกณฑ์กระทรวงพาณิชย์ข้อนี้ประกาศใช้
ตั้งแต่ปี 2512 เป็นต้นมา บัญชีกำไรขาดทุนของเอไอเอเป็น + (กำไร) มาโดยตลอด