เมื่อพูดถึงการใช้คีย์บอร์ด เพื่อท่องโลกไซเบอร์สเปซแล้ว ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถนัดใช้นิ้วโป้งมากที่สุด
และเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะโทรศัพท์
มือถือของญี่ปุ่น ที่มีขนาดเล็กกว่าใครนั่นเอง ที่ผ่านมา คนรุ่นหนุ่มสาวของญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมักถูกเรียกกันว่าเป็นคนรุ่น
"Bamboo Tribes" หรือไม่ก็ "Speed Tribes" แต่ตอนนี้มีคำเรียกขานพวกเขาใหม่แล้วว่า
"Thumb Tribes" และจะพบเห็นพวกเขาได้ทั่วไปตามรถไฟใต้ดิน ห้องบรรยายสัมมนา
หรือร้านอาหาร "มนุษย์นิ้วโป้ง" ที่ว่านี้ต่างขะมักเขม้นกับการใช้นิ้วโป้งกดคีย์บอร์ดขนาดจิ๋วของโทรศัพท์มือถือ
เพื่อส่งข้อความหรือเล่นอินเทอร์เน็ตค่าเวลา
ตัวอย่างเช่น อาซามิ ยูซาวา นักเรียนมัธยมต้นวัย 15 ในโตเกียว กล่าวยอมรับว่า
เธอใช้นิ้วโป้งกดโทรศัพท์มือถือได้เร็วกว่า ที่จะใช้
สิบนิ้วรวมกันกดคีย์บอร์ดเสียอีก
ยูซาวาส่งข้อความถึง เพื่อนๆ วันละร่วม 50 ข้อความ เรื่องส่วนใหญ่ก็คือ ชีวิตประจำวัน
กินอะไรดี
นัดเจอกัน ที่ไหน เมื่อเร็วๆ นี้ ยูซาวายังได้รู้จักบริการอินเทอร์เน็ต ที่ชื่อ
"J-Sky" ซึ่งช่วยให้เธอส่งข้อความถึงผู้ที่มีอีเมลได้ทุกคน เธอจึงมี เพื่อนในโลกไซเบอร์กว่าร้อยคน
บางคนไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันด้วยซ้ำ เพื่อนประเภทนี้เป็นปรากฏ
การณ์ ที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า "meru tomo" ซึ่งหมายถึง " เพื่อนทางอีเมลโทรศัพท์มือถือเท่านั้น "
นอกจากนั้น ยูซาวายังท่องเว็บไซต์ติดตามข่าวคราวล่าสุดของนักร้อง ที่เธอ
ชื่นชอบ และหาข้อมูลเส้นทางรถไฟเดินทาง ยังไม่รวมถึงการดาวน์โหลดเสียงโทรศัพท์แบบใหม่ๆ
ใช้ในโทรศัพท์ของเธอด้วย การท่องโลกไซเบอร์สเปซด้วยนิ้วโป้งเช่นนี้ ทำให้ยูซาวาบ่นด้วยว่าบางวันเธอถึงกับมีอาการเจ็บ
นิ้วโป้งขวา
เพื่อนทางอีเมลคนหนึ่งของยูซาวาอาจจะเป็น
โคจ ฮากูตะ คนขับรถบรรทุกวัย 28 ปีก็ได้ เขาเป็น
ผู้หนึ่ง ที่ใช้ชีวิตหลังพวงมาลัยกับการท่องโลกไซเบอร์สเปซ อาชีพของฮากูตะดูไม่เหมือนคนที่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้เครือข่ายไร้สายแต่อย่างใด
แต่เขากลับเป็นหนึ่งในจำนวนคนที่มีแนวโน้มจะสนใจโลกไซเบอร์สเปซมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนขับรถบรรทุกญี่ปุ่นนั้น
จะต้องมีโทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้ติดต่อกับสำนักงานใหญ่
แทน ที่จะต้องคอยจอดรถแวะใช้โทรศัพท์สาธารณะข้างทาง
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนับเป็นการเปิดขอบฟ้าใหม่อย่างแท้จริง ในอดีต
ฮากูตะอาจรู้สึกว่างานของเขาก็คือ การขับรถขนท่อเหล็กจากโรงงานย่านชานเมืองโตเกียวไปส่ง ที่นาโงยา
แล้วก็ตีรถเปล่ากลับ แต่
เมื่อราวหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เอง ที่บริษัทของเขาริเริ่มเว็บไซต์ "TraBox"
เพื่อเป็นช่องทางติดต่อระหว่างคนขับรถกับบริษัทขนส่งสินค้า เว็บไซต์นี้ออกแบบให้ใช้กับบริการ
i-mode ของดูโคโม ทุกวันนี้ฮากูตะจึงได้รับอีเมลเรื่องงานวันละนับสิบข้อความ
เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความแจ้งเขา ที่นาโงยาว่าให้รับงานขนท่อ ที่ต้องนำกลับไป ที่โตเกียว
เขาโทรศัพท์ติดต่อผู้ว่าจ้าง แล้วก็ได้งาน ที่ทำให้มีรายได้พิเศษ 320 ดอลลาร์สหรัฐ
ระหว่างทางกลับบ้าน
เขาจึงสรุปว่า "i-mode เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตการทำงานของผม"
ประสบการณ์ขับรถบรรทุก ที่เชื่อมต่อกับ
อินเทอร์เน็ตนี้ชี้ให้เห็นว่า i-mode อาจเป็นมากกว่าบริการแนวแฟชั่น ยาสุโนริ
ฟูจิกูระ หัวหน้างานของ
ฮากูตะ และผู้บริหารบริษัทรถบรรทุกขนส่งอีกรายหนึ่ง เคยคิด ที่จะสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ที่จะตัดนายหน้าไป
และเชื่อมโยงบริษัทขนส่งสินค้ากับคนขับรถโดยตรงมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เงินทุนสำหรับพัฒนาระบบดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์สูงมาก
จนกระทั่งมาพบบริการของ i-mode ดังกล่าว โทรศัพท์มือถือนั้น มีราคาตกราว 180
ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเพียง 1 ใน 10 ของราคาพีซี ด้วยเหตุนี้ "TraBox"
จึงแจ้งเกิดได้ และในปีแรกก็ได้ลงนามกับบริษัทรถบรรทุกราว 1,100 แห่ง และคนขับรถอีก
40,000 คน มีดีลธุรกิจกันราว 150 รายการต่อวัน จึงนับว่าเป็นธุรกิจ ที่ไม่เลวทีเดียวสำหรับของเล่นวัยรุ่นชิ้นนี้