บริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด มาถึงข้อต่อของยุคที่สาม ประติมากรรมชิ้นสำคัญอย่างกฤษณ์
อัสสกุล กำลังแปรสภาพตนเอง เป็นเพียงแค่ความทรงจำ แล้วมอบหมายงานอันหนักอึ้งให้กับลูกชายคนโต
"กีรติ อัสสกุล" คนหนุ่มที่ชอบเล่นเรือใบ แน่นอนเรือใบที่เขาต้องบังคับให้โลดแล่นฝ่าคลื่นพายุต่าง
ๆ ในการดำเนินธุรกิจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากใจแท้ ๆ
ภาพที่แจ่มกระจ่างของบริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด ที่คอรงความยิ่งใหญ่ในธุรกิจประกันภัย
ประกันชีวิตมาช้านาน รวมถึงความสำเร็จเหลือคณานับของอีกหลายธุรกิจในเครือ
หากศึกษาประวัติศาสตร์หรือพัฒนาการของกลุ่มธุรกิจกลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้
3 ยุคสมัย
ยุคแรก- "ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง"
บริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด ตั้งไข่ล้มต้มไข่กินเมื่อปี พ.ศ.
2492 โดย "ชิน แซ่เบ๊" หรือ "ชิน อัสสกุล" คนเดินโพยก๊วนชื่อดังคนหนึ่งในสมัยนั้น
และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยประกันชีวิตเป็นใบสุดท้ายจากรัฐบาลเมื่อวันที่
21 มีนาคม 2494
มองจากภายนอกกิจการภายใต้การบริหารงาน "ชิน อัสสกุล" ซึ่งอาศัยความสัมพันธ์ของการเดินโพยก๊วนมหาลูกค้าได้มากมายนั้น
ค่อนข้างจะรุ่งโรจน์มีการเปิดสาขาทั้งในกรุงเทพต่างจังหวัดอย่างคึกคัก แต่โดยความเป็นจริงกิจการประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอดเฉพาะช่วง
5 ปีแรกแทบจะรักษาชีวิตไม่รอเลยทีเดียว ความล้มเหลวนั้นเป็นเพราะว่า คนไทยยังไม่เชื่อมั่นว่าการประกันภัย
ประกันชีวิตจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและมีความมั่นคง
ไทยสมุทรฯที่มีรากคำมาจากภาษาจีนว่า "อันซุ่น" ที่แปลว่า ราบรื่นและปลอดภัยจึงหาความปลอดภัยไมได้เลยทั้งคนลงทุนและลูกค้าที่ต้องวัดอัตราเสี่ยงในปริมาณที่พอ
ๆ กัน
ยุคสอง "เส้นยืนของความมั่งคั่งและมั่งคง
"กฤษณ์ แซ่เบ๊" หรือ "กฤษณ์ อัสสกุล" น้องชายของชิน
อดีตหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อของบริษัท ยูเอสไลฟ์ อินชัวรันส์ที่นิวยอร์ค ประสบการณ์อันช่ำชองที่เขาได้รับจากบริษัทชื่อดังแห่งนี้
ทำให้สามารถเขียนประวัติศาสตร์บทใหม่ให้กับไทยสมุทรฯได้เมื่อเขาลกับมารับภาระบริหารงานให้กับพี่ชาย
กฤษณ์ผ่าตัดระบบดั้งเมอย่างไม่มีเยื่อใย เขาสั่งยุบสาขาทั้งหมด และลดจำนวนพนักงานที่สำนักงานใหญ่
(ริมคลองผดุงกรุงเกษม) จาก 64 คนเหลือ 14 คน ทั้งยังไม่ปรับเงินเดือนติดต่อกัน
3 ปี การตัดสินใจครั้งนี้ทำให้สถานภาพของบริษัทฯดีขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุมรายรับ-รายจ่ายในช่วงสร้างตัวได้อย่างเข้มงวด
ไทยสมุทรฯประสบกับความโชคดีอย่างบังเอิญเมื่อบริษัทนครหลวงประกันชีวิต
จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมากสมัยนั้นเกิดปัญหาภายในจนต้องเลิกกิจการ
ทำให้ไทยสมุทรฯ ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่กล้าเสี่ยงกับการให้ผลตอบแทนที่แตกต่างไปจากคนอื่น
สามารถดึงลูกค้าเก่าของนครหลวงฯมาได้อย่างมากมาย
หลังจากที่ฐานะพอลืมตาอ้าปากได้แล้ว กฤษณ์จึงกลับมาโหมตะลุยขยายสาขาวบคู่ไปกับการเล่นทีดิ่นที่ชายฉลาดอย่างจริงจังอีกครั้ง
พร้อมกับปันผลกำไรส่วนหนึ่งจากงานประกันไปลงทุนในธุรกิจด้านอื่น จนทำให้เครือไทยสมุทรฯ
แทบจะเรียนได้ว่าเป็นกลุ่มเดียวที่มีธุรกิจในมือเกือบครอบทุกสาขา ("ผู้จัดการ"
จะเขียนถึงจุดนี้อีกครั้ง)
ยุคสมัสยภายใต้การคอนโทรลงานแบบเฉียบขาดจนบางคราวอาจเลินเล่อไปในทำนอง
"ข้ามาคนเดียว" ของ "กฤษณ์ อัสสกุล" สามารถสร้างฐานอันแข็งแกร่งเป็นเส้นยืนของความมั่นคงที่กำลังรอรับการพิสูจน์มาจนถึงปัจจุบัน
ยุคสาม "พิมพ์เขียวที่เลือกลาง"
ไทยสมุทรฯเมื่อผ่านพ้นยุคที่สองเป็นยุคของการขยายตัวอย่างค่อนข้างจะเหิมเกริม
และแม้ว่ากฤษณ์จะค่อย ๆ รามือเพลาการสั่งงานลงไปบ้าง แต่เขาคงมีความมั่นใจที่ปะทุตลอดเวลาว่า
"ยุคที่สามของไทยสมุทรฯภายใต้การดูแลของลูก ๆ คงจะสืบสานความรุ่งเรืองได้ไม่มีที่สิ้นสุด"
ขณะที่หลาย ๆ คนนึกเสียว"
"คุณนิม" ของพนักงานไทยสมุทรหรือ "กีรติ อัสสกุล"
คนหนุ่มวัย 29 ลูกชายคนโตของกฤษณ์ ที่ยินยอมสมัครใจเข้ามาเป็นหัวขบวนสืบทอดภาระประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของคนรุ่นก่อน
จึงต้องกลายเป็นเป้าคำถามของ "ความเสียว" ไปโดยปริยาย
กีรติเป็นคนหนุ่มอัธยาศัยดีอย่างที่หลายคนทั้งในและนอกเครือไทยสมุทรฯเข้าใจจริง
ๆ ความนุ่มนิ่มเรียบร้อย สุภาพอ่อนน้อมแทบจะผิดแผกแตกต่างไปจากความห้าวเฉียบดุดันกร้าวแกร่งของพ่อโดยสิ้นเชิง
อิริยาบถ และการวางตัวในทุกโอกาสราวกับ "คุณชายกีรติ" ในนวนิยายประโลมโลกอย่างไรอย่างนั้น
เขานิ่มเสียจนอดคิดไม่ได้ว่า ทำไมจึงกล้าหาญชาญชัยเข้ามารับผิดชอบงานที่มีสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า
3,000 ล้านและมีบริษัทที่ต้องควบคุมดูแลดุจใยแมงมุม ไม่ต่ำกว่า 30 บริษัท
และบางบริษัทยามภาวะเศรษฐกิจเพิ่งสร่างไข้ก็มีอาการครึ่งผี ครึ่งคนที่น่าสะพรึงกลัวไม่น้อยเลย
เขาอาจจะมีความมั่นใจคล้ายคลึงกับกฤษณ์อยู่บ้าง แต่ก็เป็นความเชื่อมั่นที่ค่อนข้างอยู่ในกรอบกฎและระเบียบแบบแผน
ทั้งนี้อาจเป็นพฤติกรรมที่ถานทอดมาจากปรัชญาความเป็น "วิศวกร"
ของเขาก็เป็นได้ ลักษณะเช่นนี้เขาเองก็ยอมรับว่า มันมีทั้งข้อดีและข้อด้อยพร้อม
ๆ กัน
"ดีตรงที่การรีวิวผลงานหรืออธิบายในจุดต่าง ๆ จำเป็นต้องมีเหตุผลอ้างอิงตลอดไม่ใช่ไปอย่างข้าง
ๆ คู ๆ ซึ่งอาจจะดีในระยะสั้นแต่ก็เป็นผลเสียในระยะยาว แต่ข้อด้อยของการทำงานแบบวิศวกรที่ผมรู้ตัดีมันอยู่ที่ว่าบางครั้งเราอาจคิดไปในแนวแคบเกินไป"
เขากล่าวสั้น ๆ
ถ้ามองในประเด็นนี้จุดที่น่าพิเคราะห์อาจอยู่ตรงที่ ความเหิมเกริมในการขยายตัวของเครือไทยสมุทรฯที่พยายามเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจทุกประเภท
ลักษณะแผ่กระจายของฐานธุรกิจกับความคิดที่ยังยอมรับว่าในบางคราว "อาจตัดสินใจแคบๆ"
ของคนที่เป็นประธานบริษัทฯ เช่นกีรตินั้นจะสามารถปรับความสมดุลให้เข้ากันได้ไหม
"ว่ากันจริง ๆ แล้วคุณกฤษณ์ยังคงไม่ล้างมือโดยเด็ดขาด คิดว่าแกเข้าใจสถานการณ์ได้ดีเหตุที่ต้องดันลูกชายที่อายุน้อยสวมตำแหน่งที่สูงสุดในองค์กร
คงเป็นการสร้างความยำเกรงกันมากกว่าเพราะถ้าสร้างพลังการควบคุม "คน"
ให้อยู่ได้ง่ายแล้วก็ไม่ยากที่จะสร้างงานให้ดี กีรติตอนนี้คงเพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้งานมากกว่า"
คนในสำนักงานประกันภัยพูดถึงทายาท "อัสสกุล" ผู้นี้
ความเชื่อมั่นของคนหนุ่มที่อุดมไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนผู้นี้อีกประการหนึ่งอาจเป็นอย่างที่เขาบอกว่า
"เพราะผมยังโสดไม่มีภาระอื่นใดนอกจากการทำงาน และเรียนรู้งานให้ชำนาญมากขึ้น
คงอีกนานนะกว่าที่จะแต่งงาน ยังไม่รู้เลยว่าจะมีใครหลงมาชอบเราบ้าง "
เขากล่าวติดตลกที่แทบไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่า ความที่มีหน้าตาดี ฐานะมั่งคั่งของเขานั้นจะ
"อาภัพ" คนรักเสียจริง ๆ
ความสุภาพอ่อนโยนของกีรติอาจวัดได้จากการที่เขาเป็นคนที่มีความผูกพันกับ
"น้ำ" เอามาก ๆ ในวันหยุดพักผ่อนจะไปเล่นเรือใบที่ชายหาดพัทยาเป็นประจำ
หรือไม่ก็ดำน้ำ ว่ายน้ำ เว้นไว้แต่เหนื่อยจริง ๆ ก็จะปลีกตัวอ่านหนังสือก็ไม่พ้นหนังสือที่เกี่ยวกับน้ำและกีฬาทางน้ำอยู่นั่นเอง
"น้ำไม่เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ของความอ่อนนุ่มเท่านั้น แต่ปรัชญาลึก
ๆ ของมันยังสอนให้เราได้เข้าใจถึงกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตได้หลาย
ๆ อย่าง" เขาเคยกล่าวถึงน้ำไว้อย่างนี้
กีรติยอมรับอย่างไม่อายว่า ฝีมือของเขายังอ่อนหัดต้องหล่อหลอมอีกมาเพื่อรับงานใหญ่ในอนาคต
แต่ก็เป็นโชคดีไม่น้อยว่า การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของบริษัทฯ นั้นเขามีทีมงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นคนที่กฤษณ์สร้างขึ้นมาคอยประคับประคองช่วยเหลือระแวดระวังภัยให้ตลอดเวลา
"การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯถึงกีรติจะเป็นประธานกรรมการทว่าเขาก็ไม่มีอำนาจตัดิสนใจมากนัก
นอกจากฤษณ์แล้วต้องฟังเสียงของกรรมการเสียมากกว่า" แหล่งข่าวภายในบอกกับ
"ผู้จัดการ"
"FIRAMS" เป็นอาวุธลับในการทำงานของผู้บริหารเครือไทยสมุทรฯ
กีรติถูกกำหนดให้รับผิดชอบ 2 ตัวคือ F-FINANCE กับ I-INVESTOR ซึ่งเข้ากับบุคลิกของเขาที่เป็นคนพิถีพิถันและละเอียดรอบคอบ
"ถ้าเปรียบเทียบกับน้องชายที่เข้าไปดูแลด้านประกันนับว่าผิดกันมาก
รายนั้นเร็วแต่ยังติดความเป็นคนหนุ่มที่หุนหัน การที่กฤษณ์มอบตแหน่งประธานให้กับกีรติและให้ดูแลเรื่องการเงินกับการลงทุนคงพิจารณาถึงความรอบคอบเป็นหลัก
กอปรกบาองว่าความเป็นคนผ่อนหนักผ่อนเบาของนิมจะสามารถประคองเกม ประสานความรู้สึกร่วมของทุกฝ่ายให้เข้ากันได้
มีข้อขัดแย้งน้อยที่สุดซึ่งมี่ผ่านมานิมก็ทำได้ดี" ผู้บริหารคนหนึ่งกล่าวกับ
"ผู้จัดการ"
หลายคนตั้งคำถามที่คลางแคลงว่า "เขาสามารถเข้ากับทีมงานของพ่อที่อายุห่างกันหลายสิบปีได้อยางแนบแน่นจริงหรือ"
และบางคนคาดการณ์ถึงอนาคตบางแง่มุมไม่ได้ว่า ถ้าต้องเกิด "รอยร้าว"
ขึ้นภายในองค์กรอย่างไม่พึงให้เกิดในภาวะที่กีรติยังไม่แกร่งพอ ไทยสมุทรฯที่กำลังก้าวร้าวต่อการขยายตัวจะมีสภาพการณ์อย่างใด
กีรติดูเหมือนเข้าใจลึกซึ้งถึงสัจธรรมข้อนี้ได้ดี รอยร้าวไม่จำเป็นต้องมีแต่การเปลี่ยนแปลงก็ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน
ดังนั้นเขาจึงต้องวางแผนสร้างทีมงานคนหนุ่มสาววัยเดียวกัน ที่ต้องมีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันขึ้นมาอย่างไม่อึกทึกครึกโครม
ขุนพลเหล่านั้นส่วนใหญ่จบปริญญาโทหรือไม่ก็เอ็มบีเอ. แทบทั้งสิ้น
"ไอเดียใหม่ ๆ บางครั้งไม่เคยมีใครทำมาก่อน การที่จะไปเปลี่ยนระบบเก่า
ๆ ก็เป็นเรื่องที่ลำบากสำหรับคนที่ทำงานอย่างนั้นอยู่แล้วจนชาชิน" เขาเคยเปรยความรู้สึกลึก
ๆ ของจิตใจเช่นนี้ออกมา และที่สุดของความเป็นเยาว์วัยทำให้ต้องยอมรับคำตัดสินของคนรุ่นเก่าที่บอกว่ามีประสบการณ์มามากกวา
ยุคที่สามของเครือไทยสมุทรฯ หากกีรติยังคงความอ่อนน้อมถ่อมตนเช่นนี้อยู่
แม้ว่าตัวธุรกิจจะก้าวกระโดดแต่คงเป็นก้าวกระโดดที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยมแบบแผนเก่า
ๆ อยู่มาก เว้นไว้เสียแต่ว่า "วิศวกร" หนุ่มคนนี้จะ "กล้า"
ที่จะเปลี่ยนแปลงตามความคิดของตนเฉกเช่นกฤษณ์เคยกระทำมาแล้วในตอนเริ่มต้นยุคที่สอง
เมื่อนั้นพัฒนาการของเครือไทยสมุทรฯอาจพลิกรูปแบบ
หากการรู้จักเลือกใช้คนให้เป็นตัวตายตัวแทนที่ดีได้เป็นสุดยอดของการบริหารกีรติอาจกำลังพิสูจน์ความเป็นจริงข้อนี้อยู่กระมัง
เพราะถึงแม้จะมีบางเสียงปรามาสเขาว่า "ไม่เห็นเก่งอะไรอาศัยพ่อทำมาดี"
แต่ถ้าคนเหล่านั้นจะได้รู้ว่า กีรติกำลังสร้างคน ผูกข้อต่อของคนรุ่นเก่า
ใหม่ในบริษัทให้ประสมกันได้อย่างเหมาะเหม็ง และรู้จักวิธีเลือกที่จะใช้คนเหล่านั้นทำงานให้ได้ดีที่สุด
ปรากฏการณ์อย่างนั้นพอไหม ที่จะยอมรับความเป็นทายาทที่ไม่อับด้อยในความสามารถของเขา
กีรติเป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่คล่องแคล่วภาษาไทยมากนัก หลังจากจบชั้นประถมที่เซนต์ดอมินิกเมื่ออายุ
13 ขวบ ก็ถูกส่งไปเรียนต่อที่สิงคโปร์จนจบไฮสคูล แล้วไปสำเร็จปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเคมีที่
QUEEN UNIVERSITY ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวิศวกรรมของคานาดา
จากนั้นไปเรียบและสำเร็จปริญญาโทด้านวิศวกรรมเคมีอีกเช่นกันที่ UNIVERSITY
OF SOUTHERN CALIFORNIA (N.S.C.)
เขาตั้งใจจะเป็นวิศวกรพลังงานมากกว่าจึงเลือกเรียนสาขาวิชานี้ แต่โชคไม่เข้าข้างระหว่างที่กำลังเรียนปริญญาโทเมื่อปี
2525 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริษัท ขณะนั้นเขามีอายุเพียง
24 ปีนับเป็นประธานบริษัทที่มีอายุน้อยที่สุดและยังเป็นนักศึกษาอีกด้วย
เมื่อเป็นประธานกรรมการบริษัทก็เป็นปีที่บริษัทอโศกอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
"เทรดดิ้งคัมปะนี่" ภายในเครือที่ได้รับการยกย่องมากได้ไปเปิดสาขาที่ลอสแองเจลลีสเขาเลยต้องทำหน้าที่ดู่แลสินค้าที่ส่งอไปจากเมืองไทยแรก
ๆ คิดว่าจะทำเพียง 3 เดือนแต่เอาเข้าจริง ๆ กลับติดลมบนต้องอยู่โยงที่นั่นถึง
2 ปี แล้วจึงกลับมาเริ่มทำงานกับอโศกฯที่เมืองไทย ก่อนจะก้าวมาเป็นประธานกรรมการบริษัทฯในปัจจุบัน
กีรติเป็นพนักงานคนหนึ่งที่ต้องผ่านโรงเรียนฝึกหัดของบริษัทนที่ปากช่อง
นครราชสีมา เพียงแต่เขาได้สิทธิพิเศษตรงที่ไม่ต้องเข้าคอร์สอบรมภาษาอังกฤษ
โรงเรียนฝึกหัดแห่งนี้เขาตั้งใจว่าจะพัฒนาให้ได้มาตรฐานกว่าเดิมเนื่องจากเป็นบริษัทแรกที่ริเริ่มโครงการอย่างนี้
ในการเขียนถึงเขาครั้งนี้เขาบอกว่า "ไม่อยากให้เขียนถึง อยากเก็บตัวเงียบ
ๆ มากกว่า" ซึ่งนี่ก็เป็นเอกลักษณือย่างหนึ่งของกฤษณ์ที่ไม่ค่อยยอมให้นักข่าวสัมภาษณ์หรือซักถามอะไรมากนัก
ไม่รู้ว่าเขาโดนกำลังภายในอะไรหรือเปล่าจึงถูกคำสั่งเกมขอร้องอย่างนี้ หรือว่านี่เป็นพิมพ์เขียวที่กฤษณ์พยายามสร้างลูกชายคนนี้ให้เหมือนกับเขาทุกระเบียดนิ้ว
กฤษณ์เคยพูดบ่อย ๆ ว่า "กูชุ่ยเอง" เมื่อรู้ตัวว่าทำผิดพลาดและเพราะ
"กูชุยเอง" จึงทำให้เครือไทยสมุทรฯเติบโตเล่าขานความอหังการกันมาได้จนถึงทุกวันนี้
กีรติคงไม่มีสิทธิพูดคำว่า "กูชุ่ยเอง" หรอกนะ เพราะขืน "กูชุ่ยเอง"
มากครั้งเท่าใด พิมพ์เขียวของความมั่งคั่งและมั่นคงที่กฤษณ์สร้างขึ้นมาในยุคที่สองของประวัติศาสตร์ไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย
อาจถึงกาลดับสลาย
แล้วคิดว่าคนที่มีจิตใจ่ออนโยนอย่างกีรติจะทนรับสภาพอย่างนั้นได้หรือ
เชื่อใจเถิดว่าเขาคงไม่ให้เกิดวันนั้นแน่ ๆ !!?