สตีเฟน คิง (Stephen King) นักเขียนนวนิยายเขย่าขวัญ ประกาศหยุดเขียนนวนิยายเรื่อง
The Plant ซึ่งพิมพ์ขายเป็นตอนๆ ทาง Internet หลังจากเขียนไปแล้ว 6 ตอน นวนิยาย
เรื่องนี้เข้าสู่ cyberspace ในเดือนกรกฎาคม 2543 และสิ้นชีพในเดือนธันวาคม
ศกเดียวกัน สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้อ่านเมื่อ down- load ต้นฉบับแล้ว
เบี้ยวไม่จ่ายค่าหนังสือ โดยที่อัตราการเบี้ยวหนี้เพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่สาเหตุ
สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ ยอดการจำหน่ายทาง Inter-net น่าผิดหวัง
สตีเฟน คิง เป็นนักเขียนนวนิยายยอดนิยมคนแรก ที่บุกเบิกการจำหน่ายนวนิยายทาง
Internet โดยมิได้พิมพ์เป็นหนังสือเล่ม เมื่อ Riding the Bullet ปรากฏสู่
cyberspace ใน เดือนมีนาคม 2543 เพียงชั่วเวลา 48 ชั่วโมงแรก มีผู้ download
นวนิยายเรื่องนี้ถึง 500,000 คน นับเป็นปรากฏการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในสายตา
มิจำเพาะแต่ของสำนักพิมพ์ และร้านหนังสือเท่านั้น หากยังรวมนักเขียนด้วย
ทำให้นักเขียนนวนิยายคนอื่นๆ เอาอย่าง ในจำนวนนี้รวมไมเคิล คริชตัน (Michael
Crichton) และแมรี่ ฮิกกินส์ คลาร์ก (Mary Higgins Clark) ด้วย
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มนุษยพิภพมีประดิษฐกรรมใหม่ ชื่อ
Elec-tronic Book หรือเรียกย่อๆ ว่า E-Book หนังสืออิเล็กทรอนิกมิต้องพิมพ์เป็นเล่ม
หากแต่อยู่ในรูป Formatted Digital Files โดยปรากฏอยู่ใน web sites ต่างๆ
บางเล่มสามารถ download โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่บางเล่มต้องชำระค่าหนังสือ
การปรากฏตัวของ E-Book ก่อให้เกิดการตื่นตัว และการเปลี่ยนแปลงในบรรณพิภพอย่างสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อเกิดทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมหนังสือ นับตั้งแต่ผู้เขียน
สำนักพิมพ์ ไปจนถึงร้านจำหน่ายหนังสือ
ในระบบหนังสือกระดาษ อันเป็นผลผลิต ของเทคโนโลยีแท่นพิมพ์ ที่คิดค้น
โดย โยฮานส์ กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ในปี ค.ศ. 1455 สำนักพิมพ์นับเป็นจักรกลสำคัญในอุตสาห-กรรมหนังสือ
ก่อน ที่มนุษยพิภพจะเคลื่อนเข้าสู่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ยังมิได้แปรสภาพเป็นบรรษัทระหว่างประเทศ
นายทุนสำนักพิมพ์มีความใกล้ชิด และสนิทชิดเชื้อกับนักเขียน และมีส่วนเกื้อกูลนักเขียน
ดังเช่น Horace Liveright, Alfred Knopf และ Bennett Cerf แห่งสหรัฐอเมริกา
Victor Gollancz และ Allen Lane แห่ง สหราชอาณาจักร ในเวลาต่อมา เมื่อมีการครอบ
กิจการ (Acquisition) หรือควบกิจการ (Mer-ger) จนสำนักพิมพ์กลายเป็นบรรษัทระหว่างประเทศจำนวนมาก
ความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียนกับนายทุนสำนักพิมพ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยที่ลักษณะการเกื้อกูล
และเอื้ออาทรต่อกันลดน้อยถอยลง
สำนักพิมพ์ทำหน้าที่คัดเลือกต้นฉบับ และ ซื้อลิขสิทธิ์ต้นฉบับ อัตราค่าลิขสิทธิ์ในลุ่มสมุทรแอตแลนติกอยู่ในช่วง
7.5-10.0% ของมูลค่าหนังสือ ที่จำหน่าย (ราคาปกคูณด้วยจำนวนพิมพ์) สำหรับหนังสือปกอ่อน
และ 10-15% สำหรับหนังสือปกแข็ง สำหรับนักเขียน ที่มีชื่อเสียง หรือต้นฉบับ ที่สำนักพิมพ์คาดว่าจะขายดี
สำนักพิมพ์อาจชำระค่าลิขสิทธิ์ล่วงหน้าจำนวนหนึ่ง โดยที่ยัง มิทันได้เห็นต้นฉบับ
นอกจากนี้ สำนักพิมพ์ยัง มีหน้าที่สำคัญในด้านการบรรณาธิกรณ์ (Edit-ing)
และการออกแบบหนังสือ ซึ่งครอบคลุมเรื่องรูปเล่ม ภาพประกอบ และขนาดตัวอักษร
เมื่อสำนักพิมพ์ทำงานด้านการบรรณา ธิกรณ์ และการออกแบบหนังสือเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขั้นต่อไปเป็นหน้าที่ของโรงพิมพ์ (Prin-ters) เมื่อผลผลิตออกจากโรงพิมพ์แล้ว
ก็เข้าสู่กระบวนการตลาด ทั้งระดับการขายส่ง (Whole-saling) และระดับการขายปลีก
(Retail-ing) อัตราส่วนลด ที่สำนักพิมพ์ให้แก่กิจการจำหน่ายหนังสือในลุ่มสมุทรแอตแลนติก
สูงถึง 50% ของราคาปก นอกจากนี้ สำนักพิมพ์ยังต้องมีภาระในการโฆษณา และการส่งเสริมการขายอีกด้วย
การปรากฏตัวของ E-Book มีผลกระทบ ต่อกระบวนการผลิตหนังสือภายใต้ระบบกูเตน
เบิร์ก ดัง ที่พรรณนาข้างต้นนี้ การเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญมีอย่างน้อย 3 ประการ
อันได้แก่ จุดจบของหนังสือกระดาษ การประกาศอิสรภาพของนักเขียน และจุดจบของร้านจำหน่ายหนังสือ
การปรากฏตัวของ E-Book ทำให้นักสังคมศาสตร์จำนวนมากเริ่มทำนายถึงจุด
จบของระบบกูเตน เบิร์ก อันหมายถึง จุดจบของหนังสือกระดาษ โดยที่ E-Book จะเข้ามาแทน ที่หนังสือกระดาษ
นักเขียนบางคนดังเช่น John Updike เชื่อว่า จุดจบของหนังสือกระดาษ ยังอยู่ห่างไกลเพราะ
E-Book มิได้มีสุนทรีย-ลักษณ์ดุจเดียวกับ ที่หนังสือกระดาษมี หนอนหนังสือจำนวนมากยังคงต้องการหนังสือปกแข็งเดินทอง
ที่มีรูปเล่ม และการจัดพิมพ์อย่างประณีตงดงาม ในประการสำคัญ E-Book ยังมีอุปสรรคในด้านเทคโนโลยี
การ download ต้น ฉบับหนังสือจาก cyberspace มิได้สะดวกรวดเร็วเหมือนการซื้อหนังสือจากร้านจำหน่ายหนังสือ
และหนอนหนังสือยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือกระดาษ ซึ่งสามารถอ่านในอิริยาบถต่างๆ
กันได้ ในขณะที่การอ่าน E-Book จะต้องอ่านจาก จอคอมพิวเตอร์เท่านั้น หากยังไม่สามารถเปลี่ยน
แปลงวัฒนธรรมการอ่านหนังสือ ย่อมเป็นเรื่องยาก ที่ E-Book จะครอบงำบรรณพิภพได้
การปรากฏตัวของ E-Book เอื้ออำนวยให้ นักเขียน ที่มีชื่อเสียง และ ที่มีตลาดเฉพาะของตน
ประกาศอิสรภาพจากสำนักพิมพ์ จนถึงขั้นไม่ต้อง ง้อสำนักพิมพ์ เพราะนักเขียนกลุ่มนี้สามารถเสนอขาย
E-Book ของตนใน cybermarket เองได้ ดัง ที่สตีเฟน คิง (Riding the Bullet
และ The Plant) และไมเคิล คริชตัน (Timeline) บุกเบิกเป็นตัวอย่าง แต่การล่าถอยของสตีเฟน
คิง เนื่องจากยอดการจำหน่ายน่าผิดหวัง สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงว่า การที่นักเขียนจะประกาศอิสรภาพจากสำนักพิมพ์มิใช่เรื่องง่าย
แม้นักเขียนจะเสนอขาย E-Book ใน cybermarket เองได้ โดยไม่ต้องลงทุนพิมพ์หนังสือเล่ม
แต่นักเขียนก็ต้องว่าจ้างบรรณาธิการ และนักออกแบบหนังสือ รวมทั้งยังต้องทำงานด้านการโฆษณา
และการส่งเสริม การขายเองอีกด้วย ในโลกมายา ดาราภาพยนตร์ ที่มีชื่อเสียง และมีตลาดเฉพาะของตนหลายต่อหลายคนกระโดดไปเป็นผู้อำนวย
การสร้างหรือผู้กำกับ โดยไม่ง้อบริษัทภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่แห่งฮอลลีวูด ดังเช่น
Robert Red-ford, Clint East-wood, Kevin Costner, Robin Williams และ Leonardo
Dicaprio แต่นักเขียนยังไม่สามารถปลดแอกได้ นักเขียนส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งตัวแทน
(Agent) ในการขายลิขสิทธิ์ต้นฉบับ
E-Book จะช่วยให้ราคาหนังสือถูกลงอย่างน้อย 50% เนื่องเพราะผู้ผลิตไม่ต้องจ่ายส่วนลดให้แก่ร้านหนังสือ
อีกทั้งไม่ต้องพิมพ์หนังสือจำนวนมาก และเก็บสต็อกหนังสือจำนวนมาก เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ซื้อ
E-Book มีลักษณะ Print-on-Demand เพราะผู้ที่ต้อง การซื้อเป็นฝ่าย download
จาก cyberspace และชำระค่าหนังสือ หาก E-Book ครอบงำบรรณพิภพความจำเป็นที่จะต้องมีร้านหนังสือย่อมลดน้อยถอยลง
อันเป็นเหตุให้มีการคาดการณ์กันว่า วันหนึ่งในอนาคต ธุรกิจการจำหน่าย หนังสือจะพบจุดจบ
การปรากฏตัวของ E-Book ทำให้ทุกภาค ส่วนในบรรณพิภพต้องปรับตัว สำนักพิมพ์ต้องปรับตัว เพื่อผลิต
E-Book นับตั้งแต่ปี 2537 เป็น ต้นมา เมื่อสำนักพิมพ์ทำข้อตกลงซื้อลิขสิทธิ์หนังสือเล่มใด
มักมีเงื่อนไขเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ดิจิตอล (Digital Rights) ด้วย โดยที่หนังสือ ที่พิมพ์ก่อนปี
2537 หากจะนำไปผลิต E-Book ต้องมีสัญญาลิขสิทธิ์กับผู้เขียนต่างหาก ในสหรัฐอเมริกา
Simon and Schuster จัดตั้ง Simon and Schuster Online Time/Warner Books
จัดตั้ง iPublish.com ตามมาด้วย Ran-dom House ซึ่งบัดนี้กลายเป็นบริษัทลูกของ
Bartelsmann แห่งเยอรมนีในอังกฤษ Penguin Books กำลังเตรียมการนำนวนิยายคลาสสิกออก
ขายใน cybermarket
Cybermarket มิได้มีแต่ E-Book เท่านั้น หากยังมี e-zine หรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกอีก
ด้วย e-zine ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Slate ของ Microsoft ซึ่งพอล ครุกแมน
(Paul krugman) เป็นคอลัมนิสต์คนหนึ่ง สินค้าตัวใหม่ ที่มีอนาคตสดใสใน cybermarket
ก็คือ E-Textbooks บัดนี้สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพากันขายตำราเรียน ใน cyberspace
ผู้จัดจำหน่ายรายสำคัญ ก็คือ WizeUp Digital Textbook(www.wizeup. com) ซึ่งทำสัญญาจัดจำหน่าย
e-Textbook ให้ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยยอร์จทาวน์ และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ
E-Textbook มีราคาถูกเท่ากับหนังสือมือสอง ผู้เขียนสามารถแก้ไขเพิ่มเติมต้นฉบับได้ง่าย
และผู้ซื้อได้ประโยชน์จากฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในเวลาอันรวด เร็ว การรุกคืบของ
E-Book และ E-Textbook ทำให้ห้องสมุดจำนวนมาก กำลังเปลี่ยนโฉมเป็น E-Library
โดยที่ Net Library เป็น E-Library ที่ใหญ่ที่สุด หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส
(BNF) กำลังแปรโฉมเป็น E-Library ด้วย (www. gallica.bnf.fr)
ร้านหนังสือจำต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอดในระยะยาว ร้านหนังสือยักษ์ใหญ่หลายต่อหลายร้านกำลังตระเตรียมแปรโฉมเป็น
E-Bookstore ไม่ว่าจะเป็น amazon.com หรือ Barnes and Noble
บริษัทผู้ผลิต software สำหรับอ่าน E-Book อยู่ในช่วงแห่งการแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยี
ในขณะเดียวกัน ก็พากันทำสัญญาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์กับสำนักพิมพ์ และร้านหนังสือ
โดยหวังขาย software ที่ตนพัฒนา ตัว อย่างของ software สำหรับอ่าน E-Book
ได้แก่ GlassBook, Softbook Reader (ของ Soft Book Press) Rocket eBook (ของ
Nuvo-Media) และ Microsoft Reader (ของ Microsoft)
ตราบเท่า ที่คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ในการ download หนังสือจาก
cyber-space ยังมีราคาแพง และการอ่านหนังสือจากจอ มิใช่วัฒนธรรม ที่เข้าไปแทน ที่การอ่านหนังสือกระ-ดาษ
ระบบกูเตนเบิร์ก จะยังคงดำรงชีพสืบต่อไป กระนั้น ก็ตาม ในอีก 20 ปีข้างหน้า
โฉมหน้าของ บรรณพิภพอาจแปรเปลี่ยนไปเป็นอันมาก