ปิด (เปิด) บัญชี "ไม้สัก"ปล้นข้ามแผ่นดิน "พม่า"เป็น "โจร" กันดีไหม!!??


นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2530)



กลับสู่หน้าหลัก

อาจจะผิดทั้งด้วยเจตนาและไม่ด้วยเจตนา ถ้าเขาเหล่านั้นเป็นอาชญากรที่ทำหน้าที่ปล้นสดมของปรเทศชาติประชาชนก็ว่ากันไปลงโทษกันตามกฎหมาย แต่พฤติกรรมบางอย่างเหล่านี้แม้ว่าจะเป็นการทำมาหากินบนทรากของความเป็นโจร ทว่าก็ไม่ได้ไปเบียดเบียนรังแกทรัพยากรหรือคนของชาติผู้ใดไม่ เป็นเพียงอาศัยช่องทะลุของความอ่อนหัดบางอย่างที่ประเทศหนึ่งพึงมี และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองทำให้ประตูของการทำมาหากินที่คนชาติอื่นจะเข้าไปตักตวงโภคทรัพย์ของตนนั้นง่ายขึ้น… ขบวนการไม้สักของพม่า น่าจะเป็นเรื่องทำนองนั้น

เป็นที่ทราบกันเงียบๆ กันมานานแล้วว่า ข้อเท็จจริงของการค้าตลาดมืดตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่าไล่มาตั้งแต่เขต จ.แม่ฮ่องสอน-อ.แม่สอด-จ.ตาก-อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เรื่อยไปถึงด่านวิคตอเรียปอยท์ จ.ระนอง และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น ธุรกิจการค้าที่สร้างความร่ำรวยอย่างมหาศาลให้กับพ่อค้าไทยหาได้ใช่ "ขบวนการค้าอัญมณีเถื่อน" ดังที่เคยเข้าใจ

แต่แกนหลักที่อุปถัมภ์ค้ำพกให้พ่อค้ารวยและเสริมส่งให้ธุรกิจการค้าอื่นๆ ในเขตพื้นที่เหล่านั้นกระชุ่มกระชวยอย่างแท้จริงล้วนเป็นผลพวงจาก "ขบวนการค้าไม้เถื่อน" จากฝั่งพม่าเสียมากกว่า เพราะค้าอัญมณีเถื่อนๆ หรือสินค้าอื่นๆ ปีหนึ่งๆ ราได้สูงสุดเพียงไม่กี่ร้อยล้านบาท ผิดนักกับการค้าไม้เถื่อนที่เป็น "ไม่สัก" ทั้งดุ้น เพียงแค่จุด อ.แม่สอด ซึ่งเป็นจุดใหญ่จุดเดียวปีหนึ่งๆ ก็มีมูลค่าสูงถึง 5,000-6,000 ล้านบาท ซึ่งถ้ารวมทุกจุดคาดว่าไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท!!!

ผลประโยชน์มหาศาลที่เกิดจากการปล้นอย่างชอบธรรมตามกลไกทางการค้า โดยผ่านมือของพวกกะเหรี่ยงอิสระ ก็ไม่ผิดอะไรกับการที่สิงคโปร์แอบขนแร่เถื่อนไปจากเมืองไทย จะผิดกันตรงที่สิงคโปร์ทำกันได้อย่างหน้าชื่นตาบาน ทว่าของไทยได้เกิดปัญหาขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษาที่ผ่านมาที่มีการจับกุมรถบรรทุกไม้ดังกล่าวอย่างเอาจริงเอาจังตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี

ความเป็นไปของการปฏิบัติการดังกล่าวทวนกระแสความรุ่งเรืองทางการค้าอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ จนมีผลทำให้การค้าอื่นๆ พลอยโดนหางเลขซึมเซาตามไปด้วย และถึงวันนี้ได้มีคำถามดังขึ้นมาแล้วว่า รัฐบาลไทยควรจะมีการทบทวนคำสั่งจับกุมได้หรือยัง? สมควรจะปล่อยให้พ่อค้าดำเนินการกันเช่นเดิมดีไหมเพียงแค่จัดระเบียบขั้นตอนต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น? หรือว่าจะสั่งยับยั้งชนิดไม่ให้ผุดไม่ให้เกิดกันอีกเลยทั้งนี้เพื่อถนอมรักษาไทย-พม่าให้ยั่งยืนสถาพร??

สดใส

เป็นเพราะทรัพยากรป่าไม้ของไทยในระยะ 10 ปีหลังมานี้มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ยและส่วนมากสัมปทานป่าไม้ตกไปอยู่ในอุ้งมือของกลุ่มไม้อิทธิพลไม่กี่กลุ่มทำให้บรรดาคนที่คิดอยากจะเป็น "พ่อเลี้ยง" ทั้งหลายจำต้องสอดส่องหาทางทำมาหากินกันใหม่ที่ไม่ต้องลงทนลงรอนกันมากนัก

ซึ่งแหล่งทำมาหากินที่ว่านี้ก็อยู่ในเขตพื้นที่เพื่อนบ้านระแวกใกล้เคียงกับไทยนั่นเอง โดยเฉพาะ "พม่า" นับเป็นขุมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุด เนื่องจากพม่าเป็นเพียงประเทศเดียวที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ และน้ำมัน อยู่ในปริมาณที่สูงสุด

ป่าไม้ของพม่านั้นกล่าวกันว่า ทำกันอีกสิบปียี่สิบปีก็ยังไม่หมด นี่ยังไม่นับรวมป่าหวงห้ามที่อังกฤษปลูกทิ้งไว้อีกส่วนหนึ่ง คนที่เคยเข้าไปในกรุงย่างกุ้งคงได้เคยเห็นแล้วว่า มีไม้สักท่อนใหญ่ๆ วางระเกะระกะเต็มไปหมด ซึ่งไม้เหล่านั้นพ่อค้าไทยพยายามเข้าไปประมูลหรือขอสัมปทานทำแต่รัฐบาลพม่ายังไม่ โอ.เค

"สมัยก่อนคุณบุญธรรม ชมดวง พ่อตาของผู้การสล้าง (พล.ต.ต.สล้างบุนนาค) เคยวิ่งเต้นติดต่อเรื่องนี้มาทีหนึ่งแล้วก็เกือบจะสำเร็จแต่แกก็ด่วนตายไปเสียก่อน โครงงานก็ไม่มีใครสานต่อเรื่องเลยเงียบหายไป ไม้ของพม่านั้นนั้นถ้าให้พ่อค้าไทยทำจะสะดวกมากกว่าพม่าทำเองมากมาย เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดกับฝั่งไทย เราเพียงปล่อยข้ามน้ำมาเท่านั้นก็เสร็จ แต่ถ้าพม่าทำเองต้องใช้ช้างชักลากข้ามเขาไปสองสามลูกก่อนที่จะนำไปวางกองกลางกรุงย่างกุ้งได้ อีกอย่างเครื่องไม้เครื่องมือก็ห่างกันไกลแต่พี่หม่องแกโอ้เอ้หยอดคำหวานอยู่เนืองๆ โดยยังไม่ยอมร่างกฎหมายออกมาเสียที" พ่อค้าไม้คนหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"

หน่วยข่าวกรองงานความั่นคงเปิดเผยเพิ่มเติมกับ "ผู้จัดการ" ว่า เมื่อไม่นานมานี้มีกลุ่มพ่อค้าไม้คนไทยไม่น้อยกว่า 15 คนได้เดินทางไปยังกรุงย่างกุ้ง และเปิดการเจรจากับอธิบดีป่าไม้พม่าเพื่อขอสัมปทานพื้นที่ฝั่งตรงข้ามกับ จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.เชียงราย โดยหวังว่าจะให้เรื่องนี้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเปิดประตูการค้าเสรีที่รัฐบาลเนวินกำลังจะดำเนินการ

แต่เป็นที่คาดหมายกันได้เลยว่า เรื่องนี้เห็นทีต้องจะร้องเพลง "รอ" กันต่อไป เพราะพม่าคงไม่ใจดีจนทุ่มเทความรักให้ถึงขนาดนั้น กับข้อสำคัญประการหนึ่งคือว่าพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในอิทธิพลของกะเหรี่ยงอิสระ ถ้าเปิดโดยมีการออกใบรับรองแสดงถิ่นกำเนิดสินค้า (ORIGINAL CERTIFICATE) อย่างถูกต้องตามกฎหมายก็เท่ากับเป็นการสนับสนุนศัตรูคือกะเหรี่ยงให้มีการค้าขายคล่องตัวมากขึ้น และยังมีเสบียงที่จะต่อสู้กับพม่าได้อีกนาน

เพราะเหตุผลเช่นนี้ จึงทำให้พม่าไม่กล้าเปิดการค้าไม้กับฝั่งไทยอย่างตรงไปตรงมา ปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของกะเหรี่ยงอิสระที่คุมพื้นที่อยู่ตักตวงผลประโยชน์ไปอย่างง่ายดาย และจากจุดนี้เองที่ก่อให้เกิดขบวนการค้าไม้เถื่อนที่ว่าขึ้นมา โดยเป็นการค้าระหว่างพ่อค้าไทยกับกะเหรี่ยงอิสระ

พ่อค้าไม้ไทคนแรกที่ฉกฉวยสถานการณ์มาเป็นประโยชน์ก็คือ พ่อเลี้ยงยง ยะคำนะ ซึ่งอดีตเคยเป็นพลตำรวจประจำ สภอ.แม่สอดนานถึง 16 ปี พ่อเลี้ยงยงคนนี้ยังเป็นตำรวจคนสนิทของ ผบช.3 พล.ต.ท.นิยม กาญจนวัฒน์ สมัยเคยเป็นตำรวจกระฉ่อนมากในเรื่องอาวุธสงคราม

อาศัยความเป็นท้องถิ่นที่มีสัมพันธ์อันดีกับผู้นำกะเหรี่ยงอย่างนายพลโบเมยะมาตั้งแต่รุ่นพ่อถึงกับว่านายตำรวจระดับสารวัตรคนหนึ่งของแม่สอดคนหนึ่งเคยยืมเงินโบเมยะ 2 แสนบาทแต่ไม่ได้ ครั้นให้พ่อเลี้ยงยงที่ยังเป็นแค่พลตำรวจยืมปรากฏว่าได้โดยฉับพลัน!!

ช่องทางการค้าไม้จากฝั่งพม่าเป็นไปอย่างราบรื่น ทำให้ต้องทิ้งราชการหันมาค้าขายจริงจังกับโรงเลื่อยเล็กๆ ตรงด่านวังข่า เขาใช้เวลาไม่นานนักขยายโรงเลื่อยขนาดใหญ่ที่มีคนงานไม่น้อยกว่า 200 คน/โรงออกไปยังด่านต่างๆ เช่นด่านวะเลย์ ด่านแม่ตะวอ ด่านวังแก้ว ได้อีก 4 โรงจัดเป็นพ่อเลี้ยงใหม่ที่บทบาทสูงสุด

ตอนที่พม่าบุกโจมตีด่านวะเลย์ราวเดือนมีนาคมของปีนี้ พ่อเลี้ยงยงแทบจะเอาชีวิตไม่รอดต้องหนีจนเหลือกางเกงในติดตัวเพียงตัวเดียว ซึ่งการบุกถล่มของพม่าที่มีการเผาโรงเลื่อยต่างๆ นัยว่าพ่อเลี้ยงยงโดนเข้าไปมากที่สุด

ในบรรดาพ่อค้าไม้ต้องยอมรับว่าพ่อเลี้ยงยงเป็นประเภท "ใจถึง" ที่สุด เพื่อให้งานคล่องตัวยิ่งขึ้นขนาดรับเหมาสร้างบ้านพักราคาหลังละ 3,000 กว่าบาท จำนวน 1,200 หลังให้แก่กองทัพภาคที่ 3 แม้วส่างานนี้จะขาดทุนแต่ผลที่ได้ในเรื่องค้าไม้ก็คุ้มปานๆ กัน นอกจากนี้ในสมัยที่การค้าไม้ยังไม่มีปัญหาพ่อเลี้ยงยงต้องปันเงินเป็นค่าน้ำร้อนน้ำชากับเจ้าหน้าที่ถึงเดือนละ 100,000 บาท

"การทำไม้กับกะเหรี่ยงเกิดจากความเชื่อถือ สมัยนั้นเขาเข้ามาในเขตเราแล้วถูกจับเราก็ช่วยประสานให้จนหลุดก็เลยชอบพอกันเรื่อยมา เรื่องนี้ผมรู้ดีว่าในแง่ของกฎหมายอาจจะผิด แต่เราดูแล้วว่าเรื่องที่จะทำให้ถูกต้องกับพม่าคงจะไม่มีทางเป็นไปได้เลยต้องหันมาเล่นกับกะเหรี่ยง อีกอย่างผลดีของการค้าไม้จากฝั่งโน้นมันมีมากกว่าผลเสีย เงินที่ซื้อไม้พวกกะเหรี่ยงก็นำกลับมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคไปจากเราอีกทีหนึ่ง มีแต่ได้กับได้" พ่อเลี้ยงยงพูดถึงการค้าไม้

หลังจากพ่อเลี้ยงประสบความสำเร็จเลยเป็นเหตุให้เกิดพ่อเลี้ยง-แม่เลี้ยง หน้าใหม่ๆ ขึ้นเป็นดอกเห็ด ในจำนวนนี้มีทั้งนักการเมืองท้องถิ่น อดีตคอมมิวนิสต์กลับใจแต่ที่ขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับพ่อเลี้ยงยงเห็นจะเป็นพ่อเลี้ยงสม กับสุนทร ไวยรัชพานิช

พ่อเลี้ยงสมคนนี้อดีตเคยร่ำรวยกับการค้าของลับบางอย่างก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็นเอเย่นต์รถยนต์โตโยต้า และก้าวมาสู่วงการค้าไม้ ในระยะหลังๆ ก่อนที่จะมีนโยบายปรามปรามจับกุมเข้มงวด บทบาทของพ่อเลี้ยงสมสูงขึ้นมาก เพราะตั้งตัวเป็นผู้นำเรียกเก็บค่าหัวคิวรถขนไม้คันละ 100,000 บาท เพื่อใช้เป็นค่าเบี้ยใบ้รายทางในการเคลียร์ด่านต่างๆ เข้าสู่กรุงเทพฯ

ต้นเหตุการจับกุมการค้าไม้ก็มาจากพ่อเลี้ยงสม เพราะรถไม้ 13 คันของพ่อเลี้ยงสมถูกจับหลังวันที่หม่อง หม่อง ข่า นายกรัฐมนตรีพม่าเดินทางมาเยือนไทยได้วันเดียว-(อ่านรายละเอียดในตอนถัดไป) พ่อเลี้ยงสมค้าเสียจนต้องสูญเสียลูกชายที่ถูกทหารพม่ายิงคว่ำเรือกลางแม่น้ำเมย

"พูดถึงความนุ่มนวลแล้วพ่อเลี้ยงยงมีมากกว่า ความสุขุมรอบคอบก็ผิดกันอีกโข รายพ่อเลี้ยงสมนั้นประเภทได้เป็นได้ เป็นเสีย ขอให้เรื่องเสร็จเร็วๆ รวยเร็วๆ " พ่อค้าไม้คนหนึ่งกล่าว

สุนทร ไวยรัชพนิช อดีตนิสิตจุฬาฯซึ่งโดนคดี 6 ตุลา 19 จนต้องหนีเข้าไปร่วมงานกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเสียหลายปี สุนทรกลับสู่เมืองพร้อมเสกสรร ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาคนดัง แล้วหันมาทำการค้าไม้ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนท้องถิ่นโดยตรงแต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ผ่านพล.ต.ต.ชะลอ เกิดเทศ อดีตผู้ช่วย ผบช.3 ซึ่งเป็นพี่ภรรยาของนิยม ไวยรัชพนิชที่เป็นพี่ชายของสุนทร จึงทำให้การค้าของพี่น้องคู่นี้ไม่ติดขัดอะไรมากนัก

"สายนี้พยายามสร้างภาพพจน์ให้เป็นที่ยอมรับให้สังคม-ราชการมากด้วย ตัวนิยมเป็นทั้งประธานสภาจังหวัดและรองประธานหอการค้าตาก ดังนั้นการค้าในระยะที่ซบเซาของหลายคนคู่นี้ยังพอเอาตัวรอดไปได้เพราะเข้าได้ถึงผู้หลักผู้ใหญ่"

นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองระดับชาติอาทิเช่น พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร สส.จังหวัดอยุธยาหรือผู้พันเล็กคนดังจาก 14 ตุลา อุดมศักดิ์ ทั่งทอง สส.ประจวบคีรีขันธ์ หรือแม้แต่น้องชายคนเล็กของพล.อ.เปรม วีระณรงค์ ติณสูลานนท์ ก็แวะเวียนมาดูลู่ทางค้าไม้ที่แม่สอดอยู่เนืองๆ

รายพ.อ.ณรงค์ กิตติขจรนั้นไม่เพียงแต่จะดูลู่ทางอย่างเดียว ยังได้เข้าร่วมทุนกับกลุ่ม "ภัทรประสิทธิ์" สร้างศูนย์การค้าแม่สอดและโรงแรมขนาดใหญ่ด้วย โดยคาดหวังว่าหากการค้าไม้ไม่มีปัญหาที่นี่จะเป็นย่านการค้าที่คึกคักแน่นอน แต่เมื่อเจอมรสุมคำสั่งนายกฯโครงการนี้จึงชลอตัวลงไปก่อน

เส้นสายของพ.อ.ณรงค์กับกลุ่มกะเหรี่ยงอิสระนั้นก็ไม่เบา ตัวนายพลโบเมียะเองก็ให้การยอมรับนับถือจอมพลถนอม กิตติขจรค่อนข้างสูง ดังจะเห็นได้ว่าสมัยจอมพลถนอมเป็นนายกฯเมื่อใดที่มีการปราบกะเหรี่ยงทางไทยจะพยายามผ่อนหนักเป็นเบาเสมอมา

ยังมีพ่อค้าไม้อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพ่อค้าไม้รายใหญ่ๆ ก็คือ บรรดากองทัพมดที่หลั่งไหลมาจากจังหวัดแพร่ โดยการนำของพ่อเลี้ยงสุบิน สุขกมล ซึ่งเป็นประธานสภาจังหวัดแพร่ก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าคนแพร่กับความเชี่ยวชาญเรื่องทำไม้นั้น ไม่เคยเป็นรองใคร กองทัพมดพวกนี้อาศัยเพียงเครื่องยนต์คูโบลต้าตั้งเป็นโรงงานแปรรูปตามริมฝั่งแม่น้ำเมยสะพรั่งไปหมด จำนวนแรงงานกองทัพมดนี้คาดว่าไม่น้อยกว่า 10,000-20,000 คนเรียกว่าเหมาแรงงานกันมาทั้งอำเภอ

รวมแล้วการเฟื่องฟูของการค้าไม้เถื่อนจากพม่า ก่อนมีการถูกจับกุมนั้น มีผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยถึง 74 ราย จำนวนโรงงานที่เปิดเป็นโรงเลื่อยและโรงไม้แปรรูปทำประตู หน้าต่าง วงกบมีไม่ต่ำกว่า 150 โรงกระจายกันไปตามด่านต่างๆ นับตั้งแต่ตอนใต้แม่สอดจากวะเลย์ หมื่นฤชัย แม่หละ ผาลู แม่สลิด แม่ต้าน ไปจนถึงแม่ตะวอ คนงานมีไม่น้อยกว่าสามหมื่นคน

คิดดูกันเอาเองละกันว่าความคึกคักของการค้าไม้เถื่อนนั้นอึกทึกเพียงใด ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจการค้าในตัวเมืองแม่สอดพลอยยิ้มระรื่นไปด้วย มีการลงทุนก่อสร้างโรงแรมชั้นหนึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กันถึง 2 แห่งคือแม่สอดอิลล์และพรเทพ เพื่อเป็นที่พบปะชุมนุมของพ่อค้าไม้ทั้งหลาย

เหลือบน้ำลายสอ

ไม้พม่าที่ซื้อจากะเหรี่ยงจะตกตันละ 3,500 บาท (50 ลบ.ฟุต) แต่เมื่อนำมาแปรรูปส่งเข้ากรุงเทพฯสามารถขายได้ถึง ลบ.ฟุตละ 380 บาท เฉลี่ยแล้วไม้สัก 1 ตันจะขายกันอยู่ในช่วงราคา 20,000-25,000 บาทหักกลบลบหนี้กับต้นทุนอื่นๆ แล้ว ก็ยังมีกำไรกันคนละหลายเท่าตัว

มันขายแล้วมีกำไรงาม ๆ เป็นตัวเงินสด ๆ อย่างนี้ใครต่อใครก็อยากทำกันนักกันหนา

สำหรับตลาดขายส่งในกรุงเทพฯก็ได้แก่ร้านค้าไม้ต่างๆ ที่มีความต้องการไม้แปรรูปเหล่านี้อย่างไม่อั้น เรียกว่ามีเท่าไหร่รับซื้อหมด และยังมีกลุ่ม 5 เสือค้าไม้เป็นแกนรับซื้อที่สำคัญอีกแกนหนึ่ง กลุ่มนี้รับซื้อมาแล้วส่งออกต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดอเมริกาอีกทอดหนึ่ง

กลุ่ม 5 เสือค้าไม้ประกอบไปด้วย

1. เสรี ตันชูเกียรติ แห่งบริษัท เอ็นซีเค. จำกัด จุดรับซื้อใหญ่อยู่ที่นนทบุรี

2. เสี่ยสันติ แห่งบริษัท ลองซาน จำกัด รายนี้พยายามวิ่งเต้นเข้าไปซื้อไม้ในพม่าโดยตรง

3. เสี่ยชิต แห่งบริษัท ไทยเอเซีย จำกัด สายนี้ได้ชื่อว่ามีอิทธิพลสูงมากในหน่วยงานทหาร
ตำรวจ เนื่องจากลูกๆ ต่างรับราชการกันหมด เรียกว่าถ้าขายให้เสี่ยชิตรับประกันไม่มีโดนเล่นกลกระดานหกคะเมน

4. เสี่ยชุน แห่งบริษัท ไทยเทกซ์วูด จำกัด คนนี้อดีตเคยเป็นแบงก์นครหลวงไทย

5. คุณหญิง "จ" แห่งกลุ่มสแกนเดียรายนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น "มาเฟีย" ค้าไม้ตัวจริง

คุณหญิงผู้นี้ดำเนินการค้าชนิดผู้ชายอกสามศอกยังต้องอาย พ่อค้าไม้หลายรายแทบกระอักเลือดตายเพราะเจ้าหล่อนมานักต่อนักแล้ว ด้วยเป็นคนมีสเน่ห์พราวทั้งตัวทำให้คุณหญิงเข้านอกออกในกับเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจสั่งการได้อย่างสบายๆ

เส้นสายของกลุ่ม 5 เสือค้าไม้สามารถกำหนดทิศทางของตลาดไม้ภายในประเทศได้อย่างไม่ลำบากยากเย็น ราคาไม้ขึ้นลงทำให้การเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ที่มีฐานบัญชาการใหญ่อยู่ในย่านนนทบุรี ปทุมธานีซึ่งบางทีก็ไม่แน่นักว่าโรงงานเก็บไม้อาจจะมีไม้เถื่อนฝั่งไทยแท้ๆ ปะปนอยู่ด้วยก็ไม่อาจรู้ได้

ในช่วงที่การค้ายังไม่มีปัญหาจับกุมขบวนการขนไม้ที่ออกมาจากแม่สอดอาจเรียกได้ว่าเป็น "คอนวอย" เพราะรถที่ขนไม้ทั้งในรูปไม้แปรรูปขนาดใหญ่หรือพวก วงกบ ประตู หน้าต่าง มีไม่น้อยกว่า 200 คันเฉลี่ยแล้วการซื้อขายในแต่ละเดือนปาเข้าไปถึง 300-400 ล้านบาท

แต่เดี๋ยวนี้ที่ลักลอบเล็ดลอดหูตาเจ้าหน้าที่ออกมาได้ลดเหลือเพียงเดือนละไม่ถึง 20 คัน รายได้ที่เคยได้รับกันเป็นฟ่อนๆ หดหายไปอย่างไม่น่าเชื่อ!!

ในการขนส่งไม้สัก (เถื่อน) จากพม่านับตั้งแต่ต้นทางที่ฝั่งแม่น้ำเมย อ.แม่สอด จนถึงแหล่งรับซื้อจุดสุดท้ายที่กรุงเทพฯนั้น จะต้องผ่านการตรวจตราของด่านต่าง ไม่น้อยกว่า 70 ด่าน ซึ่งมีทั้งด่านตำรวจ ศุลกากร ด่านสำนักนายกฯ ที่ตั้งขึ้นมาซ้ำซ้อนโดยไม่รู้ว่าเป็นการกระทำที่เจตนาจงใจหรือไม่!?

เพราะบรรดาด่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ "เหลือบ" ที่กินแบบลับๆ กับการค้าไม้สัก (เถื่อน) นี้ทั้งสิ้น และคงมีประเทศไทยแห่งเดียวในโลกที่สามารถตั้งด่านซ้ำซ้อนกันได้โดยที่ไม่มีเสียงคัดค้านจากหน่วยงานใด ทั้งนี้ เพราะผลประโยชน์ที่แบ่งกันกินเข้าไปอุดรูปากกันเสียหมด!!

ผลประโยชน์ตกหล่นแบบจงใจนี้ว่ากันว่ารถบรรทุกไม้หนึ่งคันต้องเสียค่าเคลียร์ด่านอย่างนิ้ยที่สุดคันละ 120,000-150,000 บาท และเมื่อมามีปัญหาไม้ออกยากขึ้นปรากฏว่ามีการขอขึ้นค่าน้ำร้อนน้ำชาดังกล่าวเสียอีก ซึ่งเจ้าหน้าที่ชั้นสุงของจังหวัดตากคนหนึ่งที่พอมีอำนาจที่จะบันดาลความสะดวกสบายได้พูดจากับพ่อค้าไม้หลายคนว่า "แหมเดี๋ยวนี้ลืม…กันไปหมดแล้วนะ นี่พวกเด็กๆ บอกว่าค่าด่านที่ให้กันดานละ 2,000 บาทแบ่งแล้วได้กันคนละไม่เท่าไหร่ขอเพิ่มเป็นด่านละ 2,500 บาทได้ไหม" พูดเสร็จเจ้าหน้าที่ผู้นี้ก็สบัดก้นจากไป ทิ้งคำถามให้พ่อค้าไม้ว่าจะยอมรับกับข้อตกลงแบบมัดมือชกนี้หรือไม่

ที่สุดของที่สุดก็ต้องยอมรับโดยดุษฎีเพราะนี่มันเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาชินสำหรับคนหน้าด้านๆ หลายๆ คนในวงการราชการบ้านเราไปเสียแล้ว แผ่นดินจะสูงหรือต่ำข้าไม่สนใจขอตัวข้าสำราญสบายใจกันไว้ก่อนเท่านั้นเป็นพอ

""ถึงเราขนไม้กันอย่างถูกต้องก็ต้องยอมเสียค่าด่านให้ เพราะไม่อยากเสียเวลาเนื่องจากพวกมาเฟียในเครื่องแบบเหล่านี้จะหาสาเหตุเล่นงานจนได้ อย่างเช่นถ้าเขาบอกว่าเราบรรทุกเกินคันละ 400 ลบ.ฟุตตามที่กฎหมายกำหนดขอตรวจค้นและพิสูจน์ก็เสร็จกันแล้ว เพราะไม้ 400 ลบ.ฟุตกว่าจะขนขึ้นลงก็กินเวลาเข้าไป 3-4 วันเสียหายทางธุรกิจหมด ดังนั้นเสียให้เสียดีกว่าจะได้คล่องขึ้นเงินมันพูดได้จริงๆ" พ่อค้าไม้คนหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"

รายการกินตตามน้ำหลายครั้งพยายามอ้างสาเหตุที่เกิดขึ้นเป้นขบวนการเหล่านี้ทำให้ข้าราชการหลายคนไม่อยากย้ายอกจากพื้นที่ จ.ตาก แม่สอด กำแพงเพชร นครสวรรค์ หรือแม้แต่ชัยนาท สิงห์บุรี อย่างที่แม่สอดนั้นถ้าเป็นตำรวจเอากันแค่ยศนายสิบถ้าไม่สำมะเลเทเมาจนเหลือที่จะเป็นคนแล้วนั้น ในช่วงที่ค้าไม้เฟื่องฟูเพียงปีเดียวเท่านั้นสามารถถอยรถปิ๊กอัพมาขับโชว์กันได้แล้ว!!!

ซึ่งในการโยกย้ายข้าราชการหน่วยงานต่างๆ ครั้งที่ผ่านมาล่าสุด ก็ได้มีการย้ายเจ้าหน้าที่ที่เป็นมือไม้ของนักการเมืองระดับรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าพรรคท่านหนึ่งให้เข้าไปอยู่ในแม่สอด เพื่อเป็นตัวต่อรองกับพ่อค้าไม้ต่างๆ ในการที่จะเปิดไฟเขียวให้มีการขนไม้อย่างลับๆ เกิดขึ้น!!!!

พรรคการเมืองพรรคนี้เคยพยายามขอเงินสนับสนุนจากพ่อค้ามาแล้วครั้งหนึ่งในช่วงปีก่อน แจต่ไม่สำเร็จจนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการจองล้างจองผลาญกันอย่างไม่ลดราวาศอก แต่บทบาทใหม่คราวนี้พยายามใช้วิธีการปรองดองกันให้มากที่สุด

ก็ต้องรอดูกันว่าจะทำได้สำเร็จสมใจนึกหรือไม่

"ผู้จัดการ" อยากจะสาวให้เห็นถึงค่าเคลียร์ด่านของขบวนการในเครื่องแบบว่า เขาคิดกันอย่างไรบ้างในแต่ละด่าน โดยขอยกตัวอย่างให้เห็น 11 ด่านที่ตั้งอยู่ในเขต อ.ท่าสองยาง กับอ.แม่ระนาด ที่เป็นจุดไม้ออกที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง

เขาคิดราคากันอย่างนี้

1. จุดตรวจข้นห้วยมะโหนก ต.แม่เมย อ.ท่าสองยาง ค่าด่าน 500

2. จุดตรวจแม่สลิด ต.แม่สลิด อ.ท่าสองยาง ค่าด่าน 500 บาท

3. จุดตรวจหน้า รพ.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง ค่าด่านแพงหน่อยเพราะเป็นที่โล่งแจ้งเพิ่ม
เป็น 4,000 บาท

4. จุดตรวจที่อยู่ในความรับผิดชอบของปลัดท่านหนึ่ง อ.ท่าสองยาง ค่าด่านคิดเบาะๆ
แค่ 3,000 บาท

5. จุดตรวจที่อยู่ในความรับผิดชอบของนาย "ว" เจ้าหน้าที่ป้องกันรักษาป่า ตก.10 อ.ท่า
สองยาง ค่าด่านไม่แพงนัก 3,000 บาท

6. จุดตรวจแม่หละ ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง ค่าด่าน 500 บาท

7. จุดตรวจของ อ.ท่าสองยาง ภายใต้การดูแลของ อส.ค่าด่าน 500 บาท

8. จุดตรวจบ้านขะแนงขีเทอร์ ต.ขะเนจื้อ อ.แม่ระมาด ค่าด่าน 400 บาท

9. จุดตรวจของหน่วยป้องกันรักษาป่า ตก.9 ต.แม่ระมาด ค่าด่าน 3,000 บาท

10. จุดตรวจบ้านห้วยบง ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด ค่าด่าน 3,500 บาท

11. หน่วยปราบปรามเฉพาะกิจของสำนักงานป่าไม้เขตตาก ค่าด่าน 3,000 บาท

สนนราคาดังกล่าวนี้คิดเป็นคันรถละ/เที่ยว และเป็นราคาตายตัวที่ไม่เปิดให้มีการต่อรองลดหย่อนใดๆ ทั้งสิ้น พฤติการณ์เช่นนี้ควรเป็นเรื่องที่ทางสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานต้นสังกัดรวมไปถึงหน่วยงานปราบปรามการทุจริตมิชอบ น่าที่จะเข้าไปสอดส่องและแก้ไขให้สะอาดผ่องแผ้วขึ้น"!!

วงแตก

10 เมษายน 2530 หม่อง หม่อง ข่า นายกรัฐมนตรีเดินทางเป็นแขกพิเศษของรัฐบาลไทย หลังจากที่ประพาส ลิมปะพันธ์ รมต.ต่างประเทศได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนพม่ามาแล้วก่อนหน้านี้

11 เมษายน 2530 ได้มีการบุกเข้าไปจับกุมและยึดรถบรรทุกไม้จำนวน 13 คันของพ่อเลี้ยงสมได้ที่โรงสีแห่งหนึ่งใน อ.แม่สอด

ข้อหาการจับกุมครั้งนั้นคือ "ได้มีการแอบอ้างนำไม้จากฝั่งไทยเข้าไปสามโควตาว่าเป็นไม้จากฝั่งพม่า ถือว่าเป็นอาชญากรร้ายแรง"

และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการกำราบอย่างไม่ฟังเสียงคัดค้านใดๆ ในเรื่องขบวนการค้าไม้สัก(เถื่อน)จากพม่า ทางสำนักนายกฯได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่ยืมตัวมาจากกองปราบปรามส่วนหนึ่งเข้าไปร่วมประจำตามด่านต่างๆ ตลลอดระยะทางแม่สอด-กรุงเทพฯ พบเห็นการขนไม้ผิดปกติก็ฟันกันอย่างไม่เลี้ยง

ความอึกทึกของรถขนไม้ที่เคยแล่นตามกันเป็นพรวนเดือนหนึ่งๆ ร่วม 200 คันหดเหลือเพียงเดือนละไม่ถึง 100 คันในระยะ 3 เดือนแรกที่จับกุม และปัจจุบันเหลือพ้นหูพ้นตาเจ้าหน้าที่มาได้ไม่ถึง 20 คัน!!!

เบื้องหลังของการสั่งห้ามนำเข้าไม้จากพม่า "ผู้จัดการ" พอที่จะประมวลสาเหตุได้หลายข้อดังนี้

หนึ่ง-เป็นไปตามคำขอร้องของรัฐบาลพม่าที่ไม่ต้องการให้ไทยเป็นตัว "กันชน" เสริมสร้างกองทัพที่แข็งแกร่งให้กับกองทัพกู้ชาติกอทูเล (กะเหรี่ยงอิสระ) ด้วยการปล่อยให้พ่อค้าไทยเข้าไปรับซื้อไม้ในเขตอิทธิพลกะเหรี่ยง

แหล่งข่าวจากทำเนียบเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า ทางรัฐบาลพม่าได้เสนอข้อแลกเปลี่ยนกับนโยบายรักษาน้ำใจกับไทยในครั้งนี้ว่า จะยินยอมปล่อยลูกเรือประมงไทยที่ถูกจับกุมเพราะละเมิดน่านน้ำกลับคืนไทยโดยเร็ว และยินดีจะเปิดใจกว้างให้ให้เรือประมงไทยเข้าไปหากินในน่านน้ำพม่ามากขึ้น

สอง-เป็นไปตามแรงบีบของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เร่งรัดรัฐบาลพม่าให้สะสางปัญหาชนกลุ่มน้อยให้หมดสิ้นปัญหาเสียที เนื่องจากชนกลุ่มน้อยไม่ว่าจะเป็นมอญ ขะยิ่นหรือกะเหรี่ยง นัยว่าเป็นเสี้ยนตำเท้าที่ขัดขวางวงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญเพราะญี่ปุ่นหวาดหวั่นมากว่าปัญหาภายในพม่าจะเป็นการก่อกวนบรรยากาศการลงทุน

เป็นที่รู้กันว่าในระยะ 2-3 ปีหลังมานี้ญี่ปุ่นได้เข้าไปลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ภายในประเทศพม่ามากขึ้น ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชนโดยมองถึงศักยภาพที่สมบูรณ์สุดขีดในเรื่องทรัพยากรต่างๆ ของพม่าว่าจะเป็นแหล่งวัตถุดิบและแหล่งลงทุนที่ก้าวหน้าในอนาคต (อ่านเพิ่มเติมในเมือเมืองม่าน)

แทบจะกล่าวได้เลยว่าเดี๋ยวนี้ญี่ปุ่นได้เข้าไปกว้านซื้อเศรษฐกิจของพม่าทั้งประเทศเอาไว้แล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามยุทธศาสตร์การรุกคืบทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจทั้งหลานึงกระทำกัน

ญี่ปุ่นำได้ทำการศึกษาแล้วพบว่าในเขตอิทธิพลกะเหรี่ยงนั้นล้วนเป็นเขตทรัพยากรสำคัญเอกอุไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ หรือน้ำมัน ล่าสุดที่ "ผู้จัดการ" ขึ้นไปเก็บข้อมูลที่แม่สอดพบว่า บริเวณทาคิยะที่อยู่ตรงข้ามกับต.แม่พริก อ.แม่ระมาด ซึ่งกะเหรี่ยงคุมอยู่นั้นเทือกเขาทั้งลูกเป็นแหล่งลิกไนท์ชั้นดี

ญี่ปุ่นนั้นมองความสมบูรณ์ของกะเหรี่ยงด้วยสายตามันเยิ้ม แต่ไม่อาจติดต่อได้โดยตรงจึงต้องเร่งรัดให้พม่าเคลียร์เสี้ยนทิ่มหัวใจนี้ให้หมดไปโดยเร็ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในรอบปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าการสู้รบระหว่างพม่า-กะเหรี่ยงได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีข่าวล่าสุดแจ้งว่าญี่ปุ่นได้เพิ่มงบพิเศษจำนวนหนึ่งในการซื้อเครื่องบินรบให้รัฐบาลพม่าเพื่อใช้ปราบปรามกะเหรี่ยง

อาจจะช้าเกินไปถ้าจะหวังพึงพิงความสามารถของรัฐบาลพม่าฝ่ายเดียว ทางเลือกอีกทางหนึ่งจึงจำเป็นที่จะต้องยืมมือของรัฐบาลไทยเข้าไปโอบอุ้มทางอ้อม ด้วยการตัดเส้นทางค้าไม้ที่เป็นหัวใจของกะเหรี่ยงให้หมดไป

"เนวิน แบดแมน วกมันกำลังขายชาติพม่า เราไม่อยากเห็นรัฐบาลไทยเข้าไปช่วยเหลือฆาตกรของแผ่นดิน ในส่วนของกะเหรี่ยงเองนั้นเราไม่มีวันลืมคุณข้าวแดงแกงร้อนของแผ่นดินไทยเป็นอันขาด" ผู้พันตันหม่อง และผู้พันโซโซ ที่เป็นหัวแรงสำคัญทางการค้าของกองทัพกะเหรี่ยงกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

สาม-เป็นไปเพราะความมักใหญ่ใฝ่สูงของเจ้าหน้าที่บางคน ที่หยิบเอาเรื่องขุนแค้นส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่บางคนที่สนิทชิดเชื้อกับพ่อค้าไม้มาเป็นเครื่องมือทำลายคงวามก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้นี้แทบจะเดินทางไปแม่สอดไม่ได้อีกแล้ว

เบื้องลึกของประเด็นนี้มีอยู่ว่า นายตำรวจระดับยศนายพล 2 คนของกองบัญชาการตำรวจภูธร 3 เกิดกินแหนงแคลงใจกันในเรื่องผลประโยชน์บางประการ คนหนึ่งคือนายพล "น" (ปัจจุบันย้ายออกจากพื้นที่นี้แล้ว) กับอีกคนคือนายพล "ธ"

"เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อครั้งหนึ่งที่นายพล "ธ" ได้เสนองบประมาณหนึ่งให้นายพล "น" ที่เป็นผู้บังคับบัญชาเซ็นแต่นายพล "น" ไม่เซ็นก็เลยไม่มองหน้ากันนับตั้งแต่นั้นมา เมื่อสำนักนายกฯมีนโยบายปราบปรามการทำลายป่า นายพล "ธ" จึงวิ่งเต้นให้ตัวเองมาช่วยงานด้านนี้" แหล่งข่าวในกองบัญชาการภูธร 3 กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

อดีตของนายพล "ธ" นั้นเคยเป็นสารวัตรในพื้นที่อ.แม่สอดมาก่อน เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาแล้วในคดีป่าไม้ลาดยาว นครสวรรค์ และป่าสักที่กำแพงเพชร ซึ่งมีการกล่าวขวัญหนาหูว่าพื้นที่ป่าที่เฮี้ยนเตียนไปนั้นนายพล "ธ" มีบทบาทค่อนข้างสูงว่าเป็นคนรู้เรื่องดีถึงตัวการคนทำลาย

ภายหลังที่นายพล "ธ" ได้มาช่วยงานสำนักนายกฯโดยร่วมมือกับพ.อ.ประกอบ ประยูรโภคราช ที่ปรึกษาพรรคชาติไทยซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทำลายป่า ก็ได้มีการกวดขันกันจับการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ฝั่งไทยอย่างแข้งขัน

ในเดือนที่สส.มีการถอนชื่อออกจากญัตติไม่ไว้วางงใจรัฐบาลที่ผ่านมานั้น กล่าวกับนายพล "ธ" เป็นตัวการวิ่งเต้นหากำลังสนับสนุนเป็นอย่างดี โดยได้เจรจาต่อรองกับพ่อค้าไม้คนหนึ่งของแม่สอดให้เป็นภาระช่วยเหลือ แต่การเจรจานั้นไม่เป็นไปที่ตกลงเพราะข้อเรียกร้องสูงเกินกำลังที่พ่อเลี้ยงรายนั้นรับไว้ไม่ได้

"ฉากแห่งการทำลายจึงเริ่มต้นที่พ่อเลี้ยงรายนั้นก่อนคนอื่น" แหล่งข่าวผู้หนึ่งกล่าว

ความยุ่งยากที่มีการกวดจับและยกเหตุว่าไม้ที่ยกอ้างว่ามาจากฝั่งพม่านั้นไม่ใช่เรื่องจริง บรรดาพ่อค้าไม้หลายรายต่างบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า เรื่องนี้เป็นเพราะมีการรายงานข้อมูลที่ผิดพลาดให้ผู้ใหญ่ได้รับรู้ตลอดเวลา โดยเฉพาะตัวพล.อ.เปรม จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามีการลักลอบทำไม้ในฝั่งไทยจริงๆ

"เล่นกันไม่แฟร์เลยนี่ คนอยากจะดังทำไมต้องทำอย่างนี้ด้วย หลักฐานเรื่องนี้ตรวจสอบกันได้ว่าเป็นไม้จากฝั่งพม่าจริงหรือเปล่า ทางกองทัพภาคที่ 3 ก็ยืนยันและเห็นดีในเรื่องนี้แล้ว"

"พวกเราอยากทำให้ถูกต้องทั้งสิ้นแต่คิดหรือว่ารัฐบาลพม่าจะยินดีออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้เมื่อทำอย่างนั้นไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีขโมยเอา ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศไทยเรื่องอย่างนี้ถ้ารัฐบาลจะทำเพิกเฉย เอาหูไปนา เอาตาไปไร่เหมือนรัฐบาลสิงคโปร์ทำกับเราในเรื่องแร่เถื่อนก็ไม่มีอะไร"

"ต้องยอมรับกันนะว่าการค้าก็คือการค้า และค้านอกระบบที่นำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาทนี้ความสามารถของรัฐบาลไม่ทันของเอกชนแน่ น่าที่จะปล่อยให้เราดำเนินการต่อไป วิถีทางการทูตก็เป็นเรื่องที่สามารถชี้แจงกันได้" นั่นเป็นความรู้สึกกังขาของพ่อค้าไม้และพ่อค้าต่างๆ ในแม่สอดที่บอกกับ "ผู้จัดการ"

มีรายงานข่าวว่าการนำเสนอเรื่องไม้พม่านี้ ถูกดันขึ้นไปในช่วงที่ น.อ.ประสงค์ สุนศิริ เลขานายกรัฐมนตรีเดินทางไปต่างประเทศ เพราะเรื่องนี้ถ้าผ่านมือ น.อ.ประสงค์ย่อมต้องมีการคัดค้านแน่นอน เนื่องจากตื้นลึกหนาบางในฐานะที่ น.อ.ประสงค์เคยทำงานด้านความมั่งคงย่อมรู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งที่เลวร้าย อะไรเป็นเรื่องที่เราควรจะได้

ด้าน พ.อ.ประกอบ ประยูรโภคราชหลังการกวดจับหนักมือขึ้นได้เคยเปรยกับคนใกล้ชิดว่าได้รับหนังสือฉบับหึ่งถามว่าตนเป็นญาติกับพม่าฝ่ายไหน ถึงได้เต้นเป็นเจ้าเข้าเรื่องนี้หนักหนา "ผมยืนยันว่าผมทำไปด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่ต้องการเห็นข้อพิพาทบาดหมางของ 2 ประเทศเกิดขึ้น"

ตามมาด้วยความสำทับหนักแน่นว่า "มีการสั่งเก็บ" "ผมถูกหมายหัวไว้แล้ว ทราบข่าวมาว่าได้มีการลงขันกันคนละล้านสองล้านจากพ่อค้าไม้ให้ผมยุติปราบปราม ถ้าผมไม่โอ.เค.ก็เป็นตัวผมเองที่จะถูกยุติ"

ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรนั้น "ผู้จัดการ" เองไม่อาจยืนยันได้เช่นกันแต่ที่แน่ๆ ตลอดเวลาของการจับกุมไม้พม่าปรากฎว่าเกิดความขัดแย้งร้าวลึกขึ้นในหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองคือระหว่างกองทัพภาคที่ 3 กับทางสำนักนายกรัฐมนตรีเพราะกองทัพภาคที่ 3 บอกว่าสำนักนายกฯลงมือโดยไม่พิจารณาความเป็นจริงใดๆ เลย!!

ครั้งหนึ่งที่ทางสำนักนายกฯได้เชิญ พล.ต.ท.ประทิน บูรณสมภพ ผู้บัญชาการสอบสวนกลางขึ้นไปสอบสวนไม้ที่ใช้ในการสร้างบ้านพักของทหารว่าเป็นไม้ที่ลักลอบนำเข้าจากพม่าหรือ "ไม้โจร" หรือเปล่า ในที่ประชุมร่วมของเจ้าหน้าที่ปรากฏว่านายพลของกองทัพภาคที่ 3 คนหนึ่งถึงกับระเบิดความในใจออกมาว่า

"พวกผมนอนกลางดินกินกลางทรายกันที่นี่ มีใครเคยเห็นความยากลำบากกันบ้างไหม พวกผมจับปืนสู้รบพวกคุณจับปากกาในห้องแอร์ อย่างเรื่องไม้นี้ผิดนักหรือที่เราจะตักตวงผลประโยชน์ที่ในอดีตพม่าขุดลอกทองจากเราไปสักเท่าไหร่นึกถึงกันบ้างหรือเปล่า จะจับก็จับแต่อย่ามามั่วซั่วจนเกินเหตุหาว่าสวมรอยไม้ไทยเป็นไม้พม่า เราทนไม่ได้เหมือนกันที่ไม่ฟังเหตุผลกันบ้าง"

ท่าทีของพล.ต.ท.ประทิน บูรณสมภพหลังจากรับทราบข้อมูลก้อได้แสดงความผ่อนปรนออกมาจนเห็นได้ชัด เพียงอยากให้เรื่องนี้มีการดำเนินการกันอย่างถูกต้อง

แต่นั้นแหละความประสงค์ของผู้การประทินหรือแม้แต่ใครๆ ก็อยากให้มันเป็นอย่างนั้น ปัญหามันอยู่ที่ว่าจะทำให้เป็นจริงได้ละหรือ!?

ลักษณะกาค้าไม้สามารถทำกันได้ 3 วิธีคือ

หนึ่ง-ค้าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ด้วยการขอสัมปทานให้ถูกต้อง วิธีการนี้กับการค้าไม้จากฝั่งพม่าคงไม่ต้องเสียเวลาพูดถึง เพราะยากที่จะปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมาได้

สอง-ค้าโดยการเสียภาษีขาเข้า-ออกอย่างถูกต้อง วิธีการนี้ต้องให้ประเทศนี้ส่งไม้ยินยอมใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าก็คงเป็นไปไม่ได้อีกนั่นแหละ เพราะรัฐบาลพม่าคงไม่ใจกว้างพอที่จะเห็นฝั่งไทยค้าขายสนับสนุนกะเหรี่ยงที่เป็นศัตรูตัวร้ายได้โดยไม่มีอะไรกีดขวาง

สาม-ค้าผ่านศุลกากร วิธีการนี้เป็นทางเลือกที่อาจจะกระทำให้เป็นจริงได้ และเป็นแนวทางที่หอการค้าตาก ระนอง กาญจนบุรี กำลังเรียกร้องขณะนี้ วิธีนี้คือว่ารัฐบาลทำเป็นทองไม่รู้ร้อนปล่อยให้พ่อค้านำไม้เข้าอย่างปกติ เสร็จแล้วจึงค่อยดำเนินการจับกุมเพื่อนำไม้นั้นไปเปิดประมูลอีกครั้งซึ่งการเปิดประมูลนี้มีผู้เสนอว่า ควรเพิ่มเงินค่าภาคหลวงไม้แปรรูปจาก 7 เท่าของราคาไม้เป็น 10 เท่า และ 3 เท่าของวัสดุอุปกรณ์เป็น 7 เท่า

แต่วิธีนี้อาจเป็นมวยล้มเพราะอาจถ้าเป็นจริงก็เทากับเป็นการตัดช่องทางทำมาหากินของขบวนการมาเฟียในเครื่องแบบให้สิ้นไร้ไม้ตอกกันไปเลย ซึ่งคงเป็นเรื่องที่เจ้านายระดับสูงของขบวนการนี้ ที่แผ่อิทธิพลไปทั่วไม่ว่าจะเป็นในกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมตำรวจ กรมป่าไม้ ย่อมต้องออกแรงต้านกันสุดเหวี่ยง

ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ตามนั้นควรที่จะมีการพิจารณาทบทวนท่าทีกันใหม่โดยรวดเร็ว หากสภาพการณ์ยังคงเป็นไปอยู่เช่นปัจจุบัน ภาวะเศรษฐกิจของการค้าชายแดนที่มีผลต่อสังคมส่วนรวมด้วยนั้นคงมีแต่ตายกับตายสถานเดียว

ทุกคนอยากเป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้นทว่าสถานการณ์บังคับให้ต้องเป็นโจรและเป็นโจรที่ชอบธรรมนำพาสิทธิประโยชน์อันมากหลายมาสู่ประเทศ เป็นโจรกันสักครั้งก็คงไม่น่าเกลียดน่ากลัวอะไร ทีสมบัติของแผ่นดินเรายังถูกชาติอื่นแย่งไปชมอย่างหน้าตาเฉยมาแล้ว

เราก้าวมาถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนนิสัยกันได้แล้วหรือยัง!?

อาจจะผิดทั้งด้วยเจตนาและไม่ด้วยเจตนา ถ้าเขาเหล่านั้นเป็นอาชญากรที่ทำหน้าที่ปล้นสดมของปรเทศชาติประชาชนก็ว่ากันไปลงโทษกันตามกฎหมาย แต่พฤติกรรมบางอย่างเหล่านี้แม้ว่าจะเป็นการทำมาหากินบนทรากของความเป็นโจร ทว่าก็ไม่ได้ไปเบียดเบียนรังแกทรัพยากรหรือคนของชาติผู้ใดไม่ เป็นเพียงอาศัยช่องทะลุของความอ่อนหัดบางอย่างที่ประเทศหนึ่งพึงมี และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองทำให้ประตูของการทำมาหากินที่คนชาติอื่นจะเข้าไปตักตวงโภคทรัพย์ของตนนั้นง่ายขึ้น… ขบวนการไม้สักของพม่า น่าจะเป็นเรื่องทำนองนั้น

เป็นที่ทราบกันเงียบๆ กันมานานแล้วว่า ข้อเท็จจริงของการค้าตลาดมืดตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่าไล่มาตั้งแต่เขต จ.แม่ฮ่องสอน-อ.แม่สอด-จ.ตาก-อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เรื่อยไปถึงด่านวิคตอเรียปอยท์ จ.ระนอง และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น ธุรกิจการค้าที่สร้างความร่ำรวยอย่างมหาศาลให้กับพ่อค้าไทยหาได้ใช่ "ขบวนการค้าอัญมณีเถื่อน" ดังที่เคยเข้าใจ

แต่แกนหลักที่อุปถัมภ์ค้ำพกให้พ่อค้ารวยและเสริมส่งให้ธุรกิจการค้าอื่นๆ ในเขตพื้นที่เหล่านั้นกระชุ่มกระชวยอย่างแท้จริงล้วนเป็นผลพวงจาก "ขบวนการค้าไม้เถื่อน" จากฝั่งพม่าเสียมากกว่า เพราะค้าอัญมณีเถื่อนๆ หรือสินค้าอื่นๆ ปีหนึ่งๆ ราได้สูงสุดเพียงไม่กี่ร้อยล้านบาท ผิดนักกับการค้าไม้เถื่อนที่เป็น "ไม่สัก" ทั้งดุ้น เพียงแค่จุด อ.แม่สอด ซึ่งเป็นจุดใหญ่จุดเดียวปีหนึ่งๆ ก็มีมูลค่าสูงถึง 5,000-6,000 ล้านบาท ซึ่งถ้ารวมทุกจุดคาดว่าไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท!!!

ผลประโยชน์มหาศาลที่เกิดจากการปล้นอย่างชอบธรรมตามกลไกทางการค้า โดยผ่านมือของพวกกะเหรี่ยงอิสระ ก็ไม่ผิดอะไรกับการที่สิงคโปร์แอบขนแร่เถื่อนไปจากเมืองไทย จะผิดกันตรงที่สิงคโปร์ทำกันได้อย่างหน้าชื่นตาบาน ทว่าของไทยได้เกิดปัญหาขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษาที่ผ่านมาที่มีการจับกุมรถบรรทุกไม้ดังกล่าวอย่างเอาจริงเอาจังตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี

ความเป็นไปของการปฏิบัติการดังกล่าวทวนกระแสความรุ่งเรืองทางการค้าอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ จนมีผลทำให้การค้าอื่นๆ พลอยโดนหางเลขซึมเซาตามไปด้วย และถึงวันนี้ได้มีคำถามดังขึ้นมาแล้วว่า รัฐบาลไทยควรจะมีการทบทวนคำสั่งจับกุมได้หรือยัง? สมควรจะปล่อยให้พ่อค้าดำเนินการกันเช่นเดิมดีไหมเพียงแค่จัดระเบียบขั้นตอนต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น? หรือว่าจะสั่งยับยั้งชนิดไม่ให้ผุดไม่ให้เกิดกันอีกเลยทั้งนี้เพื่อถนอมรักษาไทย-พม่าให้ยั่งยืนสถาพร??

สดใส

เป็นเพราะทรัพยากรป่าไม้ของไทยในระยะ 10 ปีหลังมานี้มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ยและส่วนมากสัมปทานป่าไม้ตกไปอยู่ในอุ้งมือของกลุ่มไม้อิทธิพลไม่กี่กลุ่มทำให้บรรดาคนที่คิดอยากจะเป็น "พ่อเลี้ยง" ทั้งหลายจำต้องสอดส่องหาทางทำมาหากินกันใหม่ที่ไม่ต้องลงทนลงรอนกันมากนัก

ซึ่งแหล่งทำมาหากินที่ว่านี้ก็อยู่ในเขตพื้นที่เพื่อนบ้านระแวกใกล้เคียงกับไทยนั่นเอง โดยเฉพาะ "พม่า" นับเป็นขุมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุด เนื่องจากพม่าเป็นเพียงประเทศเดียวที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ และน้ำมัน อยู่ในปริมาณที่สูงสุด

ป่าไม้ของพม่านั้นกล่าวกันว่า ทำกันอีกสิบปียี่สิบปีก็ยังไม่หมด นี่ยังไม่นับรวมป่าหวงห้ามที่อังกฤษปลูกทิ้งไว้อีกส่วนหนึ่ง คนที่เคยเข้าไปในกรุงย่างกุ้งคงได้เคยเห็นแล้วว่า มีไม้สักท่อนใหญ่ๆ วางระเกะระกะเต็มไปหมด ซึ่งไม้เหล่านั้นพ่อค้าไทยพยายามเข้าไปประมูลหรือขอสัมปทานทำแต่รัฐบาลพม่ายังไม่ โอ.เค

"สมัยก่อนคุณบุญธรรม ชมดวง พ่อตาของผู้การสล้าง (พล.ต.ต.สล้างบุนนาค) เคยวิ่งเต้นติดต่อเรื่องนี้มาทีหนึ่งแล้วก็เกือบจะสำเร็จแต่แกก็ด่วนตายไปเสียก่อน โครงงานก็ไม่มีใครสานต่อเรื่องเลยเงียบหายไป ไม้ของพม่านั้นนั้นถ้าให้พ่อค้าไทยทำจะสะดวกมากกว่าพม่าทำเองมากมาย เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดกับฝั่งไทย เราเพียงปล่อยข้ามน้ำมาเท่านั้นก็เสร็จ แต่ถ้าพม่าทำเองต้องใช้ช้างชักลากข้ามเขาไปสองสามลูกก่อนที่จะนำไปวางกองกลางกรุงย่างกุ้งได้ อีกอย่างเครื่องไม้เครื่องมือก็ห่างกันไกลแต่พี่หม่องแกโอ้เอ้หยอดคำหวานอยู่เนืองๆ โดยยังไม่ยอมร่างกฎหมายออกมาเสียที" พ่อค้าไม้คนหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"

หน่วยข่าวกรองงานความั่นคงเปิดเผยเพิ่มเติมกับ "ผู้จัดการ" ว่า เมื่อไม่นานมานี้มีกลุ่มพ่อค้าไม้คนไทยไม่น้อยกว่า 15 คนได้เดินทางไปยังกรุงย่างกุ้ง และเปิดการเจรจากับอธิบดีป่าไม้พม่าเพื่อขอสัมปทานพื้นที่ฝั่งตรงข้ามกับ จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.เชียงราย โดยหวังว่าจะให้เรื่องนี้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเปิดประตูการค้าเสรีที่รัฐบาลเนวินกำลังจะดำเนินการ

แต่เป็นที่คาดหมายกันได้เลยว่า เรื่องนี้เห็นทีต้องจะร้องเพลง "รอ" กันต่อไป เพราะพม่าคงไม่ใจดีจนทุ่มเทความรักให้ถึงขนาดนั้น กับข้อสำคัญประการหนึ่งคือว่าพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในอิทธิพลของกะเหรี่ยงอิสระ ถ้าเปิดโดยมีการออกใบรับรองแสดงถิ่นกำเนิดสินค้า (ORIGINAL CERTIFICATE) อย่างถูกต้องตามกฎหมายก็เท่ากับเป็นการสนับสนุนศัตรูคือกะเหรี่ยงให้มีการค้าขายคล่องตัวมากขึ้น และยังมีเสบียงที่จะต่อสู้กับพม่าได้อีกนาน

เพราะเหตุผลเช่นนี้ จึงทำให้พม่าไม่กล้าเปิดการค้าไม้กับฝั่งไทยอย่างตรงไปตรงมา ปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของกะเหรี่ยงอิสระที่คุมพื้นที่อยู่ตักตวงผลประโยชน์ไปอย่างง่ายดาย และจากจุดนี้เองที่ก่อให้เกิดขบวนการค้าไม้เถื่อนที่ว่าขึ้นมา โดยเป็นการค้าระหว่างพ่อค้าไทยกับกะเหรี่ยงอิสระ

พ่อค้าไม้ไทคนแรกที่ฉกฉวยสถานการณ์มาเป็นประโยชน์ก็คือ พ่อเลี้ยงยง ยะคำนะ ซึ่งอดีตเคยเป็นพลตำรวจประจำ สภอ.แม่สอดนานถึง 16 ปี พ่อเลี้ยงยงคนนี้ยังเป็นตำรวจคนสนิทของ ผบช.3 พล.ต.ท.นิยม กาญจนวัฒน์ สมัยเคยเป็นตำรวจกระฉ่อนมากในเรื่องอาวุธสงคราม

อาศัยความเป็นท้องถิ่นที่มีสัมพันธ์อันดีกับผู้นำกะเหรี่ยงอย่างนายพลโบเมยะมาตั้งแต่รุ่นพ่อถึงกับว่านายตำรวจระดับสารวัตรคนหนึ่งของแม่สอดคนหนึ่งเคยยืมเงินโบเมยะ 2 แสนบาทแต่ไม่ได้ ครั้นให้พ่อเลี้ยงยงที่ยังเป็นแค่พลตำรวจยืมปรากฏว่าได้โดยฉับพลัน!!

ช่องทางการค้าไม้จากฝั่งพม่าเป็นไปอย่างราบรื่น ทำให้ต้องทิ้งราชการหันมาค้าขายจริงจังกับโรงเลื่อยเล็กๆ ตรงด่านวังข่า เขาใช้เวลาไม่นานนักขยายโรงเลื่อยขนาดใหญ่ที่มีคนงานไม่น้อยกว่า 200 คน/โรงออกไปยังด่านต่างๆ เช่นด่านวะเลย์ ด่านแม่ตะวอ ด่านวังแก้ว ได้อีก 4 โรงจัดเป็นพ่อเลี้ยงใหม่ที่บทบาทสูงสุด

ตอนที่พม่าบุกโจมตีด่านวะเลย์ราวเดือนมีนาคมของปีนี้ พ่อเลี้ยงยงแทบจะเอาชีวิตไม่รอดต้องหนีจนเหลือกางเกงในติดตัวเพียงตัวเดียว ซึ่งการบุกถล่มของพม่าที่มีการเผาโรงเลื่อยต่างๆ นัยว่าพ่อเลี้ยงยงโดนเข้าไปมากที่สุด

ในบรรดาพ่อค้าไม้ต้องยอมรับว่าพ่อเลี้ยงยงเป็นประเภท "ใจถึง" ที่สุด เพื่อให้งานคล่องตัวยิ่งขึ้นขนาดรับเหมาสร้างบ้านพักราคาหลังละ 3,000 กว่าบาท จำนวน 1,200 หลังให้แก่กองทัพภาคที่ 3 แม้วส่างานนี้จะขาดทุนแต่ผลที่ได้ในเรื่องค้าไม้ก็คุ้มปานๆ กัน นอกจากนี้ในสมัยที่การค้าไม้ยังไม่มีปัญหาพ่อเลี้ยงยงต้องปันเงินเป็นค่าน้ำร้อนน้ำชากับเจ้าหน้าที่ถึงเดือนละ 100,000 บาท

"การทำไม้กับกะเหรี่ยงเกิดจากความเชื่อถือ สมัยนั้นเขาเข้ามาในเขตเราแล้วถูกจับเราก็ช่วยประสานให้จนหลุดก็เลยชอบพอกันเรื่อยมา เรื่องนี้ผมรู้ดีว่าในแง่ของกฎหมายอาจจะผิด แต่เราดูแล้วว่าเรื่องที่จะทำให้ถูกต้องกับพม่าคงจะไม่มีทางเป็นไปได้เลยต้องหันมาเล่นกับกะเหรี่ยง อีกอย่างผลดีของการค้าไม้จากฝั่งโน้นมันมีมากกว่าผลเสีย เงินที่ซื้อไม้พวกกะเหรี่ยงก็นำกลับมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคไปจากเราอีกทีหนึ่ง มีแต่ได้กับได้" พ่อเลี้ยงยงพูดถึงการค้าไม้

หลังจากพ่อเลี้ยงประสบความสำเร็จเลยเป็นเหตุให้เกิดพ่อเลี้ยง-แม่เลี้ยง หน้าใหม่ๆ ขึ้นเป็นดอกเห็ด ในจำนวนนี้มีทั้งนักการเมืองท้องถิ่น อดีตคอมมิวนิสต์กลับใจแต่ที่ขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับพ่อเลี้ยงยงเห็นจะเป็นพ่อเลี้ยงสม กับสุนทร ไวยรัชพานิช

พ่อเลี้ยงสมคนนี้อดีตเคยร่ำรวยกับการค้าของลับบางอย่างก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็นเอเย่นต์รถยนต์โตโยต้า และก้าวมาสู่วงการค้าไม้ ในระยะหลังๆ ก่อนที่จะมีนโยบายปรามปรามจับกุมเข้มงวด บทบาทของพ่อเลี้ยงสมสูงขึ้นมาก เพราะตั้งตัวเป็นผู้นำเรียกเก็บค่าหัวคิวรถขนไม้คันละ 100,000 บาท เพื่อใช้เป็นค่าเบี้ยใบ้รายทางในการเคลียร์ด่านต่างๆ เข้าสู่กรุงเทพฯ

ต้นเหตุการจับกุมการค้าไม้ก็มาจากพ่อเลี้ยงสม เพราะรถไม้ 13 คันของพ่อเลี้ยงสมถูกจับหลังวันที่หม่อง หม่อง ข่า นายกรัฐมนตรีพม่าเดินทางมาเยือนไทยได้วันเดียว-(อ่านรายละเอียดในตอนถัดไป) พ่อเลี้ยงสมค้าเสียจนต้องสูญเสียลูกชายที่ถูกทหารพม่ายิงคว่ำเรือกลางแม่น้ำเมย

"พูดถึงความนุ่มนวลแล้วพ่อเลี้ยงยงมีมากกว่า ความสุขุมรอบคอบก็ผิดกันอีกโข รายพ่อเลี้ยงสมนั้นประเภทได้เป็นได้ เป็นเสีย ขอให้เรื่องเสร็จเร็วๆ รวยเร็วๆ " พ่อค้าไม้คนหนึ่งกล่าว

สุนทร ไวยรัชพนิช อดีตนิสิตจุฬาฯซึ่งโดนคดี 6 ตุลา 19 จนต้องหนีเข้าไปร่วมงานกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเสียหลายปี สุนทรกลับสู่เมืองพร้อมเสกสรร ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาคนดัง แล้วหันมาทำการค้าไม้ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนท้องถิ่นโดยตรงแต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ผ่านพล.ต.ต.ชะลอ เกิดเทศ อดีตผู้ช่วย ผบช.3 ซึ่งเป็นพี่ภรรยาของนิยม ไวยรัชพนิชที่เป็นพี่ชายของสุนทร จึงทำให้การค้าของพี่น้องคู่นี้ไม่ติดขัดอะไรมากนัก

"สายนี้พยายามสร้างภาพพจน์ให้เป็นที่ยอมรับให้สังคม-ราชการมากด้วย ตัวนิยมเป็นทั้งประธานสภาจังหวัดและรองประธานหอการค้าตาก ดังนั้นการค้าในระยะที่ซบเซาของหลายคนคู่นี้ยังพอเอาตัวรอดไปได้เพราะเข้าได้ถึงผู้หลักผู้ใหญ่"

นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองระดับชาติอาทิเช่น พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร สส.จังหวัดอยุธยาหรือผู้พันเล็กคนดังจาก 14 ตุลา อุดมศักดิ์ ทั่งทอง สส.ประจวบคีรีขันธ์ หรือแม้แต่น้องชายคนเล็กของพล.อ.เปรม วีระณรงค์ ติณสูลานนท์ ก็แวะเวียนมาดูลู่ทางค้าไม้ที่แม่สอดอยู่เนืองๆ

รายพ.อ.ณรงค์ กิตติขจรนั้นไม่เพียงแต่จะดูลู่ทางอย่างเดียว ยังได้เข้าร่วมทุนกับกลุ่ม "ภัทรประสิทธิ์" สร้างศูนย์การค้าแม่สอดและโรงแรมขนาดใหญ่ด้วย โดยคาดหวังว่าหากการค้าไม้ไม่มีปัญหาที่นี่จะเป็นย่านการค้าที่คึกคักแน่นอน แต่เมื่อเจอมรสุมคำสั่งนายกฯโครงการนี้จึงชลอตัวลงไปก่อน

เส้นสายของพ.อ.ณรงค์กับกลุ่มกะเหรี่ยงอิสระนั้นก็ไม่เบา ตัวนายพลโบเมียะเองก็ให้การยอมรับนับถือจอมพลถนอม กิตติขจรค่อนข้างสูง ดังจะเห็นได้ว่าสมัยจอมพลถนอมเป็นนายกฯเมื่อใดที่มีการปราบกะเหรี่ยงทางไทยจะพยายามผ่อนหนักเป็นเบาเสมอมา

ยังมีพ่อค้าไม้อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพ่อค้าไม้รายใหญ่ๆ ก็คือ บรรดากองทัพมดที่หลั่งไหลมาจากจังหวัดแพร่ โดยการนำของพ่อเลี้ยงสุบิน สุขกมล ซึ่งเป็นประธานสภาจังหวัดแพร่ก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าคนแพร่กับความเชี่ยวชาญเรื่องทำไม้นั้น ไม่เคยเป็นรองใคร กองทัพมดพวกนี้อาศัยเพียงเครื่องยนต์คูโบลต้าตั้งเป็นโรงงานแปรรูปตามริมฝั่งแม่น้ำเมยสะพรั่งไปหมด จำนวนแรงงานกองทัพมดนี้คาดว่าไม่น้อยกว่า 10,000-20,000 คนเรียกว่าเหมาแรงงานกันมาทั้งอำเภอ

รวมแล้วการเฟื่องฟูของการค้าไม้เถื่อนจากพม่า ก่อนมีการถูกจับกุมนั้น มีผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยถึง 74 ราย จำนวนโรงงานที่เปิดเป็นโรงเลื่อยและโรงไม้แปรรูปทำประตู หน้าต่าง วงกบมีไม่ต่ำกว่า 150 โรงกระจายกันไปตามด่านต่างๆ นับตั้งแต่ตอนใต้แม่สอดจากวะเลย์ หมื่นฤชัย แม่หละ ผาลู แม่สลิด แม่ต้าน ไปจนถึงแม่ตะวอ คนงานมีไม่น้อยกว่าสามหมื่นคน

คิดดูกันเอาเองละกันว่าความคึกคักของการค้าไม้เถื่อนนั้นอึกทึกเพียงใด ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจการค้าในตัวเมืองแม่สอดพลอยยิ้มระรื่นไปด้วย มีการลงทุนก่อสร้างโรงแรมชั้นหนึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กันถึง 2 แห่งคือแม่สอดอิลล์และพรเทพ เพื่อเป็นที่พบปะชุมนุมของพ่อค้าไม้ทั้งหลาย

เหลือบน้ำลายสอ

ไม้พม่าที่ซื้อจากะเหรี่ยงจะตกตันละ 3,500 บาท (50 ลบ.ฟุต) แต่เมื่อนำมาแปรรูปส่งเข้ากรุงเทพฯสามารถขายได้ถึง ลบ.ฟุตละ 380 บาท เฉลี่ยแล้วไม้สัก 1 ตันจะขายกันอยู่ในช่วงราคา 20,000-25,000 บาทหักกลบลบหนี้กับต้นทุนอื่นๆ แล้ว ก็ยังมีกำไรกันคนละหลายเท่าตัว

มันขายแล้วมีกำไรงาม ๆ เป็นตัวเงินสด ๆ อย่างนี้ใครต่อใครก็อยากทำกันนักกันหนา

สำหรับตลาดขายส่งในกรุงเทพฯก็ได้แก่ร้านค้าไม้ต่างๆ ที่มีความต้องการไม้แปรรูปเหล่านี้อย่างไม่อั้น เรียกว่ามีเท่าไหร่รับซื้อหมด และยังมีกลุ่ม 5 เสือค้าไม้เป็นแกนรับซื้อที่สำคัญอีกแกนหนึ่ง กลุ่มนี้รับซื้อมาแล้วส่งออกต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดอเมริกาอีกทอดหนึ่ง

กลุ่ม 5 เสือค้าไม้ประกอบไปด้วย

1. เสรี ตันชูเกียรติ แห่งบริษัท เอ็นซีเค. จำกัด จุดรับซื้อใหญ่อยู่ที่นนทบุรี

2. เสี่ยสันติ แห่งบริษัท ลองซาน จำกัด รายนี้พยายามวิ่งเต้นเข้าไปซื้อไม้ในพม่าโดยตรง

3. เสี่ยชิต แห่งบริษัท ไทยเอเซีย จำกัด สายนี้ได้ชื่อว่ามีอิทธิพลสูงมากในหน่วยงานทหาร
ตำรวจ เนื่องจากลูกๆ ต่างรับราชการกันหมด เรียกว่าถ้าขายให้เสี่ยชิตรับประกันไม่มีโดนเล่นกลกระดานหกคะเมน

4. เสี่ยชุน แห่งบริษัท ไทยเทกซ์วูด จำกัด คนนี้อดีตเคยเป็นแบงก์นครหลวงไทย

5. คุณหญิง "จ" แห่งกลุ่มสแกนเดียรายนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น "มาเฟีย" ค้าไม้ตัวจริง

คุณหญิงผู้นี้ดำเนินการค้าชนิดผู้ชายอกสามศอกยังต้องอาย พ่อค้าไม้หลายรายแทบกระอักเลือดตายเพราะเจ้าหล่อนมานักต่อนักแล้ว ด้วยเป็นคนมีสเน่ห์พราวทั้งตัวทำให้คุณหญิงเข้านอกออกในกับเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจสั่งการได้อย่างสบายๆ

เส้นสายของกลุ่ม 5 เสือค้าไม้สามารถกำหนดทิศทางของตลาดไม้ภายในประเทศได้อย่างไม่ลำบากยากเย็น ราคาไม้ขึ้นลงทำให้การเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ที่มีฐานบัญชาการใหญ่อยู่ในย่านนนทบุรี ปทุมธานีซึ่งบางทีก็ไม่แน่นักว่าโรงงานเก็บไม้อาจจะมีไม้เถื่อนฝั่งไทยแท้ๆ ปะปนอยู่ด้วยก็ไม่อาจรู้ได้

ในช่วงที่การค้ายังไม่มีปัญหาจับกุมขบวนการขนไม้ที่ออกมาจากแม่สอดอาจเรียกได้ว่าเป็น "คอนวอย" เพราะรถที่ขนไม้ทั้งในรูปไม้แปรรูปขนาดใหญ่หรือพวก วงกบ ประตู หน้าต่าง มีไม่น้อยกว่า 200 คันเฉลี่ยแล้วการซื้อขายในแต่ละเดือนปาเข้าไปถึง 300-400 ล้านบาท

แต่เดี๋ยวนี้ที่ลักลอบเล็ดลอดหูตาเจ้าหน้าที่ออกมาได้ลดเหลือเพียงเดือนละไม่ถึง 20 คัน รายได้ที่เคยได้รับกันเป็นฟ่อนๆ หดหายไปอย่างไม่น่าเชื่อ!!

ในการขนส่งไม้สัก (เถื่อน) จากพม่านับตั้งแต่ต้นทางที่ฝั่งแม่น้ำเมย อ.แม่สอด จนถึงแหล่งรับซื้อจุดสุดท้ายที่กรุงเทพฯนั้น จะต้องผ่านการตรวจตราของด่านต่าง ไม่น้อยกว่า 70 ด่าน ซึ่งมีทั้งด่านตำรวจ ศุลกากร ด่านสำนักนายกฯ ที่ตั้งขึ้นมาซ้ำซ้อนโดยไม่รู้ว่าเป็นการกระทำที่เจตนาจงใจหรือไม่!?

เพราะบรรดาด่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ "เหลือบ" ที่กินแบบลับๆ กับการค้าไม้สัก (เถื่อน) นี้ทั้งสิ้น และคงมีประเทศไทยแห่งเดียวในโลกที่สามารถตั้งด่านซ้ำซ้อนกันได้โดยที่ไม่มีเสียงคัดค้านจากหน่วยงานใด ทั้งนี้ เพราะผลประโยชน์ที่แบ่งกันกินเข้าไปอุดรูปากกันเสียหมด!!

ผลประโยชน์ตกหล่นแบบจงใจนี้ว่ากันว่ารถบรรทุกไม้หนึ่งคันต้องเสียค่าเคลียร์ด่านอย่างนิ้ยที่สุดคันละ 120,000-150,000 บาท และเมื่อมามีปัญหาไม้ออกยากขึ้นปรากฏว่ามีการขอขึ้นค่าน้ำร้อนน้ำชาดังกล่าวเสียอีก ซึ่งเจ้าหน้าที่ชั้นสุงของจังหวัดตากคนหนึ่งที่พอมีอำนาจที่จะบันดาลความสะดวกสบายได้พูดจากับพ่อค้าไม้หลายคนว่า "แหมเดี๋ยวนี้ลืม…กันไปหมดแล้วนะ นี่พวกเด็กๆ บอกว่าค่าด่านที่ให้กันดานละ 2,000 บาทแบ่งแล้วได้กันคนละไม่เท่าไหร่ขอเพิ่มเป็นด่านละ 2,500 บาทได้ไหม" พูดเสร็จเจ้าหน้าที่ผู้นี้ก็สบัดก้นจากไป ทิ้งคำถามให้พ่อค้าไม้ว่าจะยอมรับกับข้อตกลงแบบมัดมือชกนี้หรือไม่

ที่สุดของที่สุดก็ต้องยอมรับโดยดุษฎีเพราะนี่มันเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาชินสำหรับคนหน้าด้านๆ หลายๆ คนในวงการราชการบ้านเราไปเสียแล้ว แผ่นดินจะสูงหรือต่ำข้าไม่สนใจขอตัวข้าสำราญสบายใจกันไว้ก่อนเท่านั้นเป็นพอ

""ถึงเราขนไม้กันอย่างถูกต้องก็ต้องยอมเสียค่าด่านให้ เพราะไม่อยากเสียเวลาเนื่องจากพวกมาเฟียในเครื่องแบบเหล่านี้จะหาสาเหตุเล่นงานจนได้ อย่างเช่นถ้าเขาบอกว่าเราบรรทุกเกินคันละ 400 ลบ.ฟุตตามที่กฎหมายกำหนดขอตรวจค้นและพิสูจน์ก็เสร็จกันแล้ว เพราะไม้ 400 ลบ.ฟุตกว่าจะขนขึ้นลงก็กินเวลาเข้าไป 3-4 วันเสียหายทางธุรกิจหมด ดังนั้นเสียให้เสียดีกว่าจะได้คล่องขึ้นเงินมันพูดได้จริงๆ" พ่อค้าไม้คนหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"

รายการกินตตามน้ำหลายครั้งพยายามอ้างสาเหตุที่เกิดขึ้นเป้นขบวนการเหล่านี้ทำให้ข้าราชการหลายคนไม่อยากย้ายอกจากพื้นที่ จ.ตาก แม่สอด กำแพงเพชร นครสวรรค์ หรือแม้แต่ชัยนาท สิงห์บุรี อย่างที่แม่สอดนั้นถ้าเป็นตำรวจเอากันแค่ยศนายสิบถ้าไม่สำมะเลเทเมาจนเหลือที่จะเป็นคนแล้วนั้น ในช่วงที่ค้าไม้เฟื่องฟูเพียงปีเดียวเท่านั้นสามารถถอยรถปิ๊กอัพมาขับโชว์กันได้แล้ว!!!

ซึ่งในการโยกย้ายข้าราชการหน่วยงานต่างๆ ครั้งที่ผ่านมาล่าสุด ก็ได้มีการย้ายเจ้าหน้าที่ที่เป็นมือไม้ของนักการเมืองระดับรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าพรรคท่านหนึ่งให้เข้าไปอยู่ในแม่สอด เพื่อเป็นตัวต่อรองกับพ่อค้าไม้ต่างๆ ในการที่จะเปิดไฟเขียวให้มีการขนไม้อย่างลับๆ เกิดขึ้น!!!!

พรรคการเมืองพรรคนี้เคยพยายามขอเงินสนับสนุนจากพ่อค้ามาแล้วครั้งหนึ่งในช่วงปีก่อน แจต่ไม่สำเร็จจนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการจองล้างจองผลาญกันอย่างไม่ลดราวาศอก แต่บทบาทใหม่คราวนี้พยายามใช้วิธีการปรองดองกันให้มากที่สุด

ก็ต้องรอดูกันว่าจะทำได้สำเร็จสมใจนึกหรือไม่

"ผู้จัดการ" อยากจะสาวให้เห็นถึงค่าเคลียร์ด่านของขบวนการในเครื่องแบบว่า เขาคิดกันอย่างไรบ้างในแต่ละด่าน โดยขอยกตัวอย่างให้เห็น 11 ด่านที่ตั้งอยู่ในเขต อ.ท่าสองยาง กับอ.แม่ระนาด ที่เป็นจุดไม้ออกที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง

เขาคิดราคากันอย่างนี้

1. จุดตรวจข้นห้วยมะโหนก ต.แม่เมย อ.ท่าสองยาง ค่าด่าน 500

2. จุดตรวจแม่สลิด ต.แม่สลิด อ.ท่าสองยาง ค่าด่าน 500 บาท

3. จุดตรวจหน้า รพ.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง ค่าด่านแพงหน่อยเพราะเป็นที่โล่งแจ้งเพิ่ม
เป็น 4,000 บาท

4. จุดตรวจที่อยู่ในความรับผิดชอบของปลัดท่านหนึ่ง อ.ท่าสองยาง ค่าด่านคิดเบาะๆ
แค่ 3,000 บาท

5. จุดตรวจที่อยู่ในความรับผิดชอบของนาย "ว" เจ้าหน้าที่ป้องกันรักษาป่า ตก.10 อ.ท่า
สองยาง ค่าด่านไม่แพงนัก 3,000 บาท

6. จุดตรวจแม่หละ ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง ค่าด่าน 500 บาท

7. จุดตรวจของ อ.ท่าสองยาง ภายใต้การดูแลของ อส.ค่าด่าน 500 บาท

8. จุดตรวจบ้านขะแนงขีเทอร์ ต.ขะเนจื้อ อ.แม่ระมาด ค่าด่าน 400 บาท

9. จุดตรวจของหน่วยป้องกันรักษาป่า ตก.9 ต.แม่ระมาด ค่าด่าน 3,000 บาท

10. จุดตรวจบ้านห้วยบง ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด ค่าด่าน 3,500 บาท

11. หน่วยปราบปรามเฉพาะกิจของสำนักงานป่าไม้เขตตาก ค่าด่าน 3,000 บาท

สนนราคาดังกล่าวนี้คิดเป็นคันรถละ/เที่ยว และเป็นราคาตายตัวที่ไม่เปิดให้มีการต่อรองลดหย่อนใดๆ ทั้งสิ้น พฤติการณ์เช่นนี้ควรเป็นเรื่องที่ทางสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานต้นสังกัดรวมไปถึงหน่วยงานปราบปรามการทุจริตมิชอบ น่าที่จะเข้าไปสอดส่องและแก้ไขให้สะอาดผ่องแผ้วขึ้น"!!

วงแตก

10 เมษายน 2530 หม่อง หม่อง ข่า นายกรัฐมนตรีเดินทางเป็นแขกพิเศษของรัฐบาลไทย หลังจากที่ประพาส ลิมปะพันธ์ รมต.ต่างประเทศได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนพม่ามาแล้วก่อนหน้านี้

11 เมษายน 2530 ได้มีการบุกเข้าไปจับกุมและยึดรถบรรทุกไม้จำนวน 13 คันของพ่อเลี้ยงสมได้ที่โรงสีแห่งหนึ่งใน อ.แม่สอด

ข้อหาการจับกุมครั้งนั้นคือ "ได้มีการแอบอ้างนำไม้จากฝั่งไทยเข้าไปสามโควตาว่าเป็นไม้จากฝั่งพม่า ถือว่าเป็นอาชญากรร้ายแรง"

และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการกำราบอย่างไม่ฟังเสียงคัดค้านใดๆ ในเรื่องขบวนการค้าไม้สัก(เถื่อน)จากพม่า ทางสำนักนายกฯได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่ยืมตัวมาจากกองปราบปรามส่วนหนึ่งเข้าไปร่วมประจำตามด่านต่างๆ ตลลอดระยะทางแม่สอด-กรุงเทพฯ พบเห็นการขนไม้ผิดปกติก็ฟันกันอย่างไม่เลี้ยง

ความอึกทึกของรถขนไม้ที่เคยแล่นตามกันเป็นพรวนเดือนหนึ่งๆ ร่วม 200 คันหดเหลือเพียงเดือนละไม่ถึง 100 คันในระยะ 3 เดือนแรกที่จับกุม และปัจจุบันเหลือพ้นหูพ้นตาเจ้าหน้าที่มาได้ไม่ถึง 20 คัน!!!

เบื้องหลังของการสั่งห้ามนำเข้าไม้จากพม่า "ผู้จัดการ" พอที่จะประมวลสาเหตุได้หลายข้อดังนี้

หนึ่ง-เป็นไปตามคำขอร้องของรัฐบาลพม่าที่ไม่ต้องการให้ไทยเป็นตัว "กันชน" เสริมสร้างกองทัพที่แข็งแกร่งให้กับกองทัพกู้ชาติกอทูเล (กะเหรี่ยงอิสระ) ด้วยการปล่อยให้พ่อค้าไทยเข้าไปรับซื้อไม้ในเขตอิทธิพลกะเหรี่ยง

แหล่งข่าวจากทำเนียบเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า ทางรัฐบาลพม่าได้เสนอข้อแลกเปลี่ยนกับนโยบายรักษาน้ำใจกับไทยในครั้งนี้ว่า จะยินยอมปล่อยลูกเรือประมงไทยที่ถูกจับกุมเพราะละเมิดน่านน้ำกลับคืนไทยโดยเร็ว และยินดีจะเปิดใจกว้างให้ให้เรือประมงไทยเข้าไปหากินในน่านน้ำพม่ามากขึ้น

สอง-เป็นไปตามแรงบีบของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เร่งรัดรัฐบาลพม่าให้สะสางปัญหาชนกลุ่มน้อยให้หมดสิ้นปัญหาเสียที เนื่องจากชนกลุ่มน้อยไม่ว่าจะเป็นมอญ ขะยิ่นหรือกะเหรี่ยง นัยว่าเป็นเสี้ยนตำเท้าที่ขัดขวางวงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญเพราะญี่ปุ่นหวาดหวั่นมากว่าปัญหาภายในพม่าจะเป็นการก่อกวนบรรยากาศการลงทุน

เป็นที่รู้กันว่าในระยะ 2-3 ปีหลังมานี้ญี่ปุ่นได้เข้าไปลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ภายในประเทศพม่ามากขึ้น ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชนโดยมองถึงศักยภาพที่สมบูรณ์สุดขีดในเรื่องทรัพยากรต่างๆ ของพม่าว่าจะเป็นแหล่งวัตถุดิบและแหล่งลงทุนที่ก้าวหน้าในอนาคต (อ่านเพิ่มเติมในเมือเมืองม่าน)

แทบจะกล่าวได้เลยว่าเดี๋ยวนี้ญี่ปุ่นได้เข้าไปกว้านซื้อเศรษฐกิจของพม่าทั้งประเทศเอาไว้แล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามยุทธศาสตร์การรุกคืบทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจทั้งหลานึงกระทำกัน

ญี่ปุ่นำได้ทำการศึกษาแล้วพบว่าในเขตอิทธิพลกะเหรี่ยงนั้นล้วนเป็นเขตทรัพยากรสำคัญเอกอุไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ หรือน้ำมัน ล่าสุดที่ "ผู้จัดการ" ขึ้นไปเก็บข้อมูลที่แม่สอดพบว่า บริเวณทาคิยะที่อยู่ตรงข้ามกับต.แม่พริก อ.แม่ระมาด ซึ่งกะเหรี่ยงคุมอยู่นั้นเทือกเขาทั้งลูกเป็นแหล่งลิกไนท์ชั้นดี

ญี่ปุ่นนั้นมองความสมบูรณ์ของกะเหรี่ยงด้วยสายตามันเยิ้ม แต่ไม่อาจติดต่อได้โดยตรงจึงต้องเร่งรัดให้พม่าเคลียร์เสี้ยนทิ่มหัวใจนี้ให้หมดไปโดยเร็ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในรอบปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าการสู้รบระหว่างพม่า-กะเหรี่ยงได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีข่าวล่าสุดแจ้งว่าญี่ปุ่นได้เพิ่มงบพิเศษจำนวนหนึ่งในการซื้อเครื่องบินรบให้รัฐบาลพม่าเพื่อใช้ปราบปรามกะเหรี่ยง

อาจจะช้าเกินไปถ้าจะหวังพึงพิงความสามารถของรัฐบาลพม่าฝ่ายเดียว ทางเลือกอีกทางหนึ่งจึงจำเป็นที่จะต้องยืมมือของรัฐบาลไทยเข้าไปโอบอุ้มทางอ้อม ด้วยการตัดเส้นทางค้าไม้ที่เป็นหัวใจของกะเหรี่ยงให้หมดไป

"เนวิน แบดแมน วกมันกำลังขายชาติพม่า เราไม่อยากเห็นรัฐบาลไทยเข้าไปช่วยเหลือฆาตกรของแผ่นดิน ในส่วนของกะเหรี่ยงเองนั้นเราไม่มีวันลืมคุณข้าวแดงแกงร้อนของแผ่นดินไทยเป็นอันขาด" ผู้พันตันหม่อง และผู้พันโซโซ ที่เป็นหัวแรงสำคัญทางการค้าของกองทัพกะเหรี่ยงกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

สาม-เป็นไปเพราะความมักใหญ่ใฝ่สูงของเจ้าหน้าที่บางคน ที่หยิบเอาเรื่องขุนแค้นส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่บางคนที่สนิทชิดเชื้อกับพ่อค้าไม้มาเป็นเครื่องมือทำลายคงวามก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้นี้แทบจะเดินทางไปแม่สอดไม่ได้อีกแล้ว

เบื้องลึกของประเด็นนี้มีอยู่ว่า นายตำรวจระดับยศนายพล 2 คนของกองบัญชาการตำรวจภูธร 3 เกิดกินแหนงแคลงใจกันในเรื่องผลประโยชน์บางประการ คนหนึ่งคือนายพล "น" (ปัจจุบันย้ายออกจากพื้นที่นี้แล้ว) กับอีกคนคือนายพล "ธ"

"เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อครั้งหนึ่งที่นายพล "ธ" ได้เสนองบประมาณหนึ่งให้นายพล "น" ที่เป็นผู้บังคับบัญชาเซ็นแต่นายพล "น" ไม่เซ็นก็เลยไม่มองหน้ากันนับตั้งแต่นั้นมา เมื่อสำนักนายกฯมีนโยบายปราบปรามการทำลายป่า นายพล "ธ" จึงวิ่งเต้นให้ตัวเองมาช่วยงานด้านนี้" แหล่งข่าวในกองบัญชาการภูธร 3 กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

อดีตของนายพล "ธ" นั้นเคยเป็นสารวัตรในพื้นที่อ.แม่สอดมาก่อน เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาแล้วในคดีป่าไม้ลาดยาว นครสวรรค์ และป่าสักที่กำแพงเพชร ซึ่งมีการกล่าวขวัญหนาหูว่าพื้นที่ป่าที่เฮี้ยนเตียนไปนั้นนายพล "ธ" มีบทบาทค่อนข้างสูงว่าเป็นคนรู้เรื่องดีถึงตัวการคนทำลาย

ภายหลังที่นายพล "ธ" ได้มาช่วยงานสำนักนายกฯโดยร่วมมือกับพ.อ.ประกอบ ประยูรโภคราช ที่ปรึกษาพรรคชาติไทยซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทำลายป่า ก็ได้มีการกวดขันกันจับการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ฝั่งไทยอย่างแข้งขัน

ในเดือนที่สส.มีการถอนชื่อออกจากญัตติไม่ไว้วางงใจรัฐบาลที่ผ่านมานั้น กล่าวกับนายพล "ธ" เป็นตัวการวิ่งเต้นหากำลังสนับสนุนเป็นอย่างดี โดยได้เจรจาต่อรองกับพ่อค้าไม้คนหนึ่งของแม่สอดให้เป็นภาระช่วยเหลือ แต่การเจรจานั้นไม่เป็นไปที่ตกลงเพราะข้อเรียกร้องสูงเกินกำลังที่พ่อเลี้ยงรายนั้นรับไว้ไม่ได้

"ฉากแห่งการทำลายจึงเริ่มต้นที่พ่อเลี้ยงรายนั้นก่อนคนอื่น" แหล่งข่าวผู้หนึ่งกล่าว

ความยุ่งยากที่มีการกวดจับและยกเหตุว่าไม้ที่ยกอ้างว่ามาจากฝั่งพม่านั้นไม่ใช่เรื่องจริง บรรดาพ่อค้าไม้หลายรายต่างบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า เรื่องนี้เป็นเพราะมีการรายงานข้อมูลที่ผิดพลาดให้ผู้ใหญ่ได้รับรู้ตลอดเวลา โดยเฉพาะตัวพล.อ.เปรม จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามีการลักลอบทำไม้ในฝั่งไทยจริงๆ

"เล่นกันไม่แฟร์เลยนี่ คนอยากจะดังทำไมต้องทำอย่างนี้ด้วย หลักฐานเรื่องนี้ตรวจสอบกันได้ว่าเป็นไม้จากฝั่งพม่าจริงหรือเปล่า ทางกองทัพภาคที่ 3 ก็ยืนยันและเห็นดีในเรื่องนี้แล้ว"

"พวกเราอยากทำให้ถูกต้องทั้งสิ้นแต่คิดหรือว่ารัฐบาลพม่าจะยินดีออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้เมื่อทำอย่างนั้นไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีขโมยเอา ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศไทยเรื่องอย่างนี้ถ้ารัฐบาลจะทำเพิกเฉย เอาหูไปนา เอาตาไปไร่เหมือนรัฐบาลสิงคโปร์ทำกับเราในเรื่องแร่เถื่อนก็ไม่มีอะไร"

"ต้องยอมรับกันนะว่าการค้าก็คือการค้า และค้านอกระบบที่นำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาทนี้ความสามารถของรัฐบาลไม่ทันของเอกชนแน่ น่าที่จะปล่อยให้เราดำเนินการต่อไป วิถีทางการทูตก็เป็นเรื่องที่สามารถชี้แจงกันได้" นั่นเป็นความรู้สึกกังขาของพ่อค้าไม้และพ่อค้าต่างๆ ในแม่สอดที่บอกกับ "ผู้จัดการ"

มีรายงานข่าวว่าการนำเสนอเรื่องไม้พม่านี้ ถูกดันขึ้นไปในช่วงที่ น.อ.ประสงค์ สุนศิริ เลขานายกรัฐมนตรีเดินทางไปต่างประเทศ เพราะเรื่องนี้ถ้าผ่านมือ น.อ.ประสงค์ย่อมต้องมีการคัดค้านแน่นอน เนื่องจากตื้นลึกหนาบางในฐานะที่ น.อ.ประสงค์เคยทำงานด้านความมั่งคงย่อมรู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งที่เลวร้าย อะไรเป็นเรื่องที่เราควรจะได้

ด้าน พ.อ.ประกอบ ประยูรโภคราชหลังการกวดจับหนักมือขึ้นได้เคยเปรยกับคนใกล้ชิดว่าได้รับหนังสือฉบับหึ่งถามว่าตนเป็นญาติกับพม่าฝ่ายไหน ถึงได้เต้นเป็นเจ้าเข้าเรื่องนี้หนักหนา "ผมยืนยันว่าผมทำไปด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่ต้องการเห็นข้อพิพาทบาดหมางของ 2 ประเทศเกิดขึ้น"

ตามมาด้วยความสำทับหนักแน่นว่า "มีการสั่งเก็บ" "ผมถูกหมายหัวไว้แล้ว ทราบข่าวมาว่าได้มีการลงขันกันคนละล้านสองล้านจากพ่อค้าไม้ให้ผมยุติปราบปราม ถ้าผมไม่โอ.เค.ก็เป็นตัวผมเองที่จะถูกยุติ"

ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรนั้น "ผู้จัดการ" เองไม่อาจยืนยันได้เช่นกันแต่ที่แน่ๆ ตลอดเวลาของการจับกุมไม้พม่าปรากฎว่าเกิดความขัดแย้งร้าวลึกขึ้นในหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองคือระหว่างกองทัพภาคที่ 3 กับทางสำนักนายกรัฐมนตรีเพราะกองทัพภาคที่ 3 บอกว่าสำนักนายกฯลงมือโดยไม่พิจารณาความเป็นจริงใดๆ เลย!!

ครั้งหนึ่งที่ทางสำนักนายกฯได้เชิญ พล.ต.ท.ประทิน บูรณสมภพ ผู้บัญชาการสอบสวนกลางขึ้นไปสอบสวนไม้ที่ใช้ในการสร้างบ้านพักของทหารว่าเป็นไม้ที่ลักลอบนำเข้าจากพม่าหรือ "ไม้โจร" หรือเปล่า ในที่ประชุมร่วมของเจ้าหน้าที่ปรากฏว่านายพลของกองทัพภาคที่ 3 คนหนึ่งถึงกับระเบิดความในใจออกมาว่า

"พวกผมนอนกลางดินกินกลางทรายกันที่นี่ มีใครเคยเห็นความยากลำบากกันบ้างไหม พวกผมจับปืนสู้รบพวกคุณจับปากกาในห้องแอร์ อย่างเรื่องไม้นี้ผิดนักหรือที่เราจะตักตวงผลประโยชน์ที่ในอดีตพม่าขุดลอกทองจากเราไปสักเท่าไหร่นึกถึงกันบ้างหรือเปล่า จะจับก็จับแต่อย่ามามั่วซั่วจนเกินเหตุหาว่าสวมรอยไม้ไทยเป็นไม้พม่า เราทนไม่ได้เหมือนกันที่ไม่ฟังเหตุผลกันบ้าง"

ท่าทีของพล.ต.ท.ประทิน บูรณสมภพหลังจากรับทราบข้อมูลก้อได้แสดงความผ่อนปรนออกมาจนเห็นได้ชัด เพียงอยากให้เรื่องนี้มีการดำเนินการกันอย่างถูกต้อง

แต่นั้นแหละความประสงค์ของผู้การประทินหรือแม้แต่ใครๆ ก็อยากให้มันเป็นอย่างนั้น ปัญหามันอยู่ที่ว่าจะทำให้เป็นจริงได้ละหรือ!?

ลักษณะกาค้าไม้สามารถทำกันได้ 3 วิธีคือ

หนึ่ง-ค้าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ด้วยการขอสัมปทานให้ถูกต้อง วิธีการนี้กับการค้าไม้จากฝั่งพม่าคงไม่ต้องเสียเวลาพูดถึง เพราะยากที่จะปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมาได้

สอง-ค้าโดยการเสียภาษีขาเข้า-ออกอย่างถูกต้อง วิธีการนี้ต้องให้ประเทศนี้ส่งไม้ยินยอมใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าก็คงเป็นไปไม่ได้อีกนั่นแหละ เพราะรัฐบาลพม่าคงไม่ใจกว้างพอที่จะเห็นฝั่งไทยค้าขายสนับสนุนกะเหรี่ยงที่เป็นศัตรูตัวร้ายได้โดยไม่มีอะไรกีดขวาง

สาม-ค้าผ่านศุลกากร วิธีการนี้เป็นทางเลือกที่อาจจะกระทำให้เป็นจริงได้ และเป็นแนวทางที่หอการค้าตาก ระนอง กาญจนบุรี กำลังเรียกร้องขณะนี้ วิธีนี้คือว่ารัฐบาลทำเป็นทองไม่รู้ร้อนปล่อยให้พ่อค้านำไม้เข้าอย่างปกติ เสร็จแล้วจึงค่อยดำเนินการจับกุมเพื่อนำไม้นั้นไปเปิดประมูลอีกครั้งซึ่งการเปิดประมูลนี้มีผู้เสนอว่า ควรเพิ่มเงินค่าภาคหลวงไม้แปรรูปจาก 7 เท่าของราคาไม้เป็น 10 เท่า และ 3 เท่าของวัสดุอุปกรณ์เป็น 7 เท่า

แต่วิธีนี้อาจเป็นมวยล้มเพราะอาจถ้าเป็นจริงก็เทากับเป็นการตัดช่องทางทำมาหากินของขบวนการมาเฟียในเครื่องแบบให้สิ้นไร้ไม้ตอกกันไปเลย ซึ่งคงเป็นเรื่องที่เจ้านายระดับสูงของขบวนการนี้ ที่แผ่อิทธิพลไปทั่วไม่ว่าจะเป็นในกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมตำรวจ กรมป่าไม้ ย่อมต้องออกแรงต้านกันสุดเหวี่ยง

ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ตามนั้นควรที่จะมีการพิจารณาทบทวนท่าทีกันใหม่โดยรวดเร็ว หากสภาพการณ์ยังคงเป็นไปอยู่เช่นปัจจุบัน ภาวะเศรษฐกิจของการค้าชายแดนที่มีผลต่อสังคมส่วนรวมด้วยนั้นคงมีแต่ตายกับตายสถานเดียว

ทุกคนอยากเป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้นทว่าสถานการณ์บังคับให้ต้องเป็นโจรและเป็นโจรที่ชอบธรรมนำพาสิทธิประโยชน์อันมากหลายมาสู่ประเทศ เป็นโจรกันสักครั้งก็คงไม่น่าเกลียดน่ากลัวอะไร ทีสมบัติของแผ่นดินเรายังถูกชาติอื่นแย่งไปชมอย่างหน้าตาเฉยมาแล้ว

เราก้าวมาถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนนิสัยกันได้แล้วหรือยัง!?



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.