ธุรกิจนอกไลน์โทรศัพท์จับจ้อง 3G ตาเป็นมัน


นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

ในขณะที่การแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์มือถือกำลังระอุ เพราะบรรดาผู้ทำตลาดต่างช่วงชิงการนำในตลาดอุปกรณ์ 3G ปรากฏว่า บริษัทนอกไลน์อย่าง Palm ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พกพาก็สนใจเข้าร่วมชิงส่วนแบ่งตลาดนี้กับเขาบ้างเช่นกัน

บริษัทวิจัยอินเตอร์ เนชันแนล เดตา คอร์ป ระบุว่า ปัจจุบัน Palm มีส่วนแบ่งตลาดอุปกรณ์พีดีเอทั่วโลกอยู่ราว 70% ซึ่งเป็นพีดีเอ ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งไดอารี่ สมุดจดที่อยู่ และบันทึกข้อความในตัว พีดีเอส่วนใหญ่ใช้กับอีเมล และอิน เทอร์เน็ตโดยผ่านโทรศัพท์มือถือ โมเด็มหรือพีซี โดย พีดีเอรุ่นล่าสุดนั้น เป็นการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายได้อีกด้วย จุดอ่อนประการเดียวของพีดีเอเห็นจะได้แก่การที่ใช้เป็นโทรศัพท์พูดคุยไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อมีเทคโนโลยี 3G ซึ่งจะเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ที่มีคุณสมบัติของพีดีเอรวมอยู่ด้วย

คำถาม ที่ตามมาก็คือ หากพีดีเอทำหน้าที่ของโทรศัพท์ได้แล้ว ตลาดโทรศัพท์มือถือจะเป็นอย่างไร

ต่อไป ปัจจุบันยอดขายโทรศัพท์มือถือ และพีดีเอเทียบกันแล้วยังเหมือนยักษ์กับคนแคระ บริษัทการ์ตเนอร์ กรุ๊ปคาดหมายไว้ว่า ยอดขายพีดีเอจะทะยานจากระดับต่ำกว่า 7 ล้านเครื่องในปีนี้เป็น 28 ล้านเครื่องในปี 2004 ส่วนยอดขายมือถือคาดว่า จะเพิ่มสองเท่าตัวในช่วงเวลาเดียวกันโดยอาจสูงถึง 908 ล้านเครื่องทีเดียว แต่เมื่อลูกค้ามองเห็นความแตกต่างระหว่า งอุปกรณ์สื่อสารทั้งสองชนิดไม่ชัด โอกาส ที่จะเกิดการช่วงชิงตลาดก็จะสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เอียน เบอร์ แตรม ผู้อำนวยการภูมิภาคของการ์ตเนอร์กล่าวว่า "ตลาดจะแยกย่อยลงไปมากขึ้น และมีอุปกรณ์ให้เลือกอาจจะถึง 7 แบบ" ทั้งนี้ในตลาดบน ข้อแตกต่างระหว่า งอุปกรณ์โทรศัพท์ ที่มีคุณสมบัติ

ใช้งานหลากหลายกับพีดีเอประเภทใช้เสียงยังคงมีต่อไป "แต่อีก 5-10 ปีข้างหน้า อุปกรณ์สองอย่างจะเข้าใกล้กันมากขึ้น"

ทั้งนี้ ในระยะสั้น ความพึงพอใจของลูกค้ายังจะขึ้นอยู่กับว่า พวกเขาต้องการใช้โทรศัพท์หรือมินิคอมพิวเตอร์กันแน่ หากเป็นนักแชตหรือนิยมส่งข้อความ พีดีเอก็ไม่ใช่ทางเลือกเพราะเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วราคายังสูงมาก แต่ในกลุ่มนักธุรกิจ ที่ต้องการคุณสมบัติใช้งาน ที่หลากหลายกว่า พีดีเอขนาดพกพาย่อมน่าสนใจมากกว่า ลูกค้าบางรายอาจมีอุปกรณ์ทั้งสองอย่างไว้ในมือ กล่าวคือ โทรศัพท์ขนาดเล็กสำหรับพูดคุย และพีดีเอสำหรับงาน

อย่างไรก็ตาม พีดีเออาจเบียดตัวขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่ได้มากขึ้นหากเทคโนโลยี 3G ที่ใช้จอภาพของ

พีดีเอ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีการพัฒนาคุณสมบัติใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น เป็นวิดีโอให้เลือกดูภาพยนตร์ตัวอย่างก่อนจองตั๋วชมจริง จอภาพ ที่ใหญ่ขึ้นยังช่วยให้การอ่านแผนที่ออนไลน์ง่ายขึ้นด้วย ส่วนผู้ที่นิยมเล่นเกมแบบอินเตอร์ แอคทีฟ ย่อมชื่นชอบอุปกรณ์ขนาดพกพาสะดวก ที่ว่า นี้

ความไม่แน่นอนเช่นนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า ผู้เล่นรายใหญ่จะต้องเดิมพันสูงยิ่งขึ้น เห็นได้จากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต่างกำลังพัฒนาพีดีเอของตนเอง ในขณะที่บริษัทอีกจำนวนหนึ่งก็เริ่มจับตาตลาดนี้เช่นกัน อย่างเช่นคอมแพค และฮิวเลตต์-แพคการ์ด ที่เพิ่งเปิดตัวพีซีแบบพกพาไปเมื่อปีที่แล้ว และมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ไม่น้อย หรือค่ายโซนี่เองก็เริ่มจำหน่ายพีดีเอแล้วเหมือนกัน ทั้งหมดนี้นี่คือ เหตุผลที่คีธ วูลค็อก หัวหน้าฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีของโนมูระ อินเตอร์เนชั่นแนล ในลอนดอนคาดการณ์ว่า ตลาด 3G จะเป็นการปะทะกันระหว่า งยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์กับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ แต่เขาเชื่อว่า "บริษัทโทรศัพท์ถือไพ่เหนือกว่า " ทั้งนี้เนื่องจาก

มีข้อได้เปรียบในแง่ชื่อยี่ห้อ ที่แข็งแกร่ง ประสบการณ์ในตลาดที่มียอดจำหน่ายสูงมาก อีกทั้งมีความเข้าใจลึกซึ้งในเทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง

การสู้รบอีกด้านหนึ่งจะอยู่ ที่ซอฟต์แวร์ Palm นั้น หวังว่า จะใช้ระบบปฏิบัติการแบบไอคอนสร้างตัวให้เป็นเหมือนกับไมโครซอฟท์ในโลกของโมบาย แต่ขณะเดียว กันไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้อยู่นิ่ง และกำลังพยายามรุกเข้าสู่ตลาดอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า คอมแพค และเอชพีนั้น ใช้ระบบปฏิบัติการของวินโดว์ใน

พีซีขนาดพกพา ที่วางจำหน่ายแล้ว แต่ไมโครซอฟท์มีแผนการของตนในตลาดอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยจะ

ขอมีส่วนแบ่งรายได้จากลูกค้าโทรศัพท์บ้าง ซึ่งจะเป็นการได้กำไรถึงสองทางคือ ทั้งจากผู้ปฏิบัติการเครือข่าย และจากผู้ผลิตอุปกรณ์พกพาทั้งหลาย แต่นี่ก็คือ เหตุผลเช่นกัน ที่โนเกีย และอีริคสันกำลังพัฒนาระบบปฏิบัติการของตนเองขึ้นมา โดยมีบริษัทในเครือคือ "ซิมเบียน" (Symbian) รับผิดชอบ และไม่ว่า การแข่งขันรอบนี้จะดุเดือดเท่าไร

ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือไม่มีทาง ที่จะยอมยกธงขาวโดย

ไม่ออกศึกสักตั้งก่อนอย่างแน่นอน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.