กระแสบริโภคอาหารชีวภาพกำลังมาแรงในโลกตะวันตก ทั้งยุโรป และอเมริกา ราคาสินค้ากลุ่มนี้สูงกว่าพืชผักทั่วไป
20-50% แต่กลไกการค้าของโลกยุคใหม่ เป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิตรายเล็กๆ ไม่สามารถทำตลาดสินค้ากลุ่มนี้ได้โดยตรง
อย่างน้อยต้องมี หน่วยงานรับรองจากประเทศผู้นำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
บริษัท เชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ อุตสาหกรรมเกษตร จำกัด ได้เริ่มผลิตข้าวออร์แกนิกส์
หรือ ข้าวอินทรีย์ ปลอดสารพิษทุกขั้นตอน ตั้งแต่การ เตรียมดินมาตั้งแต่ปี
2534 ส่งออกผ่านเครือข่ายค้าข้าวของกลุ่มนครหลวงค้า ข้าว ในปี 2537 โดยโครงการดังกล่าว
เริ่มต้นมาจากเลขศูนย์ แม้กระทั่งหน่วยงานรัฐเองก็ยังเริ่มต้นวิจัยพร้อมกันไป
ถึงวันนี้ กระแสสีเขียวกำลังแผ่สะพัดไปทั่วโลก พื้นที่กว่า 3,000 ไร่ในจังหวัดพะเยา
และเชียงราย ซึ่งเป็นเขตผลิต ที่กล่าวได้เต็มปากว่า เป็นผืนดิน ที่ปลอดสารเคมีอย่างต่อเนื่องของเชียงใหม่
ไชยวิวัฒน์ กำลังต้อนรับพันธมิตรผู้ผลิต พืชผักออร์แกนิกส์ อีกสองรายเพิ่งลงทุน
ผลิตส่งออก
โครงการนำร่องเล็กๆ ที่แทบไม่ได้กำไรอะไรนัก กำลังจะเป็นอนาคตของ กิจการแห่งนี้
กลุ่มเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ ประกอบด้วย บริษัทไชยวิวัฒน์อุตสาหกรรมอาหาร
จำกัด และบริษัทโรงสีข้าวเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์จำกัด เริ่มต้นกิจการ จากโรงสีข้าว และกิจการค้าพืชผัก
ประเภทคอมมอดิตี้ มีฐานอยู่ ที่เชียงใหม่ มานานกว่า 30 ปี โดยวิบูลย์ โตวิวัฒน์
อดีตประธานหอการค้าเชียงใหม่ผู้บุกเบิกกิจการ ได้วางมือมอบให้ ไพรัช โตวิวัฒน์
บุตรชายรับผิดชอบงานของครอบ ครัวเมื่อประมาณ พ.ศ.2537 ที่ผ่านมา
เมื่อ 10-15 ปีก่อน เชียงใหม่ไชย วิวัฒน์ เคยผงาดขึ้นเป็นผู้ส่งออกท้องถิ่น
อันดับหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และส่งออกข้าวไปต่างประเทศเอง แต่ยักษ์ท้องถิ่นก็ยังคงถูกจัดให้เป็น
"ยักษ์เล็ก" เมื่อเทียบกับผู้ส่งออกรายใหญ่อื่น ๆ
ไพรัช ปัจจุบันอายุ 41 ปี ผู้สืบ ทอดกิจการเล่าว่า ในรุ่นที่สอง ลูกๆ ต่าง
ก็มีกิจการที่เป็นส่วนของตัวเอง เช่น ตนทำดอกไม้ประดิษฐ์ส่งออก และเป็นเครือข่ายกระจายสินค้าให้กับกลุ่มลีเวอร์
งานอีกส่วนหนึ่งคือ รับผิดชอบกิจการดั้งเดิมของครอบครัวคือ โรงสี และการค้าพืชผัก ที่ลดเพดานการค้าลงมาจากเดิม
ระดับหนึ่ง
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว กลุ่มไชยวิวัฒน์ ได้มีโครงการผลิตข้าวบาสมาติ (ข้าวหอม
อินเดีย) โดยระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง มีฐานการผลิตในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และพะเยา
ซึ่งจากการเดินทางไปทำตลาดนี้เองทำให้ได้รับข้อมูลจากบริษัทผู้นำเข้าจากประเทศอิตาลี
คือ บริษัท Biseria monferrato ว่าทางยุโรปกำลัง จะเริ่มออกระเบียบควบคุมการนำเข้าพืชผัก และอาหารจากการเกษตรโดยมีระดับมาตรฐานการปนเปื้อนของสารพิษ
ที่กำหนดภายในปี 2539
โครงการผลิตข้าวออร์แกนนิกส์ เพื่อเตรียมรองรับกระแสอาหารชีวภาพจึงเริ่มขึ้น
โดยความร่วมมือกับกลุ่มนคร หลวงค้าข้าว พันธมิตรธุรกิจผู้ส่งออกข้าว รายใหญ่หนึ่งในห้ายักษ์ใหญ่ของไทย
พื้นที่โครงการเลือกจากพื้นที่คอนแทรคฟาร์ม เดิม ที่เคยผลิตข้าว บาสมาติ
โดยดูจากพื้นที่น้ำไหลทราย มูลริมในลุ่มน้ำอิง เป็นพื้นที่นาน้ำฝนทำนาปีละครั้งเดียว
แรกเริ่มมีประมาณ 6,000 ไร่ อยู่ใน 3 อำเภอ คือ อ.จุน และ อ.เชียงคำ จ.พะเยา
กับ อ.เทิง จ.เชียงราย ปัจจัยเรื่องพื้นที่เหมาะสม เชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ ได้เปรียบ ที่มีทำเลที่ดีพร้อมอยู่ก่อนแล้ว
พันธุ์ข้าว ที่นำมาปลูก เลือกพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งเป็นพันธุ์ ที่เหมาะต่อการทำตลาดต่างประเทศ
"เราไม่ได้ทำเป็นกิจการร่วมทุน ใดๆ โครงสร้างความผูกพันอยู่ ที่ความเชื่อถือกันมายาวนานตั้งแต่รุ่นพ่อ
โดยเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ รับผิดชอบด้านการ ผลิตไปจนถึงขั้นโรงสี ต่อจากนั้น
กลุ่มนครหลวงค้าข้าวก็รับต่อ เพื่อไปทำตลาด ต่างประเทศ ซึ่งเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์จะได้กำไรจากการส่งให้นครหลวงเป็นส่วนต่าง ที่ไม่มากนักเพราะถือว่าเป็นโครงการ
ทดลองขนาดเล็กๆ เท่านั้น " ไพรัชอธิบาย
โครงการที่เริ่มจากศูนย์โครงการ นี้ เริ่มจากโจทย์ ที่ว่า การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปตามเป้าได้
จะต้องมีการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงาน ที่ IFOAM- International Federation
of Organic Agriculture Movement รับรอง โดยได้ติดต่อบริษัท Bioagricoop
สัญชาติอิตาเลียน ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองมาตรฐานสินค้าของหน่วยงานดังกล่าวเข้ามา
เงื่อนไข ที่ผู้ตรวจสอบร้องขอมาคือ การได้รับการยืนยันการปฏิบัติในพื้นที่จากหน่วยงานรัฐด้วย
ทำให้เชียงใหม่ไชย วิวัฒน์ และนครหลวงค้าข้าว จึงต้องยื่น โครงการขอรับการสนับสนุนไปยังกรมวิชาการเกษตร
"การติดต่อใช้เวลานานกว่า 3 ปี นับจากปี 2534
เป็นต้นมา เพราะขณะนั้น ประเทศไทยเองก็ไม่มีฐานความรู้ในเรื่องการผลิตข้าวออร์แกนิกส์
จนเมื่อทางกรมฯ ได้รับเข้ามาร่วมโครงการ ในฐานะผู้ร่วมวิจัย และเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการในการผลิตต้องใช้เวลาในการผลักดันนานพอสมควร
แม้กระทั่งตอน ที่กรมฯ เข้ามาแล้วการทำงานกับหน่วยงานรัฐเองก็ค่อนข้างจะยาก
เช่น ทางผู้ตรวจสอบขอให้มีคำยืนยันว่า พื้นที่โครงการมีการใช้สารเคมี หรือปุ๋ยก่อนหน้าหรือไม่
เราขอให้เจ้าหน้าที่ของกรมฯ เซ็นเอกสาร แต่ด้วยความเป็นข้าราชการ ก็ไม่ลงนามง่ายๆ
ทั้งๆ ที่ผู้ตรวจสอบ ขอความมั่นใจแค่ว่า ก่อนนี้มีการฉีดพ่นยาจริงหรือไม่
แค่นั้น เอง หรือแม้แต่ช่วงแรกคนเซ็นอนุมัติโครงการระดับอธิบดีเอง ก็ยังไม่รู้เลยว่ามีอำนาจ
หรือไม่ผลักดันจนเปลี่ยนอธิบดีมา 2 รอบจึงเดินหน้าได้"
นอกจากปัญหาในช่วงเริ่มต้นแล้ว การควบคุมพื้นที่ผลิตให้ปลอดจากสารหรือกิจกรรม ที่ขัดแย้งยังเป็นปัญหาของผู้ผลิตมาโดยตลอด
เช่น มีปีหนึ่ง ที่เกิดน้ำท่วม และทางราชการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวราคาถูกมาจำหน่าย
ถูกกว่าเมล็ดพันธุ์ปลอดสาร ที่ทางบริษัทขายให้ แต่ผลจากการนำข้าวนอกโครงการมาปลูกผสมทำเกิดปัญหาต่อผลผลิตรวมทันที
หรือเกิดกรณีกรมส่งเสริมการเกษตรได้ปุ๋ยเคมีมาต้องการแจกให้เกษตรกร แต่นั่นกลับทำให้พื้นที่ปลอดสารเสียไปทันทีในภาพรวม
"การควบคุมพื้นที่เป็นหัวใจ ที่สำคัญมากในการผลิตสินค้าออร์แกนิกส์
ภาครัฐต้องมีความเข้าใจร่วมด้วย นี่เป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ที่ทางบริษัทต้องติดตามอย่างเข้มข้นมากกว่าแปลงพืชปกติ
เราจึงต้องเน้นกับเกษตรกรทุกคนว่า หากมีการนำอะไรเข้ามาต้องแจ้งเราก่อน"
ปี 2538 สถาบันวิจัยข้าว ได้เริ่มงานวิจัย และพัฒนาข้าวอินทรีย์ ในลักษณะแปลงทดสอบเบื้องต้น
ปี 2540 เป็นต้นมา ได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการวิจัยผลิตข้าวอินทรีย์ครบทุกสาขาวิชาในลักษณะของโครงการพิเศษ
กำหนดสิ้นสุดโครงการ ปี 2544
เมื่อปลายปี 2542 ที่ผ่านมา ทางสถานีวิจัย ได้ของบสนับสนุนจากเชียง ใหม่ไชยวิวัฒน์
และนครหลวงค้าข้าว เพื่อเริ่มเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการดำเนินการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก
โดยมีเป้าหมายจะให้กลุ่มผู้สนใจใช้ประโยชน์ในการร่วมดำเนินการผลิต การแปรรูป
หรือทำตลาดได้ในอนาคต
กล่าวได้ว่า การดำเนินการอย่างจริงจังจากภาครัฐ ได้เริ่มทำเมื่อปี 2538
เป็นต้นมา และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างโครงการวิจัย และพัฒนาในขั้นสุดท้ายตามโครงการพิเศษอยู่
ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชน นับจากการเริ่มโครงการในปี 2534 ต้องใช้เวลาถึง
2 ปีจึงได้เอกสารรับรองมาตร ฐานการผลิตข้าวออร์แกนิกส์จาก Bioagricoop และถือเป็นเอกชนนอกสหภาพยุโรปเป็นรายแรก
ที่ได้รับรองมาตรฐาน ซึ่งเงื่อนไขการรับรองก็คือ ข้าวดังกล่าวได้รับการผลิตจากพื้นที่รับรอง ที่ผ่านการตรวจสอบ
มีการขึ้นทะเบียนแปลงผลิตทั้งหมดเอาไว้ด้วยระบบ GIS และผลผลิตจะต้องนำส่งตรวจสอบคุณภาพ และสารพิษตกค้างในเมล็ดข้าวก่อนการแปรรูป เพื่อจำหน่าย
ต่อไป
"กระบวนการผลิตก่อนจะมีการรับรอง เราต้องเข้าสู่ขั้น
Pre-Organic 2 ปี เพื่อควบคุมให้มั่นใจว่าพื้นที่นั้น ปลอดสารเคมีตกค้าง และไม่นำไปใส่เพิ่ม
จริง ซึ่งเท่ากับว่าถ้าใครจะเริ่มต้นผลิตตอนนี้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีจึงจะผลิตออกมาได้โดยผ่านการยอมรับมาตรฐาน"
การทำตลาดทั้งหมด กลุ่มนคร หลวงค้าข้าวรับผิดชอบ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าจากแปลงโครงการขายในยี่ห้อ
Great Harvest ขายในต่างประเทศ คือ สหภาพยุโรปขายผ่านผู้นำเข้าในอิตาลี ส่วนพื้นที่อื่นๆ
กลุ่มนครหลวงฯ ทำตลาดเอง เช่น ในตลาดสิงคโปร์ เป็น ต้น และยังมีผลผลิตบรรจุถุงข้าวหอมมะลิอินทรีย์ตราไทไท
วางขายในประเทศ
น่าสังเกตว่า พื้นที่การผลิตสูงสุด เมื่อปี 2537 และ 2538 การผลิตข้าวของ
กลุ่มสูงถึง 5,289 ไร่ และ 6,019 ไร่ตามลำดับ แต่ฤดูการผลิต พ.ศ.2539 เป็น
ต้นมาถึงปัจจุบันควบคุมให้เหลือเพียงประมาณ 3,000 ไร่เท่านั้น ซึ่งเรื่องดังกล่าว
ไพรัชอธิบายว่าเป็นเพราะการคาด การณ์ตลาดไม่ชัดเจน ในฤดูต่อมาจึงลด ระดับเหลือ
3,000 ไร่ มีปริมาณผลผลิต เฉลี่ยปีละ 1,500 ไร่ตลอดมา
ซึ่งปริมาณการผลิต และพื้นที่ ซึ่งลดลงมาตั้งแต่ปี 2539 ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากในช่วงแรกของโครงการ
ตั้งใจผลิตข้าว เพื่อรองรับระเบียบใหม่ ของ EUในด้านมาตรฐานการผลิต แต่เมื่อถึงเวลา
จริงผลผลิตข้าวของไทยส่วนใหญ่ มีค่าการปนเปื้อนของสารพิษได้มาตรฐาน ส่วนผลผลิตข้าวอินทรีย์นั้น
ถือเป็นมาตรฐานขั้นสูง เป็นสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งแยกออกไป
"ในยุโรป เราไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้เพราะเป็นอำนาจของผู้นำเข้าพันธมิตรของเราในอิตาลี
ขณะที่นครหลวงจะทำตลาดในส่วนอื่นๆ ของโลก ซึ่ง ที่ผ่านมาแนวโน้มก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
แต่เรายังจำกัดการผลิตเพียง 3,000 ไร่ ตอนนี้ เพื่อรอดูสถานการณ์ และแนวโน้มอีกระยะ"
ไพรัชอธิบาย
เขาบอกว่า โครงการนี้เป็นติ่ง เล็กๆ ของกิจการในเครือไชยวิวัฒน์ ที่ยังเป็นกิจการค้าพืชผักผลไม้ และโรงสีข้าว
โดยมองว่ามันเป็นโครงการรองรับอนาคต
"ลองคิดดู ปัจจุบันประเทศไทยผลิตข้าวเปลือก
21 ล้านตัน เป็นข้าวสาร 12.6 ล้านตัน มูลค่า 120,000 ล้านบาท เรามาเพิ่มมูลค่าข้าวสารกลุ่มนี้ได้ไม่มาก
แค่ 20% เพื่อทำราคาสูงขึ้นอีกสัก 20% ขายในตลาดสุขภาพ ซึ่งเป็นตลาดระดับบน
เราจะมีเงินเข้าประเทศอีกร่วมหมื่นล้านบาท และก็ไม่มีคู่แข่ง ขณะที่ทางกลุ่ม
ก็มีโนว์ฮาว ในการผลิตรองรับจากการวิจัยนี้อยู่แล้วเป็นแต้มต่อเช่นเดียวกับ
มีผืนดินอุดมสมบูรณ์ปลอดจากสารเคมีในดินรองรับอยู่เช่นเดียวกัน"
การเตรียมการรองรับกระแสพืช เพื่อสุขภาพของเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ในวันนี้
ไพรัชกำลังผลักดันให้ทางราชการประกาศเขตปลอดสารเคมีขึ้นในพื้นที่โครงการ
เพื่อเป็นหลักประกันระยะยาว ที่อาจจะมีการนำสารเคมีเข้าในการผลิตโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
อาทิ การส่งเสริมของหน่วยงานอื่นๆ แต่การผลักดันนี้ ก็ยังอยู่แค่ข้อเสนอไปยังภาครัฐเท่านั้น
ล่าสุด พื้นที่ปลอดสารเคมีในโครงการ 3 อำเภอของเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ กำลังจะต้อนรับนักลงทุนราย
ใหม่อีก 2 บริษัท ที่ขอเข้ามาร่วมปลูกผักออร์แกนิกส์ มุ่งเน้นการส่งออกโดยกลุ่ม
ที่เสนอตัวขอเข้าร่วมโครงการคือ บริษัทลานนาเกษตรอุตสาหกรรมของตระกูลวงศ์วรรณ
และบริษัทริเวอร์แคว อิน เตอร์เนชั่นแนล ฟู้ด อินดัสเตรียล ซึ่งมีฐานเดิมอยู่ ที่จังหวัดราชบุรี
ก็กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ
แน่นอน ย่อมต้องมีเงื่อนไขตอบ แทนให้กับผู้ผลักดัน และควบคุมพื้นที่ปลอดสาร ที่ทำมาเดิมด้วย
แต่ไพรัช เลี่ยง ขอไม่ให้รายละเอียดเชิงธุรกิจส่วนนี้
ไพรัชกล่าวว่า จากการที่ผูกพันกับพื้นที่นี้มานาน มีการตั้งคณะทำงานร่วมกับชาวบ้านจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ
ดังนั้น ผู้จะเข้ามาใหม่จึงต้อง ผ่านการประสานงานกับบริษัท ทั้งนี้การเข้ามาในพื้นที่ก็เท่ากับไม่ต้องเลือกหาพื้นที่ปลอดสารแห่งใหม่
มีการรับรองจากสถาบันรับรองคุณภาพ เพื่อส่งออกอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายต่อการทำตลาดส่งออกได้ในทันที
โดยพืช ที่จะเลือกปลูก ต้องเข้ากันได้ และส่งเสริมกับผลผลิตหลักคือ ข้าว เช่น
เป็นปุ๋ย หรือเป็นธาตุอาหาร ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น พื้นที่ดังกล่าวจะมีการผลิตครบวงจรตลอดทั้งปี
ทั้งนี้ราคาประกันรับซื้อข้าวในโครงการอยู่ ที่ สูงกว่าท้องตลาดตันละ 200
บาท
ไพรัชยังยืนยันว่า โครงการพื้นที่ผลิตปลอดสารควรจะมีการขยายออกไปแทนพื้นที่เพาะปลูกปัจจุบัน ที่
ปนเปื้อนสารเคมีตกค้างแต่ยังไม่มากนักสำหรับประเทศไทยเวลานี้ การปรับตัว เพื่อรองรับการผลิตแบบใหม่จะต้องเริ่มต้นในเวลานี้
ในส่วนของไชยวิวัฒน์ ที่สถานะตอนนี้เป็นเพียงผู้ผลิตรายเล็กๆ รายหนึ่ง
ที่แม้จะได้สั่งสมความรู้ และเตรียมการจัดการพื้นที่ชีวภาพรองรับการเปลี่ยน
แปลงใหญ่ ที่อาจจะมาถึงในเวลาอันใกล้ แต่เงื่อนไขเชิงนโยบายของภาครัฐเองก็ยังเป็นอุปสรรค ที่สำคัญอยู่
ไพรัชยกตัวอย่างอุปสรรคจากภาครัฐ เช่น เงื่อนไขกำหนดว่า ผู้ส่งออก ขึ้นทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์จะต้องมีโกดังอยู่ในกรุงเทพฯ
ทำให้เป็น การปิดโอกาสของผู้ผลิตรายย่อยในต่างจังหวัดแทบจะสิ้นเชิง ทางออก ที่ทำได้ในสถานการณ์นี้คือ
ต้องอาศัยเครือข่าย การตลาดที่ใหญ่กว่ามารองรับ หรือแม้ แต่นโยบายการสนับสนุนการผลิตเชิงชีวภาพ
ซึ่งรัฐจะต้องส่งเสริมครบวงจร ประกาศเขตปลอดสารในพื้นที่โครงการ หน่วยงานเกี่ยวข้องหากไม่ส่งเสริมก็ไม่ควรมาทำลายด้วยความรู้เท่าไม่ทัน
ที่สำคัญคือ มาตรฐานสินค้าชีวภาพปลอด สารพิษของไทยจะต้องประกาศออกมาก่อนเป็นการสนับสนุนการผลิตในกระบวนการนี้
ฯลฯ
แต่ที่สุดแล้วเขาก็ยังมีความเชื่อมั่นว่า โครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ที่ยังเป็น
เพียงติ่งเล็กๆ ในกิจการใหญ่ของเครือไชยวิวัฒน์ฯ ในขณะนี้ แต่สำหรับระยะยาวแล้วโครงการนี้จะเป็นอนาคตของบริษัทอย่างแน่นอน