ในมาเลเซีย ถ้าพูดถึงกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรที่มีขนาดใหญ่ระดับ เจ้าพ่อ
ไซม ดาร์บี้ (Sime Darby) เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด The Economist (ฉบับที่
13-19 มิถนายน 1987) กล่าวถึงกลุ่มบริษัทนี้ว่า กำลังเผชิญปัยหาวิกฤติการณ์ด้านผลการประกอบการ
เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ แต่ปัญหานี้ก็ไม่หนักหนาเท่าไรนัก
เมื่อเทียบกับความยิ่งใหญ่ กล่าวในท้ายสุดแล้ว กลุ่มนี้ The Economist ยังเชื่อว่า
ฐานะทางธุรกิจของเขายังมั่นคงดีพอ "นิตยสารผู้จัดการ" เห็นว่า
เนื้อหาใจความของรายงานข่าวของกลุ่มบริษัท ไซม ดาร์บี้ น่าสนใจศึกษาไม่น้อย
อย่างน้อยที่สุดก็สามารถหยิบยกเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับกลุ่มธุรกิจรายใหญ่บ้านเราได้บ้างว่า
เขาได้คิดแก้ปัญหาความยุ่งยากทางการประกอบการของเขาอย่างไร…..
ไซม ดาร์บี้ (Sime Darby) เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่รู้จักกันดีในมาเลเซียกำลังอยู่ในภาวะที่ยุ่งยากพอสมควรในผลการประกอบการ
กล่าวคือในช่วงครึ่งหลังของปี 1986 ผลกำไรก่อนหักภาษีตกต่ำลงประมาณ 22% เหลือเพียง
77.3 ล้านเหรียญมาเลย์ (30.9 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งที่ยอดขายเพิ่มสูงถึง
1.6 พันล้านเหรียญมาเลย์หรือขึ้นเป็น 11% นักวิเคราะห์ได้กล่าวว่า การบริหารจัดการของกลุ่มบริษัทนี้ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงการคิดที่จะลงทุนในหุ้นของกลุ่มบริษัทนี้น่าจะสงวนไว้ก่อน
(hold) หรือกล่าวอีกแง่หนึ่งถ้ากำลังถือหุ้นนี้อยู่ ก็ยังไม่น่าจะรีบขายออกไป
แต่อย่างไรก็ตามก็ปรากฏมีข่าวว่า Kuwait Investment Office ได้เข้ามาซื้อหุ้นนี้ไว้แล้วประมาณ
6.9%
"ไซม ดาร์บี้ แก้ปัญหาการประกอบการตกต่ำ
โดยการตัดทิ้งบริษัทที่ขาดทุนโดยการขายทิ้งไป
และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
โดยการเสริมทักษะการบริหารจัดการให้เหนือกว่าคู่แข่ง"
ไซม ดาร์บี้ ก่อตั้งธุรกิจมานานแล้วกว่า 77 ปี โดยนักการเกษตรชาวอังกฤษ
2 คน คือ William Middleton Sime ซึ่งอาดีตเป็นนักผจญภัยชาวสก็อตและ Henry
Darby ซึ่งอดีตเป็นนายธนาคารชาวอังกฤษ เขาทั้ง 2 คนได้เริ่มต้นธุรกิจ Sime
Darby ด้วยการปลูกยางในมะละกาชายฝั่งตะวันตกของมาเลเซียเนื้อที่ 55 เอเคอร์
การผลิต เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของตลาดโลกเป็นสำคัญ
ในขณะนี้กลุ่มบริษัทของเขามีคนงาน 35,000 คน มีบริษัทในเครือข่ายมากกว่า
200 บริษัททั่วโลก และขยายธุรกิจออกไปสู่สาขาต่าง ๆ มากมาย เช่น รองเท้า
ประกันภัย และรถเช่า เป็นต้น แต่ธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัท ไซม ดาร์บี้ ยังคงเป็นกิจการที่ได้จากพืชผลเกษตรพวก
ยาง โกโก้ และน้ำมันปาล์ม ด้วยเหตุนี้เมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ราคาสินค้าเกษตรก็ตกต่ำ
อุปทานในตลาดมีล้นเกินและผู้ใช้มีการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทน ก็เยทำให้กลุ่มธุรกิจของไซม
ดาร์บี้ ที่เน้นหนักธุรกิจเกษตร ต้องพลอยได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย
เมื่อปีกลายมีข่าวไม่สู้ดีนักในธุรกิจผลิตน้ำมันปาล์มของกลุ่ม ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่า
น้ำมันปาล์มนี้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันพืชประกอบอาหาร เครื่องสำอางและสบู่
กล่วคือในช่วงปี 1984 ราคาเฉลี่ยน้ำมันปาล์มตกตันละ 1,294 เหรียญมาเลย แต่ปีกลายตกลงเหลือเพียงตันละ
779 เหรียญมาเลย์เท่านั้น และน้ำมันจากปาล์มเกรดดีได้ตกลงเหลือพียงตันละ
368 เหรียญมาเลย์และ 411 เหรียญมาเลย์ในปี 1984 และ 1983 ตามลำดับ ผลการประกอบการช่วงครึ่งปีแรกของปี
1986 ธุรกิ่จเกษตรและการค้าพืชผลผลิตเกษตรของกลุ่มมีสัดส่วนคิดเป็น 37% ของยอดขายทั้งหมดขอกงลุ่มและสามารถทำกำไร
(ก่อนหักภาษี) ได้ 41% ของทั้งหมด แต่พอมาเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี
1986 ปรากฏว่ารายได้จากธุรกิจเกษตรส่วนนี้ตกลงเหลือเพียง 20.3 ล้านเหรียญมาเลย์
จาก 46.7 ล้านเหรียญมาเลย์ของระยะเดียวกับของปีก่อน เหตุไรธุรกิจของกลุ่มซึ่งมีแนวโน้มตกลงเช่นนี้
เหตุผลหนึ่ก็คือว่าวัฏจักรสินค้าเกษตรดังกล่าวไม่มีความแน่นอนในตัวของมันเอง
และนอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก เช่น ลูทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่าง
ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีจำกัด การแสวงหาลู่ทางไปยังดินแดนนอกกลุ่มภูมิภาคนี้
ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งสูงซึ่งมีความเสี่ยงมากไม่น้อยเหมือนกัน
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า จากการเริ่มต้นธุรกิจด้วยเนื้อที่ 500 เอเคอร์เพื่อปลูกสวนยาง
ทางชายฝั่งตะวันตกของมาเลเซีย Sime และ Darby ได้ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลกที่กำลังบูมอย่างมาก
เป็นผลให้เขาสามารถทำกำไรในธุรกิจได้อย่างงดงามในระหว่างช่วงปีทศวรรษที่
20 เขาได้ขยายเนื้อที่เพาะปลูกสวนยางออกไปอีกและขณะเดียวกันก็ขยายประเภทธุรกิจออกไปเป็นผู้แทนการค้านำเข้า
ในช่วงปี 1929 Sime Darby เป็นตัวแทน แทรคเตอร์ คาร์เตอร์พิลล่า (Carterpilla)
ซึ่งเขาได้ใช้มันเป็นเครื่องมือในการบุกเบิกพัฒนาที่ดินเพาะปลูกที่ขยายตัวออกไป
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ธุรกิจของกลุ่ม Siam Darby ได้พุ่งสูงถึงขีดสุด
เขาได้ขยายธุรกิจไปเพาะปลูกพืชเช่น โกโก้ น้ำมันปาล์ม ที่ให้ผลตอบแทนกำไรต่อเอเคอร์สูงกว่าสวนยาง
ผลผลิตเหล่านี้จะช่วยปกป้องฐานะการประกอบการได้ เมื่อราคาตกต่ำลงด้วยสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเกษตรได้
ด้วยผลสำเร็จเหล่านี้ ทำให้มีความเชื่อมั่นในโครงการขยายประเภทธุรกิจออกไปสู่สาขาต่าง
ๆ มากขึ้น เช่น วิศวกรรม ประกันภัย นายหน้าค้าเงิน การขนส่ง และโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในฮ่องกง
การเติบโตของ Sime Darby อย่างขีดสุดนี้จูงใจให้รัฐบาลกลางมาเลเซียได้เข้ามาเทคโอเวอร์หุ้นส่วนบริษัทในกลุ่มด้วย
ในฐานะเป็นกลุ่มธุรกิจของชาวอังกฤษนั่นเอง
Pernas ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทในตลาดลอนดอน
จนสามารถเข้าไปมีส่วนควบคุมการบริหารการประชุมสามัญประจำปีของกลุ่มบริษัท
Sime Darby เมื่อปี 1976 ปีชาวเอเชียน 3 นายได้รับเลือกจากที่ประชุมเป็นกรรมการบริหารและตุน
ตัน ซิว ซิน (Tun Tan Siew Sin) อดีตรัฐมนตรีการคลังรัฐบาลมาเลเซียและเป็นบุตรชายกรรมการบริษัทรุ่นแรกได้รับเลือกเป็นประธานกลุ่มบริษัท
Sime Darby (เดี๋ยวนี้เขาก็ยังดำรงตำแหน่งประธานอยู่)
ธุรกิจของกลุ่ม Sime Darby ขยายไปรวดเร็วเหลือเกิน ในช่วงต้นของทศวรรษที่
1980 กลุ่มธุรกิจ Sime Darby ได้เข้าดำเนินกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ค้าอสังหาริมทรัพย์,
เช่าซื้อ และค้าคอมมอดิตี้ นอกจากนี้ยังเข้าดำเนินกิจการผลิตภัณฑ์อโลหะอีกด้วย
ในประเทศสิงคโปร์ กลุ่ม Sime Darby เข้าดำเนินกิจการรถยนต์เป็น เฟรนไชต์
BMW, Ford และ Land Rover และเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในภูมิภาคอาเชี่ยนของแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์
ในฟิลลิปปินส์เข้าซื้อกิจการธุรกิจผลิต-ค้ายางของบริษัท B.F. Gord rich และเริ่มเปิดประตูการค้ากับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ ของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่จากลอนดอนกับสิงคโปร์เริ่มซวดเซในผลการดำเนินการ
Sime Darby ก็หลีกไม่พ้นเช่นกัน ในปี 1983 คือ ผลกำไรมี 110.9 ล้านเหรียญมาเลย์จากยอดขาย
2.2 พันล้านเหรียญมาเลย์ รายได้ต่อหุ้นได้ลดลงจาก 17.3 เซ็นต์ ในปี 1981
เหลือ 7.4 เซ็นต์ แต่ก็ยังดีกว่าปีกลายที่ให้ผลตอบแทนเพียง 6.4 เซ็นต์เท่านั้น
ตัดทิ้งบริษัทเครือข่ายที่ขาดทุน
Sime Darby แก้ปัญหาผลการประกอบการตกต่ำอย่างไรเพื่อคงความแข็งแกร่งไว้อย่างเดิม
ตันกู อาหมัด (Tunku Ahmad) หัวหน้าคณะผู้บริหารตั้งแต่ปี 1983 และอดีตกัปตันทีมฟุตบอลมหาวิทยาลัยบริสตอล
อังกฤษ ได้ตอบปัญหานี้ไว้ชัดเจนว่าวิธีการหนึ่งก็คือ ตัดทิ้งบริษัทที่ขาดทุนโดยการขายทิ้งไป
อย่างเช่น เขาได้ขายบริษัทธุรกิจใบชาในอินเดีย และถอนตัวออกจากการมีหุ้นส่วนของธุรกิจประกันภัย
Fire man's Fund ในซานฟรานซิสโก เป็นต้น อีกวิธีการหนึ่งก็คือ เสริมความแข็งแร่งให้กับบริษัทธุรกิจที่ดีอยู่แล้วให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในการเสริมทักษะการบริการจัดการให้เหนือกว่าคู่แข่งขันให้ได้
กลุ่มธุรกิจ Sime Darby ยังคงยึดธุรกิจการเพาะปลูกพืชผลเกษตรขนาดใหญ่ ธุรกิจอุตสาหกรรม
การค้าแทรคเตอร์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และประกันภัย ในดินแดนภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดหลักของกลุ่มธุรกิจต่อไป
ยกเว้นเพียงธุรกิจประกันภัย แยกตัวออกไปเป็นบริษัทมหาชน แต่กลุ่ม Sime Darby
ก็ยังคงถือหุ้นและควบคุมการบริหารใหญ่อยู่
นอกจากนี้ ทางกลุ่ม Sime Darby ยังได้จัดตั้งโครงสร้างการบริหารกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า
"Mini Conglomerates หรือกึ่ง ๆ การกระจุกตัวบริหารธุรกิจ" กระจายตามดินแดนภูมิภาคประเทศต่าง
ๆ (เช่น Sime Darby ฮ่องกง รับผิดชอบธุรกิจการจำหน่ายเครื่องมือเครื่องจักรการก่อสร้าง
Sime Darby สิงคโปร์ ก็รับผิดชอบธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น)
"ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า
เหตุไรหุ้นของบริษัท ไซมดาร์บี้ ในตลาดกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์
จึงมีผู้สนใจลงทุนกันมาก เหตุผลสำคัญก็อยู่ที่ว่า
แม้ว่าบริษัทนี้จะมีผู้บริหารที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจไม่มากนักก็ตาม
แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่ามีการบริหารงานที่ดีที่สุด
เมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในประเทศเหล่านี้"
กฎเกณฑ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทสาขาต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายมหาชน
และหัวหน้าคณะบริหารประจำภูมิภาคและหัวหน้าบริษัทแต่ละสาขาจะต้องมาพบปะประชุมกันเดือนละ
1 ครั้ง แนวคิดการบริหารจัดการเช่นนี้ก็คล้าย ๆ กับการบริหารแบบกระจุกตัว
เพียงแต่กระจายความรับผิดชอบและอำนาจไปสู่หัวหน้าบริษัทประจำภูมิภาคต่า ๆ
มากขึ้น เป็น Resinal Multinational
ระบบการบริหารแบบนี้ จะทำให้กลุ่มธุรกิจ Sime Darby แต่ละสาขาสามารถคานผลการดำเนินงานกันได้
กล่าวคือ เมื่อสาขาหนึ่งตกต่ำลงก็จะถูกชดเชยโดยการเติบโตของอีกสาขาอีกแห่งหนึ่งได้
ยกตัวอย่างเช่น
บริษัทสาขาของ Sime Darby ในภูมิภาคเอเชียน ซึ่งประกอบด้วย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย บรูไน ฮ่องกง และออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตร
ยกเว้นฮ่องกงและบางส่วนของออสเตรเลีย เมื่อปีที่แล้วราคาสินค้าเกษตรตกต่ำมากตามภาวะเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตตกต่ำทั่วโลก
ผลเช่นนี้ทำให้ธุรกิจสินค้าเกษตรของ Sime Darby มีกำไรตกต่ำลง นอกจากนี้ธูรกิจเครื่องมือกลก็มียอดขายลดลง
25% ธุรกิจประกันภัยก็มีกำไรลำต่ำลง ยอดขายยางรถยนต์ก็ตกลงผลกำไรจากธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตกลงถึง
46%
อย่างไรก็ตาม สำหรับในฮ่องกง ผลกำไรก่อนที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะสูงขึ้นในกลางปี
1986 เพิ่มขึ้น 23% จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 8% แม้นว่าประเทศจีนจะมีการทบทวนนโยบายการควบคุมการนำเข้าใหม่ก็ตาม
ในฟิลิปปินส์ แม้นว่าจะมีเหตุการณ์การปฏิวัติสังคมเกิดขึ้นก็ตาม แต่บริษัทสาขาที่นี่ก็สามารถบริหารยอดขายเพิ่มขึ้น
โดยผลกำไรจะลดลงบ้างเล็กน้อยก็ตาม
กล่าวโดยสรุปแล้ว ทฤษฎีความสมดุลในความเสี่ยงระหว่างสาขา ให้ผลอย่างชัดเจนเมื่อพิจารณาจากผลการประกอบการครึ่งปีหลังของปี
1986 ยกตัวอย่าง บริษัทขายแทรคเตอร์ของบริษัทที่มาเลเซีย สามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นกว่า
10 เท่า เนื่องจากผลการขยายตัวในการเติบโตของอุตสาหกรรมป่าไม้ในซาบาห์และซาราวัค
ทำให้มีความต้องการเครื่องมือและอุปกรณ์ชักลากซุงมากขึ้น (Logging Machinery)
นักวิเคราะห์แห่งบริษัท Bar clays de Zoete Wedd ได้กล่าวว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในมาเลเซียและสิงคโปร์
ภายใต้สมมติฐานว่าจะไม่มีเหตุการณ์เลวร้ายทางการเมืองในฟิลิปปินส์ น่าจะส่งผลให้ผลการประกอบของบริษัทมีกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้น
15% เป็น 176 ล้านเหรียญมาเลย์ ในระยะครึ่งแรกของปี 1987 นี้
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าเหตุไรหุ้นของบริษัท Sime Darby ในตลาดกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์
จึงมีผู้สนใจลงทุนกันมาก เหตุผลสำคัญก็อยู่ที่ว่า แม้นว่าบริษัทนี้จะมีผู้บริหารที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจไม่มากนักก็ตาม
แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่ามีการบริหารงานที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น
ๆ ในประเทศเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม กล่าวสำหรับในมาเลเซียแล้ว อิทธิพลทางเชื้อชาติและศาสนาก็มีผลต่อการค้าขายการบริหารจัดการธุรกิจต่าง
ๆ ในมาเลเซียมากพอสมควร กล่าวคือ ประชากรกว่ารึ่งหนึ่งของชาวมาเลเซียเป็นเชื้อชาติมาเลย์หรือภูมิบุตรา
(Bumiputras) ที่มีความหมายถึงลูกชายของดิน (Sons of Soil) 1 ใน 3 เป็นชาวจีน
และที่เหลือเป็นอินเดียน ผู้มีอำนาจทางการเมืองเป็นชาวมาเลย์ แต่ผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจกลับเป็นชาวจีน
ความไม่สมดุลในปัญหาเชื้อชาติเช่นนี้ทำให้เกิดการจลาจลรุนแรงหลังการเลือกตั้งใหญ่ปี
1969
ในปีหน้า รัฐบาลผสมที่มีชาวมาเลย์หรือภูมิบุตรากุมเสียงข้างมาก จะเริ่มใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่
(NEP) เป้าหมายก็คือเพื่อให้ปี 1990 ที่จะมาถึงนี้ ชาวภูมิบุตราสามารถถือหุ้นในบริษัทธุรกิจต่าง
ๆ ได้ 30% ของเงินทุน (Equity) จากที่เคยถือหุ้นเพียง 2% ในปี 1969 และ 18%
ในปีปัจจุบัน ซึ่งก็หมายถึงชาวภูมิบุตรก็จะสามารถเข้าไปมีอำนาจในการบริหารจัดการระดับสูงในธุรกิจต่าง
ๆ ได้นั่นเอง
ดังนั้น ภายใต้เป้าหมายนโยบายเศรษฐกิจใหม่นี้ ย่อมท้าทายฐานะของธุรกิจต่าง
ๆ ในมาเลเซียตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ใช่น้อย มันไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ น้อย
ๆ ที่เกี่ยวกับการที่รัฐบาลกลางเรียกร้องให้ธุรกิจต่าง ๆ ยอมรับในนโยบายใหม่นี้
แต่ปัญหามันมีมากกว่านั้น 2 เท่า คือจะยืนยันได้ไหมว่ามีแต่ชาวมาเลย์เท่านั้นที่เข้าซื้อหุ้นในบริษัทมหาชนนั้น
ๆ จริง และมีขีดความสามารถและกำลังซื้อหุ้นสูงเพียงพอหรือไม่ ต่อความมุ่งหวังที่จะเข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในความรับผิดชอบฐานะของกิจการ
ปัจจุบันนี้กล่าวเฉพาะในบริษัท Sime Darby ก็มีชาวมาเลย์ถือหุ้นอยู่ 30%
ของเงินทุน ซึ่งการซื้อขายหุ้นในแต่ละครั้งสามารถตรวจสอบได้ตามตลาดต่าง ๆ
ตั้งแต่ ลอนดอน กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ และฮ่องกง
แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารงานบุคคลในปัญหาเชื้อชาตินี้ก็มีอยู่บ้าง กล่าวคือในประเด็นการรับชาวมาเลย์เข้าทำงานในบริษัทเพราะในธรรมเนียมปฏิบัติธุรกิจเพาะปลูกพืชผลขนาดใหญ่
ชาวอังกฤษเป็นผู้จัดการชาวอินเดียนเป็นลูกจ้างคนงาน โดยสร้างครอบครัวกันในไร่นั้นเลย
ฐานะการเป็นคนงานชาวอินเดียน 2 ใน 3 จะทำงานอยู่กับบริษัทที่กระจายอยู่ตามสาขาต่าง
ๆ ขณะที่ชาวมาเลย์มีสัดส่วนเพียง 19% เท่านั้นที่ทำงานอยู่กับบริษัท
การดำเนินงานที่มีความสมดุล
อย่างไรก็ตาม โดยเนื้อแท้ของปัญหานั้นอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรกับวัฎจักรการเคลื่อนไหวด้านราคาของสินค้าเกษตรนั้นต่างหาก
วิธีการหนึ่งก็คงจะอยู่กับมาตรการการสร้างผลกำไรต่อเนื้อที่ให้สูงกว่าคู่แข่งขันให้เป็นผลสำเร็จ
นัยนี้ก็คงต้องมีการลงทุนโครงการด้านวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้มีรสชาติสูงยิ่งขึ้นยกตัวอย่างเช่น
การผลิตเมล็ดโกโก้ก็คงต้องให้ผลรสชาติหวานกว่าหรือเทียบเท่าที่ผลิตจากอัฟริกาตะวันตก
หรืออาจจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของภาชนะรองรับน้ำยางที่ได้จากการกรีดยางบนต้นยาง
ที่สามารถสกัดเอาเฉพาะน้ำยางแท้ ๆ ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำฝนปนอยู่เลย เป็นต้น
อีกวิธีการหนึ่งก็คือ การยืดรายจ่ายกิจกรรมด้านเงินทุนออกไป และแขวนอัตราค่าจ้างเงินเดือนไว้ในระดับเดิม
เหมือนกรณีปีที่แล้วที่ราคาน้ำมันปาล์มได้ตกต่ำลงถึงจุดต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเสียอีก
และวิธีการสุดท้ายอีกประการหนึ่งก็คือ การผลิตสินค้าให้สมดุลกับความต้องการวิธีการเช่นนี้ใช้ได้กับกรณีการผลิตผลปาล์มที่อยู่ในช่วงที่ราคาเริ่มฟื้นตัวขึ้น
กล่าวคือเป้าหมายของบริษัทต้องการจัดสรรเนื้อที่เพาะปลูกผลปาล์มเพิ่มขึ้นเพื่อเร่งผลผลิตน้ำมันปาล์มจาก
65% เป็น 70% ซึ่งจะต้องแบ่งรายจ่ายจากธุรกิจสวนยางมา 24%
ปัญหาหนึ่งที่ประสบก็คือ ต้นยางใช้เวลามากกว่าจะเติบโต ฉะนั้นการคาดหมายวัฏจักรทางการค้าจะต้องมองไปในปีหน้าเนื้อที่ปลูกยางทั้งหมดจะมีประมาณ
3.5-4% ที่จะต้องมีการปลูกใหม่ ต้นยางแต่ละต้นมีวงจรชีวิตทางเศรษฐกิจประมาณ
25 ปี เมื่อผู้ผลิตปลูกต้นยางใหม่ ราคายางจะสูงขึ้นโดยไม่คาดหวังว่ามันจะมีราคาตกลงเมื่อต้นยางที่ปลูกใหม่ออกดอกออกผล
ราคายางกลับตรงข้ามกับที่คาดหวัง มันตกลงมา สภาพนี้ผู้ผลิตก็จะต้องประสบปัญหาทันที
เคนเนท เอลเลส (Mr. Kenneth Eales) ผู้จัดการชาวอังกฤษของบริษัท Sime Darby
ที่รับผิดชอบงานด้านการเพาะปลูกเกษตรขนาดใหญ่ ได้เสนอแง่คิดที่ตรงกันข้ามกับพฤติกรรมการตัดสินใจเพาะปลูกใหม่ข้างต้นว่า
การที่สินค้าเกษตร เช่น ผลปาล์มมีราคาสูงขึ้นและให้ผลตอบแทนต่อเนื้อที่ดีไม่น่าจะขยายเนื้อที่เพาะปลูกใหม่
ตรงข้ามควรจะยืดเวลาโครงการลงทุนเพาะปลูกใหม่ ่หลักการความคิดนี้ ก็เหมือนกับการผลิตยางทางบริษัท
จะยืดเวลาการขยายเนื้อที่เพาะปลูกสวนยางใหม่ออกไป เมื่อราคายางคงที่และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถึงการบริหารธุรกิจเพาะปลูกพืชผลเกษตรขนาดใหญ่จะดีอย่างไรก็ตาม
ธุรกิจส่วนนี้ของ Sime Darby ก็ยังขึ้นอยู่กับโอกาสเสมอ ผลผลิตยาง 90% โกโก้
80% และน้ำมันปาล์ม 74% ล้วนแล้วแต่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งต้องประสบกับไม่เพียงแต่เงื่อนไขภาวะเศรษฐกิจของระหว่างประเทศเท่านั้น
หากยังเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขภาวะทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย เช่น ภาษีนำเข้าน้ำมันพืชของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
หรือการที่สหรัฐอเมริกากำหนดมาตรฐานการลงโทษอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองที่ใช้น้ำมันปาล์มที่มีไขมันมากเกินไป
เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว บางทีความมีเสถียรภาพในผลการประกอบการของกลุ่มธุรกิจ Sime
Darby อาจจะต้องขึ้นอยู่กับการพึ่งพาอาศัยฐานธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ให้น้อยลง
ซึ่งหมายถึงจะต้องขยายฐานธุรกิจออกไปยังประเภทธุรกิจอื่น ๆ ให้มากขึ้น แต่การตัดสินใจทำเช่นนี้ก็ไม่ง่ายนัก
เมื่อโอกาสในภูมิภาคนี้มีข้อจำกัด อีกประการหนึ่งทางบริษัท Sime Darby ก็ไม่ปรารถนาขยายอาณาจักรธุรกิจของตนไปด้วยวิธีการใช้ความยิ่งใหญ่ของตัวไปทำลายบริษัทอื่น
ๆ ที่เล็กกว่า ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความยุ่งยากทางการเมืองตามมาภายหลังได้
ข้อสังเกตนี้ กล่าวในปัจจุบันอาจจะไม่จำเป็นต้องรีบด่วนที่ต้องการคำตอบ
เพราะฐานะการประกอบการของกลุ่มยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เงินทุนและเงินสำรองของกลุ่มบริษัทปีที่แล้วมีอยู่
2.4 พันล้านเหรียญมาเลย์ ซึ่งจากโครงสร้างของกลุ่มบริษัทเองสามารถหาเงินพิเศษเข้ามาได้โดยการขายหุ้นบางส่วนของบริษัทออกไปในตลาดเท่านั้น
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว บริษัทขายหุ้นบางส่วนของธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ (Consolidated
Plantation) เพียง 10% สามารถมีเงินพิเศษเข้ามาถึง 131 ล้านเหรียญมาเลย์
โดยบริษัทยังสามารถถือหุ้นส่วนใหญ่ไว้ได้อยู่ในสัดสวน 52.5% ของมูลค่าหุ้นทั้งหมด
ซึ่งแสดงว่าฐานะของกลุ่มบริษัท Sime Darby ยังคงอยู่ในฐานะที่มั่นคง และยังคงมุ่งฐานธุรกิจสินค้าเกษตรต่อไปเป็นจุดหนัก