จุฬาฯวางหมาก ต่อสัญญาเซ็นเตอร์ พ้อยท์ 3 ปี หวังเป็นแม่เหล็กชนสยามพารากอน ประกาศปรับโฉมครั้งใหญ่ก้าวสู่ปีที่
6 เน้นบริหารพื้นที่รูปแบบการจัด กิจกรรมสร้างรายได้ระยะยาว เผย จุฬาฯเตรียมชี้ชะตาสยามสแควร์ปี
2548 หลังหมดสัญญาเช่า พร้อมเตรียมเปิดประมูลพื้นที่ จัดโซนนิ่ง แหล่งชอปปิ้ง โรงแรม
ร้านอาหาร สบช่องแผนผังเมือง เปิดช่องสร้าง ตึกสูงได้ในย่านสยามสแควร์ เชื่อว่าในอนาคตปรับโฉมครั้งใหญ่แข่ง
พารากอน
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรไพลิน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
ผู้บริหารพื้นที่เซ็นเตอร์ พ้อยท์ เปิดเผยว่า หลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับการที่จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะไม่ต่อสัญญาพื้นที่เช่ากับทางบริษัทในการบริหารพื้นที่เซ็นเตอร์
พ้อยท์ ซึ่งมีความคลุมเครือมาตลอดในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ขณะนี้ได้รับการยืนยันจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าจะได้รับการต่อสัญญาออกไปอีก
3 ปี โดยทางบริษัทจะต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่ตลอดอายุสัญญาใหม่เป็นเงิน 15 ล้านบาท
ซึ่งจะเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนตุลาคมนี้
ทั้งนี้ สัญญาเดิมที่ได้เช่าพื้นที่ 5 ปี จะหมดสัญญาเช่าลงสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้
โดยตลอดระยะเวลา สัญญาเดิมได้ใช้งบลงทุนพัฒนาพื้นที่ 25 ล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่
เป็นร้านค้าย่อย จำนวน 36 ร้านค้า และพื้นที่กิจกรรมบางส่วน
สำหรับเหตุผลที่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เลือกที่จะต่อสัญญาให้กับทางบริษัทนั้น
เพราะการพัฒนาพื้นที่ของบริษัทเป็นที่ยอมรับว่า เป็นศูนย์รวมสำหรับวัยรุ่น แม้ว่าในช่วงที่ผ่าน
กระแสข่าวที่ทำให้ภาพลักษณ์ของเซ็นเตอร์ พ้อยท์เป็นแหล่งมั่วสุม การขายบริการทางเพศของวัยรุ่น
และเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม ซึ่งทำให้ทางจุฬาฯได้ลังเลที่จะต่อสัญญา เช่ากับบริษัทออกไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้น ทางบริษัทได้เข้าไปชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับผู้บริหาร
โครงการ นอกจากนี้ยังได้จัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับพื้นที่เซ็นเตอร์พ้อยท์
อาทิ การจัดกิจกรรมคอนเสิร์ต ซึ่งช่วยให้ภาพลักษณ์ของพื้นที่เซ็นเตอร์ พ้อยท์ที่มีต่อสังคมดีขึ้น
และกลายเป็นพื้นที่กิจกรรมที่วัยรุ่นให้ความสนใจ
หวั่นสยามพารากอนดึงวัยรุ่น
นายพรนริศ กล่าวอีกว่า เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้จุฬาฯต่อสัญญากับบริษัทนั้น
เพราะว่าในปี 2548 การแข่งขันในพื้นที่ย่านราชประสงค์จะรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากจะมีการเปิดตัวของ
ศูนย์การค้าสยามพารากอน รวมถึงการเปิดตัวของห้างเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ซึ่งอาจแย่งร้านค้า
และลูกค้าไปจากสยามสแควร์ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
หลังจากที่สยามดิสคัฟเวอรี่และสยามเซ็นเตอร์ได้เข้ามาเปิดศูนย์การค้าในย่านดังกล่าว
ทำให้ผู้บริหารจุฬาฯ มองว่า เซ็นเตอร์ พ้อยท์ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถรักษาลูกค้าของสยามสแควร์ได้
แม้ว่าทั้งสองห้างจะเปิดให้บริการแล้วก็ตาม
โฉมใหม่เซ็นเตอร์พ้อยท์ปีที่ 6
นายพรนริศ กล่าวต่อถึง สัญญาฉบับใหม่ ทางจุฬาฯ ได้ปรับค่าเช่าพื้นที่กับบริษัทเพิ่มขึ้น
15-16% ดังนั้นบริษัทฯจึงได้วางแผนที่จะปรับค่าเช่าพื้นที่ร้านค้าเพิ่มขึ้น 5-10%
จากเดิมที่คิดค่าเช่า 3,200-3,300 บาทต่อตร.ม. พร้อมกันนี้ยังได้ปรับโฉมใหม่ของพื้นที่ในเซ็นเตอร์
พ้อยท์ ใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงทางเดิน ร้านค้า ลานน้ำพุ รวมถึงการทำหลังคาเพื่อป้องกันใน
ช่วงที่ฝนตก โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มปรับโครงการในช่วงไตรมาสแรกของปี
2547 โดยคาดว่าโครงการจะปรับเสร็จในช่วงเวลา 1 เดือน
พร้อมกันนี้ บริษัทฯยังได้วางแผนเน้นการบริหารพื้นที่เช่าในรูปแบบของการจัดกิจกรรม
มากขึ้น เนื่องจากพบว่าที่ผ่านมารายได้ส่วนใหญ่ มาจากการจัดกิจกรรมเป็นหลัก โดยสามารถ
สร้างรายได้ถึง 5,000-1,000,000 ล้านบาทต่อครั้ง ดังนั้นบริษัทจึงได้ปรับจำนวน
ร้านค้าในเซ็นเตอร์ พ้อยท์ลดลงเหลือ 24 ร้าน จากเดิมที่มีทั้งสิ้น 36 ร้าน ซึ่งทำให้บริษัท
สูญเสียรายได้ค่าเช่าร้าน 40% ส่วนในเรื่องของพื้นที่นั้นบริษัทไม่สามารถขยายเพิ่มได้
โดยปัจจุบัน เซ็นเตอร์ พ้อยท์มีพื้นที่ทั้งหมด 1 ไร่เศษ
"หลังจากที่บริษัทปรับปรุงพื้นที่เพื่อหันไปเน้นการจัดกิจกรรมภายใต้คอนเซ็ปต์
Free Fun Friend จากเดิมที่ใช้คอนเซ็ปต์ Where idiea in Action อาจทำให้สัดส่วนรายได้ของพื้นที่เซ็นเตอร์พ้อยท์เปลี่ยนไป
จากเดิมที่มีสัดส่วนรายได้ 70% มาจากค่าเช่า 30% มาจากกิจกรรม จะเปลี่ยนเป็น 40%
มาจากค่าเช่าร้าน 60% จะมา จากกิจกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทหัน มาเน้นให้เช่าพื้นที่จัดกิจกรรม
คาดว่าในปีหน้านี้ บริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 5-10% จากรายได้ที่คาดว่าจะได้ในปีนี้กว่า
12 ล้านบาท" นายพรนริศ กล่าว
สำหรับผลประกอบการในปี 2545 บริษัทมีรายได้จากการบริหารพื้นที่เซ็น เตอร์ พ้อยท์กว่า
12 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 1 ล้านบาทต่อเดือน โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคซาร์ส
ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมในพื้นที่ลดลง นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากจากสภาวะอากาศที่มีฤดูฝนยาวนานกว่าปกติ
ทำให้รายได้จากการจัดกิจกรรมลดลง 20% จากเดิมที่มีรายได้จากการจัดกิจกรรมประมาณ
3 แสนบาทต่อเดือน
จุฬาชี้ชะตาสยามสแควร์
นายพรนริศ ยังแสดงความคิดเห็นต่อกรณี พื้นที่ร้านค้าย่านสยามสแควร์ว่า จะหมดสัญญากับทางจุฬาฯ
ในปี 2548 นั้น ขณะนี้ยังรอฟังความชัดเจนจากทางผู้บริหารของจุฬาฯ ว่าต้องการพัฒนาพื้นที่นี้เป็นรูปแบบใด
ซึ่งล่าสุดทาง จุฬาฯได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ออกแบบโฉมใหม่ของสยามสแควร์
โดยเชื่อว่า หากสัญญาเช่าของร้านค้าย่อย ที่ทำไว้กับจุฬาฯ หมดลง จะเปิดให้เช่าเป็นเฟส
โดยแบ่งเป็นโซนโรงแรม ศูนย์ติววิชา แหล่งชอปปิ้ง อาหาร รวมถึงการปรับปรุงในพื้นที่จราจรและพื้นที่จอด
รถ เพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุน อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ ได้อนุญาต
ให้พื้นที่สามารถก่อสร้างตึกสูงได้ จึงยังต้องรอดูท่าทีของทางผู้บริหารจุฬาฯอีกครั้ง
ว่าต้องการให้สยามสแควร์มีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ หากทางจุฬาฯเปิดให้ประมูลพื้นที่ บริษัทก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปร่วมประมูล
เนื่องจากบริษัทมีศักยภาพและความ ชำนาญในพื้นที่ย่านนี้มาก่อน อีกทั้งโดยตัวธุรกิ
จ หลักแล้ว ยังทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายประเภท ทั้งบ้านเดี่ยว อพาร์ตเมนต์ให้เช่า
จึงเชื่อว่าจะได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารจุฬาฯ