ยามค่ำคืนของวันที่ 17-22 มิถุนายน 2530 ศาลากลางน้ำวัดเทพศิลินทราวาส คลาคล่ำ
ไปด้วยผู้คนในวงการสุราเมืองไทย ต่างมุ่งมาร่วมงานสวดอภิธรรม "จุล กาญจนลักษณ์"
ผู้ปรุงสุราแม่โขง กวางทอง แสงโสม และหงส์ทอง ฯลฯ ซึ่งเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในลำไส้และโรคแทรกซ้อน
จุลจากไปเมื่ออายุ 71 ปี
จุลเป็นคนจังหวัดอยุธยา เข้ามาเรียนหนังสือจบ ม. 8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ
รุ่นเดียวกับนายแพทย์ลิ้ม คุณวิศาล นายแพทย์เสนอ ตัณฑเศรษฐี จากนั้นสอบเข้าจุฬาฯ
เรียนจนจบอนุปริญญาเภสัชกรรมศาสตร์
เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม ต่อมาในปี
2487 โอนย้ายมาอยู่ที่กรมโรงงาน อุตสาหกรรม ทำหน้าที่ปรุงสุราให้กรมโรงมาตลอด
ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียนเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค โรงงานสุราบางยี่ขัน
และด้วยความดีความชอบที่ทำไว้แก่ทางราชการจึงได้รับแต่งตั้งเป็น "ผู้ชำนาญการสุรา"
ซึ่งเป็นตำแหน่งพิเศษที่ทางราชการแต่งให้
สำหรับในโลกธุรกิจก่อนหน้าที่จุลจะจากไปเขามีตำแหน่งกรรมการบริษัท สุรามหาราษฎร์
(มหาชน) กรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มบริษัทสุราทิพย์
จะว่าไปจุลไม่ได้เป็นผู้คิดสูตรแม่โขงเป็นคนแรก ผู้เป็นต้นตำหรับจริงนั้นคือ
ประเสริฐ เทพหัสดิน ณ อยุธยา แต่เมื่อประเสริฐออกจากโรงงานบางยี่ขันพร้อมกับสูตรแม่โขงในปี
2489 จุลในฐานะผู้ปฏิบัติงานด้านผลิตสุราได้ค้นหาหลักฐาน สูตรสุราที่พอเก็บรวบรวมไว้ได้
นำมาปรุงต่อให้ดีขึ้นจนแม่ดขงเป็นสุราที่เหมาะสมกับคนไทยและนิยมดื่มกันมาจนถึงทุกวันนี้
ด้วยสาเหตุเป็นนักปรุงสุรามือหนึ่ง จุลจึงมีบทบาทสำคัญในธุรกิจสุรา เพราะสุราแต่ละตัวที่จุลปรุงนั้น
ได้สร้างประวัติศาสตร์การต่อสู้กันชนิดยากที่คนในยุทธจักรสุราจะหักใจลืม
หลังจากบริษัทสุรามหาคุณสิ้นสุดสัมปทานโรงงานสุราบางยี่ขัน (แม่โขง) ที่ได้รับมาตั้งแต่
ปี 2503 ในปี 2522 จึงมีการประมูลครั้งใหญ่ชิงดำระหว่างกลุ่มเตชะไพบูลย์
บริษัทสุรามหาราษฎร์ และกลุ่มเถลิง เหล่าจินดา บริษัทสุรามหาคุณผลการประมูลครังนั้นกลุ่มเตชะไพบูลย์ได้โรงงานสุราบางยี่ขันไปทำ
เถลิง เหล่าจินดา ก็ได้ชื่อว่าเจ้ายุทธจักรสุราเหมือนกันไหนเลยยอมแพ้ง่ายๆ
เมื่อไม่ได้สัมปทานทำแม่โขง จึงชื้อกิจการบริษัทธารน้ำทิพย์ เจ้าของธาราวิสกี้
จากกลุ่มประสิทธิ์ ณรงค์เดช เพื่อผลิตสุรา แสงโสมออกมาสู้กับแม่โขง กวางทอง
ครั้งนั้นจุลก็เป็นผู้ปรุงแสงโสม ด้วยเห็นกับความสัมพันธ์ที่มีกับศุภสิทธิ์
มหาคุณ (ลูกเลี้ยงสหัท มหาคุณ ผู้นำสำคัญบริษัท สุรามหาคุณยุคแรกเริ่ม) ซึ่งเถลิงอ้างความสัมพันธ์นั้นมาให้จุลช่วยปรุงสุราให้
อย่างไรก็ตามก็ยังคงปรุงแม่โขง กวางทองซึ่งเป็นของกรมโรงงานฯ ต่อไปด้วย
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการต่อสู้ในยุทธจักรคนค้าสุรา ก็เป็นไปอย่างดุเดือด
ทั้งซึ่งหน้าและอิงเส้นสาย ด้วยว่าตัวสุรานั้นไม่แตกต่างกันนัก
ครั้นปี 2526 มีการประมูลโรงเหล้าของกรมสรรพสามิตร กระทรวงการคลังทั่วประเทศ
จำนวล 12 โรง กลุ่มสุราทิพย์ ด้วยการนของ เถลิง ทุ่มเงินประมุลดรงเหล้าทั้ง
12 โรง ด้วยเงิน
5,088 ล้านบาท ด้วยหวังว่าจะผลิตหงส์ทอง ออกจำหน่ายสู้แม่โขงกวางทอง ได้อย่างเต็มที่
(แต่การกลับไม่เป็นเช่นนั้นรายละเอียดเรื่องยุ่งๆ ของกลุ่มสุราทิพย์อ่านได้จากขบวนการปล้นชาติ
15,000 ล้าน ("ผู้จัดการรายเดือน" ปีที่ 4 ฉบับที่ 39)
เดชพงษ์ กาญจนลักษณ์ ลูกชายคนเดียว ของจุล จบปริญญาโทวิศวกรรมจาก อเมริกาเพิ่งกลับเมืองไทยได้ไม่นาน
เป็นอีกคน นอกจาก พ.ต (หญิง) ประจวบสุข กาญจนลักษณ์ ภรรยาของจุลได้รับการถ่ายถอดสูตรสุราต่างๆ
จะร่วมรับมรดกที่จุลมีอยู่ ถึงจุลจะไม่ใช่นักธุรกิจ อาชีพแต่เขาเคยติดอันดับ
ผุ้เสียภาษีสูงสุด 250 คนแรกของประเทศมาแล้ว
และสุราหงส์ทองนี้จุลก็เป็นผู้ปรุงรสอีก
ไม่ว่าจะเรียกแม่โขง กวางทองว่า สุราปรุงพิเศษแสงโสม สุราพิเศษ หรือ หงส์ทองสุราผสมพิเศษ
ก็ตามทีแต่รสชาติ ที่ออกมาก็อีรอบเดียวกัน
ไม่ว่าแสงโสม หงส์ทอง จะเข่นกับแม่โขง กวางทองอย่างไร ไม่ว่าสุราทิพย์จะชิงไหวชิงพริบด้วยค่ายกลเชิงธุรกิจกับสุรามหาราษฎร์อย่างไรก็ตามจุลก็ยังคงเป้นผุ้ปรุงสุราเหล่านี้
จุลเป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในตำนานสุราเมืองไทย ถ้าไม่มีจุลไหนเลยแสงโสม
หงส์ทอง จะมีรสชาติใกล้เคียงกับแม่โขงกวางทอง และเข่นกันจนเป็นตำนาน ศึกสุราที่ต้องจารึกไว้
จนถึงทุกวันนี้
จะว่าไปก็ไม่ใช่ความผิด ของจุลหรอกที่ปรุงสุราให้กับทุกค่าย เขาก็เหมือนลูกผู้ชายทั่วไปมีบุญคุณต้องทดแทน
ความแค้นต้องชำระ เขาปรุงสุราให้ทุกค่ายเพราะรู้คุณคน
วันนี้จุลจากไปแล้ว ไม่มีบุญคุณติดค้าง
แต่ผลประโยชน์และเรื่องยุ่ง ๆ อันเกิดจากสุราที่จุลปรุงขึ้นยังคงดำเนินต่อไป